"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๒ : พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๒ : พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์

พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์
แก่พระอรหันตสงฆ์ในวันเพ็ญมาฆบูชา
เนื่องจากวันที่พระสารีบุตรเถระเจ้า ได้บรรลุพระอรหัต เป็นวันมาฆปรุณมี เพ็ญเดือน ๓ เวลาบ่าย พระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่เวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่นี่ บรรดาพระสาวกพระอรหันต์ขีณาสพเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ที่แยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนา เมื่อเสร็จกิจประกาศพระศาสนาจึงต่างจาริกมาเฝ้า เมื่อมาพร้อมหน้ากันมากตั้งพันกว่าองค์ คือ พระอรหันต์ซึ่งอยู่ในคณะของพระอุรุเวลกัสสปเถระ พระนทีกัสสปเถระ พระคยากัสสปเถระ รวม ๑,๐๐๐ องค์ กับพระอรหันต์ซึ่งอยู่ในคณะของพระสารีบุตรเถระ พระโมคคัลลานะเถระ รวม ๒๕๐ องค์ รวมทั้งสองคณะ ๑,๒๕๐ องค์ ได้พร้อมกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเห็นเป็นนิมิตอันดี จึงได้เสด็จในท่ามกลางพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์นั้น แสดงโอวาทปาติโมกข์ ทรงทำวิสุทธิอุโบสถ ประทานธรรมอันเป็นหลักแห่งพระศาสนา เพื่อเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาสำหรับพระสาวกสืบไป




การประชุมพระสาวกครั้งนี้ ผู้นับถือศาสนาพุทธในสมัยต่อมาเห็นเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญมาก จึงกำหนดถือวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ในวันเพ็ญเดือน 3 ที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ว่า "วันมาฆบูชา"
การประชุมพระสาวกของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ แปลกกว่าทุกคราวที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล คือ พระสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูปนั้น แต่ละรูป แต่ละองค์ล้วนบวชกับพระพุทธเจ้า มีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน คือ พระพุทธเจ้า ล้วนเป็นพระอรหันต์ ต่างมาประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุม การประชุมพระสาวกครั้งนี้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามลักษณะแปลก ๔ ประการนี้ว่า "จาตุรงคสันนิบาต" คือการประชุมที่มีองค์ 4 อันได้แก่
1) เป็นวันเพ็ญเดือน 3 พระจันทร์เสวยมาฆะฤกษ์
2) พระสงฆ์สาวก 1250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
3) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนสำเร็จอรหัตตผล
4) พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ

พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์
แก่พระอรหันตสงฆ์ในวันเพ็ญมาฆบูชา

สมัยที่กล่าวนี้ พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงบัญญัติวินัยปกครองสงฆ์ เพราะพุทธศาสนาเพิ่งเริ่มก่อตั้ง เหล่าอรหันต์สาวกยังไม่มีการประพฤติผิด หรือทำความเสียหายใดๆขึ้น แต่พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงทรงวางหลักปกครองสงฆ์ไว้แต่โดยย่อ เทียบให้เห็น คือ เมืองไทยสมัยไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีรัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร แต่มีธรรมนูญเป็นหลักปกครองแทน ธรรมนูญนี้เทียบได้กับโอวาทปาติโมกข์ ส่วนรัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรก็เทียบได้กับวินัยพุทธบัญญัติทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นในเวลาต่อมา




เมื่อเป็นโอกาสอันดีครั้งนี้ พระพุทธองค์จึงประชุมพระสาวกแล้วแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูปนั้น "โอวาทปาติโมกข์" คือ หลักการโดยสรุปของศาสนาพุทธ เพื่อให้ออกเผยแพร่ มีทั้งหลักคำสอน และหลักการปกครองคณะสงฆ์ มีทั้งหมด ๑๓ ข้อด้วยกันเช่น เป็นต้นว่า ศาสนาพุทธสอนว่า ละชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตบริสุทธิ์ผ่องใส สุดยอดของคำสอนอยู่ที่นิพพาน ดับกิเลสพ้นทุกข์ และเป็นพระสงฆ์ต้องสำรวม กินอยู่พอประมาณ อดทน ไม่กล่าวร้ายป้ายสีคนอื่น และไม่เบียดเบียนคนอื่น




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 10:39:29 น.
Counter : 7408 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๑ | ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๑ : ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ


ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ

คราวหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จจาริกโปรดประชาชนในมคธชนบท ทรงประทับอยู่ใต้ร่มไทร เรียกว่า พหุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และนาลันทาต่อกัน ในเวลานั้น ปิปผลิมาณพ กัสสปโคตร ที่เกิดเบื่อหน่ายในการครองเรือน (เช่นเดียวกับพระยสะ และผู้คนจำนวนมาก ในเวลานั้น แม้ยังไม่เกิดพระพุทธศาสนา ก็พากันออกแสวงหาสัจจธรรมกันโดยทั่วไป แต่บรรดาลัทธิ ฤาษี ชี พราหมณ์ ก็หาได้เป็นหนทางที่หลุดพ้นไม่)

ปิปผลิมาณพ ที่ถือเพศบรรพชิตบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก เที่ยวจาริกมาถึงที่นั่น พบพระพุทธองค์เกิดความเลื่อมใส นับถือพระพุทธองค์เป็นศาสดาของตนแล้วทูลขอบวช พระองค์ทรงประทานอุปสมบทให้ โดยการประทานโอวาท ๓ ข้อว่า
๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและยำเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็น ผู้เฒ่า ผู้ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า
๒. ธรรมใดก็ตาม ที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูฟังธรรมนั้น และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น
๓. เราจักไม่ละสติที่เป็นไปในกาย คือ พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ( กายคตาสติ )

ครั้นทรงสั่งสอนอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป
การบวชแบบนี้จึงเรียกว่า " อุปสมบทโดยการรับโอวาท ๓ ข้อ "

ท่านพระปิปผลิ เมื่อได้ฟังพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนแล้ว ก็เร่งบำเพ็ญเพียรไม่นานนัก ในวันที่แปดนับแต่อุปสมบท ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ เมื่อท่านเข้ามาสู่พระธรรมวินัย สหธรรมิกทั้งหลายมักเรียกชื่อท่านว่าพระมหากัสสปะ ท่านเป็นพระเอตทัคคมหาสาวกทางอยู่ธุดงค์วัตร ในขณะที่เข้ามาบวช พระกัสสปะมีอายุมากกว่าพระพุทธเจ้าเล็กน้อย และต่อมาภายหลังท่านก็เป็นผู้ที่ให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฏกเป็นครั้งแรก หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระกัสสปเถระเป็นผู้มีอายุยืน ท่านนิพพานเมื่อท่านได้ประมาณอายุ 140 ปี





 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2551 10:45:48 น.
Counter : 9086 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๐ | พระพุทธเจ้าทรงให้มี อุปัชฌาย์

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๐ : พระพุทธเจ้าทรงให้มี อุปัชฌาย์

พระพุทธเจ้าทรงให้มี อุปัชฌาย์

หลังจากทรงโปรด อุปติสสะและโกลิตะ และผองเพื่อนปริพาชกทั้งหลายจนได้บรรลุอรหัตตผลแล้วทั้งสิ้น ภายในเมือง เกิดเสียงติเตียนกันมากขึ้น เนื่องจากเหล่าพวกกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ต่างพากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ดังนั้นประชาชนที่ไม่ได้นับถือในพระพุทธศาสนา จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า พระสมณะโคดมปฏิบัติเพื่อให้ชายไม่มีบุตร พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อให้หญิงเป็นหม้าย พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อตัดสกุล บัดนี้พระสมณโคดมให้ชฎิล 1000 รูปบวชแล้ว และให้ปริพาชกศิษย์ของท่านสญชัย ๒๕๐ คนนี้บวชแล้ว และกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียง พากันประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม ไปหมดแล้ว บัดนี้ จักทรงนำใครไปอีกเล่า

ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้นจักอยู่ไม่ได้นาน จักอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็จักหายไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าชนเหล่าใดกล่าวหาต่อพวกเธอ ด้วยความนั้น พวกเธอจงกล่าวโต้ตอบต่อชนเหล่านั้น ด้วยคาถานี้ว่า
พระตถาคตทั้งหลายผู้แกล้วกล้ามาก
ย่อมทรงนำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม
เมื่อชนทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไป
อยู่โดยธรรม ผู้เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม”

เมื่อภิกษุทั้งหลายได้กล่าวโต้ตอบต่อประชาชนพวกนั้น ด้วยคำของพระพุทธองค์แล้ว ประชาชนทั่วไปจึงกล่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทรงนำชนทั้งหลายไปโดยธรรม ไม่ทรงนำไปโดยอธรรม” เสียงนั้นก็ได้มีเพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วันก็หายไป และกลับมีประชาชนเข้ามาขอบวชกันมากขึ้น

