วันนี้ในฐานะชาวพุทธ..เราทราบ อริยสัจ ๔ กันแบบถ่องแท้หรือยัง

 สิ่งที่ชาวพุทธต้องทราบ ก็คือ อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ที่พระศาสดาสัมมาสัมพุทธะ

ทรงตรัสรู้และได้ถ่ายทอดบอกสอนเหล่าสาวก

ผ่านมาแล้ว 2600 ปี..วันนี้ลองตั้งคำถามสำหรับตัวเองดูว่า

  เรารู้จัก อริยสัจ ๔ แค่ไหน....

บางคนทราบธรรมะมากมาย แต่กลับไม่รู้จัก อริยสัจสี่ ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา....

การรู้อริยสัจ

รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ

ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้น

ควรจะทำอย่างไร ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะ

ดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ

อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ(เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”

ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับ

เสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่; แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง

ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)

สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็ นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้

เฉพาะ. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้

เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้

ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน

เป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง

ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๗.


การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้นเป็นไปไม่ได้

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องทำพื้นฐาน

รากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้”ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่

จักมีได้ฉันใด ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะ

พึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้

เกิดทุกข์ , เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ

ทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้องดังนี้.

ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐาน-

รากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้”ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมี

ได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉัน

ครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความ

ดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึง

จักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร

เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับ

ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ดังนี้เถิด.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-.

***ถ้าวันนี้ท่านยังไม่ทราบ อริยสัจ ๔ ด้วยบทพยัญชนะและความหมาย ที่พร้อมจะนำไปปฎิบัติ ต้องขวยขวายเพื่อให้

ทราบแล้วละครับ เพราะ....


ความยากที่เท่ากัน 3 อย่าง

ภิกษุ ท. ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน
ที่ใคร ๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้


ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้น
ในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัย
อันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก
ภิกษุ ท. ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว;
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว;
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้
พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า

“นี้ ทุกข์;
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;
นี้ ความดับแห่งทุกข์;
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้ เถิด.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.




Create Date : 16 เมษายน 2556
Last Update : 16 เมษายน 2556 8:46:43 น.
Counter : 1202 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog