"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

รถราง : ระบบขนส่งมวลชนในอดีต

รถราง : ระบบขนส่งมวลชนในอดีต

คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับรถไฟฟ้า ทั้งลอยฟ้า และใต้ดิน กันพอสมควร เพราะเปิดให้บริการมาหลายปีแล้ว แต่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่เคยทราบ ว่าเมื่อก่อนนี้ สมัยเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว กรุงเทพฯเคยมียังมีรถรางไฟฟ้า ที่เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบนี้มาก่อน และมีก่อนใครในเอเชียเสียด้วย แต่การดำเนินการ ก็ไม่ได้ต่อเนื่อง เพราะระบบดังกล่าวมีข้อเสียหลายประการ ที่สำคัญ กระแสความนิยมแพ้รถยนต์ ที่วิ่งได้เร็วกว่า โก้กว่า เมื่อใช้ทางวิ่งบนถนนเหมือนกัน รถรางจึงกลายเป็นระบบล้าสมัยและเกะกะ สุดท้ายจึงต้องกลายเป็นอดีต
























รถรางในสมัยแรกๆ ยังไม่มีรถยนต์เป็นคู่แข่ง มีแต่รถลาก ซึ่งวิ่งช้ากว่า








สภาพบ้านเมืองของกรุงเทพฯในอดีต ยังมีพลเมืองไม่มาก จึงสงบน่าอยู่ รถราก็เพิ่งจะมีวิ่งหลังจากรถรางที่มีมาก่อน ระบบขนส่งสาธารณะ ก็มีรถเมล์โดยสารจาก 20 บริษัทเอกชน กับ 2 รัฐวิสาหกิจ ที่วิ่งคู่ขนานไปกับรถยนต์ พื้นที่ถนนจำนวน 1 ช่องทางใช้เป็นที่วางรางรถราง ซึ่งรถยนต์ ก็สามารถวิ่งทับไปได้ ถ้ารถรางยังไม่มา



































รถราง ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนรถเหมือนกับระบบรถไฟฟ้าในปัจจุบัน แต่จะจ่ายผ่านสายไฟฟ้าที่อยู่ด้านบน ตามเสาไฟฟ้า ผ่านหัวจ่ายที่เป็นท่อนเหล็กที่หมุนได้ อยู่บนหลังคารถราง ซึ่งระบบนี้ ก็ยังมีใช้อยู่ในหลายๆประเทศทางยุโรป เพียงแต่ทันสมัยกว่ามาก การที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนนี่เอง รถรางจึงมีการไฟฟ้านครหลวง เป็นเจ้าของสัมปทานรถรางมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนยุบเลิกสัมปทานรถรางทั้งหมดเมื่อ 1 ตุลาคม 2511







































รถรางวิ่งช้ามาก ความเร็วสูงสุดเท่าที่รถรางทำได้ก็คือประมาณ 45 กม./ชม.เท่านั้น ต่างจากรถไฟฟ้า BTS ยุคปัจจุบันที่วิ่งด้วยความเร็วถึง 80 กม./ชม.เลยทีเดียว เพราะเทคโนโลยี่ในสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้านัก อีกทั้งระบบการวางราง ที่ใช้พื้นที่บนถนน จึงทำให้ไม่สามารถ ทำความเร็วได้ เพราะอันตราย ไม่เหมือนระบบในปัจจุบัน ที่มีการแยกระบบรางอย่างเด็ดขาด จึงมีความปลอดภัยสูง

รถรางสมัยนั้นมี 7 สายหลักๆ คือ
1) สายบางคอแหลม วิ่งจาก เจริญกรุง – บางคอแหลม - ถนนตก ค่าโดยสาร 25 สตางค์ , 50 สตางค์
2) สายสามเสน วิ่งจาก บางกระบือ – สามเสน - ถนนวิทยุ ค่าโดยสาร 25 สตางค์ , 50 สตางค์
3) สายบางซื่อ วิ่งจาก บางซื่อ - เกียกกาย ค่าโดยสาร 10 สตางค์ , 20 สตางค์
4) สายดุสิต วิ่งจาก บางลำพู – ผ่านฟ้า -ท่าเตียน– วัดเลียบ ค่าโดยสาร 15 สตางค์ , 30 สตางค์
5) สายหัวลำโพง วิ่งจาก เทเวศร์ – สะพานดำ - หัวลำโพง ค่าโดยสาร 10 สตางค์ , 20 สตางค์
6) สายสีลม วิ่งจาก สีลม – ศาลาแดง - ประตูน้ำ ค่าโดยสาร 15 สตางค์ , 30 สตางค์
7) สายปทุมวัน วิ่งจาก ยศเส – สนามกีฬาแห่งชาติ - ประตูน้ำ ค่าโดยสาร 15 สตางค์ , 30 สตางค์





















นอกจากประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางแล้ว ประวัติศาสตร์ของรถรางยังมีเรื่องการปราบจลาจลอีกด้วย จากการที่รัฐบาลในสมัยนั้น ต้องการต่อสู้กับมาเฟียจีน ที่เราเรียกว่า อั้งยี่ โดยในปี ค.ศ. 1889 รถรางไฟฟ้าใช้ในการขนทหารเพื่อเข้าไปปราบปราบพวกอั้งยี่ ที่ย่านคนจีนแถบชุมชนจีน (เดี๋ยวนี้เรารู้จักกันว่าเป็นเขตยานนาวา) ตอนนั้นพวกอั้งยี่แตกเป็นสองฝ่าย และเกิดสงครามระหว่างกลุ่มมาเฟียขึ้น โดยมีถนนเจริญกรุงเป็นสนามรบ เหตุการณ์ต่อสู้เริ่มขึ้นกันในคืนวันที่ 19 มิถุนายน 1889 ทั้งสองพวก กั้นสังกะสีและใช้เฟอร์นิเจอร์ขวางถนนไว้






























อั้งยี่ทั้งสองฝ่าย ตะลุมบอนกันด้วยอาวุธทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ มีด และปืน การต่อสู้กัน มีตั้งแต่กลางคืนไปจนยันสว่าง มีคนตายอย่างน้อย 20 คน และบาดเจ็บอีกเป็นร้อย กว่าเหตุการณ์จะสงบลงได้ ก็ด้วยกำลังสนับสนุนของทหาร เพราะเกินกำลังของตำรวจท้องที่ ที่จะจัดการได้ การสู้รบยังดำเนินต่อมาอีก 2 วัน


ปฏิบัติการของทหาร ต้องอาศัยการยกกำลังผ่านเข้ามาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และในวันที่ 21 มิถุนายน 1889 ทหารได้เข้ามาโดยใช้รถรางขนส่งนำกำลังทหาร เข้ามาคุมแนวหน้าของพวก อั้งยี่ โดยยกกำลังทหารไปที่สถานีหลักเมือง โดยใช้กำลังทหารเป็นร้อยๆ นาย พร้อมกำลังอาวุธครบมือ คนขับรถรางเสียสละ เสี่ยงขับรถรางนำกำลังทหารเข้าสู่สนามรบ ทันทีที่เห็นทหารยกกำลังเข้าไปพวกอั้งยี่ ก็หันปากกระบอกปืนเข้าระดมยิงใส่เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ยกกำลังเข้าล้อมปราบ ใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมงในการล้อมปราบ พวกอั้งยี่ ซึ่งนับเป็นสงครามกลางเมืองย่อยๆ เลยทีเดียว พวกอั้งยี่ถูกยิงตายไปกว่า 10 คน บาดเจ็บ 20 กว่าคน และถูกจับมากกว่า 800 คน นับว่าในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ รถรางนับเป็นพระเอกตัวจริงเลยทีเดียว





























น่าเสียดาย ที่การดำเนินงานของรถราง ต้องหยุดลง อาจด้วยหลายๆสาเหตุ ความจำเป็นในช่วงเวลานั้น ทำให้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ต้องขาดตอนไปหลายสิบปี กว่าจะเริ่มต้นใหม่ได้ก็เลยทำยาก และต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ จากภาษีอากรของประชาชนไปมาก และไม่ทันต่อความเจริญของกรุงเทพฯ ปล่อยให้ประเทศขาดดุลการค้า โดยเฉพาะน้ำมัน ปีละหลายหมื่นล้าน และยิ่งล่าช้าไปเท่าไร งบประมาณก็จะยิ่งบานปลายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ




จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เพื่อนบ้านหลายๆประเทศ ที่เคยยากจนล้าหลัง ต้องส่งคนมาดูงานที่บ้านเรา เดี๋ยวนี้เขาเจริญไปไกล ถึงไหนๆแล้ว !!!


TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1350 กว่าเรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

ข้อมูลจาก
exteen.com โดย noom4100
//noom4100.exteen.com/20061118/entry
arunsawat โดย เสลา
//www.arunsawat.com/board/index.php%3Ftopic%3D4278.0&h=350&w=858&sz=71&hl=th
และ 2bangkok.com




 

Create Date : 23 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2554 19:07:01 น.
Counter : 5689 Pageviews.  

ธงช้างเผือก ในแผ่นดินสยาม

ธงช้างเผือก ในแผ่นดินสยาม


ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย สามารถสืบได้ความแต่เพียงว่า ไทยได้ใช้ธงสีแดง เป็นเครื่องสำหรับเรือกำปั่นเดินทะเลทั่วไปมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังไม่ได้มีธงชาติไว้ใช้ดังที่เข้าใจในปัจจุบัน ในจดหมายเหตุต่างประเทศแห่งหนึ่งได้กล่าวว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เรือค้าขายของฝรั่งเศสลำหนึ่ง ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อมาถึงที่ป้อมแห่งหนึ่งของไทย เรือฝรั่งเศสก็ชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายไทยยิงสลุตคำนับ ตามธรรมเนียม แต่เมื่อฝ่ายไทยชักธงขึ้นตอบบ้าง ฝ่ายฝรั่งเศสกลับไม่ยิงสลุตคำนับตอบ เพราะได้ชักเอาธงชาติฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ขึ้นเหนือป้อมด้วยเหตุว่าไทยไม่มีธงชาติของตนใช้ (ขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ไขปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าว จึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย






ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชน ยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง ถือเป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า "พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก" แต่ในพระอธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิได้กล่าวถึงเรื่องธงรูปจักรไว้ แต่กล่าวว่าเปลี่ยนแปลงจากธงแดง มาเป็นธงช้างเผือกในวงจักร ในคราวเดียว





ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง กับ สหราชอาณาจักร ใน พ.ศ. 2398 พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริว่า สยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางเป็นธงชาติสยาม เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงที่เอกชนสยามใช้ทั่วไปไม่พอที่จะสามารถแยกแยะประเทศได้ ในการติดต่อระหว่างประเทศ ธงนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้ธงช้างเผือกเปล่า พื้นสีน้ำเงิน ชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า "ธงเกตุ" (ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน)


































ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เมื่อมองธงชาติซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ไกล จะมีลักษณะไม่ต่างจากธงราชการเท่าไร และรูปช้างที่อยู่กลางธงก็ไม่งดงาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ดังนี้ "ให้แก้ธงชาติเปนพื้นสีแดง กลางเปนรูปช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนแท่น หน้าหันเข้าเสา สำหรับเปนธงราชการ" ประกาศมา ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2459 ซึ่งถือเป็นธงช้างรูปสุดท้ายของธงในสมัยรัตนโกสินทร์


































และช่วงท้ายในปีพ.ศ. 2459 ก็ได้มีการยกเลิกการใช้ธงชาติแบบช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนแท่น หน้าหันเข้าเสา เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี เพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎร ที่ต้องสั่งซื้อธงผ้าพิมพ์รูปช้าง มาจากต่างประเทศ และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้นเป็นที่น่าละอาย (สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2459 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสวัดเขาสะแกกรัง และได้ทอดพระเนตรเห็นชาวบ้านประดับธงช้างเผือกกลับหัว (หมายเหตุ: เหตุการณ์นี้เกิดก่อนพระราชบัญญัติธงฉบับธงช้างเผือกทรงเครื่อง ที่ปรากฏอยู่ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ดังนั้นย่อมต้องเป็นธงช้างเผือกปล่อยบนพื้นแดง แบบสมัยรัชกาลที่ 5 อย่างแน่นอน)) ซึ่งหากเปลี่ยนเป็นธงแถบสีราษฎรก็สามารถทำธงใช้ได้เอง และจะช่วยขจัดปัญหาการติดผิดพลาด พระองค์ได้ทรงพยายามเลือกสี ที่มีความหมายในทางความสามัคคี และมีความสง่างาม โดยก่อนออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ได้ทรงทดลองใช้ธงชาติไทยแบบริ้วขาวแดง 5 แถบติดอยู่ที่สนามเสือป่าในช่วงระยะหนึ่ง

































แต่เนื่องจากธงแดง 5 ริ้วเมื่อดูแล้วไม่สง่างาม จึงมีการปรับเปลี่ยนแถบตรงกลางซึ่งเป็นสีแดงให้เป็นสีน้ำเงินเข้ม การเพิ่มสีน้ำเงินนี้ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาในบันทึกส่วนพระองค์ ว่าได้ทอดพระเนตรบทความแสดงความเห็นของผู้ใช้นามแฝงว่า "อะแคว์ริส" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2460 ได้ทรงแปลข้อความนั้นลงในบันทึกด้วย มีความโดยย่อว่า " เพื่อนชาวต่างประเทศของผู้เขียน (อะแคว์ริส) ได้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่ว่า ยังมีลักษณะไม่สง่างามเพียงพอ ผู้เขียนก็มีความเห็นคล้อยตามเช่นนั้น และเสนอแนะด้วยว่า ริ้วตรงกลางควรจะเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถ้าเปลี่ยนตามนี้แล้ว ธงชาติไทยก็จะประกอบด้วยสีแดง ขาว น้ำเงิน มีสีเหมือนกับธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ และธงดาวของสหรัฐอเมริกา ประเทศพันธมิตรทั้ง 3 คงเพิ่มความพอใจในประเทศไทยยิ่งขึ้น เพราะเสมือนยกย่องเขา ทั้งการที่มีสีของพระมหากษัตริย์ในธงชาติ ก็จะเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงพระองค์ ในวาระที่ประเทศไทยได้เข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ด้วย... "





พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เมื่อทรงทดลองวาดภาพธงสามสีสงในบันทึก ทรงเห็นว่างดงามดีกว่าริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่ ต่อมาเมื่อเจ้าพระยารามราฆพ (ขณะนั้นยังเป็นพระยาประสิทธิศุภการ) ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความเห็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบ และรับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้น จะได้เป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระยาศรีภูริปรีชา ร่างประกาศแก้แบบธงชาติ และได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น ที่ประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีตามแบบที่คิดขึ้นใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นเรียกว่า พระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 ออกประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 มีผลบังคับใช้ภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว 30 วัน ซึ่งต่อมาธงไทยแบบล่าสุดนี้ถูกเรียกว่า "ธงไตรรงค์" ความหมายของสีธงไตรรงค์ คือ สีแดงหมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ และสีขาวหมายถึง ศาสนาซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ ส่วนสีน้ำเงินหมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศ หลังจากนั้นประเทศไทยก็ได้ใช้ธงไตรรงค์จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้


ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องธงช้าง ปัจจุบันมีการเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ธงสยามขึ้น ให้ประชาชนทั่วไป ได้เข้าชม
สนใจ ชมพิพิธภัณฑ์ธงสยาม เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น.
โปรดกรุณาโทรศัพท์เพื่อจองจำนวนเข้าชมล่วงหน้าที่หมายเลข ๐๒๙๓๙๙๕๕๓ และ ๐๒๙๓๙๙๙๒๐

หรือเข้าชม website
//www.talkingmachine.org/siamflag/picture.html



ข้อมูลจาก
//libnara.igetweb.com/index.php?mo=3&art=201356
//www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=14634.5;wap2
ภาพจาก
//www.talkingmachine.org/siamflag/picture.html




 

Create Date : 17 ธันวาคม 2551    
Last Update : 17 ธันวาคม 2551 21:21:51 น.
Counter : 4123 Pageviews.  

การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์


การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์

กรุงเทพฯ เพิ่งได้รับการโหวต ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกมาหมาดๆ เรื่องนี้ไม่ได้มาง่ายๆ เพราะเรื่องทางลบของกรุงเทพฯก็มีข่าวอยู่บ่อยๆ แต่อย่างน้อยต้องยกคุณความดีทั้งหมด ให้กับบรรพบุรุษของเรา ที่ท่านได้สร้างและรักษามาให้ลูกหลานจนถึงวันนี้ เลยอยากพาย้อนอดีตดูสักวัน

พื้นที่ของกรุงธนบุรีหรือบางกอกนั้น ได้มีการสร้างพระนครแห่งใหม่คือ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร (BANGKOK) ขึ้น หลังจากที่เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จึงได้มีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ที่บางกอกฝั่งตะวันออก





สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ฝั่งบางกอกตะวันออกและทำการสร้างพระราชวังโดยพระราชทานนามว่า “ กรุงรัตนโกสินทร์อินทอยุธยา” (ต่อมาสมัย ร.๓ ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยา” สมัย ร.๔ ทรงเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา” ต่อมาเปลี่ยนคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” แล้วเติมสร้อยนามต่อมา(หนังสือกินเนสบุ๊ค ได้ยกให้เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก)คือ

“กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”



สถานที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นชุมชนเก่าที่เรียกว่าบางกอก คำว่าบางกอก นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากบริเวณแห่งนั้นที่มีต้นมะกอกมาก หรือมาจากคำว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก”เนื่องจากพื้นที่บางกอกทั้งฝั่งธนบุรีและกรุงเทพนั้นมีคลองและแม่น้ำล้อมรอบ คล้ายเกาะ และเป็นที่เนินสูงเหมือนเกาะ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงขอให้คนจีน (บรรพบุรุษของพระยาโชฏึกเศรษฐี ต้นสกุล โชติกเสถียร) ที่ทำแปลงสวนผักอยู่บริเวณที่จะสร้างพระบรมมหาราชวังนั้น ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็งหรือ สามเพ็ง(วัดปทุมคงคา) และวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส)แทน เพื่อใช้สถานที่นั้นสร้างพระบรมมหาราชวังตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา

พระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วย วังชั้นนอก วังชั้นใน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอกมีหลายประตูคือ ประตู วิมานเทเวศร์ วิเศษชัยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์ ศักดิ์ชัยสิทธ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร สุนทรทิษา เทวาภิรมย์ อุดมสุดารักษ์ ส่วนประตูพระราชวังชั้นในมีชื่อว่า สุวรรณบริบาล พิมานชัยศรี สีกรลีลาศ เทวราชดำรงศร อุดรสิงหรักษ์ จักรพรรดิ์ภิรมย์ กมลาสประเวศ อมเรศร์สัญจร สนามราชกิจ ดุสิตศาสดา กัลยาวดี ศรีสุดาวงษ์ อนงคลีลา ยาตราสตรี ศรีสุนทร พรหมศรีสวัสดิ์ พรหมโสภา แถลงราชกิจ ปริตประเวศ ราชสำราญ และพิศาลทักษิณ ซึ่งบางประตูก็ถูกรื้อไปแล้ว











ได้มีการสร้างป้อมหอรบไว้รอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง บางป้อมมีหลังคาคลุม มีชื่อ ป้อมอินทรังสรรค์ (อยู่มุมกำแพงด้านตะวันตก สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม ป้อมนี้ถูกรื้อสมัย ร.๖ เพื่อสร้างถนนนอกกำแพงด้านตะวันตก) ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร (อยู่ทางตะวันออกของประตูวิเศษชัยศรี สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม) ป้อมเผด็จดัสกร (มุมกำแพงด้านตะวันออกข้างเหนือ ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สร้างสมัย ร.๑ รูปแปดเหลี่ยม เคยมีเสาธงสูงตั้งอยู่) ป้อมสัญจรใจวิง (อยู่ด้านตะวันออก สร้างสมัย ร.๔) ป้อมสิงขรขันฑ์ (สร้างสมัย ร.๑) ป้อมขยันยิงยุทธ (อยู่ด้านเหนือของพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ สร้างสมัย ร.๔) ป้อมฤทธิรุดโรมรัน (อยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งสุทไธสวรรค์ สร้างสมัย ร.๔) ป้อมอนันตคิรี (อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ใกล้พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ถนนสนามไชย ตรงข้ามสวนสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ สร้างสมัย ร.๑) ป้อมมณีปราการ (อยู่มุมวังด้านตะวันออก สร้างสมัย ร.๑ บุรณะสมัย ร.๒ เป็นรูปหอรบ) ป้อมพิศาลสีมา (สร้างสมัย ร.๑ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมสัตตบรรพต ) ป้อมภูผาสุทัศน์ (อยู่มุมวังด้านตะวันตกใกล้ประตูพิทักษ์บวร สร้างสมัย ร.๑) ป้อมสัตตบรรพต (อยู่ทางตะวันตกของป้อมอนันตคิรี สร้างสมัย ร.๒ รูปหอรบ ป้อมนี้ถูกรื้อสมัย ร.๖ เพื่อสร้างถนนนอกกำแพงด้านตะวันตก) ป้อมโสฬสศิลา (ปรับปรุงสมัย ร.๒ รูปหอรบ) ป้อมมหาโลหะ(ปรับปรุงสมัย ร.๒ รูปหอรบ) ป้อมทัศนานิกร (สร้างสมัย ร.๕) ป้อมพรหมอำนวยศิลป และ ป้อมอินทรอำนวยศร

สำหรับป้อมรอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคล (ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละคอนแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) มีชื่อ ป้อมทับทิมศรี เขื่อนขันธ์ นิลวัฒนา มุกดาพิศาล เพชรบูรพา วิเชียรอาคเนย์ เพชรไพฑูรย์ เขื่อนเพชร และมณีมรกต ป้อมเหล่านี้ได้ถูกรื้อลงหมดแล้ว

ในปี พ.ศ. ๒๓๒๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดให้ทำการรื้อป้อมวิชาเยนทร์ และกำแพงเมืองธนบุรีข้างฟากตะวันออกเสีย เพื่อขยายพระนคร





พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สร้างสมัย ร.๑ ใช้แบบใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์สมัยอยุธยา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใช้อาคารแบบฝรั่ง ส่วนบนใช้ทรงไทยยอดปราสาทสร้างสมัย ร.๕ ใน พ.ศ.๒๔๑๙ พระที่นั่งบรมพิมาน สร้างสมัย ร.๕ แบบยุโรป

สิ่งก่อสร้างสมัย ร.๑ นี้ ส่วนหนึ่งใช้อิฐซึ่งรื้อมาจากป้อมกำแพงและสถานที่ต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยา ทำให้โบราณสถานต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายเสียหายไปมาก

กำแพงพระราชวังที่สร้างครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น ใช้ เป็นระเนียดปักกันดินและเรียงอิฐที่ขนมาจากกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ต่อมาจึงปรับปรุงเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน








ในด้านความมั่นคง ทางยุทธศาสตร์ มีการสร้างป้อมรอบกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับป้องกันการโจมตีของข้าศึก ๑๔ ป้อมตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมือง มีชื่อป้อมเรียงทวนเข็มนาฬิกาดังนี้


ป้อมพระสุเมรุ อยู่ที่ปากคลองบางลำพูบน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระนคร
ป้อมอิสินทร อยู่ระหว่างป้อมพระสุเมรุกับป้อมพระอาทิตย์ปากคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอดด้านเหนือ
ป้อมพระอาทิตย์ อยู่สุดถนนพระอาทิตย์ ปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้
ป้อมพระจันทร์ อยู่ที่บริเวณท่าพระจันทร์ ตรงข้ามโรงพยาบาลศิริราช
ป้อมมหายักษ์ อยู่ริมน้ำ เยื้องหน้าพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ตรงข้ามวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันเป็นตลาดท่าเตียน
ป้อมมหาฤกษ์ ป้อมนี้น่าจะสร้างทับบนพื้นที่ของป้อมวิชาเยนทร์แบบฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ อยู่ตรงข้ามป้อมวิชัยประสิทธิ์ ที่เป็นกองทัพเรือฝั่งธนบุรี อยู่ใกล้ปากคลองตลาดด้านเหนือ สมัย ร.๕ โปรดให้ใช้ที่ของป้อมมหาฤกษ์นี้สร้างโรงเรียนสุนันทาลัยซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนราชินี ที่ปากคลองตลาด
ป้อมผีเสื้อ อยู่ปากคลองตลาดหรือคลองคูเมืองเดิมฝั่งใต้ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ป้อมจักรเพชร เหนือปากคลองโอ่งอ่าง ใกล้สะพานพุทธ
ป้อมมหาไชย อยู่เหนือคลองคูพระนครหรือคลองโอ่งอ่างด้านสะพานหัน ติดถนนมหาไชย ใกล้วังบูรพาภิรมย์ ป้อมนี้ต่อมาถูกรื้อเพื่อสร้างตึกแถวก่อนสงครามโลกครั้งที่ สอง ปัจจุบันคืออาคารรวมทุนไทย
ป้อมเสือทยาน อยู่เหนือประตูสามยอดตรงสะพานดำรงสถิต
ป้อมหมูทลวง อยู่ตรงข้ามสวนรมณีย์นาถในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเคยเป็นเรือนจำคลองเปรม
ป้อมมหากาฬ อยู่ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ป้อมมหาปราบ อยู่ระหว่างสะพานผ่านฟ้ากับสะพานวันชาติ
และป้อมยุคนธร อยู่ใกล้วัดบวรนิเวศ


ภายหลังต่อมา ป้อมต่างๆนี้ได้ถูกรื้อไปหลายป้อม สำหรับป้อมที่ยังคงเหลืออยู่นั้นได้แก่ป้อมมหากาฬ ที่ผ่านฟ้าใกล้วัดสระเกศ และป้อมพระสุเมรุ ที่ถนนพระอาทิตย์ บางลำพูเท่านั้น



กำแพงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์
กำแพงเมืองที่สร้างขึ้นนี้ มีประตูเมืองอยู่หลายแห่งซึ่งจะเปิดเมื่อเวลาย่ำรุ่ง(พระอาทิตย์ขึ้น) และปิดเมื่อย่ำค่ำ (พระอาทิตย์ตก) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น สร้างประตูเมืองเป็นประตูทรงมณฑปเครื่องไม้ ทาดินแดงแบบกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เปลี่ยนประตูจากยอดไม้ทรงมณฑปเป็นประตูก่ออิฐ ด้านบนประตูทำเป็นหอรบ ไม่มียอด สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนแบบประตูเมืองจากทรงหอรบเป็นประตูยอด เช่น
ประตูสามยอด อยู่ใกล้กองปราบสามยอด ใกล้สะพานดำรงสถิตย์ถนนเจริญกรุง ประตูนี้ถูกรื้อในสมัย ร.๕ เพื่อขยายสร้างเป็นถนนเจริญกรุง
ประตูพฤฒิมาศ หรือ พฤฒิบาศ หรือพฤฒาบาศ อยู่ด้านตะวันออก ตรงผ่านฟ้าใกล้ป้อมมหากาฬ ออกไปวัดปรินายก ประตูนี้ถูกรื้อสมัย ร. ๕ เพื่อสร้างสะพานผ่านฟ้าและถนนราชดำเนิน
ประตูสำราญราษฎร์ อยู่ที่ถนนมหาชัยใกล้วัดราชนัดดา ตรงข้ามกับคุก ชาวบ้านเรียกกันว่า ประตูผี เพราะเป็นประตูเดียวที่ให้นำศพของราษฎรที่ตายในกำแพงพระนคร ออกไปเผานอกพระนครที่วัดสระเกศ
ประตูสะพานหัน เป็นประตูพระนคร ที่จะออกไปสู่ย่านคนจีนที่สำเพ็ง สะพานหันเป็นสะพานเหล็กข้ามคลองคูพระนคร สร้างสมัย ร.๔ สามารถหมุนหันให้เรือผ่านได้ ประตูนี้ถูกรื้อสมัยรัชกาลที่ ๖ แล้วสร้างตึกแถวแทน


สำหรับถนนในกรุงรัตนโกสินทร์สมัยแรกนั้นเป็นถนนดินแคบๆ พอที่คน ช้างม้า และเกวียนเดินได้เท่านั้น สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างถนนบำรุงเมืองทำด้วยอิฐตะแคง พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมีการปรับปรุงถนนบำรุงเมืองและเฟื่องนคร เป็นแบบสิงคโปร์และอินเดีย สร้างตึกแถวริมถนนตามแบบตึกของหลวงที่กำหนดไว้ ถนนตั้งแต่ป้อมพระสุเมรุถึงป้อมมหากาฬชื่อถนนพระสุเมรุ ถนนไปทางท่าช้างวังหน้าชื่อถนนพระอาทิตย์ ถนนมหาไชยเริ่มจากโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ผ่านประตูผีถึงผ่านฟ้า





การสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ.๒๓๒๗ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้ทำการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง

ในบริเวณพระบรมมหาราชวังนั้น มีพระปรางค์ประดับด้วย กระเบื้องเคลือบสี ๘ องค์ทางหน้าวัดด้านตะวันออก มีชื่อดังนี้
พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์(สีขาว)
พระสัทธรรมปริยัติวรามหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน)
พระอริยสงฆ์สาวกมหาเจดีย์ (สีชมภู)
พระอริยสาวกภิกษุณีสังฆมหาเจดีย์ (สีเขียว)
พระปัจเจกโพธิสัมพุทธามหาเจดีย์ (สีม่วง)
พระจักรวัติราชมหาเจดีย์ (สีน้ำเงิน)
พระโพธิสัตวกฤษฎามหาเจดีย์ (สีแดง)
พระศรีอริยเมตยมหาเจดีย์ (สีเหลือง)

วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้จะมีการบูรณะใหญ่ทุก ๕๐ ปี เริ่มแต่สมัย ร.๓ - ร.๕ - ร.๗ และในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองซ่อมใหญ่ในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ของ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๒๕

ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ มีการสมโภชพระนครกรุงรัตนโกสินทร์แห่งใหม่ โดยนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินบนใบเสมารอบพระนคร เสมาละ ๑ องค์ ตั้งโรงทานรอบพระนครและมีมหรสพต่างๆ (ตั้งแต่นั้นมากรุงรัตนโกสินทร์ได้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับตั้งแต่ รัชกาลที่.๑ - ๙ )

TraveLAround


คัดย่อจาก siamrecorder
//www.siamrecorder.com/

ปล. ตอนนี้ผมเขียนบล็อกมาได้กว่า 1450 เรื่องแล้ว ล้วนเป็นสาระน่ารู้ต่างๆ ท่านที่เข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group :
นานา สาระ๑๐๐๐

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับบ้านและการตกแต่ง รวมรวมแยกไว้ในหมวด Home Lover’s Corner สามารถคลิ๊กที่ ลิงค์ด้านบนได้เลยครับ




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2551    
Last Update : 30 สิงหาคม 2555 17:58:57 น.
Counter : 5331 Pageviews.  

กรุงเทพฯในอดีต จาก postcards เก่าๆ

กรุงเทพฯในอดีต จาก postcards เก่าๆ

ภาพเก่า มักจะเล่าเรื่องได้ดี ดังคำที่ว่า ภาพเพียงภาพเดียวแทนคำพูดได้เป็น 1000 คำ ภาพเก่าๆนอกจากจะมีคุณค่าของความเก่าอยู่ในตัว มันยังเก็บอดีตได้ดี ภาพที่ไม่มีทางย้อนกลับไปดูได้ด้วย Time machine เราก็อาศัยภาพเก่าๆนี่แหละ ถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เห็นอดีต

กรุงเทพฯกว่าจะมาถึงวันนี้ บางพื้นที่เคยเป็นท้องไร่ ท้องนา ป่ารก มาก่อน พูดแล้ว วัยรุ่นก็ฟังด้วยความงง นึกภาพยังไงก็นึกไม่ออก

แต่ภาพถ่ายก็ใช่ว่า จะทำได้ทุกอย่าง มันก็มีเวลาของมันเหมือนกัน เพราะเทคโนโลยี่การถ่ายภาพ มันก็เกิดขึ้นมาไม่นานนัก ดังนั้น มันก็ย้อนหลังได้แค่ตอนที่ตัวมันเองเกิดขึ้นมา เท่านั้นเอง กรุงเทพฯของเรา ก็เลยได้ดูภาพ อย่างเก่งก็ย้อนหลังไป ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ 5 เท่านั้น





ภาพแรก เป็นถนนในกรุงเทพฯที่ยังมีกำแพงเมืองอยู่ส่วนหนึ่ง และมีรางรถรางอยู่ด้านหนึ่งของถนน ก็ต้องเป็นบริเวณในเกาะรัตนโกสินทร์ของเรานี่เอง ผมเองเกิดทันรถรางกับเขาด้วย (แก่แค่ไหนไม่ต้องบรรยาย) จำได้ ตอนเด็กๆก่อนลงรถราง ชอบวิ่งไปเหยียบกระดิ่งรถที่พื้นก่อนลงรถ ด้วยความสนุก ถนนที่เห็นคือถนนมหาไชย และแนวกำแพงนี้ ก็ยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ส่วนเสาไฟฟ้าเริ่มมีมาประปรายแล้ว ผสมกับสายไฟฟ้าของรถราง ก่อนที่จะมารุงรังนัวเนีย อย่างที่เห็นในปัจจุบัน น่าเสียดายรถรางไฟฟ้า ที่เราไม่รู้จักพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนแบบนี้มาใช้ ทั้งๆที่เริ่มใช้ก่อนใครเขา เพราะพอเริ่มมีรถมากหน่อย ก็ไปโทษว่ารถรางเกะกะเสียแล้ว






รูปปั้นของพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ หน้าสถานฑูตอังกฤษ ที่เพลินจิต ก่อนที่พื้นที่สถานฑูตจะถูกขายไปในปัจจุบัน และพื้นที่นี้ก็คงจะเป็นศูนย์การค้า ไปในอนาคตอันใกล้






ภาพแม่น้ำเจ้าพระยา กับการค้าขายทางเรือ แถวท่าน้ำสี่พระยา ที่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งบริษัทค้าขายกับคนไทย






มุมสนามหลวงด้านถนนราชดำเนินนอก มองเห็นแม่พระธรณีบีบมวยผม และพระบรมมหาราชวังอยู่เป็นฉากหลัง






ตึกแถวและรถเจ๊กที่วิ่งวุ่น กับรางรถราง ที่ยังว่างเปล่า






ภาพวัดสุทัศน์ สมัยหลังมาอีกไม่นานนัก เพราะมีภาพสีแล้ว






รถเจ๊ก หรือรถลาก (อันนี้เกิดไม่ทัน) เป็นพาหนะชนิดแรก ของกรุงเทพฯ ถ้าในปัจจุบันก็คือ taxi ดีๆนี่เอง






ขณะที่ถนนยังไม่ค่อยมีรถหรือคนพลุกพล่าน แม่น้ำลำคลองก็ยังชุลมุนวุ่นวาย ด้วยเรือนานาชนิด ที่เห็นเป็นตลาดน้ำแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯนี่เอง






ตลาดขายทุเรียน ผลไม้ยอดนิยม มาตั้งแต่ไหนๆ


บรรยายโดย

TraveLArounD



ภาพจาก
Old Postcards of Bangkok by Richard Barrow : thai-blogs.com
//www.thai- blogs.com/index.php?s=Old+Postcards+of+Bangkok&sentence=sentence&submit=Search




 

Create Date : 17 สิงหาคม 2551    
Last Update : 17 สิงหาคม 2551 23:25:24 น.
Counter : 5816 Pageviews.  

สะพานเก่าในกรุงเทพฯ

สะพานเก่าในกรุงเทพฯ



ในอดีตนั้น กรุงเทพฯเคยได้รับฉายาว่า เวนิชตะวันออก ด้วยความที่มีแม่น้ำลำคลองจำนวนมาก ในกรุงเทพฯ เพื่อการเกษตร และการเดินทางติดต่อค้าขาย คลองบางแห่งก็ขุดขึ้นเพื่อเหตุผลในด้านความมั่นคง(ภาษาสมัยใหม่) ถ้าใช้ศัพท์เก่าเขาใช้ว่า “เพื่อป้องกันพระนครจากข้าศึก” แต่ต่อมาพาหนะหลักก็เปลี่ยนไป จากเรือกลายเป็นรถ ถนนจึงมีบทบาทที่สำคัญขึ้นตามลำดับ เมื่อถนนเพิ่มก็ต้องมีสะพานเพิ่มด้วย สะพานในกรุงเทพฯจึงค่อยๆพัฒนารูปแบบ และจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนมีมากมายเต็มไปหมด คลองเริ่มหมดความสำคัญลง ถนนเข้ามายึดครองพื้นที่ระบบคมนาคมส่วนใหญ่ไว้ได้ จนกระทั่งระบบคมนาคมทางเรือเกือบจะสูญพันธุ์ไป และชื่อของเวนิชตะวันออกก็เริ่มจางหายไป 



สะพานเก่าข้ามคลองมหานาค







สะพานหัน ทุ่งรังสิต







สะพานวัดไชยทิศ ธนบุรี









สะพานหก ข้ามคลองหลอด








เมื่อผ่านกาลเวลาเหล่านั้นมาแล้วช่วงหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงก็ยังคงมีอยู่ต่อไป สะพานที่เคยยึดครองพื้นที่ในอดีต ก็เริ่มต้องเปลี่ยนแปลงสูญหายไปบ้างเช่นกัน สะพานเล็กๆ แคบๆจะอยู่ไม่ได้ เพราะการใช้งานไม่เหมาะสม ต้องรื้อถอน ปรับขยายกันไป บางแห่งก็ทรุดโทรมไม่แข็งแรง บางแห่งก็ไม่สามารถรองรับการจราจรได้พอเพียง ต้องรื้อถอน แก้ ขยายกันไป จนปัจจุบันนี้ สะพานรุ่นเก่าก็จะเริ่มสูญพันธุ์กันไปแล้วเช่นกัน จนต้องกลับมาช่วยกันอนุรักษ์กันเอาไว้ คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยเห็นสะพานเก่าๆสวยๆ ก็ต้องหาดูจากรูป จากหนังสือ 



บริเวณคลองมหานาค-คลองบางลำพู ช่วงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ คาดว่าถ่ายจากภูเขาทอง เห็นป้อมพระกาฬอยู่ด้านซ้าย รูปบน สะพานผ่านฟ้าฯยังคงเป็นสะพานไม้เล็กๆอยู่








