Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
28 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
สวนครัวมีดีไซน์



สวนครัวมีดีไซน์ จะพูดอธิบายกันให้ดีขนาดไหน ก็คงสู้ให้เห็นภาพจริงไม่ได้
เราจึงได้เชื้อชวน 2 นักจัดสวนแห่งบริษัท TREE R US จำกัด
คุณเปรมศักดิ์ กฤษณมิษ และ คุณเฉลิมเกียรคิ ลีวงศ์เจริญ มาช่วยกันสร้างสวนครัวหลังบ้านขึ้นมาหนึ่งสวน
มาลองฟังเรื่องราวการจัดสวนครัวนี้ดูสักหน่อยครับ เริ่มจากที่คุณเปรมศักดิ์บอกว่า
"คอนเซ็ปต์ก็เหมือนสวนสวยงามทั่วไป แต่ว่าเราใช้พวกพืชผักสวนครัวมาแทนให้ได้ประโยชน์เพิ่ม
เอามากินได้ด้วย หลักการจัดก็เหมือนสวนธรรมดาน่ะ ดูเรื่องมุมมอง มีจังหวะการจัดวางต้นไม้
จริงๆ แล้วก็ยากกว่าด้วย เพราะมีต้นไม้ให้เลือกใช้น้อย…"

"…สีสันก็อาจจะไม่ฉูดฉาดเหมือนสวนไม้ประดับที่มีต้นไม้ให้เลือกใช้มาก"

คุณเฉลิมเกียรติช่วยเสริม
ถึงข้อจำกัดของสวนครัวในบ้าน ที่ไม่อาจตอบสนองในด้านภาพที่เห็นให้กับผู้เป็นเจ้าของได้เต็มร้อย
แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง ข้อจำกัดนี้ก็อาจกลายมาเป็นข้อดีขึ้นมา
ในฐานะที่ช่วยลดตัวเลือกในการหาต้นไม้มาจัดสวนของเจ้าของบ้าน
เพื่อจะได้เอาเวลานั้นไปหาของอย่างอื่นมาช่วยแต่งสวนเพิ่ม
ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ในสวน หรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะช่วยให้สวนมีชีวิตชีวาขึ้น

"พืชสวนครัวที่เราเลือกมาใช้ เราก็อาจแทนค่าเป็นไม้ประดับได้
อย่างเฮลิโคเนียก็ใช้พวกขิงข่าแทน กล้วยบัวก็เป็นกล้วยน้ำว้า เฟิร์นก็เป็นผักชีฝรั่ง
จริงๆ แล้วการจัดสวนครัวในรูปแบบสวนประดับนี่มันมีข้อดีด้วยนะ
อย่างพวกแมลงน่ะ การทำลายจะน้อยกว่าสวนผักที่เป็นแปลงๆ เพราะเราปลูกผสมผสานหลายอย่าง
แมลงที่มาก็จะหลง แมลงชนิดหนึ่งจะมีพืชที่กินได้กลุ่มหนึ่ง พอกินต้นนี้อยู่ แล้วเลยไปเจออีกชนิดหนึ่ง
ก็จะหลงแล้ว นึกว่าหมดแล้ว ก็จะบินไปหาแหล่งใหม่
ไม่ควรใช้สารเคมีเลยนะครับ สวนครัวในบ้านแบบนี้ ถ้าเห็นแมลงมาเกาะก็ให้เด็ดทิ้งไป"

ข้อดีเริ่มมา ภาพดีๆ เริ่มมีให้เห็น คุณเฉลิมเกียรติยังบอกต่ออีกด้วยว่า การจัดสวนครัวอย่างนี้
แม้จะปลูกผสมด้วยพืชผักหลายชนิด แต่ก็จะไม่ปลูกรวมกัน

"จะปลูกเป็นแมส ปลูกเป็นกลุ่มน่ะ พืชสวนครัวแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน
เวลาเราเปลี่ยน เราก็จะเปลี่ยนได้ง่าย
ถ้าจะให้สวยนาน ก็ต้องเลือกต้นที่ไม่ใช่ว่าเด็ดไปแล้วใบจะหายไปเลย
ต้องเลือกที่ยังมีใบที่พอให้ภาพสวนไม่เปลี่ยน เช่น กะเพราะ โหระพา ตะไคร้
ส่วนพวกที่ตัดแล้วใบหาย เช่น คะน้า ผักบุ้ง ก็อาจปลูกแซมๆ ไว้ หรือถ้ามีที่ว่างก็ให้ทำเป็นแปลงไปเลย

เป็นอีกสองข้อจำกัด แต่ก็เป็นเหมือนหลักการที่ช่วยกำหนดรูปแบบการจัดไปด้วย
จะได้ไม่ต้องพบกับปัญหาภายหลัง ซึ่งเรื่องปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องแสงแดด ที่ต้องไม่ร่มเกิน
และก็ไม่ควรจะมากไป อย่างที่คุณเฉลิมเกียรติบอกว่า
"สวนครัวต้องการแดดค่อนข้างมาก
แต่ผมว่าแสงสักครึ่งวัน นี่กำลังดี จะเช้าหรือบ่ายก็ได้ ดีกว่าเต็มวันด้วยซ้ำไป
ถ้าแดดเต็มวัน ตัวเนื้อผักจะแข็งแห้งเกินไป ไม่ค่อยอวบน้ำ ถ้าครึ่งวันนี่จะอวบกว่า จะกรอบกว่า"

น้ำมาก แต่ไม่แฉะ ไม่ขัง คือปริมาณที่พืชผักสวนครัวชอบ รดน้ำ 1 ครั้งถ้าแดดไม่จัด
หรือ 2 ครั้งถ้าวันนั้นแดดจัด ส่วนเรื่องการดูแลตัดแต่งนั้นง่ายและทำเหมือนไม่ได้ทำ

"การเด็ดไปใช้ การเด็ดไปกิน ก็เหมือนเป็นการตัดแต่ง เราใช้บ่อยๆ ก็เป็นการดูแลไปในตัว
แต่ก็ต้องเลือกใช้ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ ส่วนปุ๋ยก็ให้ใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก สลับกับปุ๋ยเคมีบ้าง
ตัวโครงสร้างดินไม่เสียหายอะไร" คุณเปรมศักดิ์กล่าว


เรื่องจาก บ้านและสวน
ที่มา : //www.homeandi.com


สารบัญ ตกแต่งบ้าน และ จัดสวน


Create Date : 28 พฤษภาคม 2554
Last Update : 28 พฤษภาคม 2554 15:19:06 น. 0 comments
Counter : 2903 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.