All Blog
ดึงท้องถิ่นต้านทุจริต
ป.ป.ช.เดินหน้าส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริตต่อเนื่อง ฉายภาพชัดขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติต้านโกงปฏิบัติจริงครบ100%

พลเอกบุณยวัจน์  เครือหงส์ กรรมการป.ป.ช. เปิดเผยในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาล ว่า สำนักงาน ป.ป.ช. มีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสดงเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตต่อสาธารณชน 

ให้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตเพื่อดำเนินโครงการ กิจกรรม มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบการป้องกันการทุจริต และสร้างกลไกในการตรวจสอบการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนส่งเสริม การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อให้การบริหารจัดการท้องถิ่นเกิดความโปร่งใส ลดปัญหาการทุจริต มีความเข้มแข็งในการบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาล


ยกระดับมาตรฐานในการป้องกันการทุจริต ขององค์กรตนเอง ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการป้องกันการทุจริตเชิงรุกด้วยการสร้างกลไก ในการป้องกันการทุจริตขึ้นในระดับท้องถิ่น โดยได้รับความร่วมมือจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 


 
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงาน กกต. สำนักงาน ป.ป.ท. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยและทุกภาคส่วน เพื่อร่วมขับเคลื่อนดำเนินโครงการ
 

ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ตามโครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต จำนวน 7,852 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกระบวนการยกระดับอปท.สู่การบริหารตามหลักธรรมภิบาล

สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้จัดงานยกระดับธรรมาภิบาลด้วยการนำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตไปสู่การปฏิบัติ ตามโครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต ประจำปี 2562  ขึ้น โดยจัดเวทีเสวนา อภิปราย ตลอดจนแสดงผลงานที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้ทุกอปท.ได้นำไปประยุกต์ใช้กับแผนฯของตน ให้สามารถยกระดับการบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาลได้อย่างเข้มแข็ง


 


 
ส่วนรูปแบบการจัดงานฯ ภาคเช้าเป็นการเสวนาในหัวข้อ “ปัจจัยความสำเร็จในการนำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตไปสู่การปฏิบัติ” และช่วงบ่ายเป็นการเปิดเวทีอภิปรายในหัวข้อ” การพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  

โดยภายในงานยังได้จัดแสดงผลงาน Best Practice  ของอปท. 4 แห่งที่มีผลการนำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตไปสู่การปฏิบัติตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ 2562 รอบ 6 เดือน ในระดับมาก ได้แก่ เทศบาลตำบลหนองบัว อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี


องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร,องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตาแต้ม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติจริง แก่ อปท.อื่นๆ

 


 
นอกจากนี้ยังจัดให้มีคลินิก ITA เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการสร้างมาตรฐานการยกระดับธรรมาภิบาล ตลอดจนวิธีการปฏิบัติภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รวมถึงการลงมือปฏิบัติจริงในการใช้ระบบ e - Plan NACC ในการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ ของอปท.เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลการป้องกันการทุจริตของอปท.ทั่วประเทศแบบ real time 
 

คาดหวังว่า การจัดงานครั้งนี้จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านกรณีศึกษาสำหรับผู้บริหาร อปท.ที่เข้าร่วมงาน จำนวน 800 คน  ตลอดจนการรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญรวมถึงรับฟังข้อจำกัดด้านต่างๆ ในการบริหารจัดการเพื่อการนำแผนฯไปสู่ภาคปฏิบัติจริง

โดยเชื่อว่าการจัดงานครั้งนี้จะช่วยยกระดับความเข้าใจไปจนถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับแผนต่อต้านการทุจริตในระดับท้องถิ่นทั้ง 7,852 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งยกระดับธรรมาภิบาลของอปท.เพื่อสู่มาตรฐาน ITA ได้ครบ 100% ในปี 2564  เพื่อมุ่งสู่ “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต”ในที่สุด



 



 



Create Date : 16 กรกฎาคม 2562
Last Update : 16 กรกฎาคม 2562 9:34:48 น.
Counter : 574 Pageviews.

0 comment
โม โม พาราไดซ์ จับมือ ซีพีเอฟ เสิร์ฟไข่ไก่สดปลอดสาร CP Selection Cage Free Egg
“โม โม พาราไดซ์” ร้าน ชาบูชาบู สุกี้ยากี้ ต้นตำรับจากญี่ปุ่นเจ้าแรกและเจ้าเดียวของไทย ที่เลือกใช้ไข่ไก่สดปลอดสาร “CP Selection Cage Free Egg” ทั้ง 17 สาขาในประเทศ ตอกย้ำใส่ใจคัดสรรวัตถุดิบระดับพรีเมียมให้กับผู้บริโภค  

นายสุรเวช เตลาน กรรมการผูัจัดการ บริษัท โนเบิลเรสเตอร์รองต์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหาร โม โม พาราไดซ์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ”โม โม พาราไดซ์” มุ่งมั่นให้ความสำคัญการคัดสรรวัตถุดิบแต่ละอย่างด้วยความใส่ใจในคุณภาพระดับพรีเมี่ยม

 


 
ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับชาบูขนานแท้จากญี่ปุ่น และการเลือกใช้ ไข่ไก่สดปลอดสาร CP Selection Cage Free Egg ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ตอบรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่นอกจากจะใส่ใจคุณภาพสินค้า แต่ยังเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากกระบวนการผลิตอย่างรับผิดชอบ อย่างไข่ไก่ที่มาจากกระบวนการเลี้ยงมีสวัสดิภาพสัตว์สูง (High Welfare Products) อีกด้วย 

“การเลือกใช้ไข่ไก่จากกระบวนการเลี้ยงแบบ Cage Free สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและใส่ใจของ โม โม พาราไดซ์ ที่คัดสรรวัตถุดิบแต่ละอย่างที่เปี่ยมด้วยคุณภาพระดับพรีเมียมเพื่อให้ลูกค้าประทับใจในความอร่อยของชาบูชาบูแบบต้นตำรับ และมั่นใจว่าทุกคำที่รับประทานปลอดภัยและปลอดสารได้มาตรฐานสากล” นายสุรเวชกล่าว 


 

 
ด้านนายบรรเจิด หอมบุญมา รองกรรมกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ตระหนักดีถึงแนวโน้มผู้บริโภคที่ใส่ใจคุณภาพและที่มาหรือกระบวนการผลิตของสินค้ามากขึ้น ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร

ที่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ซีพีเอฟให้ความสำคัญในการพัฒนาและนำหลักสวัสดิภาพสัตว์มาใช้ในการเลี้ยงสัตว์จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระภายในโรงเรือนระบบปิด (Cage-Free) 


ไข่ไก่สดปลอดสาร CP Selection Cage Free สดกว่าที่เคย เพราะใช้แม่ไก่สายพันธุ์คัดพิเศษจากอเมริกา ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานส่งออก เลี้ยงใน Biosecurity Hi-Tech Farming ในโรงเรือนระบบปิด ปลอดฮอร์โมน ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดู มีพื้นที่ให้แม่ไก่ได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ และสามารถแสดงพฤติกรรมได้ตามธรรมชาติ

 


 
“การที่ร้าน โม โม พาราไดซ์ ซึ่งเป็นเบอร์ 1 ของร้านชาบูชาบูแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมของไทย เลือกใช้ไข่ไก่สดปลอดสาร CP Selection Cage Free Egg นับเป็นก้าวที่สำคัญของธุรกิจร้านอาหารไทย และช่วยยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยให้กับคนไทย” นายบรรเจิดกล่าว


 



 
 



Create Date : 08 กรกฎาคม 2562
Last Update : 8 กรกฎาคม 2562 10:06:51 น.
Counter : 965 Pageviews.