สะพานหัน ที่สำเพ็ง รูปที่เห็นนั้นกว่า 100 ปีมาแล้ว ได้ปรับปรุงจากสะพานหันไม้เล็กๆ มาเป็นสะพานที่มีหลังคาและร้านค้าอยู่สองข้าง หันไม่ได้แล้ว รูปแบบคล้ายๆสะพานในเวนิช








สะพานรุ่นแรกๆนั้น จะเป็นเพียงสะพานคนเดินข้ามเล็กๆ ยกสูงจากระดับน้ำ เพื่อให้เรือลอดได้ หรือถ้าสูงไม่พอให้เรือลอด ก็ต้องเปิดได้เพื่อให้เรือผ่าน ไม่ว่าใหญ่ ไม่ว่าเล็ก ก่อนนี้ผมอยู่ฝั่งธนฯ ต้องนั่งรถเมล์ข้ามสะพานพุทธฯ และต้องรถติดรอสะพานเปิดอยู่บ่อยๆ สะพานเก่าๆของเราที่หาดูไม่ค่อยได้แล้วคือสะพานไม้ที่สร้างหลังคาคลุม ที่นอกจากจะเป็นทางสัญจรแล้ว ยังใช้เป็นที่พบปะ สนทนากันอีกด้วย มักมีที่นั่งอยู่สองข้าง สะพานในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น เขามักจะสร้างให้หัน หก หรือรื้อถอนได้ง่าย เพื่อตัดเส้นทางในยามคับขันเมื่อเกิดศึกสงคราม สะพานหกแบบวิลันดาก็เป็นเทคโนโลยี่การสร้างสะพาน ที่เราเรียนรู้วิธีการจากตะวันตก 













สะพานมัฆวานรังสรรค์





















สะพานผ่านฟ้าลีลาศ









สะพานรุ่นต่อมาก็จะเป็นยุคเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยี่ จากไม้มาเป็นเหล็ก ในยุคนี้จะมีสะพานเหล็กที่สวยงามมากมาย เป็นสะพานที่สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงสั่งทำมาจากยุโรป เป็นเหล็กหล่อ และการตั้งชื่อสะพานก็จะใช้คำว่า “เฉลิม” นำหน้า เป็นการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระราชาทานให้ ดังนั้นตรงกลางสะพานทุกแห่ง จะมีแผ่นป้ายชื่อสะพาน และตราพระนามาภิไธยย่อ อยู่เสมอ แต่สะพานส่วนใหญ่เล็ก แคบ และรับน้ำหนักได้จำกัดสำหรับพาหนะในยุคปัจจุบัน สะพานเหล็กจึงก็ต้องแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยอีกเช่นกัน คงเหลือไว้แต่สะพานที่สร้างไว้ใหญ่จริงๆเท่านั้น ที่ยังคงเหลือรอดมาได้ คือสะพานที่สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหลาย 






สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือที่รู้จักกันนามสะพานหัวช้าง ปัจจุบันรื้อขยายใหม่ แต่เก็บหัวช้างไว้ประดับเชิงสะพานตามเดิม










สะพานเฉลิมสวรรค์ 58 เดิมอยู่ปลายคลองหลอดด้านทิศเหนือ มีความสวยงามมาก แต่ก็เป็นเพียงอดีตไป เมื่อได้มีการสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าฯ










สะพานเจริญรัช 31 เป็นสะพานที่อยู่ตรงปากคลองตลาดติดกับโรงเรียนราชินี มีความสวยงามมากเช่นกัน ยังคงเหลือใช้งานอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมพอสมควร









สะพานรุ่นสุดท้าย ก็เปลี่ยนเทคโนโลยี่อีกเช่นกัน เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่แข็งแรงกว่า กว้างขวางกว่า แต่ความสวยงามละเอียดอ่อนกลับลดลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังจัดว่าสวยงามพอสมควรจนมาถึงสมัยนี้ สะพานมีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ค่อยสวยงาม(น่าเกลียด) ใช้งานได้ดีอย่างเดียวพอ



เป็นที่น่าเสียดายที่ทั้งสะพานเก่าและลำคลองของเรานั้น ต่างตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ ต้องการคนช่วยกันดูแลรักษาเยียวยา ให้อยู่ในสภาพที่ดีกว่าในปัจจุบัน ถ้าพูดกันเรื่องความเจริญนั้นเรายังตามฝรั่งเขาไม่ทัน แต่ด้านความเสื่อมนี่ เราแซงฝรั่งได้หลายช่วงตัว ไม่ว่าเขาจะเจริญปานใด เวนิชก็ยังคงเป็นเวนิช คลองต่างๆเขายังคงเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เมืองใหญ่ๆทั้งในยุโรป และเอเชีย ต่างรักษาคูคลองอันเป็นประวัติศาสตร์ของเมือง และของชาติไว้ได้อย่างดี


TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ 1400 กว่าเรื่องแล้ว

ส่วนท่านที่ชอบเพลง background ผมได้รวบรวมเพลงไพเราะ เพลงรัก romantic และเพลงซึ้งๆ ที่หาฟังได้ยากในสมัยนี้ ไว้หลายชุด สนใจ email ติดต่อมาได้ครับที่ nana_sara1000@ymail.com

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

ถ่ายทอดจาก
สะพานเก่ากรุงเทพฯ , ศิริชัย นฤมิตรเรขการ
จัดพิมพ์โดย สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
และ มรดก ฉบับที่ 3




 

Create Date : 06 เมษายน 2551    
Last Update : 22 มิถุนายน 2555 13:21:56 น.
Counter : 5257 Pageviews.  

1  2  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.