เมื่อมีผู้มาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์มาก พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต ให้หมู่ภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไปบวชให้กับผู้พึงประสงค์จะบวชได้ เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์มีจำนวนมาก มาจากฐานะต่างๆ มีอุปนิสัยต่างๆกัน ทำให้เกิดความโกลาหลและความไม่มีระเบียบในคนหมู่มาก เช่นการนุ่งห่มจีวร การบิณฑบาต ฯลฯ พระพุทธเจ้าจึงทรงให้มี อุปัชฌาย์ ที่ค่อยแนะนำสั่งสอน และเป็นหัวหน้าในการบวชพระให้กับผู้พึงประสงค์จะบวช และคุณสมบัติข้อหนึ่งของอุปัชฌาย์ คือมีอายุพรรษา ตั้งแต่ 10 พรรษา และเป็นผู้มีปัญญา และความเฉลียวฉลาด




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 26 พฤษภาคม 2551 12:49:21 น.
Counter : 983 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗๙ | ทรงโปรด ๒ อัครสาวก

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗๙ : ทรงโปรด ๒ อัครสาวก


ทรงได้ ๒ อัครสาวก
อุปติสสะและโกลิตะ บวชแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์

ขณะที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน และแสดงพระธรรมเทศนาในท่ามกลางจตุบรรษัทนั้น เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรเห็นอุปติสสะและโกลิตะ พาหมู่บริษัททั้ง ๒๕๐ คน ตรงเข้ามาแต่ไกลเช่นนั้น ก็ทรงตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า " ภิกษุทั้งหลาย โน่น! คู่อัครสาวกของตถาคตมาแล้ว อุปติสสะและโกลิดะ ที่กำลังมานั้น จะเป็นคู่อัครสาวกของตถาคตในกาลต่อไป ทั้งยังพาบริวารของเธอมาให้ตถาคตด้วย " เมื่อปริพพาชกทั้งหลายเข้ามาเฝ้าแล้ว พระบรมศาสดาก็แสดงธรรมโดยควรแก่อุปนิสัยของปริพพาชกเหล่านั้น ครั้นจบพระธรรมเทศนา ปริพพาชกทั้งหมด เว้นอุปติสสะและโกลิตะได้บรรลุอรหัตตผลด้วยกันสิ้น


พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก

สหายทั้งสอง จึงพาบริษัทของตนทั้งหมดเข้ากราบทูลขอประทานอุปสมบท สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสมบท แก่ปริพพาชกทั้ง ๒๕๐ คนนั้น เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา แล้วตรัสเรียกชื่อสหายทั้งสองนั้นตามนามของมารดา คือรับสั่งเรียก อุปติสสะ ผู้เป็นบุตรของนางสารีพราหมณีว่า สารีบุตร รับสั่งเรียก โกลิตะ ผู้เป็นบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณีว่า โมคคัลลานะ อาศัยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับสั่งเรียกท่านทั้งสองเช่นนั้น ในท่ามกลางบริษัท ๔ พุทธบริษัทจึงนิยมเรียกท่าน ด้วยชื่อที่ได้รับพระมหากรุณาประทานใหม่ตลอดอายุของท่าน และนิยมเรียกตลอดมาจนถึงปัจจุบัน



ฝ่ายพระโมคคัลลานะ อุปสมบทแล้วได้ ๗ วัน หลีกไปทำความเพียรอยู่ในเสนาสนะป่า ใกล้บ้านกัลลวาละมุตตคาม ในแคว้นมคธ ความง่วงครอบงำนั่งโงกอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ตรัสบอกอุบายระงับความง่วงให้อันตรธานแล้ว ทรงประทานโอวาทในธาตุกัมมักฏฐาน พระโมคคัลลานะได้สดับแล้วปฏิบัติตาม ก็ได้บรรลุพระอรหัตในวันนั้น



ส่วนพระสารีบุตรอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน ตามพระบรมศาสดาไปอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา ใกล้กรุงราชคฤห์ ได้สดับพระธรรมเทศนา เวทนาปริคคหสูตร ซึ่งพระบรมศาสดา ทรงแสดงแก่ปริพพาชกชื่อว่า ทีฆนขะ อัคคิเวสนโคตร ผู้เป็นหลานของพระเถระเจ้า พระเถระเจ้าตั้งใจกำหนดพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศนานั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต ส่วนทีฆนขะปริพพาชกได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

ในกาลนั้น พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งพระเถระเจ้าทั้งสองไว้ในตำแหน่ง คู่แห่งอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย




 

Create Date : 23 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 23 พฤษภาคม 2551 21:14:54 น.
Counter : 1270 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗๘ | การบังเกิดขึ้นของอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๗๘ : การบังเกิดขึ้นของอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย

การบังเกิดขึ้นของอัครสาวกเบื้องขวาและซ้าย
พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร

ท่านสญชัยเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในแคว้นมคธ มีลูกศิษย์และคนนับถือมาก โมคคัลลาน์ และสารีบุตร เคยอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาหาความรู้ เพื่อทางพ้นทุกข์ แต่ครั้นศึกษาจบแล้วเห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไป แล้วจึงมาพบพระอัสสชิในเมืองราชคฤห์

พระอัสสชิเป็นรูปหนึ่งในคณะพระเบญจวัคคีย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา ท่านทราบว่าเวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ท่านจึงเดินทางเพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นั่น ระหว่างทางมาได้พบพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นยังเป็น "อุปติสสปริพาชก" ที่เห็นกิริยาท่าทางของพระอัสสชิน่าเลื่อมใส จึงสนใจเข้าไปสนทนาถามถึงทางปฏิบัติ และผู้เป็นพระศาสดา เมื่อได้ฟังก็ชอบใจ ภายหลังจากนั้นจึงกลับมาชวนสหาย คือ โมคคัลลาน์ หรือ "โกลิตปริพาชก" ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยปริพาชกบริวาร ที่ติดตามมาอีก ๒๕๐ คน




ท่านสารีบุตรและท่านโมคคัลลานะเป็นชาวแคว้นมคธ มีชื่อเดิมว่า อุปติสสะและโกลิตะ แต่นิยมเรียกท่านว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ตามชื่อมารดาของท่านทั้งสอง ในวันหนึ่งอุปติสส ได้พบกับพระอัสสชิเถระ ขณะที่กำลังเดินเพื่อบิณฑบาตอยู่ อุปติสสเห็นกริยาท่าทาง และความสงบ และความมีราศี ของพระอัสสชิเถระ ก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงเดินตามไปห่างๆ เมื่อพระอัสสชิเถระเสร็จจากบิณฑบาตแล้ว อุปติสสปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ แล้วได้พูดปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ อยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงกล่าวกับท่านพระอัสสชิว่า “อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ?”
พระอัสสชิ จึงตอบว่า “ มีอยู่ ท่านพระมหาสมณะศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
อุปติสสถามว่า “ ก็พระศาสดาของท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร?”
พระอัสสชิ ตอบว่า “เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ”
อุปติสส จึงกล่าวว่า “จะน้อยหรือมาก ก็นิมนต์กล่าวเถิด แต่ท่านจงกล่าวแต่ใจความสำคัญแก่ข้าพเจ้า เท่านั้นก็พอ ไม่จำเป็นต้องกล่าวอธิบายอย่างอื่นให้มากความ ”

พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ จึงได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชกว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ”
พระพุทธองค์ ทรงสั่งสอนอย่างนี้

ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ สารีบุตรปริพาชกก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา

หลังจากนั้นอุปติสส ก็รีบเดินทางไปหาท่านโกลิต และบอกธรรมที่ท่านได้รับฟังจากพระอัสสชิเถระให้ทราบ ท่านโกลิต ก็บรรลุโสดาบันในทันที ทั้งสองจึงได้กลับไปชวนอาจารย์สัญชัยปริพาชก ให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกไม่ยอมไป แต่มีลูกศิษย์ 250 คนยอมติดตามไปกับท่านอุปติสส และท่านโกลิต ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงราชคฤห์


พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้มีปัญญาเป็นเลิศ พระสารีบุตร เมื่อใกล้จะนิพพาน ได้ไปลาพระพุทธเจ้าเพื่อไปนิพพานที่บ้านเกิด และได้มีโอกาส แสดงธรรมให้กับมารดาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วพระสาริบุตรท่านก็นิพพานด้วยโรคถ่ายเป็นโลหิต ปรินิพพานเมื่อวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 6 เดือน ฝ่ายพระโมคคัลลานะ เมื่อใกล้นิพพานท่านถูกโจรทุบตีทำร้ายจนกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก แต่ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ประสานกระดูกของท่าน เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อลานิพพาน เมื่อลาพระพุทธเจ้าแล้วท่านก็ไปที่ กาฬศิลาแคว้นมคธ แล้วปรินิพพาน ณ ที่นั้น เมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วัน และก่อนพระพุทธเจ้าประมาณ ๕ เดือนครึ่ง ดังนั้นอายุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็ประมาณ 70 ปี ขึ้นไป จึงปรินิพพาน เพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อายุอ่อนกว่าพระพุทธเจ้า แม้น้องชายของพระสารีบุตร ก็เข้ามาบวชพระจนหมด แม้แต่น้องคนเล็ก อายุประมาณ 7 ขวบกว่าๆ ก็ยังเข้ามาบวช และได้เป็นพระเอตทัคคมหาสาวกผู้อยู่ป่าเป็นเลิศ




 

Create Date : 22 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 22 พฤษภาคม 2551 16:12:47 น.
Counter : 3534 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.