อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
7 เรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เกี่ยวกับน้ำตา



น้ำตา
คนเราทุกคนต่างผูกพันกับน้ำตาตลอดทุกช่วงชีวิต ลองคิดดูสิ แรกเกิดสิ่งแรกที่เราทำก่อนลืมตาดูโลก นั่นคือการแหกปากร้องไห้จ้า พอโตขึ้น เราก็ใช้น้ำตาแสดงอารมณ์เศร้าเสียใจ (ดีใจในบางครั้ง) และหลายครั้ง มันก็ไหลออกมาเหมือนเขื่อนแตก เพียงเพราะแค่เราหั่นหัวหอม ! 

ดูเหมือนว่าเจ้าน้ำใส ๆ ที่ไหลอาบแก้มของเรา มีความพิศวงอยู่พอตัว ลองมาทำความรู้จัก 7 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับน้ำตา รับรองว่าคุณต้องประหลาดใจ
น้ำตา
1. เรียก "น้ำตา" แต่ไม่ใช่ น้ำ 

          น้ำที่ไหลออกจากนัยน์ตา ก็ต้องเป็นน้ำอยู่แล้วนะสิ ! ไม่ผิดค่ะ แต่ก็ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ความจริงแล้ว น้ำตาของเรา มีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มที่วางซ้อนกัน 3 ชั้น

ชั้นนอกสุด หรือ "ชั้นไขมัน" (Lipid layer) มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ป้องกัน การระเหยของน้ำตา และหักเหแสง ช่วยในการมองเห็น

ชั้นที่สอง เรียกว่า "ชั้นสารน้ำ" (Aqueous layer) แน่นอน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก และยังประกอบด้วยสารสำคัญอื่น ๆ เช่น เกลือแร่, โปรตีน, และสารภูมิคุ้มกันต่าง ๆ หน้าที่ของชั้นน้ำตาที่หนาที่สุดนี้ คือ ให้ออกซิเจนแก่ดวงตา และเป็นแหล่งอาหารสำคัญของดวงตา  

ชั้นในสุด เป็น "ชั้นเมือก" (Mucous layer) ประกอบด้วยเมือก โปรตีน และเกลือแร่ มีหน้าที่ ทำให้ผิวกระจกตาเรียบ ช่วยให้มองเห็นชัด หล่อลื่นผิวด้านหน้าลูกตา และดักจับสิ่งแปลกปลอม ช่วยป้องกันไม่ให้ตาติดเชื้อ
น้ำตา
2. มากกว่า 1 แต่มีถึง 3

          ประโยคนี้ไม่ใช่โปรโมชั่นขายของที่ไหน แต่เป็นชนิด "น้ำตา" ของคนเรานี่เอง แม้จะรูปร่างหน้าตาเหมือนกันหมด แต่ความจริงแล้ว น้ำตามีถึง 3 ชนิด   

- Basal Tear น้ำตาที่ไหลออกมาตลอดเวลา เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา และป้องกันฝุ่นละออง

- Reflex Tear ถ้าที่เห็น แค่ฝุ่นมันเข้าตา...แต่น้ำตาไหลพราก นั่นแหละ คือ reflex tear น้ำตาที่ไหลในปริมาณมากเมื่อมีบางอย่างเข้าตา หรือเมื่อรู้สึกระคายเคือง เช่น ตอนหั่นหอม หรือเจอแสงจ้า

- Emotional Tear น้ำตาที่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถหลั่งได้ จะไหลออกมาเมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึก เช่น เศร้า เสียใจ เหงา อกหัก สุข รัก ดีใจ ซึ่งส่วนมาก แน่นอน เป็นน้ำตาแห่งความเสียใจ (อย่าร้องกันนะคะ)

น้ำตา

3. ไม่ร้องไห้ ไม่ได้แปลว่า ไม่มีน้ำตา

          อย่าเพิ่งตกใจ ! อาจฟังดูเศร้า แต่เป็นกลไกปกติของร่างกายคนเราค่ะ น้ำตาชนิด Basal Tear ของเราจะไหลออกมา เพื่อรักษาชุ่มชื่นให้ดวงตาตลอดเวลา แต่ไหลในปริมาณน้อยมาก เพียงวันละ 5–10 ออนซ์ และจะระเหยไป 10–20 % ทุกครั้งเมื่อเราลืมตา เราจึงแทบไม่รู้สึกตัวว่า มีน้ำตาดูแลเราอยู่ 

น้ำตา

4. น้ำตากับน้ำทะเล...อย่างเดียวกันมั้ย ?

          ทำไมน้ำตาถึงเค็มอย่างกับน้ำทะเล ? เป็นน้ำอย่างเดียวกันหรือเปล่า ?

เปล่า...คนละเรื่องกันเลย !

          เพราะในน้ำตากับน้ำทะเล มีส่วนประกอบของ "เกลือแกง" หรือโซเดียมคลอไรด์เหมือนกัน แต่ระดับความเค็ม ของน้ำตาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การร้องไห้ 

น้ำตา

5. ขาดน้ำตา...จะมองเห็นไม่ชัด

          ใครจะรู้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นได้ชัด คือ "น้ำตา" นอกจากจะช่วยให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตาแล้ว ยังช่วยทำความสะอาดกระจกตา ทำให้เรามองเห็นได้ชัดขึ้น ฉะนั้นเราควรดูแลสุขภาพดวงตา ให้มีน้ำตามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา ด้วยการหมั่นกะพริบตาบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมที่ทำให้น้ำตาระเหยง่าย เช่น การใช้สายตานาน ๆ

          และหากคุณมีปัญหาเรื่องสุขภาพดวงตา ควรไปพบจักษุแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตา หรือ "นักทัศนมาตร" เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องสำหรับสุขภาพที่ดีของดวงตา

น้ำตา

6.เครียดหรอ ร้องไห้สิ !

          ส่วนหนึ่งจากการศึกษาเรื่องน้ำตา ของ William Frey นักชีวเคมีแห่งศูนย์วิจัยน้ำตา บอกไว้ว่า ทุกครั้งที่เราร้องไห้ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมา ช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้อีกด้วย โดยผลการศึกษาของเฟรย์ก็พบอีกว่า ผู้ชายกว่า 73% และผู้หญิงกว่า 75% บอกว่ารู้สึกสบายขึ้นเมื่อได้ร้องไห้   

น้ำตา

7. ผู้หญิงกับผู้ชายร้องไห้เหมือนกันมั้ย ?

          การวิจัยจากหลายสถาบัน พบว่า "ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะร้องไห้บ่อยกว่าผู้ชาย" โดยนักชีวเคมี William Frey หัวหน้าทีมที่ใช้เวลาศึกษาน้ำตาโดยเฉพาะเป็นระยะเวลาถึง 15 ปี รายงานว่า ใน 1 เดือน ผู้หญิงร้องไห้ 5.3 ครั้ง ส่วนผู้ชายร้องไห้ประมาณ 1.4 ครั้ง

          ความถี่ในการร้องไห้ที่แตกต่างกันนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ฮอร์โมนโปรแลกติน" ที่ร่างกายจะผลิตออกมาเมื่อเรา "รู้สึกสุด ๆ"ในอารมณ์ เช่น ดีใจสุด ๆ ตื้นตัน หรือเสียใจมากจนรู้สึกหงุดหงิด อัดอั้น แต่ทำอะไรไม่ถูก ช่วงอารมณ์แบบนี้แหละ ร่างกายจะระบายออกมาเป็นหยดน้ำตา เพื่อลดระดับความเครียด ซึ่งผู้หญิงจะผลิตฮอร์โมนนี้ได้มากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า ! จึงเป็นเหตุให้ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะบ่อน้ำตาตื้นและขี้แยกว่าผู้ชาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้หญิงทุกคนจะต้องขี้แยกว่าผู้ชายเสมอไป ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับยีน ขนาดของท่อน้ำตาของแต่ละคน และการเลี้ยงดูของครอบครัวอีกด้วย

เห็นไหมคะว่าน้ำตาส่วนเล็ก ๆ ของร่างกาย มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย และยังทำหน้าที่หลัก ช่วยให้เราสามารถมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมหันมาใส่ใจดูแลน้ำตา หมั่นไปพบจักษุแพทย์และนักทัศนมาตรของคุณเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพดวงตา รวมไปถึงตรวจหาอาการผิดปกติบางอย่างเช่น ภาวะตาแห้ง ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ดีที่สุด

          รอติดตามเทคโนโลยีคอนแทคเลนส์ชนิดใหม่ ที่มีคุณสมบัติ "เข้ากันดีกับชั้นน้ำตา" พร้อมอัพเดตทิปส์ การดูแลสุขภาพดวงตาและทุกเรื่องราวเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ ได้ที่เพจ Johnson & Johnson Vision กดติดตาม Johnson & Johnson ได้เลยที่ Facebook : Johnson & Johnson vision



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2560 15:33:23 น. 2 comments
Counter : 3321 Pageviews.

 
เป็นข้อเขียนที่มีประโยชน์มากครับ ขออนุญาตแชร์ต่อนะครับ ขอบคุณ


โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา:8:29:47 น.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:15:59:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.