0 comment
บัตรทองปรับปรุงสิทธิปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
กองทุนบัตรทองปรับปรุงสิทธิประโยชน์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ครอบคลุมผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ผู้บริจาคไม่ใช่ญาติ เริ่มปีงบประมาณ 63 พร้อมขยายเป้าหมายปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด 110 ราย เผย 11 ปี มีผู้ป่วยรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดฯ 414 ราย      
 

flowers-icon (62)นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน

มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) "การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตกรณีผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เริ่มปีงบประมาณ 2563 ในหน่วยบริการที่มีศักยภาพและภายใต้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร พร้อมให้มีการกำกับติดตาม เฝ้าระวังและประเมินผล


flowers-icon (62)ทั้งนี้ข้อเสนอการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงอยู่ในกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กองทุนบัตรทอง) ตั้งแต่ปี 2553
 

 
ต่อมาในปี 2554 คณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และบริการ เห็นชอบในหลักการ ให้การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตเป็นสิทธิประโยชน์ในกองทุนบัตรทอง โดยจำกัดเฉพาะผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและมีข้อบ่งชี้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ตามข้อมูลผลการศึกษาโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)

flowers-icon (62)โดยให้นำผลการศึกษาเข้าสู่กระบวนการพิจารณา และปี 2556 คณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการให้ทำการศึกษาและพัฒนาข้อเสนอบริการผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ตั้งแต่การป้องกันจนถึงการรักษาให้ครอบคลุม

นำมาสู่ข้อเสนอการปรับปรุงสิทธิประโยชน์การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตกรณีผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียในครั้งนี้ เพื่อให้เข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคอื่นๆ ที่มีข้อบ่งชี้จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว

 

 




 
flowers-icon (62)นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2562 บอร์ด สปสช.ได้พิจารณาปรับอัตราและเงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการ ซึ่งครอบคลุมระยะการรักษาตั้งแต่ก่อนรับการปลูกถ่าย ระหว่างการปลูกถ่าย และหลังการปลูกถ่าย

โดยกำหนดอัตราชดเชยแบบเหมาจ่ายกรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous) รายละ 750,000 บาท และกรณีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค (Allogeneic)


flowers-icon (62)ทั้งในกรณีที่ผู้บริจาคเป็นญาติพี่น้องและไม่ใช่ญาติพี่น้อง รายละ 1,300,000 บาท และในการปรับปรุงสิทธิประโยชน์การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดเพื่อดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่จะเริ่มในปีงบประมาณ 2563 จะคลอบคลุมอยู่ในเงื่อนไขการใช้สิทธิดังกล่าว
 

 
ทั้งนี้ กรณีผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ต้องมีข้อบ่งชี้ในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี ตามแนวทางของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย

flowers-icon (62)การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในอดีตมีผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาน้อยมากเพราะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 1 ล้านบาท หลังจากกองทุนบัตรทองได้บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ในกองทุนบัตรทอง ทำให้ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตเพิ่มขึ้น

ตั้งแต่ปี 2551-2561 มีผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายแล้ว 414 ราย เป็นผู้ป่วยเด็ก 79 ราย ผู้ใหญ่ 335 ราย ส่วนปี 2562 กำหนดเป้าหมายการปลูกถ่าย 97 ราย อย่างไรก็ตามจากการปรับปรุงสิทธิประโยชน์การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตกรณีผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่บอร์ด สปสช.ได้เห็นชอบแล้วนั้น ในปีงบประมาณ 2563 ได้มีการขยายเป้าหมายการรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวน 110 ราย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงให้กับผู้ป่วย


flowers-icon (62)สำหรับในส่วนของหน่วยบริการที่ให้บริการการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 10 แห่ง ดังนี้  โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์


 



 



Create Date : 07 กรกฎาคม 2562
Last Update : 7 กรกฎาคม 2562 17:56:43 น.
Counter : 1039 Pageviews.

8 comment
"กสทช."เปิดแอป"พฤติมาตร"ให้ผู้บริโภคเข้าใจพฤติกรรมใช้งานตนเอง
"กสทช."เปิดตัวแอปพลิเคชัน"พฤติมาตร"ให้ผู้บริโภคเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของตนเอง

NB143นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า แอปพลิเคชัน "พฤติมาตร" ของสำนักงาน กสทช. เป็นแอปพลิเคชันที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของตนเอง

ภายใต้แนวคิดที่ผู้บริโภคสามารถเรียกดูข้อมูลการใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งข้อมูลประวัติการใช้งาน เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของตนเองได้อย่างแท้จริงและรู้เท่าทัน และสามารถปรับแพ็คเกจหรือโปรโมชันโทรศัพท์ในอนาคตให้เหมาะกับการใช้งานของตนเองได้


NB143การออกแบบแอปพลิเคชัน"พฤติมาตร"คำนึงถึงการใช้งานที่จะต้องใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก และไม่ซับซ้อน โดยหน้าจอหลักจะแสดงข้อมูลประจำวันใน 3 ส่วน ได้แก่ 1) ปริมาณการใช้บริการ การโทร SMS และ MMS

 


 
2) ปริมาณการใช้บริการ Upload / Download และ 3) ปริมาณการใช้งานกลุ่มแอปพลิเคชันวันนี้ และในรอบ 7 วัน ที่ผ่านมา พร้อมทั้งแสดง 5 อันดับ แอปพลิเคชันที่มีการใช้งานสูงสุดประจำวัน นอกจากนี้ ยังมี Feature การใช้งานอื่นๆ อาทิ ข้อมูลของเครือข่ายต่าง ๆ กิจกรรมและเรื่องราวที่ผู้ใช้งานให้ความสำคัญหรือสนใจ ตลอดจนแอปพลิเคชันแนะนำอื่น ๆ อีกด้วย

NB143นอกจากแอปพลิเคชันดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ต่อผู้บริโภคแล้ว ในอีกบทบาทหนึ่งยังเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างการดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. ในการติดตามรูปแบบการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากรไทย

เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและวางแผนกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศให้เกิดความเป็นธรรม มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีอยู่จริง


 

 
NB143ทั้งนี้ ในส่วนของฐานข้อมูลที่สำนักงาน กสทช. ได้รับจากแอปพลิเคชันดังกล่าว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บเพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลในรูปแบบข้อมูลเชิงปริมาณและความถี่ของการใช้งานในภาพรวมเท่านั้น

โดย สำนักงาน กสทช. ขอยืนยันว่าจะไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัว อาทิ ข้อความจาก SMS หรือ MMS บทสนทนาในแอปพลิเคชันต่าง ๆ รหัสผ่าน รูปภาพ คลิปวีดีโอ หรือข้อความ ใด ๆ ทั้งสิ้น


NB143สำหรับแอปพลิเคชัน "พฤติมาตร" ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยสามารถติดตั้งได้เฉพาะกับสมาร์ตโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6 ขึ้นไป และต้องได้รับการติดตั้งจากเจ้าหน้าที่คณะผู้วิจัยภาคสนามเท่านั้น เพื่อดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างในวงจำกัด

 


 
ทำให้ผู้ใช้งานยังไม่สามารถดาวน์โหลดผ่านช่องทางทั่วไปของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และ IOS ได้ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้สำนักงาน กสทช. จะดำเนินการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถใช้งานทั่วไปได้ผ่านทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการดังกล่าวต่อไป

 



 



Create Date : 02 กรกฎาคม 2562
Last Update : 2 กรกฎาคม 2562 8:40:54 น.
Counter : 594 Pageviews.

0 comment
MOU ดูแลสุขภาพผู้ต้องขังบรรลุมติครม.พัฒนาครบทุกมิติ
"หมอศักดิ์ชัย"เผย 5 เดือนพัฒนาระบบสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำ ผลงานชัดผู้ต้องขังลงทะเบียนสิทธิบัตรทองกว่า 2.5 แสนคนเร่งให้บริการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังครอบคลุมทุกมิติ        

NB94นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดูแล "กลุ่มเปราะบาง" ให้เข้าถึงบริการสุขภาพภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ในส่วนของ "กลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ" ว่า จากความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน

ทั้งนี้ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรมราชทัณฑ์ และ สปสช. ที่ได้ "ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562" เพื่อร่วมพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและเพิ่มศักยภาพสถานพยาบาลในเรือนจำ


 

 
NB94เพื่อดูแลผู้ต้องขังให้เข้าถึงบริการที่จำเป็น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถสภาพ รวมถึงคัดกรองและรักษาโรคที่มีความชุกสูงในเรือนจำ เช่น วัณโรค เอชไอวี/เอดส์ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและจิตเวช  

จากความร่วมมือดังกล่าว ที่ผ่านมา สปสช.ได้เร่งขับเคลื่อนระบบเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ สปสช.ได้ทำการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลในเรือนจำให้เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำหรือโรงพยาบาลในพื้นที่ครบทั้งหมด 142 แห่งแล้ว


NB94พร้อมทั้งลงทะเบียนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับผู้ต้องขังที่มีสิทธิทั้งหมดแล้ว จำนวน 329,024 คน ไม่รวมผู้ต้องขังที่เป็นสิทธิว่างและที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นอีกจำนวน 10,765 คน ทำให้สามารถเข้าถึงสิทธิบริการสุขภาพได้

ที่ผ่านมา สปสช.ได้จัดสรรและจ่ายชดเชยค่าบริการในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่หน่วยบริการประจำในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้จัดการระบบข้อมูลการให้บริการ ระบบการเงิน และคุณภาพบริการที่ได้เชื่อมต่อระบบข้อมูลทะเบียนประวัติผู้ต้องขังหรือ 17 ระบบกับระบบข้อมูล 43 แฟ้ม อยู่ระหว่างดำเนินการ  


NB94นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า จากการดำเนินงานร่วมกันของทั้ง 3 หน่วยงานในช่วงระยะเวลาเพียง 5 เดือน ส่งผลให้ผู้ต้องขังเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากข้อมูลกองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์  เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562

ทั้งนี้ดังนี้ บริการตรวจคัดกรองโรค 102 แห่ง บริการวัคซีนป้องกันโรคแก่ผู้ต้องขังตามฤดูกาล 92 แห่ง แพทย์/พยาบาลเวชปฏิบัติจากโรงพยาบาลในพื้นที่เข้าตรวจรักษา 81 แห่ง จิตแพทย์/นักจิตวิทยา/พยาบาลจิตเวช เข้าตรวจรักษา 69 แห่ง ทันตแพทย์ให้บริการในเรือนจำ 96 แห่ง


NB94จัดระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย 15 แห่ง มีห้องควบคุมผู้ต้องขังป่วยที่โรงพยาบาล 25 แห่ง โรงพยาบาลในพื้นที่สนับสนุนยา วัสดุเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ 84 แห่ง และเรือนจำได้รับงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 22 แห่ง นับเป็นแนวโน้มที่ดี

ส่วนการดำเนินงานจากนี้ 3 หน่วยงาน จะร่วมขับเคลื่อนตามแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำ ประจำปีงบประมาณ 2562-2564 อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินงานของสถานพยาบาลในเรือนจำเชื่อมโยงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


NB94รวมทั้งระบบหลักประกันสุขภาพอื่น รวมถึงหน่วยบริการแม่ข่ายในพื้นที่เพื่อให้เป็นทีมสุขภาพเดียวกัน เพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีให้กับผู้ต้องขัง 

นับเป็นความสำเร็จของ 3 หน่วยงานที่ร่วมกันพัฒนาระบบสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำ บรรลุตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งการคัดกรองโรค การรักษา การฟื้นฟู และการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขที่เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม จากแต่เดิมเป็นกลุ่มเปราะบางมีปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมาก



 



 



Create Date : 30 มิถุนายน 2562
Last Update : 30 มิถุนายน 2562 11:36:35 น.
Counter : 518 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments