The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
อืม

เมื่อวานนี้แม่โทรมาด้วยเรื่องต่าง ๆ ตอนท้าย ๆ ถามว่าวันเสาร์อาทิตย์จะทำอะไร ก็ตอบไปว่าจะเขียนนิยาย เขียนไม่ได้ก็จนกว่าจะเขียนได้ ท่าทางแม่จะไม่สบายใจ (แน่นอน ในใจตูย่อมเดาไปแล้วว่า "แม่คิดอะไร" เช่น ตึงเกินไป ข้อมูลไม่พอ ต้องหาข้อมูลใหม่ ทำใจให้สบาย ฯลฯ ซึ่งทำให้ดาวน์หนักกว่าเดิม) ที่จริงก็คือเรากลัวที่จะได้ยินคำว่า แกมันไม่มีอะไรเหลือแล้ว แกมัน "ขาด" บางอย่างไป เรากลัวคำว่า "ขาด" เพราะเราไม่รู้ว่าจะ "เติม" มันได้ไหม และด้วยวิธีไหน มีหลายอย่างในโลกที่อยากทำกับไม่อยากทำ เราเป็นพวกเชื่อว่าอะไรที่ไม่อยากทำ และไม่จำเป็นต้องทำ นั่นไม่ใช่ของเรา

ความคิดนี้มาจากการอ่านหนังสือของชาวบ้าน (แน่ละ) คนเขียนเป็นนักรณรงค์เพื่อสังคม แน่นอนพอมีคนทำอย่างนี้ขึ้นมา แล้วเกิดได้ผล คนอื่น ๆ ก็จะโหลดชีด้วยปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ เหมือนใครสักคนที่ตูเคยเห็น บอกว่าในหลวงแก้ปัญหาชาวเขาแล้วทำไมไม่แก้ปัญหาโสเภณีเด็กด้วย ตูก็...อืมนะ

คนเขียนหนังสือคนนั้นเขาบอกว่า ฉันรู้สึกผิดที่ไม่ได้แตะบาง issue เหมือนกัน แต่ความรู้สึกผิดมันก็อาจจะทำให้ฉันลงลึกใน issue ของฉันจริง ๆ ไม่ได้ และเรื่องบางเรื่องก็เป็น "ของ" คนอื่น ไม่ใช่ของฉัน ฉันไม่ได้รับพรสวรรค์มาให้ทำเรื่องนั้น

ที่จริงความรับผิดชอบเป็นของเราทุกคน แต่บางทีเราก็ไม่รู้จะทำยังไง เลยยกให้คนอื่นไป อยากจะให้คนอื่นทำแทนให้ แน่นอนว่า ตัวข้าพเจ้าเองก็เป็นเช่นกัน และมีความรู้สึก guilty เช่นกัน แต่การ project ความรู้สึกผิดใส่คนอื่น โยนให้คนอื่น มันก็ไม่ช่วยอะไร ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเริ่มในไส้พุงของตัวเอง

ก็ยังอยากเขียนหนังสืออยู่

เพราะว่ายังอยากเขียนหนังสืออยู่ เลยต้องหาให้เจอว่าจะข้ามไปได้ยังไง ว่าอะไรกันแน่คือสิ่งที่ขวางอยู่ตรงหน้า ว่าความกลัวแบบไหนมันกั้นไว้ ว่าอะไรที่ทำให้เขียน ความปรารถนาจริง ๆ หรือความรับผิดชอบ หรือตัวความกลัวนั้นเองที่เค้นคอให้เขียน เมิงเขียนนะ ไม่งั้นเมิงจะถูกลืม ความกลัวอันยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์คือกลัวถูกตัดขาด กลัวว่าไม่อาจ connect ได้อีก คนทุกคนเลยพยายามทำทุกวิถีทางที่จะเชื่อมต่อกับคนอื่น ตั้งแต่ทำตัวให้น่ารักมีคุณค่า ไปจนถึงทำตัวให้เด่นให้รวย และบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าถ้ากรูทำตัวเชี่ย อย่างน้อยคนก็ยังมองตู เลยทำตัวเชี่ยเสียด้วย

เก็บทุกอย่างรายทางในชีวิต เพื่อจะได้แน่ใจว่าตัวเองเป็นใคร

...

ช่วงนี้ซูซานเอาหนังสือมาคืน ชื่อ The Courage to Teach ของปาร์คเกอร์ พาล์มเมอร์ เป็นหนังสือดีที่ไม่ได้เหมาะเฉพาะกับครู แต่น่าจะเหมาะกับคนจำนวนมากที่พยายามเข้าใจตัวเอง คุณพาล์มเมอร์แกบอกว่าแกสอนหนังสือมาสามสิบปีแล้ว แกก็ยังคง "กลัว" ที่จริงแล้วประสบการณ์กับความ "กลัว" นั้นอยู่ร่วมกันเสมอ ความกลัวไม่ได้หายไป เราแค่เรียนรู้ที่จะฟังมันในฐานะสัญญาณ ความกลัวมักจะบอกอะไรที่ลึกยิ่งกว่าตัวความกลัวเอง

มันบอกว่าเรารู้สึกอ่อนแอเปราะบาง ในบางจุดของชีวิต แต่ว่าความอ่อนแอเปราะบางนั้นคืออะไร อยู่ที่เราเองต้องมองเอง คนอื่นเขาที่ฉลาดและละเอียดอ่อนเขาก็คงมองเห็นได้ประมาณหนึ่งละมัง แต่ก็มีแต่ตัวเราที่เข้าใจระบบในตัวเองดีที่สุด

ถ้าหากไม่มีสติ ความกลัวจะกลายเป็นฟีลเตอร์ของโลกที่เราเห็นทันที เช่นเราซึ่งไม่มั่นใจในตัวเอง อาจจะเห็นว่าคนอื่นกำลังเหยียดหยามเรา กำลังเห็นว่าเราน่าเบื่อ กำลังไม่สนใจเรา จากนั้นเราจะโต้ตอบจากตรงนั้น เช่นคิดว่าทุกคนเหยียดหยามตัวเอง ตัวเองก็เลยก้าวร้าวรุนแรง คิดว่าทุกคนเห็นตัวเองน่าเบื่อ ก็เลยเงียบเสีย ยิ่งข้างในนั้นมีปมมาก การแสดงออกก็จะสำแดงปมมาก และความเชื่อก็จะถูกบิดแปรผันไปตามปมเหล่านั้น

มีคนบอกตูว่ามีแต่พระอรหันต์ที่จะไม่เห็นผ่านเลนส์สี แต่ตูจินตนาการไม่ค่อยออกว่าจะเป็นยังไง

เราโต้ตอบกับโลกผ่านเลนส์สีของเราเอง คิดเอาเองว่าโลกข้างนอกเป็นตัวแปร แต่ที่จริงแล้วชิ้นส่วนข้างในนั้นกำลังสะท้อนกับข้างนอกต่างหาก (และเป็นที่มาของระบบออโต้ไพล็อตอันน่าสะพรึงกลัว) นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมคนชอบบ่นว่า "ทำไมกรูต้องเจอเรื่องแบบนี้อยู่เรื่อย" ก็ข้างในตัวเองมันสร้างทางไว้อย่างนั้นแล้ว มีปมที่ตอบสนองกับ "เรื่องแบบนี้" อยู่แล้ว ถ้าแกะหลุดเมื่อไหร่ ไอ้ที่บ่นนั่นก็จะไม่มาเอง

แน่นอน ไม่ได้หมายความว่าแกะหลุดแล้วจะพ้นปัญหา แต่หมายความว่า "ปัญหา" จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะเราไม่ได้มองมันเป็นปัญหา โลกทั้งโลกเกิดจากการตีความของเราเอง

บางทีประสบการณ์ทุกอย่างในโลกก็อาจจะมาเพื่อให้เรา "เรียน" จนกว่าจะ "เข้าใจ" เรื่องแบบนี้ละมัง



Create Date : 28 เมษายน 2554
Last Update : 28 เมษายน 2554 9:59:24 น. 3 comments
Counter : 1375 Pageviews.

 
สามสี่ย่อหน้าสุดท้ายนี่มันดีและใช่นะ ชอบจ้ะ


โดย: สิบสอง IP: 125.25.141.97 วันที่: 28 เมษายน 2554 เวลา:15:42:58 น.  

 
เจ๊คนนึงว่าไว้ใน TED talk..
ชีว่าสิ่งที่ประเสริฐที่สุดเกี่ยวกับความคิดมนุษย์ไม่ใช่การมองโลกแบบที่มันเป็น แต่หากเป็นความสามารถในการมองโลกแบบที่มันมิได้เป็น.

บางคนมีเลนส์สีเดียว ราขึ้นก็ไม่เปลี่ยน แต่เราเป็นพวกขอยืมเลนส์เค้ามาเปลี่ยนลองไปเรื่อย ภาพใหม่ๆก็เข้ามาเยอะดีนะ


โดย: ดู๊ด IP: 125.24.103.14 วันที่: 29 เมษายน 2554 เวลา:11:56:13 น.  

 
เอ่อ ใช้ paradigm (เลนส์) คนละอันกันเลยค่ะ เลยเหมือนจะพูดคนละเรื่องเดียวกัน


โดย: เคียว IP: 118.173.224.163 วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:17:23:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.