All Blog
เร่งเก็บตัวอย่างเลือดม้าลายเฝ้าระวังโรคกาฬโรคแอฟริกา
คณะอนุกรรมการด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) ในม้าลาย นำโดย รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ ร่วมกับ หน่วยงานต่าง ๆ

ทั้งนี้ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปภัมภ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร



 



 
พร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์สัตว์ป่า จาก สมาคมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดสัตว์  กรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์  และสวนสัตว์นครราชสีมา 

รศ.น.สพ.ปานเทพ กล่าวว่าได้ร่วมกันดำเนินการวางยาสลบม้าลายเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดสำหรับการสำรวจ เฝ้าระวัง โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) โดยมีพื้นที่เป้าหมาย ในการดำเนินการในสัปดาห์นี้ ได้แก่ สวนสัตว์นครราชสีมา Bonanza Exotic Park จ.นครราชสีมา และ Safari Wildlife Park  จ.ปราจีนบุรี และจะดำเนินการต่อเนื่องไปทุกสัปดาห์ ในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่การระบาดของโรค 



 



 
สำหรับตัวอย่างเลือดม้าลายจะนำไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำไปวิเคราะห์ด้านระบาดวิทยาและการเฝ้าระวังโรค ทำให้ทราบสถานการณ์การระบาดของโรคซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทย นำไปสู่การขอคืนสถานภาพปลอดโรคจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ให้เร็วที่สุดต่อไป

 


 




 



Create Date : 19 พฤษภาคม 2563
Last Update : 19 พฤษภาคม 2563 18:39:14 น.
Counter : 544 Pageviews.

0 comment
"ธ.ก.ส."จับมือ"สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน"ทำบัตร Smart Card สพฉ.
ธ.ก.ส. ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดทำ “บัตร Smart Card สพฉ.” ซึ่งเป็นทั้งบัตรประจำตัว สพฉ. บัตร ATM และบัตรเดบิตในใบเดียว จำนวน 100,000 ใบ ให้กับผู้ปฏิบัติการ สพฉ. เพื่ออำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินอุดหนุนรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ พร้อมมอบประกันภัยการติดเชื้อไวรัส COVID-19 วงเงินคุ้มครอง 100,000 บาท

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ พงศ์ธรเกียรติดำรงวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและคุณภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และนางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)


เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการจัดทำบัตร Smart Card สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ” ระหว่าง ธ.ก.ส. กับ สพฉ. เพื่อจัดทำบัตร Smart Card สพฉ. ที่สามารถใช้แทนบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติการ ทั้งการจ่ายเงินสวัสดิการ การเป็นบัตรถอนเงินสด ผ่าน ATM และใช้ชำระค่าบริการตามร้านค้าที่รองรับ บัตร Debit Prompt Card ให้กับผู้ปฏิบัติการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

นางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การจัดทำบัตร Smart Card สพฉ. ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งบริการทางการเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของ ธ.ก.ส. ที่ช่วยให้สามารถจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ไปยังผู้ปฏิบัติการของ สพฉ. ได้โดยตรง จำนวนกว่า 100,000 ใบ



 



 
ขณะเดียวกันยังเป็นการอำนวยความสะดวกและลดการซ้ำซ้อนในการใช้บัตร เนื่องจากบัตร Smart Card สพฉ. จะเป็นทั้งบัตรประจำตัว บัตร ATM และเป็นบัตรที่สามารถใช้ชำระค่าบริการในร้านที่รองรับบัตร Debit Prompt Card

ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตร การเปิดบัญชีเงินฝาก การแนะนำการใช้งานบัตร พร้อมมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตร อาทิ การกดถอนเงินสดผ่าน ATM ทุกธนาคาร โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการถอนเงินข้ามเขตทุกธนาคารจำนวน 4 ครั้งต่อเดือน และการมอบประกันภัยการติดเชื้อไวรัส COVID-19 วงเงินคุ้มครองการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย 100,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี สำหรับผู้จัดทำบัตรฯในครั้งแรก


นายแพทย์ พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานและคุณภาพ สพฉ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัตรประจำตัวแก่ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนกับ สพฉ. ซึ่งที่ผ่านมาอาจเกิดความล่าช้าในการจัดพิมพ์และส่งบัตรประจำตัวจากส่วนกลางไปยัง ผู้ปฏิบัติการ สพฉ.

หลังจากนี้ สพฉ. จะมอบให้ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐที่กำกับโดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดพิมพ์บัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติการ สพฉ. โดยใช้ฐานข้อมูลจาก สพฉ. โดยผู้ปฏิบัติการ สพฉ. สามารถไปดำเนินการเพื่อเปิดบัญชีกับ ธ.ก.ส. หรือหากมีบัญชีอยู่แล้วก็สามารถขอทำบัตรได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา


บัตรแบบใหม่นี้จะเป็นแบบ SMART CARD หน้าบัตรจะแสดงรูปภาพ ชื่อ นามสกุล ระดับของผู้ปฏิบัติการ สพฉ. วันหมดอายุการรับรอง โดยหลังจากนี้ การจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยรวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ไปยังผู้ปฏิบัติการ สพฉ. จะสามารถทำได้โดยตรง มีความสะดวก ถูกต้องและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป



 



 



Create Date : 29 เมษายน 2563
Last Update : 29 เมษายน 2563 19:14:28 น.
Counter : 671 Pageviews.

0 comment
ยุคโควิด ! กรมส่งเสริมการเกษตรปรับวิธีเรียกบรรจุเข้ารับราชการ
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 : COVID-19) ส่งผลให้กรมส่งเสริมการเกษตรไม่สามารถเรียกผู้สอบแข่งขันได้ เดินทางมารายงานตัวรวมกันจำนวนมากในสถานที่เดียวกันได้ ตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอบแข่งขันได้ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ปรับวิธีการรายงานตัว เป็นการรายงานตัวผ่านระบบประชุมทางไกล VDO Conference ณ กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัด ที่ผู้สอบแข่งขันได้ลงทะเบียนไว้แทน

 


 
กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอให้ผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการจำนวนทั้งสิ้น 253 ราย (พื้นที่ทั่วไป จำนวน 250 ราย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 ราย) มารายงานตัว เพื่อเลือกหน่วยงานที่จะบรรจุเข้ารับราชการ ในวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ผ่านระบบประชุมทางไกล VDO Conference ณ กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัด ที่ผู้สอบแข่งขันได้ลงทะเบียนไว้  ทั้ง 54 จังหวัด

 


 
ทั้งนี้ดังต่อไปนี้ จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นนทบุรี น่าน บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พังงา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ระนอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย อ่างทอง อุดรธานี อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุบลราชธานี  

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้สอบแข่งขันได้ทราบแล้วทางไปรษณีย์ หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ กองการเจ้าหน้าที่ กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579 3690 หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ใกล้บ้านท่าน


 
 
 



Create Date : 28 เมษายน 2563
Last Update : 28 เมษายน 2563 18:27:22 น.
Counter : 676 Pageviews.

0 comment
"ไทย-เดนมาร์ค"มอบผลิตภัณฑ์จนท.ส่งกำลังใจสู้ภัยโควิด
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับมอบผลิตภัณฑ์นม ยู.เอช.ที.ไทยเดนมาร์ค จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำผลิตภัณฑ์นมดังกล่าว มอบแก่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัด มูลค่า 3,020,000 หวังส่งความห่วงใยถึงประชาชนและเกษตรกร

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวมถึงการจัดจำหน่ายและการกระจายผลิตภัณฑ์นมไทยเดนมาร์ค

ทำให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) จึงได้มอบหมายองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ดำเนินการจัดทำโครงการ "สายใยนมไทย-เดนมาร์ค ส่งกำลังใจสู้ภัยโควิด-19"


เพื่อนำผลิตภัณฑ์นมดังกล่าว มอบแก่เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 21 หน่วยงาน มูลค่า 3,020,000 บาท มุ่งหวังส่งความห่วงใยถึงประชาชนและเกษตรกร ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระทรวงเกษตรฯ มีความห่วงใยต่อเกษตรกร ประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคสนาม

รวมถึงเกษตรกร เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ด้วย และเพื่อเป็นการส่งมอบกำลังใจและสุขภาพที่แข็งแรงผ่านผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค สัญลักษณ์ตราวัวแดงซึ่งผลิตด้วยน้ำนมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง ที่ผลิตโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จึงได้ทำโครงการ “สายใยนมไทย-เดนมาร์ค ส่งกำลังใจสู้ภัยโควิด-19”นี้ ขึ้น  

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ให้นโยบายเร่งด่วนแก่ อ.ส.ค. จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เพื่อสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


 


 
จึงมีการมอบนโยบายให้ อ.ส.ค. เข้มงวดกับสำนักงาน อ.ส.ค. ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมีการจัดตั้งจุดคัดกรองในการวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าโรงงาน อีกทั้งจัดหาอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหน้ากากอนามัย ให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน

เพื่อสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับบุคคลากรในหน่วยงาน ซึ่งทาง อ.ส.ค. ก็ได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง (เกษตรกรและผู้บริโภค) ตลอดจนการดำเนินงานขององค์กร อ.ส.ค.

นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทน ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการจัดสรรจำนวนผลิตภัณฑ์นมยูเอชที ตราไทย-เดนมาร์ค ที่จะนำส่งมอบให้กับส่วนราชการแต่ละแห่งจะมีการใช้หลักเกณฑ์


ทั้งนี้ดังนี้คือ กลุ่มแรก เป็นส่วนราชการขนาดใหญ่ ที่มีหน่วยงานในระดับจังหวัด จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จัดให้แห่งละ มูลค่า 300,000 บาท รวมทั้งสิ้น มูลค่า 2,100,000 บาท

กลุ่มที่ 2 ส่วนราชการขนาดเล็กถึงกลาง ที่มีหน่วยงานเพียงส่วนกลาง หรือในระดับเขต/ภูมิภาค จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมการข้าว กรมหม่อนไหม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดให้แห่งละ มูลค่า 100,000 บาท รวมทั้งสิ้น มูลค่า  800,000 บาท และกลุ่มที่ 3 เป็นรัฐวิสาหกิจไม่รวม อ.ส.ค.

องค์กรมหาชน รวม 6 แห่ง ได้แก่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การสะพานปลา การยางแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร และสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดให้แห่งละ มูลค่า 20,000 บาท รวมทั้งสิ้น มูลค่า 120,000 บาท


อ.ส.ค. ได้ขอให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดทำรายงานการส่งมอบผลิตภัณฑ์นมยูเอชที ตราไทย-เดนมาร์ค ที่นำไปมอบและเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ต่อสู้และรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ จัดส่งมายัง อ.ส.ค. เพื่อรวบรวมสรุปผลการดำเนินงานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป



 




 



Create Date : 21 เมษายน 2563
Last Update : 21 เมษายน 2563 15:48:10 น.
Counter : 645 Pageviews.

1 comment
กองทัพบก-CPF ร่วมส่งอาหารคุณภาพจากใจ...สู่ชุมชน
กองทัพภาคที่ 1 และ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดย พลเอกกิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ร่วมกับ CPF โดย นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

ดำเนินโครงการ “กองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับ CPF ส่งอาหารคุณภาพจากใจ…สู่ชุมชน” บรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารแก่ประชาชน 8,499 ครัวเรือน ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด19  โดยมี พลตรีรังษี กิติญาณทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และนายสุชัย อมรดารารัตน์ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย ร่วมงานด้วย 


 


 
พลเอกกิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด19 ส่งผลกระทบไปทุกหย่อมหญ้า และบุคคลที่น่าเห็นใจมากอีกกลุ่มหนึ่งคือ ประชาชนที่อยู่กันอย่างแออัดในชุมชนต่างๆ คนเหล่านี้ส่วนใหญ่หาเช้ากินค่ำ เป็นผู้รับจ้างรายวัน ฯลฯ เมื่อธุรกิจหลายส่วนหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ตาม พรก.ฉุกเฉิน ทำให้พวกเขาขาดรายได้ ซึ่งปัญหาใหญ่ที่จะต้องพบเป็นอันดับแรกคือ ข้าวหรืออาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อ 

“โชคดีที่ประเทศไทยมีซีพีเอฟ ผู้ผลิตอาหารปลอดภัยที่มีจิตสาธารณะ และเล็งเห็นปัญหานี้เช่นเดียวกับกองทัพ ตลอดจนแสดงความจำนงที่จะยื่นมือเข้าช่วยเหลือ จึงเกิดเป็นโครงการกองทัพภาคที่ 1 ร่วมกับ CPF ส่งอาหารคุณภาพจากใจ…สู่ชุมชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน” พลเอกกิตติเชษฐ์กล่าว 


 


 
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ กล่าวว่า บริษัทฯตระหนักถึงผลกระทบจากการสถานการณ์โควิด19ที่มีต่อหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในชุมชนแออัด หนึ่งในนั้นคือ ชุมชนในพื้นที่คลองเตย ซึ่งมีประชากร 8,499 ครัวเรือน หรือประมาณ 41,280 คน กระจายกันอยู่ใน 22 ชุมชน 

“เราขอใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในด้านอาหาร มาร่วมบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชน  โดยจะมอบกับข้าวแกงถุงจำนวน 25,000 ถุง และน้ำดื่ม CP 17,000 ขวดใหญ่ แจกจ่ายให้ประชาชนในชุมชนคลองเตยทุกครัวเรือน โดยแต่ละครัวเรือนจะได้รับกับข้าวแกงถุง 3 ถุงและน้ำดื่ม CP 2 ขวดใหญ่ กับข้าวแกงถุงที่มอบให้เป็นอาหารที่บรรจุในนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ทนความร้อน เพียงต้มในหม้อน้ำเดือด 5-7 นาทีก็พร้อมรับประทานได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ไมโครเวฟ” นายประสิทธิ์กล่าว 


 


 
ในขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ในการส่งมอบอาหารจากใจให้แก่ประชาชนกว่า 20,000 คน ผู้เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และรับผิดชอบสังคมโดยกักตัวเอง เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อ รวมถึง การส่งมอบอาหารให้โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 105 โรงพยาบาล ตลอดจนครอบครัวของแพทย์-พยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐที่ช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด19 จำนวน 18,000 ครอบครัว ซึ่งทั้งหมดได้รับการตอบรับจากประชาชน ภาครัฐ และสังคมอย่างดีมาก 

การส่งมอบอาหารให้ประชาชนในครั้งนี้ เป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประเทศชาติ ประชาชน ให้ก้าวผ่านวิกฤตไวรัสโควิด19ไปด้วยกัน ภายใต้หลักคิด Good Citizen Organization กล่าวคือเป็นบริษัทที่ร่วมสร้างและดูแลสังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าให้กับประเทศ




 



 



Create Date : 20 เมษายน 2563
Last Update : 20 เมษายน 2563 19:13:58 น.
Counter : 607 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



contact >> parwnation@gmail.com
hello welcome
contact =>>parwnation@gmail.com
New Comments