"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

บ้านขนมปังขิง : Ginger Bread Style House

บ้านขนมปังขิง


เมื่อจะเขียนแนะนำเรื่องการสร้างบ้าน โดยเลือกจากบริษัทรับสร้างบ้านนั้น เรื่องสไตล์ของบ้าน ก็เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่เป็นความแตกต่างของแบบบ้านนับพันแบบ จากบริษัทรับสร้างบ้านเป็นร้อย ดังนั้น นอกจากเรื่องเรือนไทยเดิมและบ้านไทยแบบร่วมสมัยแล้ว ผมจะเขียนเรื่องของบ้านสไตล์ต่างๆ ที่น่าสนใจ มาให้อ่านประดับความรู้กันครับ


ปัจจุบัน บ้านเรือนสไตล์ต่างๆทั่วโลกได้เข้ามามีบทบาทต่อรูปลักษณ์ของบ้านในเมืองไทยเราอย่างมาก เมื่อเรามองดูรูปลักษณ์ของที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านเดี่ยว เราจะพบเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของบ้านแต่ละหลังที่คนไทยรับเอารูปแบบของเขามาสร้าง ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร ทีฝรั่งยังเอาเรือนไทยเราไปสร้างเยอะแยะไป แต่เหตุผลสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หรือละเลย คือความเหมาะสมต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศเรา ไม่ว่าเราจะเอารูปแบบใดมาใช้ ถ้ามันเหมาะ ก็จะอยู่สบาย และได้รับความนิยม นี่เป็นหัวใจสำคัญ จะตรงกับคำที่ว่า “สวยแต่รูป จูบไม่หอม” ถ้าบ้านสวยแล้วอยู่ไม่สบาย คุณก็ต้องทนอยู่ เพราะเสียเงินสร้างมาแล้ว...อย่างนี้จะดีเหรอครับ ด้วยการที่ บ้านเรา เป็นบ้านในเขตภูมิอากาศร้อน-ชื้น (Tropical climate) อย่างเช่น ไทย มาเลเซีย บาหลี การออกแบบหรือลักษณะบ้านที่สำคัญคือ ต้องสามารถป้องกันแดด ฝน ลม และมีการระบายอากาศที่ดี



บ้านสไตล์วิคตอเรี่ยน











บ้านวิคตอเรี่ยน ที่ตกแต่งลวดลายไม้ฉลุเยอะๆ จนเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง และมีชื่อเรียกเฉพาะว่า บ้านขนมปังขิง










ส่วนเรื่องความสวยงามหรือสไตล์บ้านนี่ มักเปลี่ยนไปตามกาลเวลาคล้ายแฟชั่น ซึ่งเป็นผลกระทบจากอิทธิพลทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง ที่แพร่ขยายเข้ามาสู่ประเทศในระยะเวลานั้นๆ บ้านในยุคที่อังกฤษและฝรั่งเศสออกล่าอาณานิคม ที่แพร่หลายไปทั่วโลก คือบ้านสไตล์โคโลเนียล โดยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการค้าและอารยธรรมจากซีกโลกตะวันตก ได้แพร่เข้ามาก่อน บ้านที่ชาวต่างชาติเข้ามาสร้างอยู่จะเป็นแบบอย่างให้คนไทยลอกเลียนแบบ จนในที่สุดก็ทำให้เกิดบ้านสไตล์สากล (International Style) อย่างปัจจุบัน อิทธิพลนี้ถ้าเรียกตามภาษาการตลาด คือกระแสความนิยมนั่นเอง ซึ่งตอนนี้กระแสความนิยมเรื่องบ้านไม่ได้มาจากตะวันตกอีกแล้ว แต่มาจากตะวันออกด้วยกัน คือมาสู่ยุคบ้านบาหลี ไม่ว่าบ้าน สปา รีสอร์ท โรงแรม ล้วนเป็นบาหลีไปหมด (แล้วจะเขียนเรื่องบ้านบาหลีต่อไป)


ก่อนหน้านี้คนจีนที่อพยพมาหากินในประเทศไทย ได้นำวิธีการก่อสร้างเรือนแถวที่เป็นดินมาก่อสร้างที่อยู่อาศัยกันก่อน แต่ด้วยรูปแบบวิธีการนั้นคนไทยไม่นิยม จึงไม่แพร่หลาย มีเพียงชาวจีนเท่านั้นที่สร้างอยู่กันเอง และก็สูญหายไปในที่สุด แต่เรือนปั้นหยา เป็นเรือนสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลจากต่างชาติทางตะวันตกนั้น เริ่มต้นจากที่รัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาภาษาอังกฤษและติดต่อค้าขายกับต่างชาติ และทรงสร้างเรือนปั้นหยาไว้ในเขตพระราชวังต่างๆก่อน จุดเด่นของหลังคาปั้นหยาคือ ชายคาที่คลุมรอบ 4 ด้าน ต่างจากเรือนไทยเดิม ซึ่งเป็น ชายคา 2 ด้าน มีหน้าจั่ว จากเรือนปั้นหยาก็วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมนิลา มีจั่วด้านหน้า 1 ด้าน และชายคาคลุม 3 ด้าน แล้วก็ถึงยุคบ้านสไตล์วิคตอเรียน ที่สร้างในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เป็นบ้านพักของสถานทูตฝรั่งเศส งดงามด้วยฉลุไม้ และระเบียงร่มเย็น เริ่มต้นจากในรั้วในวัง และวัดวาอาราม ความนิยมก็มาสู่พ่อค้า คหบดี ในช่วงนั้นกรุงเทพฯ ก็จะมีบ้านในสไตล์นี้สร้างตามกันมามากมาย รวมทั้งรูปแบบที่เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้ ที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง










































เรือนขนมปังขิง มีลักษณะเด่นที่ทำให้เราจดจำได้ดีคือ บ้านหลังคาติดลูกไม้ฉลุ ที่รับอิทธิพลจากบ้าน Ginger Bread Style ที่งดงามด้วยลายฉลุไม้ ที่ตรงกับรสนิยมคนไทย ที่ชอบความละเอียด ประณีต อ่อนช้อยอยู่แล้ว ประกอบกับวัสดุที่เป็นไม้ก็มีมากมาย ช่างไม้ก็มีฝีมือในการออกแบบและฉลุลาย บางหลังก็มีการดัดแปลงเป็นลายไทยแทนลายฝรั่ง บ้านแบบนี้จึงได้รับความนิยมอย่างสูง มาตั้งแต่นั้น นอกจากบ้านแล้ว งานในลักษณะนี้ยังมีการดัดแปลงมาทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆอีกด้วย จนถึงช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ความนิยมก็เริ่มซาลง ไม้เริ่มมีราคาแพงขึ้น ความนิยมเริ่มเปลี่ยนไป เป็นเน้นการออกแบบหลังคาซ้อน หรือจั่วตัดแทน จนในสมัยรัชกาลที่ 7 บ้านก็เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ มีรูปแบบเรียบง่าย ลดความหรูหราฟุ่มเฟือยออก ก็คงจะอิทธิพลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของทางตะวันตกนั่นเอง และการเปลี่ยนแปลงก็ยังมีเรื่อยมา จนในสมัยนี้บ้านขนมปังขิงที่หลงเหลืออยู่บ้าง ก็ทรุดโทรม รื้อถอนไปมาก จนหาชมได้ยาก เพราะความเจริญรุกรานมาเรื่อย การบูรณะซ่อมแซม ทำยากและค่าใช้จ่ายสูง จนไม่คุ้มที่จะเก็บรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ใช้งาน แต่บ้านที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น คนสมัยนี้ที่ไม่รู้ประวัติ ก็จะคิดว่าเป็นบ้านไทยโบราณแบบหนึ่ง























ศาลานั่งเล่น และศาลาท่าน้ำ ก็ทำเป็นเรือนขนมปังขิงได้สวยงาม










รูปแบบบ้านขนมปังขิง ยังได้รับความนิยมกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเป็นสากลและร่วมสมัยยิ่งขึ้น ตัดทอนลวดลายให้น้อยลง เปลี่ยนวัสดุและวิธีการให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ไม้เทียมปั๊มลายสำเร็จรูปออกมา ได้ทีเป็น 100 เป็น 1000 ไม่ได้นั่งฉลุทีละอันอย่างแต่ก่อน ซึ่งคนที่ชอบบ้านลักษณะนี้ก็นับว่ามีรสนิยมย้อนยุค และชื่นชมความละเอียดอ่อนช้อยพอสมควร














ยุคที่เรือนขนมปังขิงเฟื่องฟูมากๆ ซุ้มประตูแบบมีหลังคาทรงไทย ก็ยังถูกละเลย มาทำลวดลายฉลุกัน ไม่กลัวแดด ฝน กันเลย












ภายในบ้าน การใช้ลวดลายฉลุ ตามเหนือประตู หรือช่องลม นับว่ามีประโยชน์ใช้สอยได้ดี เหมาะสมกับอากาศของบ้านเรา ช่องลมระบายอากาศแบบนี้ก็ถูกละเลย สูญหายไปจากบ้านไทยสมัยใหม่เช่นกัน ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว แล้วก็มาแก้กันปลายเหตุ คือติดแอร์กัน เปลืองค่าไฟไปอีก



รูปแบบของบ้านขนมปังขิง ที่ลวดลายอลังการอ่อนช้อย สำหรับบ้านเรานั้นต่อไปก็คงจะหาชมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการอนุรักษ์นั้น ทำได้ยากอย่างที่ว่า แต่ถ้าเป็นเมืองนอกโดยเฉพาะในอเมริกานั้น ยังมีคนคลั่งใคล้บ้านแบบนี้กันอยู่มาก แนวทางหนึ่งที่เขาอนุรักษ์บ้านแบบนี้ไว้ได้ คือเขาดัดแปลงเป็นเกสต์เฮ้าส์ หรือโรงแรม เพราะเป็นจุดขายอย่างดี ทั้งยังเป็นการหารายได้จากการอนุรักษ์ได้อีกด้วย



TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

ข้อมูลและภาพจาก
แบบแผนบ้านเรือนในสยาม โดย น.ณ ปากน้ำ , สำนักพิมพ์เมืองโบราณ
America’s Painted Ladies , Dutton Studio Books , 1992




 

Create Date : 11 มีนาคม 2551    
Last Update : 27 มกราคม 2555 12:08:51 น.
Counter : 12674 Pageviews.  

บ้านตากอากาศ ทรงไทยประยุกต์ | Contemporary vacation house

หยุดสุดสัปดาห์นี้ หนีเลือกตั้ง(ไม่ได้นอนหลับทับสิทธิ์ แต่หลบหนีสิทธิ์) ไปพักผ่อน เปลี่ยนบรรยากาศที่พัทยา แถวเขาพระตำหนัก ไปเจอบ้านหลังนี้ เลยถ่ายรูปมาฝาก ดูกันเล่นๆนะครับ






ซุ้มประตูใหญ่ ออกแบบซุ้มเป็นหลังคาซ้อน โชว์หน้าจั่ว


ซุ้มประตูเล็ก เป็นคอนกรีต จะมองดูหนักแน่นกว่าไม้


บ้านหลังนี้ เห็นติดป้ายขายอยู่ ลองสอบถามจากคนรู้จัก บอกว่าขายหลังละ 40 กว่าล้าน คงไม่ได้ตั้งใจจะขายคนไทยนะ ราคานี้! ตัวบ้านเป็นลักษณะของกลุ่มบ้าน รวมกัน 5 หลังมีสระว่ายน้ำร่วม ด้านหน้าทางเข้า สามารถแยกเข้าโรงรถได้เลย 2 หลัง แต่ไม่ติดทะเล ส่วนที่ติดทะเล 2 หลังก็ต้องเข้าประตูใหญ่เข้าไปก่อน เสียดายไม่ได้เข้าไปดูข้างใน แต่คิดว่า น่าจะทำตกแต่งภายในเรียบร้อยสวยงาม พร้อมเข้าอยู่




แต่ละหลัง ก็มีศาลานั่งเล่น กินเหล้า ตากลม เพลินๆ


ด้านหน้าจะเป็นชายหาด และสวนหย่อม ส่วนมากจะมีฝรั่งนอนอาบแดดกันมากกว่าคนไทย



การออกแบบก็เป็นลักษณะของไทยประยุกต์ ทั้งประยุกต์รูปแบบสถาปัตยกรรมไทย หลายๆลักษณะเข้าด้วยกัน และยังประยุกต์เอารายละเอียดของสถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ พูดรวมๆคือ Asian Style มาไว้ด้วยกัน เดาเอาว่าคงจะเน้นลูกค้าต่างชาติเป็นหลัก จึงจับจุดเอาจุดเด่นของ Asian Style มาผสมกับของไทยด้วย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ให้ดูสนุกสนาน อลังการ ( แล้วก็เพิ่มมูลค่าไปด้วยในตัว) แต่ก็เหมาะมาก กับการเป็นบ้านพักตากอากาศ ที่ต้องการเปลี่ยนความซ้ำซาก จำเจไปจากที่อยู่เดิมๆ เสียดายอยู่ 2 อย่าง คือพื้นที่คับแคบไปหน่อย ที่ดินคงราคาแพงมาก เพราะติดทะเล เลยต้องเบียดๆให้คุ้มค่าที่ดิน อีกอย่างคือถูกขนาบข้างด้วยตึกสูง เลยทำให้เสียบรรยากาศไปเยอะเชียว

แต่ถ้ามีใครชวนให้มาพัก นอนตา-กลมที่นี่ ก็คงจะดีไม่น้อย











 

Create Date : 24 ธันวาคม 2550    
Last Update : 26 เมษายน 2551 3:25:39 น.
Counter : 7257 Pageviews.  

แอ่วล้านนา... ดูเรือนกาแล | Northern Thai Traditional House

แอ่วล้านนา... ดูเรือนกาแล

มาชมเรือนไทยทางเหนือกันบ้าง จะเรียกว่าเรือนไทยล้านนา หรือเรือนกาแลก็ได้ เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่บนยอดจั่ว เป็นไม้กากบาทไขว้กันนั่นแหละ เรือนทางเหนือนี่ความนิยมจะเป็นรองเรือนภาคกลางเยอะ และนับวันจะสูญหายไปเรื่อยๆตามกาลเวลา ผิดกับเรือนภาคกลางที่มีการก่อสร้างไปเรื่อยๆ แถมยังระบาดไปตามภาคต่างๆทั่วประเทศ หนำซ้ำยังเลยข้ามน้ำ ข้ามทะเลไปอยู่เมืองนอกเมืองนา ให้เป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทยที่ได้ไปพบเห็น




เรือนกาแลแบบดั้งเดิมที่อนุรักษ์ไว้อย่างดี


ที่จริงแล้ว อย่างที่บอกไว้เกี่ยวกับเรื่องเรือนไทยภาคกลาง ลักษณะรูปทรงและการใช้งานนั้น ช่างไทยจะออกแบบด้วยภูมิปัญญาไทย ก่อสร้างปรับปรุงตามสภาพภูมิอากาศและขนบธรรมเนียมประเพณีประจำถิ่น ต่างคนต่างมีเอกลักษณ์ของตัวเอง เรือนกาแลจะมีรูปทรงที่บึกบึน หนักแน่นกว่าเรือนไทยภาคกลางที่อ่อนช้อย เพรียวลม เพราะภาคกลาง ร้อน ลมแรง เรือนที่สอบและเพรียวลมนี้เป็นการแก้ไขเรื่อง aero-dynamic ของช่างโบราณ คือให้ลมผ่านง่าย ไม่ต้านลม และมั่นคงแน่นหนาไม่สั่นไหว โยกเยกง่ายๆ นั่นเอง ส่วนเรือนกาแลนั้น ไม่อ่อนช้อยเพราะทางเหนืออากาศหนาวเย็น การวางตัวเรือนจึงมักสร้างเป็นเรือนแฝดติดกัน ไม่ต้องการให้โปร่ง อีกทั้งหลังคาก็ใช้วัสดุต่างกัน ถ้าชั่วคราวจะใช้ใบตองตึง ถ้าถาวรก็จะใช้กระเบื้องดินขอ รูปทรงหลังคาจึงต่างกันด้วย จะเป็นหลังคาคลุมยาวลงมาต่ำๆเลย ไม่มีชายคาอีกชั้นหนึ่ง




เรือนกาแลแบบดั้งเดิมหลังนี้ปลูกติดกับสระน้ำเลย ไม่ค่อยพบ




เรือนล้านนาปลูกใหม่ อยู่ริมปิงของท่านคึกฤทธิ์ เป็นเรือนแบบประยุกต์ คือนำรูปแบบการวางเรือนแบบภาคกลางไปใช้ มีชานแล่นอยู่กลาง แต่ทรงเรือนใช้เรือนล้านนา มีกาแล




นี่เป็นเรือนล้านนาประยุกต์หลังใหญ่ แต่ก็ออกแบบได้สวยงามมาก


เรือนกาแลทางภาคเหนือนี้ ที่เชียงใหม่จะมีมากที่สุด และมีวิวัฒนาการของชาวล้านนามาเอง เทคนิคการก่อสร้าง การเข้าไม้ก็จะต่างจากเรือนภาคกลาง มีส่วนประกอบต่างๆที่ไม่มีในเรือนไทยภาคกลาง ที่เด่นชัดโดยเฉพาะคือมักนิยมเรือนแฝดติดกัน เป็นหลังใหญ่และเล็ก หลังใหญ่ใช้เป็นห้องนอนและรับแขก หลังเล็กเป็นเรือนอยู่อาศัย หรือครัวไฟ จั่วมีกาแลแกะสลักประดับบนยอด และเหนือประตูมีไม้แกะสลักเรียกหำยนต์ ทางเหนือจะมียุ้งข้าวเป็นหลังเล็กๆแยกอยู่อีกต่างหาก (หลายปีมานี่คนนิยมซื้อมาปลูกเป็นเรือนไทยหลังเล็กกันเยอะ ตอนนี้หายากแล้ว ) ค้ำยันก็จะมีการแกะสลัดลวดลายสวยงามเช่นกัน และที่สำคัญเขาจะมีร้านน้ำ คือซุ้มเล็กๆ วางหม้อน้ำดินเผาให้สำหรับแขกหรือคนผ่านไปมาดื่ม บางบ้านจะมีอยู่ที่ชานบ้าน แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่รั้วเลย แสดงถึงความมีน้ำใจและเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของชาวเหนือ ผมมีน้าอยู่คนหนึ่งแกทำงานอยู่หาดใหญ่ วันหนึ่งเพื่อนแกชวนไปเที่ยวเชียงใหม่ ก็เอากระเป๋าไปใบเดียว แล้วก็ไม่กลับมาทำงานเลย ของที่หาดใหญ่ก็ให้เพื่อนทยอยส่งขึ้นไปที่เชียงใหม่เรื่อยๆ ประกอบกับความที่มีเพื่อนมาก(ศิษย์เก่าอำนวยศิลป์) มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำให้แกอยู่เที่ยวที่เชียงใหม่นานถึง 7 ปี แถมมีเมียมีลูกโดยไม่รู้ตัวแล้วถึงย้ายกลับมาอยู่กรุงเทพฯ นี่แสดงถึงเสน่ห์ของเมืองเหนือหรือมนต์เมืองเหนือจริงๆ




ถ้าหลังเล็กๆอย่างนี้แสดงว่าเอายุ้งข้าวมาดัดแปลง




ภายในเรือน อยู่แบบง่ายๆแต่ข้าวของเครื่องใช้ก็เป็นของทางเหนือโดยเฉพาะพวกภาชนะเครื่องเขินต่างๆ


นอกจากเรือนกาแลแล้ว เรือนไทยทางภาคใต้ และภาคอีสานดูเหมือนว่าจะไม่มีเอกลักษณ์เด่นชัดนักจึงไม่เป็นที่นิยมของคนต่างถิ่นแต่ประการใด และนับวันก็จะหดหายไปเช่นเดียวกับเรือนกาแลเช่นกัน ก่อนนี้ผมเคยไปทำธุระอยู่ภูเก็ตตอนยังไม่เจริญเท่าไหร่ หากป่าตองรถยังเข้าไปไม่สะดวกเลย แถมมีกระต๊อบขายน้ำอยู่หลังเดียว เคยเห็นบ้านไม้หลังกะทัดรัด ตามถนนหนทางอยู่มาก เดี๋ยวนี้ไปหายหมดแล้ว ลูกๆหลานๆจาวเหนือทั้งหลายถ้ามีโอกาส มีฐานะที่ดีพอสมควร อย่ามัวไปหลงบ้านปล่องไฟ บ้าน Loghome กันซะหมดนะครับ ปลูกเรือนล้านนาอยู่ แบบประยุกต์ก็สวยๆน่าอยู่ และอยู่สบายกว่ากันเยอะเลย...




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2551 10:31:05 น.
Counter : 6929 Pageviews.  

เรือนไทย ที่งามที่สุดของเมืองไทย | The most beautiful Thai House

เรือนไทย
ที่งามที่สุด ของเมืองไทย


ในบรรดาเรือนไทยเดิมที่หลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันนั้น จากความเห็นของท่านอาจารย์สมภพ ภิรมย์ (อดีตคณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากรและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร) สถาปนิกไทยที่เชี่ยวชาญเรื่องเรือนไทยคนหนึ่ง ลงความเห็นว่า เรือนทับขวัญ ที่พระราชวังสนามจันทร์นั้น (สร้างโดยรัชกาลที่ 6) นับว่าเป็นหมู่เรือนไทยที่งามที่สุด แม้แต่ เรือนต้น ในพระที่นั่งอัมพรสถาน (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสร้างสะเดาะพระเคราะห์ เพื่อทรงประทับอย่างสามัญชน) ที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งวิมานเมฆนั้น ก็ยังงามสู้ไม่ได้



ภาพเรือนต้น









เรือนทับขวัญ










เรือนทับขวัญ หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้องคือพระตำหนักทับขวัญ ตั้งอยู่ในบริเวณของพระราชวังสนามจันทร์ เดิมพื้นที่นี้เรียกว่าเนินปราสาท ซึ่งเคยเป็นพระราชวังเก่ามาแต่อดีตมีกษัตริย์ปกครอง มีโบสถ์พราหมณ์ อยู่ในชัยภูมิสวยงาม ทั้งยังอุดมสมบูรณ์ด้วยหนองน้ำจันทร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มักเสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณสระน้ำจันทร์ หลังองค์พระปฐมเจดีย์อยู่บ่อยๆ ทรงพอพระทัยและสั่งให้ข้าราชบริพาร ติดต่อซื้อที่ดังกล่าวจากชาวบ้าน ในราคาแพงกว่าปกติ เพื่อมิให้ราษฎรต้องเดือดร้อน ทำให้สามารถรวบรวมที่ได้ทั้งหมดถึง ๘๘๘ ไร่ แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระราชวัง





ภาพเขียนมุมสูง แสดงให้เห็นภาพรวมของหมู่เรือนทุกหลัง























สภาพของเรือนทับขวัญ ก่อนการบูรณะ











การสร้างพระราชวังสนามจันทร์นี้ ทรงมีพระสงค์หลักคือต้องการไว้เป็นเมืองสำรอง หากบ้านเมืองถูกต่างชาติรุกราน ด้วยครั้งที่ล้นเกล้าฯยังทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๑๒ ชันษา ขณะที่กำลังเตรียมพระองค์จะเสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ สยามถูกฝรั่งเศสรุกรานโดยนำเรือรบบุกรุกเข้ามาถึงลำน้ำเจ้าพระยา จนไทยต้องเสียทั้งแผ่นดิน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปถึง ๑๔๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร แล้วยังต้องเสียค่าปรับถึง ๒ ล้านฟรังส์ เหตุการณ์นี้คงจะฝังพระราชหฤทัยอย่างไม่มีวันลืม


























การบูรณะจะใช้วิธีรื้อสร้างใหม่ โดยต้องทำการสำรวจ และวัดสัดส่วนต่างๆบันทึกไว้เพื่อการสร้างประกอบใหม่ เพื่อไม่ให้สัดส่วนต่างๆผิดเพี้ยนไปจากเดิม











หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหาร จากโรงเรียนนายร้อยทหารบกเซนต์เฮิสท์ เสด็จนิวัติสู่ประเทศแล้ว จึงทรงพระราชดำริ เรื่องเตรียมแผนป้องกันประเทศชาติไว้ โดยหาพื้นที่ลึกจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นที่มั่นสำรอง โดยใช้ธรรมชาติช่วยต้านข้าศึก และฝึกกองเสือป่าไว้คอยเป็นกองหนุน ด้วยทรงเห็นว่าต่างชาตินั้นมีอาวุธทันสมัย อานุภาพสูงไม่สามารถต้านทานได้ด้วยการรบในแบบโบราณ ต้องใช้ยุทธศาสตร์แบบไม่เผชิญหน้า (อย่างเช่นที่เวียตนามเอาชนะฝรั่งเศสมาได้แล้วนั่นแหละ) คอยซุ่มโจมตี โดยใช้ความได้เปรียบทางภูมิประเทศ สนามจันทร์จึงมีความสำคัญมาก มิใช่เป็นเพียงพระที่นั่งสำหรับพักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถ



























































กลับมาเข้าเรื่องต่อ พระตำหนักทับขวัญ ก็ได้พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ เป็นนายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ประกอบด้วยกลุ่มเรือน ๘ หลัง ล้อมเป็น ๔ เหลี่ยมโดยมีชานกลางเชื่อมเข้าด้วยกัน มีต้นจันทน์ใหญ่ ขึ้นอยู่กลางนอกชาน ถึงแม้จะเป็นกลุ่มเรือนที่ใหญ่กว่าเรือนหมู่โดยทั่วไป แต่เรือนทับขวัญจะงามได้สัดส่วน การก่อสร้างใช้วิธีเข้าไม้ตามแบบฉบับของช่างไทยโบราณ ฝีมือประณีต เชิงชายและไม้ค้ำยันสลักเสลาสวยงาม อาจารย์ฤทัย ใจจงรัก (ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปสถาปัตยกรรมประจำปีพ.ศ.๒๕๔๓) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเรือนไทยอีกท่านหนึ่งก็ลงความเห็นว่า “เรือนทับขวัญถือว่าเป็นฝีมือครู จะเป็นแบบอย่างให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ศึกษาค้นคว้าได้ดีที่สุด เรือนนี้จัดอยู่ในประเภทเรือนคหบดี และมีส่วนประกอบครบ” รอบๆบริเวณเรือนทับขวัญยังปลูกไม้ไทย เช่นต้นจันทน์ จำปี นางแย้ม นมแมวอีกด้วย













































เรือนทับขวัญถูกใช้งานในวาระต่างๆหลายครั้ง จนกระทั่งถูกทิ้งให้ชำรุดทรุดโทรมมาก เรียกว่าเกือบจะเป็นอาหารปลวกไปหมด แม้จะได้รับการซ่อมแซมมาบ้างจนสุดท้ายกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากรก็ได้จัดการ บูรณะพระตำหนักทับขวัญใหม่ทั้งหมด เพื่อร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี โดยใช้งบประมาณจากการระดมเงินทั้งสิ้น ๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท บูรณะใหญ่แบบรื้อสร้างใหม่เลยทีเดียว (การซ่อมของเก่าผสมกันกลับทำได้ยาก และเสียเวลามากกว่า) จนพลิกฟื้น กลับมาเป็นเรือนไทยตัวอย่าง ที่ทรงคุณค่าทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ ถ้ามีโอกาสผ่านไปนครปฐม ต้องไปเยี่ยมชมให้ได้เลยนะ มหาวิทยาลัยศิลปากรเขาได้รวบรวม ศิลปและโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ที่ขุดค้นได้ มาจัดแสดงให้ดูด้วย


เรือนทับขวัญที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในหมู่เรือนไทยเดิม แต่เนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ไม่ได้ตกแต่งเพื่อคนอยู่ แต่เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัตถุ ดังนั้นอาจดูวังเวงหรือเหงาๆไปบ้าง คงดูไม่น่าอยู่เหมือนเรือนไทยที่ตกแต่งเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยจริงๆ


แม้กระทั่งบ้านที่มีคนอยู่ก็เถอะ การตกแต่งก็มีความแตกต่างในเรื่องรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการตกแต่ง แตกต่างกันออกไปด้วย ยกตัวอย่าง บ้านที่ตกแต่งสไตล์หลุยส์แบบฝรั่งจ๋า หรือเลิศสุดๆ มันก็สวย สวยมากๆ ไม่เถียง แต่น่าอยู่หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความชอบของตัวบุคคล คนที่ชอบจริงๆเขาก็คงน่าอยู่ของเขา แต่คนที่ไม่ชอบเท่าไหร่ แต่อยากแต่งอวดฐานะ หรือรสนิยม ผมเห็นมาหลายรายแล้ว ห้องรับแขก ห้องอาหารไม่ค่อยได้ใช้ ได้นั่งหรอกครับ ไปนั่งนู่น..หลังบ้าน มันสบายกว่า ไม่อึดอัด ดังนั้นความน่าอยู่ของบ้าน มันต้องแต่งให้เป็นบ้าน ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ ถึงแม้จะแต่งแบบเรียบง่าย ไม่หรูหรา แต่จุ๋มจิ๋ม จุ๊กจิ๊ก มันก็น่าอยู่ได้ โอกาสต่อไปจะเขียนเรื่องการตกแต่งเรือนไทย (ให้น่าอยู่) มาให้อ่านกันต่อไปครับ


ไปเที่ยวนครปฐมแล้วอย่าลืมซื้อข้าวหลามติดมือมาฝากด้วยหละ..


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1300 เรื่องแล้ว

ส่วนท่านที่ชอบเพลง background ผมได้รวบรวมเพลงไพเราะ เพลงรัก romantic และเพลงซึ้งๆ ที่หาฟังได้ยากในสมัยนี้ ไว้หลายชุด สนใจ email ติดต่อมาได้ครับที่ nana_sara1000@ymail.com

หลังจากที่ home’s lover club ที่ ning.com ต้องปิดลงไปเพราะเขาคิดค่าใช้จ่าย จึงจำต้องย้ายที่ ตอนนี้ผมเริ่มรวบรวมภาพต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน การจัดสวน และที่ยังไม่ได้เอามาเขียน มารวบรวมไว้ที่ facebook ถ้าใครสนใจก็เข้าไปดูได้นะครับ ที่ //www.facebook.com/reqs.php#!/nanasara1000?v=photos

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

( ข้อมูลและภาพถ่าย จากหนังสือ พระตำหนักทับขวัญ
และพระราชวังสนามจันทร์ จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร )




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 มกราคม 2554 22:31:47 น.
Counter : 13360 Pageviews.  

บ้านปาร์คนายเลิศ : Contemporary Thai House

บ้านปาร์คนายเลิศ
Contemporary Thai House

บ้านไทยร่วมสมัยหลังนี้ นับว่าเป็นบ้านที่คลาสสิคมากที่สุดหลังหนึ่งในเมืองไทยเลยทีเดียว เป็นบ้านที่ออกแบบก่อสร้างมาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว คือบ้านปาร์คนายเลิศที่ถนนวิทยุนี่เอง




หลังคาของบ้านชั้นบนจะเป็นหลังคาทรงปั้นหยา แต่มีชายคาลึกซ้อนอีกชั้นหนึ่ง
ทำให้ช่องระหว่างหลังคานี้เป็นที่ระบายถ่ายเทอากาศจากกระแสลมภายนอกได้อย่างดี



บ้านปาร์คนายเลิศ ก่อสร้างโดยนายเลิศ หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์ ซึ่งถือว่าเป็นนักธุรกิจหัวใหม่ในยุคนั้น เป็นผู้ก่อตั้งรถเมล์ขาว บริการรถเมล์สายแรกของไทย และมีกิจการที่บุกเบิกขึ้นใหม่อีกหลายอย่าง ปัจจุบันตกทอดมาถึงรุ่นลูกคือท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ในยุคนั้นเป็นระยะปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านหลังนี้ทหารญี่ปุ่นเคยใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวจากฝ่ายสัมพันธมิตรถึง 200 คน เคยถูกระเบิดลงถึง 22 ลูก เสียหายขนาดที่เรือนหลังหนึ่งหงายขึ้นมาทั้งหลัง โชคดีที่ครั้งนั้น ไม่มีใครอยู่บ้านจึงรอดชีวิตมาได้หมด จนเมื่อสงครามสงบลงพระยาภักดีนรเศรษฐ์จึงได้ทำการซ่อมแซมบูรณะตัวบ้านขึ้นใหม่ โดยคิดเอง ทำเอง เป็นสถาปนิกเอง หมดเงินไปถึง 100,000.บาท โดยบ้านหลังใหม่นี่ก็ทำเหมือนเดิมทุกอย่าง ใช้ไม้สักทั้งหมด




การทำชายคาลึกและกว้างจะทำให้สามารถกันแดดและฝนแรงๆได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องห่วงเรื่องแดดส่องฝนสาด ทำให้สามารถทำเป็นเรือนโปร่งได้โดยไม่ต้องมีผนังแบบเรือนไทยเดิม ทั้งยังสามารถมองเห็นสวนภายนอกได้อย่างเต็มที่


แม้ว่าบ้านจะสร้างมานานกว่า 100 ปีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในสภาพดีเยี่ยม เพราะก่อสร้างอย่างดี และได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี ตัวบ้านก่อสร้างเป็นเรือนแฝดชั้นเดียว มีชานแล่นเชื่อมถึงกันแบบเรือนไทย มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นพิเศษคือ การทำหลังคาซ้อน 2 ชั้น เพื่อการระบายอากาศ ทำให้ภายในบ้านเย็นสบาย ไม่ต้องติดแอร์ให้เปลืองไฟ แต่ประการใด ซึ่งก็คือจุดดีของเรือนไทยทั่วไปนั่นเอง





ภายในก็ทำเพดานสูงคือทำฝ้าชิดหลังคา ทำให้อากาศภายในที่เป็นอากาศร้อน ลอยอยู่ด้านบน ด้านล่างคือระดับที่คนอยู่ก็จะไม่ร้อน



ห้องบางห้องต้องการสัดส่วน หรือการใช้งานที่แตกต่างกัน ก็กั้นด้วยผนังกระจกบานใหญ่ โปร่ง เป็นวัสดุที่เรือนไทยเดิมยังไม่มีใช้ในยุคก่อน เป็นวัสดุที่ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ ผลิตขึ้นได้ในยุคหลังนี่เอง



จะเห็นบานเกล็ดในส่วนใต้หลังคาปั้นหยา คือการออกแบบระบบระบายอากาศ 2 ชั้นซ้อน ที่เป็นเคล็ดให้ตัวบ้านเย็นสบายกว่าปกติ เรียกว่าภายนอกจะมีอุณหภูมิร้อนยังไงก็ตามภายในก็จะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าเสมอ

TraveLAround


เรียบเรียง ด้วยข้อมูลและภาพ
จากหนังสือ วิมาน vol.4 no.5 march 1993




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2551 15:13:50 น.
Counter : 5984 Pageviews.  

1  2  3  4  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.