สิ่งวิเศษสุดของตัวเลข ๑ - ๘ ในการปฏิบัติธรรม


สิ่งวิเศษสุดของตัวเลข ๑ - ๘ ในการปฏิบัติธรรม

เลข ๑  ละนันทิ

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ และสิ้นทุกข์
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การ เห็น
อยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง
จักษุ ทุกประการ.)
 สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

เลข ๒ สมถะ วิปัสนา

สมถะ คือการที่จิตอยู่ในอารมณ์เดียว

วิปัสนา คือการเห็นการเกิด - ดับของขันธ์ ห้า

[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสนา ๑ธรรม ๒ อย่าง
เหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ

เลข ๓ สังขาร 3

กายสังขาร  วจีสังขาร จิตตสังขาร

[๒๐๓] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ส่วนหยาบ ของคนบางคนในโลกนี้ ยังไม่สงบระงับ สมัยอื่น เขาฟัง ธรรมของพระอริยเจ้า
มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อเขา อาศัยการฟังธรรมของพระอริยเจ้า
มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรมอยู่ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่
หยาบๆ ย่อมสงบระงับ เพราะ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่หยาบๆ สงบระงับ สุข
ย่อมเกิดแก่เขา โสมนัสอันยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น ดุจความปราโมทย์ เกิดต่อจากความบันเทิงใจ
ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึง ความสุข ฯ

เลข ๔ สติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม

ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา
อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยเู่ ปน็ ประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ให้บริบูร
์ได้.

โปรดติดตาม สิ่งวิเศษของตัวเลข อีกสี่ตัว ในเอนทรี่ต่อไปครับ



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2555 10:34:39 น.
Counter : 1041 Pageviews.

1 comments
  
ได้ความรู้
โดย: rustred9 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:11:41:25 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog