"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

เสน่ห์เรือนไทยเดิม | Thai Traditional House

เสน่ห์เรือนไทยเดิม

ทุกๆคนคงเคยรู้จักกับเรือนไทยเดิมมาแล้ว ไม่มากก็น้อย จากการเห็นของจริง เห็นผ่านๆ หรือดูรูปหรือเห็นในทีวี แต่คงไม่มีโอกาสมากในปัจจุบัน อย่างคนกทม.นั้นแม้จะมีเรือนไทยสวยๆอยู่หลายหลัง ที่มีชื่อเสียงเช่น บ้านจิม ทอมสัน หรือบ้านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้น แต่ก็คงไม่มีโอกาสไปชมง่ายๆ ที่น่าจะพบเห็นบ่อยกว่าน่าจะเป็นเรือนไทยในวัด ที่เป็นหมู่กุฏิของพระนั่นเอง ถ้าเป็นวัดเก่าๆก็จะมีเกือบทุกวัด ไม่มากก็น้อยหลัง แต่บรรยากาศในวัดคงไม่น่าอยู่เท่าตามบ้าน เพราะการตกแต่งประดับประดาก็จะต่างกันไป





ตามบ้านก็จะตกแต่งกันสวยงาม เพราะผู้ที่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของเรือนไทยในปัจจุบันนั้นมักมีกะตังค์เหลือใช้ กันทั้งนั้น เป็นชาวต่างชาติก็มาก ส่วนตามวัด พระท่านอยู่แบบได้รับมรดกตกทอดกันมา (ทั้งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของตัวจริง) ท่านก็อยู่แบบสมถะ ตามสมณะสารูป จะไปตกแต่งสวยๆให้ญาติโยมนินทาก็กระไรอยู่








เสน่ห์เรือนไทยนั้น อันดับแรกก็คงเป็นเอกลักษณ์ของรูปทรง องค์ประกอบที่เด่นชัด ไม่มีใครเหมือน รูปทรงหลังคาจั่ว สามเหลี่ยมสูง ชายคายื่นยาวรอบด้าน การประกอบด้วยไม้ล้วนๆ และการยกใต้ถุนสูง ล้วนเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวทั้งสิ้น ผ่านการคิด กลั่นกรอง พัฒนา มาจากภูมิปัญญาช่างไทยแต่โบราณ จากรุ่นสู่รุ่น จนสวยงามลงตัวอย่างที่สุด





องค์ประกอบต่างๆของเรือนไทยนั้น ล้วนเกิดจากประโยชน์ใช้สอย ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัยในพื้นที่เมืองไทยในภาคกลางนี้โดยเฉพาะ จึงมีชื่อเรียกกันเป็นทางการสำหรับเรือนไทยลักษณะนี้ว่า เรือนไทยภาคกลาง ที่จริงแล้วเรือนไทยยังแบ่งได้เป็นเรือนเครื่องสับ และเรือนเครื่องผูก ที่ใช้ไม้ประกอบเจาะร่อง รู เข้าเดือย เข้าลิ้น นั้น เราเรียกว่าเรือนเครื่องสับ ต้องใช้ไม้เนื้อแข็งก่อสร้าง ที่นิยมกันมากก็จะใช้ไม้สักกันเพราะมีลายสวย คนนิยม ปลวกไม่นิยม แข็งแรงทนทาน





ส่วนเรือนเครื่องผูกนั้นจะใช้วัสดุที่ไม่คงทน ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว คือไม้ไผ่เป็นหลัก การก่อสร้างก็จะใช้วิธีมัด ผูกส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน มีน้ำหนักเบา ไม่ต้องเสียเวลานั่งบาก นั่งเจาะ แต่ความแข็งแรงก็จะน้อยกว่า และไม่ทนทานนานปี อย่างสมัยก่อนพวกเรือนแพริมน้ำก็นิยมเรือนเครื่องผูกมาก แต่ด้วยความไม่ทนทานนี่เอง ปัจจุบันจึงไม่เหลือให้เห็นกันแล้ว อาจจะมีเหลืออยู่บ้างแถวพิษณุโลก แต่ก็เป็นเรือนเครื่องสับเสียมากกว่า


เรือนไทยที่สวยๆ มีบริเวณกว้างๆจะมีความสง่าดูภูมิฐาน ด้วยองค์ประกอบเรือนหลายๆหลัง ที่ประกอบกันเข้าเป็นเรือนหมู่ ต่อเชื่อมกันด้วยชานแล่น เป็นชานกลาง ทั้งหมดยกพื้นสูงมีใต้ถุน ซึ่งก็เป็นที่ใช้งานอเนกประสงค์ อันนี้เกิดจากประโยชน์ใช้สอยและภูมิปัญญาไทยอีกเช่นกัน เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ที่ราบลุ่มภาคกลางของไทยเรานั้นมันต้องรับน้ำฝนจากทางเหนือทุกๆปี มากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นการยกใต้ถุนนี่ก็คือการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวรนั่นเอง น้ำมาคราใดเมื่ออยู่บนเรือนแล้วก็ไม่ต้องหนีไปไหน ไม่ต้องปีนไปนอนบนหนังคาชมดาว ใต้ถุนเรือนก็จะมีเกวียน มีเรือแจวเก็บอยู่ ธรรมดาก็ใช้เกวียน พอน้ำมาก็พายเรือ เขามีความยืดหยุ่นต่อปัญหาของภูมิอากาศมาก เพราะปรับตัวตามธรรมชาติ ไม่ได้สร้างอะไรที่จะเอาชนะธรรมชาติอย่างคนสมัยใหม่







เรื่องฝนก็เป็นปัญหาของภูมิอากาศ เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ การทำหลังคาจั่วสูงก็ด้วยความที่ว่าสมัยก่อนโน้น เขามุงหลังคาจากอย่างเดียว ใบจากถึงแม้เป็นวัสดุที่กันน้ำได้แต่มีลักษณะเป็นใบเล็กยาว จึงต้องเอามาเย็บต่อกันเป็นตับๆ แล้วจึงขึ้นมุง การยกองศาหลังคาให้สูงก็เพื่อให้น้ำฝนระบาย ไหลลงได้เร็ว ก่อนที่มันจะซึมผ่านจาก เป็นชั้นๆเข้าไปในห้องได้ ขณะเดียวกัน ส่วนภายในของจั่วที่ยกสูงนี้ก็เป็นที่ระบายอากาศร้อนจากภายใน ระบายออกทางหน้าจั่ว ทำให้เรือนไทยเย็นสบายกว่าตึกคอนกรีตฉาบปูนที่ดูดซึมความร้อนเก็บไว้ภายในบ้าน ชายคาเรือนไทยก็จะแผ่กว้าง คลุมต่ำ เพื่อกันแดดกันฝน ตามท้องทุ่งที่พัดกระหน่ำไปตามแรงลมนั่นเอง







เรือนหลังนี้เป็นเรือนใหม่ ใช้ช่างจากอ่างทอง เจ้าของดัดแปลงด้านล่างเป็นห้องอาหารและครัว จึงมีผนังกั้นเป็นห้อง ไม่เป็นใต้ถุนโล่ง


ฝาปะกนของเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์สวยงามนั้น ก็เป็นการก่อสร้างที่ใช้เทคนิควิธีที่ฉลาดลึกซึ้ง การใช้ไม้แผ่นเล็กๆมาประกอบกันเข้าจนเป็นแผ่นผืนผนังนั้น เป็นการประหยัดทรัพยากร และใช้ไม้อย่างมีคุณค่า ทั้งยังทำให้ฝามีน้ำหนักเบาประกอบติดตั้งง่าย สมัยก่อนการก่อสร้างเรือนแบบลงแขกนั้น เขาทำกันวันเดียวเสร็จเลยนะ จะมีช่องหน้าต่างหรือประตูก็ทำสำเร็จเลย แล้วค่อยยกติดตั้ง





เรื่องเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเสน่ห์เรือนไทยเดิมเท่านั้น ยังมีเรื่องของเรือนไทยเดิมอีกมากที่น่าสนใจ จะนำมาเล่าให้ฟังกันต่อไป




 

Create Date : 31 ตุลาคม 2550    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2551 10:29:29 น.
Counter : 7375 Pageviews.  

Contemporary Thai House

ดูภาพบ้านสวยๆ ที่ออกแบบเป็นบ้านไทยร่วมสมัย
โดยใช้ Concept คือหลักการออกแบบ วางผังแบบบ้านเรือนไทย
แต่การออกแบบต้วบ้านไม่ได้ใช้รูปแบบเป็นเรือนไทยเดิม

แปลนบ้านแบบเรือนไทยคือ มีเรือนหมู่ล้อมรอบชานกลาง
บางแห่งชานกลางก็จะเป็นชานโล่ง
บางที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ขึ้นมา
บางที่ต้องการใช้งานมากหน่อย
ก็จะสร้างเป็นโถงกลาง อเนกประสงค์ ใช้งานสารพ้ด
รอบโถงกลางก็จะเป็นระเบียงรอบ เดินได้ทั่วถึง
มีชายคากันแดด กันฝน
อย่างบ้านหลังนี้ แปลนบ้านก็เหมือนอย่างที่ว่า
แต่บ้านทั้งหลังมีหลังคาใหญ่ คลุมเป็นหลังคาเดียว
มีผนังก่ออิฐ ฉาบปูน แบบบ้านสมัยใหม่
หลังคาไม่ได้แยกเป็นหลังคาจั่วแบบเรือนไทย หลายๆหลังชนกัน
นี่คือการใช้ concept การใช้งานแบบเรือนไทย
จึงเรียกว่าเป็นบ้านไทยร่วมสมัย
ไม่ได้ copy แบบบ้านสเปน หรือเมดิเตอร์เรเนียน แบบบ้านจัดสรร
แปลนบ้านออกมาก็จะมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน





ทางเดินภายใน ชั้นล่างใช้เสาไม้รับระเบียงข้างบน
เป็นการใช้งาน 2 ชั้น ต่างจากเรือนไทยที่จะมีชั้นเดียว
แต่ได้บรรยากาศ คล้ายๆกัน





สวนภายนอกจัดโดยใช้ concept คือหลักการแบบสวนไทยเช่นกัน
คือการใช้ไม้ตกแต่ง ทั้งไม้ยืนต้น และไม้ประดับ
ผสมผสานกันตามธรรมชาติ โดยไม่ได้ตกแต่งตัดแต่ง
ให้มีลักษณะเป็นรูปทรงหรือทำอย่างจงใจ
การดูแลรักษาง่าย




ทางเข้าหน้าบ้านเป็นซุ้มนั่งเล่นได้ หน้าจั่วปั้นลมใหญ่จะใช้ปูนเป็นหลัก และแต่งคิ้วด้วยไม้ ทำให้ทนทานกว่าการใช้ไม้ล้วนๆ





ระเบียงทางเดินภายในอีกมุมหนึ่ง จะเห็นการใช้ไม้ฉลุ ซึ่งเป็นของเก่าเอามาประกอบเข้า ทำให้ลดความรู้สึกกระด้างของโครงสร้างคอนกรีตลง




คอร์ทกลางเป็นสวนภายใน ใช้น้ำตกและบ่อปลาเพิ่มความเย็นให้กับตัวบ้าน




ห้องที่ล้อมรอบคอร์ทกลางจะเปิดช่องหน้าต่างกระจกใหญ่ ทำให้คนในบ้าน
สามารถมองเห็นกันได้ ไม่ใช่พอเข้าบ้านแล้ว ต่างคนต่างปิดห้องอยู่เป็นส่วนตัว
จนขาดความสัมพันธ์เกินไป




บันใดเปิดโล่งอยู่ในส่วนโถง ทำให้ดูโล่งกว้าง ไม่อึดอัด โครงสร้างเสาคอนกรีต
ทำเป็นเสา 8 เหลี่ยมลดความเทอะทะ และดูกลมกลืนกับโครงสร้างไม้





ห้องนอนเปิดหน้าต่างสู่คอร์ทภายใน





ด้านนอกก็เปิดชมวิวภายนอกได้เต็มที่โดยเพิ่มช่องแสงใต้หน้าต่างขึ้นอีก




ตัวบ้านภายนอกเป็นหลังคาคลุมแบบปั้นหยา มีชายคาลึกๆ
เพื่อกันแดดและฝนอย่างเรือนไทย




มุมด้านหน้าบ้านอีกมุมหนึ่ง




ประตูรั้ว นอกจากระแนงกึ่งโปร่งแล้ว การใช้ไม้คาดกากะบาทจะช่วยเพิ่มความ
แข็งแรงให้กับประตู แต่การเพิ่มกากะบาทเล็กๆเข้าไปอีกทำให้เกิดรายละเอียด
ที่ดูเป็นรูปปลาตะเพียนคู่ เสริมความเด่นให้กับประตูที่เปิดออกสู่บึงของหมู่บ้าน




การสร้างบ้านไทยแบบร่วมสมัยนี้ มีข้อดีที่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมาก เพราะโครงสร้างหลัก จะใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาโครงสร้างเหล็ก ซึ่งมีราคาไม่แพง เทียบกับไม้ในปัจจุบัน ที่ทั้งแพงและหายาก และยังสามารถปรับผังการใช้งานได้หลากหลาย เพียงแต่ยังคงรักษาหลักการ ในการวางผัง และรายละเอียดที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือนไทยเท่านั้น




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2550    
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2550 2:42:00 น.
Counter : 4536 Pageviews.  

1  2  3  4  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.