เรากราบไหว้เทวดา..แล้วเทวดากราบเราในคุณสมบัติอะไรบ้าง

ในขณะที่เราชาวมนุษย์กราบไหว้มวลเทพฯทั้งหลาย แล้วเราทราบรือไม่ว่า..

  ท้าวสักกะจอมเทพ กราบไหว้มนุษย์ประเภทใด...

  ดูพระสูตรนี้ครับ

[๙๒๘] สาวัตถีนิทาน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะมาตลีสังคาหกเทพบุตร
ว่า ดูกรสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่
อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูกรภิกษุทั้งหลายมาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าว
สักกะจอมเทพว่า ขอเดชะ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว เตรียมจัดรถม้าอาชาไนย
ซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวเสร็จแล้ว กราบทูลแด่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
รถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์เตรียมจัดไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรง
ทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ได้ทราบว่าท้าวสักกะจอมเทพขณะ
เสด็จลงจากเวชยันตปราสาท ทรงประนมอัญชลีนมัสการทิศเป็นอันมาก ฯ
[๙๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร ได้ทูลถามท้าวสักกะ
จอมเทพด้วยคาถาว่า
พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด
 ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชาวไตรทศผู้มียศย่อมนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเป็นเช่นนั้นพระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชา
คนใด ท่านผู้ควรบูชาคนนั้นชื่อไรเล่า ขอเดชะ ฯ
[๙๓๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชาวไตรทศ  ผู้มียศ นอบน้อมท่านผู้ใด
ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน ผู้บวชแล้วโดยชอบ
มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า คฤหัสถ์เหล่าใดเป็นผู้ทำบุญ มีศีล เป็น
อุบาสกเลี้ยงดูภรรยาโดยชอบธรรม ดูกรมาตลี เรานอบน้อมคฤหัสถ์
เหล่านั้น ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

ข้อที่ ๙๒๘ - ๙๓๐ หน้าที่ ๒๘๑

****สรุปว่า ท้าวสักกะนอบน้อมบูชามนุษย์ ตรงที่

 1.ผู้มีศีลสมบูรณ์

 2.มีสมาธิตั้งมั่น

 3.ผู้ออกบวชมีมรรคแปดเป็นเบื้องหน้า

 4.คฤหัสถ์ผู้มีศีล ทำบุญ...

เรามีคุณสมบัติอย่างนี้หรือเปล่าครับ....




Create Date : 22 มีนาคม 2556
Last Update : 22 มีนาคม 2556 12:21:53 น.
Counter : 2043 Pageviews.

0 comment
สิกขาบท..ดิรัจฉานวิชา ของภิกษุ

เรื่องเรียนดิรัจฉานวิชา

[๑๘๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา ... ภิกษุ   ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉาน วิชา รูปใดเรียน
ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
     [๑๘๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบ  ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉาน  วิชา รูปใดสอน
ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

ข้อที่ ๑๘๓ - ๑๘๔  หน้าที่ ๔๖




Create Date : 21 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มีนาคม 2556 8:58:18 น.
Counter : 733 Pageviews.

0 comment
กามคุณห้า...

 กามคุณ ๕
    [๓๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ
รูปที่พึงรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียง
ที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕
อย่างนี้แล.
    [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ข้อที่ ๓๔๓ หน้าที่ ๘๙

กามคุณทั้งห้า เป็นสิ่งที่ต้องละ....




Create Date : 19 มีนาคม 2556
Last Update : 19 มีนาคม 2556 9:55:28 น.
Counter : 933 Pageviews.

1 comment
เลื่อมใสศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า..2 ประเภทที่ต่างกัน

ความศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสดา เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกท่านควรจะมีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อมีความศรัทธาแล้ว

ในองค์พระศาสดาก็ควรจะต้อง ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา...

และความศรัทธาเลื่อมใสนั้น พระศาสดาได้แบ่งเป็นสองประเภทคือ

พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน (ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า)

ตถาคเต  เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน (ศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต )

2 ความเลื่อมใสและศรัทธานี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร...

 ดูสองพระสูตรนี้ครับ

 [๑๐๑๗]  สาธุ  สาธุ  สารีปุตฺต  โย  โส  สารีปุตฺต  อริยสาวโก
ตถาคเต  เอกนฺตคโต  อภิปฺปสนฺโน  น  โส  ตถาคเต วา ตถาคตสาสเน
วา   กงฺเขยฺย   วา   วิจิกิจฺเฉยฺย   วา   ฯ   สทฺธสฺส  หิ  สารีปุตฺต
อริยสาวกสฺส   เอตํ   ปาฏิกงฺขํ   ยํ  อารทฺธวิริโย  วิหริสฺสติ  อกุสลานํ
ธมฺมานํ  ปหานาย  กุสลานํ  ธมฺมานํ อุปสมฺปทาย  ถามวา  ทฬฺหปรกฺกโม
อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ฯ
[๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต
อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.


     [๕๒๗]   อถ   โข   สกฺโก  เทวานมินฺโท  ปญฺจหิ  เทวตาสเตหิ
สทฺธึ    เยนายสฺมา    มหาโมคฺคลฺลาโน    เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา
อายสฺมนฺตํ    มหาโมคฺคลฺลานํ   อภิวาเทตฺวา   เอกมนฺตํ   อฏฺฐาสิ   ฯ
เอกมนฺตํ   ฐิตํ   โข   สกฺกํ   เทวานมินฺทํ  อายสฺมา  มหาโมคฺคลฺลาโน
เอตทโวจ  สาธุ  โข  เทวานมินฺท  พุทฺเธ  อเวจฺจปฺปสาเทน สมนฺนาคมนํ
โหติ   อิติปิ   โส   ภควา   อรหํ   สมฺมาสมฺพุทฺโธ  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
สุคโต    โลกวิทู    อนุตฺตโร   ปุริสทมฺมสารถิ   สตฺถา   เทวมนุสฺสานํ
พุทฺโธ    ภควาติ    ฯ    พุทฺเธ   อเวจฺจปฺปสาเทน   สมนฺนาคมนเหตุ
โข     เทวานมินฺท     เอวมิเธกจฺเจ    สตฺตา    กายสฺส    เภทา
ปรํ   มรณา  สุคตึ  สคฺคํ  โลกํ  อุปปชฺชนฺติ  ฯ

[๕๒๗] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหาท่านพระมหา
โมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์

ตถาคเต  เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน (ศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต )

  ความศรัทธาเลื่อมใสชนิดนี้เป็นการศรัทธาเบื้องต้น เพื่อน้อมไปเพื่อการปฏิบัติในธรรมะอันยอดเยี่ยม ของ

พุทธบริษัททั้งหลาย

พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน (ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า)

  ส่วนชนิดนี้เป็นศรัทธา เลื่อมใสโดยไม่หวั่นไหว เป็นคุณสมบัติของอริยบุคคล ที่ปฏิบัติดีแล้ว

ที่มุ่งสู่พระนิพพาน..



Create Date : 18 มีนาคม 2556
Last Update : 18 มีนาคม 2556 9:57:05 น.
Counter : 1288 Pageviews.

0 comment
ความประพฤติ ทางกายโดยส่วน ๒ คือ ที่ควรเสพ และ ที่ไม่ควรเสพ

ความประพฤติ
ทางกายโดยส่วน  ๒  คือ  ที่ควรเสพ  และ  ที่ไม่ควรเสพ

[๑๙๙]  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวความประพฤติ
ทางกายโดยส่วน  ๒  คือ ที่ควรเสพอย่าง  ๑  ที่ไม่ควรเสพอย่าง  ๑ทั้ง  ๒  อย่างนั้น  แต่ละอย่าง
เป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน.....

[๒๐๐]  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้  ท่านพระสารีบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ธรรมบรรยายนี้  พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ  มิได้ทรงจำแนกเนื้อ
ความโดยพิสดาร  ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้  โดยพิสดารอย่างนี้
    ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวความ  ประพฤติทางกาย
โดยส่วน  ๒  คือ  ที่ควรเสพอย่าง  ๑  ที่ไม่ควรเสพอย่าง  ๑  ทั้ง  ๒  อย่างนั้น  แต่ละอย่าง
เป็นความประพฤติทางกายด้วยกัน  นั้น  พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว  ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ  เมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใด  อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป
ความประพฤติทางกายเช่นนี้  ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพความประพฤติทางกายเช่นใดอกุศลธรรม
ย่อมเสื่อมไป  กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง  ความประพฤติทางกายเช่นนี้ควรเสพ  ฯ
    [๒๐๑]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างไร  อกุศลธรรม
จึงเจริญยิ่ง  กุศลธรรมจึงเสื่อมไป  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้มักทำ
ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง  คือ  เป็นคนเหี้ยมโหด  มีมือเปื้อนเลือด  หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต อนึ่งเป็นผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้  คือ  ถือเอาอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่า  อันเจ้าของเขาไม่ให้  ด้วยความเป็นขโมย  อนึ่ง
เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม  คือ  เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง  หญิงที่บิดารักษา
บ้าง  หญิงที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง  หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง  หญิงที่พี่สาวรักษาบ้าง  หญิงที่
ญาติรักษาบ้าง  หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวง
ดอกไม้หมั้นไว้  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้  อกุศลธรรม
จึงเจริญยิ่ง  กุศลธรรมจึงเสื่อมไป  ฯ
    [๒๐๒]  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างไร  อกุศลธรรม
จึงเสื่อมไป  กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  บุคคลบางคนในโลกนี้  เพราะละ
ปาณาติบาต  จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต  วางอาชญา  วางศาตราแล้ว  มีความละอาย  ถึง
ความเอ็นดู  อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่  เพราะละอทินนาทาน  จึง
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน  ไม่  ถือเอาอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น  ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า

อันเจ้าของเขามิได้ให้  ด้วยความเป็นขโมย  เพราะละกาเมสุมิจฉาจาร  จึงเป็นผู้เว้นขาดจาก
กาเมสุ มิจฉาจาร  ไม่เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง  หญิงที่บิดารักษาบ้าง  หญิงที่
ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง  หญิงที่พี่ชายรักษาบ้าง  หญิงที่พี่สาวรักษาบ้าง  หญิงที่ญาติรักษาบ้าง
หญิงที่ยังมีสามีอยู่บ้าง  หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง  ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อเสพความประพฤติทางกายมีรูปอย่างนี้  อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป
กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง  ฯ
    ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวความประพฤติทางกายโดย
ส่วน  ๒  คือ  ที่ควรเสพอย่าง  ๑  ที่ไม่ควรเสพอย่าง  ๑  ทั้ง  ๒  อย่างนั้น  แต่ละอย่างเป็นความ
ประพฤติทางกายด้วยกัน  นั่น  พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเนื้อความดังนี้ตรัสแล้ว  ฯ

**ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ธรรมบรรยายที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ  มิได้  ทรงจำแนก
เนื้อความโดยพิสดารนี้แล  ข้าพระองค์ทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้  ฯ

[๒๒๙]  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรสารีบุตร  ดีแล้วๆ  ธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อ
มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้  เธอทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ถูกแล้ว  ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ข้อที่ ๑๙๙และ ๒๒๙ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๖




Create Date : 17 มีนาคม 2556
Last Update : 17 มีนาคม 2556 10:00:11 น.
Counter : 899 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog