...วันนี้เราได้ เตรียมตัวเพื่อตายแล้วหรือยัง?

[๕๓๔]  บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่
          ยังไม่มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้ว  สิ่งนั้นก็เป็นอันละไป
          แล้ว  และสิ่งที่ยังไม่มาถึง  ก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคล
          ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลน
          ในธรรมนั้นๆ  ได้  บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ
          ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยน
          กับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
          พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้  มีความ
          เพียร  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน  นั้นแลว่า
          ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ  ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  คำที่เรากล่าวไว้ว่า  เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง
เจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น  เราอาศัยเนื้อความดังนี้  กล่าวแล้ว  ด้วยประการฉะนี้  ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์   ข้อที่ ๕๓๔  หน้าที่ ๒๖๗

ขอยกพระสูตรนี้ขึ้นนำก่อน ในเรื่องของ..ความตาย....

ตวามตายเป็นเรื่องที่น่ากลัว สำหรับผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงอริยสัจสี่ ความตายเป็นสิ่งที่ยังหวาดหวั่น

สำหรับผู้ที่ยังหลงในกามสุข...

แต่ความตายเป็นสิ่งที่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ต้องได้รับแน่นอน ไม่มีใครที่ได้เกิดแล้วไม่ได้ตาย

แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า

เราเตรียมตัวเพื่อ..ตาย..แล้วหรือยัง

การอย่างอื่นในโลกเราอาจจะเตรียมการไว้แล้วล่วงหน้า เช่น การประชุมงานในวันหน้า การที่จะมี

ครอบครัว การที่จะวางชีวิตอนาคต เวลาที่ันั้นมาถึง เราก็พร้อมเพราะได้เตรียมการเตรียมข้อมูลไว้

เรียบร้อยแล้ว...

แต่เรื่องความตายที่อาจจะบังเกิดกับเราได้ทุกขณะจิต เราได้เตรียมอะไรไว้เพื่อวันนั้นแล้ว

หรือยัง เพราะเมื่อเราละภพนี้ไปแล้ว  อะไรที่รอเราอยู่ในภพหน้านั้น...

ทรัพย์สมบัติแม้เพียงเหรียญสลึงเพียงเหรียญเดียว ที่เขาเอาใส่ปากเราก็ไม่สามารถเอาไปได้

สิ่งที่เราจะนำติดตัวเราไป และจะติดตามไปส่งผลในภพหน้าก็คือ

  กรรม ทั้งกรรมดี และกรรมไม่ดี

สร้างกรรมดีวันนี้ครับ เพราะพรุ่งนี้ถ้าไม่มีวันให้เรา อย่างน้อยเราก็ยังได้มีกรรมดีนำติดตัวไปบ้าง

ส่วนผู้ที่ทำกรรมดีมาตลอดถือว่า เขาได้เตรียมตัวเพื่อรอคอยการตายไว้แล้ว จึงเป็นผู้ไม่ประมาทโดยแท้

   อย่าคิดว่าภพหน้าชาติหน้าไม่มี แล้วไม่คิดทำกรรมดี เพราะถ้าเมื่อถึงเวลานั้น เราจะไม่มีโอกาสได้แก้ตัว

กรรมดีที่กระทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยากคือ

บุญกิริยาวัตถุ 3

   1.ให้ทาน

  2. ถือศีล

  3. ภาวนา

เพียงสามประการนี้เราก็ได้ทำกรรมที่ดีไว้เพื่อเป็นสิ่งที่จะนำเราไปในภพที่ดีแล้ว





Create Date : 08 มกราคม 2556
Last Update : 8 มกราคม 2556 10:25:02 น.
Counter : 1246 Pageviews.

0 comment
กุศลของการได้ไปถึง..สังเวชนียสถานภายหลังพุทธปรินิพพาน


สังเวชนียสถานภายหลังพุทธปรินิพพาน

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แต่ก่อนนี้ ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในทิศต่าง ๆ แล้ว

ย่อมมาเฝ้ าพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้มีโอกาสเห็นภิกษุทั้งหลายผู้

น่าเจริญใจเหล่านั้น ได้มีโอกาสเข้าพบปะภิกษุทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้น. ครั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไปแล้ว พวกข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมหมดโอกาสที่จะได้เห็น

หรือได้เข้าพบปะภิกษุทั้งหลายผู้น่าเจริญใจเหล่านั้นอีกต่อไป”. - พระอานนท์ กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าในวันปรินิพพาน.

ดูก่อนอานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้

มีศรัทธา มีอยู่ ๔ ตำบล. ๔ ตำบลอะไรเล่า ? ดูก่อนอานนท์ ! สถานที่ที่

ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่า พระตถาคตประสูติแล้ว ณ

ที่นี้ ๑, สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่า

พระตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้ ๑, สถานที่ที่

ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่า พระตถาคตได้ประกาศ

อนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้ ๑, สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวช

แก่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ว่า พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว

ณ ที่นี้ ๑. อานนท์ ! สถานที่ที่ควรเห็นและควรเกิดความสังเวชแก่กุลบุตรผู้มี

ศรัทธา มี ๔ ตำบลเหล่านี้แล.

อานนท์ ! ภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุณีทั้งหลาย หรืออุบาสกทั้งหลาย

หรืออุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีศรัทธา จักพากันมาสู่สถานที่ ๔ ตำบลเหล่านี้

โดยหมายใจว่า พระตถาคตได้ประสูติแล้ว ณ ที่นี้บ้าง, พระตถาคตได้ตรัสรู้

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ ที่นี้บ้าง, พระตถาคตได้ประกาศอนุตตร-

ธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ณ ที่นี้บ้าง, พระตถาคตได้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ ณ ที่นี้บ้าง ดังนี้.

อานนท์ ! ชนเหล่าใดเที่ยวไปตามเจดียสถานจักมีจิตเลื่อมใส ทำกาละ

แล้ว ชนเหล่านั้นจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลาย

แห่งกาย ดังนี้.

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์





Create Date : 07 มกราคม 2556
Last Update : 7 มกราคม 2556 13:11:47 น.
Counter : 1028 Pageviews.

0 comment
สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ


สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ
ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ตามที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์ก็
พยากรณ์โดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวฌานว่า มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม จริง.
ภิกษุ ท. ! เสี้ยนหนาม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สิบอย่างอย่างไรเล่า? สิบ
อย่าง คือ : -
ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ยินดีในปวิเวก ;
การตามประกอบในสุภนิมิต เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ตามประกอบใน
อสุภนิมิต ;
การดูการเล่น เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ;
การเกี่ยวข้องกับมาตุคาม เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์ ;
เสียง เป็นเสี้ยนหนามแก่ ปฐมฌาน ;
วิตกวิจาร เป็นเสี้ยนหนามแก่ ทุติยฌาน ;
ปีติ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ตติยฌาน ;
อัสสาสะปัสสาสะ เป็นเสี้ยนหนามแก่ จตุตถฌาน ;
สัญญาและเวทนา เป็นเสี้ยนหนามแก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ;
ราคะ เป็นเสี้ยนหนาม โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็ นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. ภิกษุ ท. ! พวก
เธอจงเป็ นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลายเป็ นผู้ไม่
มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล.
- ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๕/๗๒.

(หนามที่สิบ คือราคะและโทสะเป็นหนาม แต่ไม่ระบุว่าเป็นหนามแก่สิ่งใดเหมือนข้อ
บนๆ; เข้าใจว่าเป็นหนามแก่ธรรมทั่วไป. การที่ไม่ระบุโมหะว่าเป็นหนามด้วย เข้าใจว่าเป็นเพราะ
โมหะไม่มีลักษณะเสียบแทงเหมือนหนาม หรือเหมือนกับราคะและโทสะ).





Create Date : 06 มกราคม 2556
Last Update : 6 มกราคม 2556 10:01:15 น.
Counter : 887 Pageviews.

0 comment
อย่าฉลาดเพียง ปริยัติ....เพราะสิ่งที่สำคัญคือ..การปฏิบัติ


ปริยัติ-คือ การศึกษาเรียนรู้ทางทฤษฎี

ปฏิบัติ-คือ การลงมือฝึก

ในทางโลกหรือทางธรรมก็เหมือนกัน เพราะเมื่อเรียบรู้ทฤษฎีแล้ว ก็ต้องลงมือ

ปฏิบัติ...แต่ทางโลกต่างกับทางธรรมอยู่ที่ทางโลกเป็นการปฏิบัติที่ส่วนใหญ่เป็นรูปธรรม

อย่างเช่น เรียนเรื่องการซ่อมรถยนต์ แล้วลงมือซ่อมจริง อาจจะใช้เวลาไม่กี่ครั้งก็

สามารถซ่อมรถยนต์ได้แล้ว เมื่อเวลาผ่านไปความชำนาญก็เกิดขึ้น

ส่วนทางธรรมยากกว่ามากในทางปฏิบัติ ด้านปริยัติอาจจะใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน ตัวอย่าง

เช่น เรื่องขันธ์ห้า การทำงานของขันธ์ห้า การถอนอุปทานขันธ์ห้า ใช้เวลาเรียนรู้ทาง

ทฤษฎีเพียงไม่กี่วันก็จำได้ แต่ทางปฏิบัติ...อาจจะต้องใช้เวลาทั้งชีวิต นานช้าอยู่กับ

อินทรีย์ห้าของแต่ละคน....

ดังนั้นเมื่อรู้พุทธวจนในเรื่องที่ทำให้พ้นทุกข์แล้ว ก็ลงมือปฏิบัติแบบตั้งใจ เพราะธรรมอัน

ปรากฎนั้นเป็นปัจจตัง รู้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่มีใครบอกแล้วเราจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

......วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่......

  วันเวลาไม่คอยใคร เมื่อวันนี้เรายังมีชีวิตอยู่ ก็ลงมือปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ อย่ารอพรุ่งนี้

เพราะเราอาจจะไม่มีโอกาสแล้วก็เป็นได้

***การปฏิบัติสำคัญอย่างไรนั้น พระศาสดาได้ตรัสสอนสาวกไว้แล้ว จากพระสูตรนี้...

๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กิจควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร? พวกเธอควรศึกษา

อยู่ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม

อันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอัน

เป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสำเร็จการนอนดัง

ราชสีห์โดยเบื้องขวา ซ้อนเท้า เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความสำคัญในอัน

ลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่อง

กีดกั้นด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี. บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า

พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะ

บริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะ

ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว

สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้ว โดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำได้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความ

ยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควร

ทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

พระ ไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒                                                                                                      

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

ข้อที่ ๔๖๗

หน้าที่ ๓๕๒

จากพระสูตรนี้ พระศาสดาแบ่งราตรีเป็น 3 ยามๆละ 4 ชั่วโมง (ตั้งแต่อาทิตย์ตกจนอาทิตย์ขึ้น) ในระหว่างวัน

หลังจากทำภาระกิจส่วนตัว (ฉันอาหารเช้า..ล้างบาตรเช็ดบาตร..เข้าห้องน้ำ..ศึกษาธรรมและวินัย)ก็เริ่มปฏิบัติธรรม

ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรีคือเวลา สี่ทุ่ม ยามสองตั้งแต่สีทุ่มถึงตีสองให้นอน...ยามสามตื่นตั้งแต่ตีสองจนถึง

เช้าให้ปฏิบัติธรรม....และวนไปอย่างนี้ทุกวัน...

นี่คือกิจของสงฆ์ที่ควรจะปฏิบัติ ส่วนของอุบาสก อุบาสิกาก็ใช้ความเหมาะสม แต่เป็นไปตามแนวทาง

ที่พระศาสดาบัญญัติไว้

  นี่ก็แสดงว่า การที่จะรู้ซึ่งธรรมเพื่อการหลุดพ้นอย่างแท้จริง เป็นเรื่องยากมาก ไม่อย่างนั้นพระศาสดา

คงไม่ให้สาวกใช้เวลาเกือบ 80 % หนักไปในทางปฏิบัติ....

พุทธบริษัทที่ต้องการพ้นจากทุกข์ มาปฏิบัติกันเถิดครับ....



Create Date : 05 มกราคม 2556
Last Update : 5 มกราคม 2556 11:19:54 น.
Counter : 915 Pageviews.

2 comment
บุญกริยาวัตถุ 3..อนิสงฆ์จากการทำทานถือศีล..แต่ไม่ภาวนา


บุญกริยาวัตถุ 3

จากพระสูตรที่จะนำเสนอ เป็นการทำบุญ ที่พระศาสดาได้บัญญัติว่าเป็น บุญกริยาวัตถุ 3

ซึ่งได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา


แต่พระสูตรนี้จะเป็นการอธิบายถึงสิ่งที่จะได้รับจาก การทำทาน และการถือศีล เพียง 2 ประเภทแบบตั้งแต่

นิดหน่อยจนถึงระดับ มีประมาณยิ่ง ว่าเป็นอย่างไร...(ไม่รวมถึงการภาวนา)


ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
     [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญ
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป
เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ
ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตาย
ไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔
ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก
ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์
ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ
ในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ
ด้วยศีลเป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ
โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสยามเทพบุตรใน
ชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น
อดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นยามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสันดุสิตเทพบุตร
ในชั้นดุสิตนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น
อดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นดุสิตโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตาย
ไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสุนิมมิตเทพบุตร
ในชั้นนิมมานรดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
เป็นอดิเรกย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นนิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯโผฏฐัพพ
ทิพย์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ
ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวปรนิม
มิตวสวัตตีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำ
บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีโดยฐานะ ๑๐
ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์  เสียงทิพย์
กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ข้อที่ ๑๒๗
หน้าที่ ๑๘๗-189



Create Date : 04 มกราคม 2556
Last Update : 4 มกราคม 2556 9:40:30 น.
Counter : 2274 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog