เนื่องในวัน มาฆะบูชา (สาวกานํ สนฺนิปาโต อโหสิ) ชาวพุทธต้องทำอย่างไร...

//www.thailandoffroad.com/non/nonboard/picture%5C272255373809.jpg

เนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งแท้จริงแล้วมีชื่อทางพุทธศาสนาว่า

.... ภิกฺขเว  เอตรหิ เอโก   สาวกานํ   สนฺนิปาโต   อโหสิ   อฑฺฒเตฬสานิ   ภิกฺขุสตานิ  ฯ
มยฺหํ   ภิกฺขเว   อยํ  เอโก  สาวกานํ  สนฺนิปาโต  อโหสิ  สพฺเพสํเยว
ขีณาสวานํ ฯ

.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุม
กันแห่งสาวกของเราในบัดนี้ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวน ภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป สาวกของเรา
ซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ฯ

***สาวกานํ   สนฺนิปาโต   อโหสิ

แต่ความมุ่งหมายที่แท้จริงในการนำเสนอในวันสำคัญนี้ คือเรื่อง การมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต เป็นอย่างไร...

เพราะกราบแรกที่เราชาวพุทธกราบคือ ระลึกถึง พระศาสดา.....

(ตถาคเต  เอกนฺตคโต  อภิปฺปสนฺโน) มีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต

[๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต
อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.
    [๑๐๑๘] ดูกรสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก
ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.
    [๑๐๑๙] ดูกรสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มี
ศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็น
อารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก
ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด
อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับ
ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน.
    [๑๐๒๑] ดูกรสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล
พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว
รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้ว
นั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.
    [๑๐๒๒] ดูกรสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ข้อที่ ๑๐๑๗-๑๐๒๒  หน้าที่ ๒๔๖-๒๔๗

นี่คือการมีซึ่ง อินทรีย์ห้า ที่จะเป็นตัวบ่งบอกให้ทราบว่า การที่จะบรรลุซึ่งธรรมที่พระศาสดาได้ตรัสรู้ไว้แล้วนั้น

ขึ้นอยู่กับ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ขอแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน...




Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2556 10:37:41 น.
Counter : 919 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog