ว่าด้วยเรื่อง...กาม......

เช้าวันเสาร์นี้ขอเสนอเรื่อง...กาม..สิ่งที่ทำให้เราเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏ

สิ่งที่เรียกว่ากามคุณและกามสุข
อานนท์! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ห้าอย่างอย่างไรเล่า?
ห้าอย่างคือ รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นรู้อัน
พึงแจ้งด้วยฆานะ .... รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วย
กาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
อาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล ชื่อว่า กามคุณ ๕.
อานนท์! สุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น; สุข-
โสมนัสอันนั้น เรียกว่า กามสุข.
- ม. ม. ๑๓/๙๖/๑๐๐.

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค)
นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก
นั้น หาใช่กามไม่ ; ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก
นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก

ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง
ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้

๓๐๘ อริยสัจจากพระโอษฐ์

ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.

ภิกษุ ท. ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกาม๑ คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่าง
หนึ่ง ๆ ; ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคล
ใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้นๆ ให้
เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ;
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็น
ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
ให้สังเกตว่าในเรื่องของกามนั้นไม่มีส่วนของธรรมารมณ์ มีแต่เฉพาะอายตนะ ๕ ในส่วนของกายเท่านั้นหรือกลุ่ม
ของดิน น้ำ ลม ไฟ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทา
ให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่ง
พรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.
- ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.




Create Date : 02 มีนาคม 2556
Last Update : 2 มีนาคม 2556 8:49:56 น.
Counter : 969 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog