ความแตกต่างระหว่าง คนเขลาและบัณฑิตในการประพฤติพรหมจรรย์


ความแตกต่างระหว่าง
คนเขลาและบัณฑิตในการประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุ ท. ! กายนี้เกิดมีขึ้นแล้ว แก่คนเขลา ผู้ถูกอวิชชาใดห่อหุ้ม
แล้วด้วย ผู้พัวพันแล้วด้วยตัณหาใดด้วย, อวิชชานั้นแหละ ที่คนเขลายังละ

ไม่ได้ และตัณหานั่นเทียว ก็ยังไม่หมดสิ้นไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ
ท. ! เพราะว่า คนเขลาไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
เพราะเหตุนั้น คนเขลา จึงเป็นผู้เข้าถึงกาย (อื่น) เพราะการแตกสลายแห่งกาย
(นี้). คนเขลานั้น เมื่อเข้าถึงกายอยู่ เรากล่าวว่า “เขาไม่หลุดพ้นจากความเกิด
ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
ความคับแค้นใจ และไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! กายนี้ เกิดมีขึ้นแล้ว แก่บัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดห่อหุ้ม
แล้วด้วย ผู้พัวพันแล้วด้วยตัณหาใดด้วย, อวิชชานั้นแหละ อันบัณฑิตละได้
แล้ว และตัณหานั่นเทียว ก็หมดสิ้นไปแล้ว. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่า
บัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ. เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตจึงเป็นผู้ไม่เข้าถึงกาย (อื่น) เพราะการแตกสลายแห่งกาย (นี้). บัณฑิต
นั้นเมื่อไม่เข้าถึงกายอยู่ เรากล่าวว่า “เขาย่อมหลุดพ้นได้จากความเกิด ความแก่
ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความ
คับแค้นใจ และย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์” ดังนี้แล.
- นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙/๕๙.

แล้วลองดูตัวเราซิว่าเราเป็น..คนเขลาหรือบัณฑิต





Create Date : 11 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 9:41:33 น.
Counter : 2019 Pageviews.

0 comment
ลำ ดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์


ลำ ดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา(เนตำ มม)
นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
(น เมโส อตฺตา) : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญา
โดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่าง
เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตาม
ที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ1 ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ2 ทั้งหลาย
ย่อมไม่มี;

1 ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
2 ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต


เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำาอย่าง
แรงกล้าย่อมไม่มี;
เมื่อความยึดมั่นลูบคลำาอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อม
จางคลายกำาหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร
ในวิญญาณ; ยอ่ มหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มี
ความยึดมั่นถือมั่น.
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำ รงอยู่;
เพราะเป็นจิตที่ดำ รงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง
ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.
เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,
กิจที่ควรทำ ได้ทำ สำ เร็จแล้ว,
กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”
ดังนี้.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.



Create Date : 10 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2555 11:28:18 น.
Counter : 1399 Pageviews.

1 comment
เจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน


ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า.
เอก. อํ. ๒๐/๕๔ - ๕๕/๒๒๔.
ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้
ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ ; คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖ - ๓๙๗/๑๓๑๑ -- ๑๓๑๓.





Create Date : 08 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2555 10:16:33 น.
Counter : 1195 Pageviews.

2 comment
รู้แต่ปริญัติ แต่ไม่ปฏิบัติ ...... ปฏิบัติ แต่ไม่รู้ปริญัติ


รู้แต่ปริญัติ  แต่ไม่ปฏิบัติ

ปฏิบัติ      แต่ไม่รู้ปริญัติ

ใช้ได้กับพุทธบริษัททุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา

การรู้แต่วิธีและข้อปฏิบัติอย่างแตกฉาน แต่ไม่ลงมือปฏิบัติหรือปฏิบัติเพียงแต่น้อย ก็ไม่อาจจะบรรลุ

ถึงจุดหมายปลายทาง เปรียบเหมือน ท่องตำราซ่อมรถยนต์ได้หมดทั้งเล่ม แต่ไม่เคยลงมือซ่อมเลยแม้แต่

ครั้งเดียว ก็ไม่สามารถซ่อมรถได้ ...

***ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว
อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า
หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า
มีสติหายใจออก :
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง (สพฺพกายปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
กายสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งปีติ (ปีติปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งสุข (สุขปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร (จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต (จิตฺตปฏิสํเวที) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปราโมทย์ยิ่ง (อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่น (สมาทหํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ปล่อยอยู่ (วิโมจยํ จิตฺตํ) หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) หายใจเข้า”, ว่า
“เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
 และนี่คือ วิธีปฏิบัติอาณาปานสติ ตามพระศาสดา ผู้ที่ท่องจำได้ แต่ไม่ลงมือปฏิบัติ ก็จะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว การปฏิบัติ

อานาปาณสติเป็นอย่างไร มีอุปสรรค ปัญหาอย่างไรในระหว่างการปฏิบัติ...และนี่คือ

รู้แต่ปริญัติ  แต่ไม่ปฏิบัติ

ผู้ที่จะปฏิบัติ แต่ยังไม่ทราบปริญัติ ก็เหมือนเหล่าฤาษี โยคีเมื่อครั้งก่อนพุทธกาล พวกนี้จะพากันเข้าป่าเพื่อแสวงหาการดับทุกข์

แต่ยังไม่มีวิธีที่จะใช้ดับทุกข์ ต่างก็ไปหาวิธีปฏิบัติกันเอาเอง ลองผิดลองถูก แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้พบวิธีที่ถูก ต่างก็ได้ฤทธิ์คุณวิเศษ

ต่างๆกันไป ยกเว้นวิธีดับทุกข์ที่ไม่มีผู้ใดได้ค้นพบ

 เหมือนกับพระศาสดาเมื่อครั้งยังไม่ได้ตรัสรู้ ก็ใช้วิธีลองผิดลองถูกมาตลอดเวลา 6 ปี จึงได้พบวิธีดับทุกข์ ได้ค้นพบ

อริยสัจสี่ ธรรมะอันวิเศษ จึงได้มาถ่ายทอดบอกสอนเหล่าสาวก เพื่อให้ได้ทราบวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์

ดังนั้นสาวกทุกคนจึงไม่ต้องคิดหาวิธีดับทุกข์อีกแล้ว เพราะพระศาสดาได้ค้นหาไว้ให้แล้ว และพิสูจน์ให้เห็นแล้ว่า

นี่คือวิธีดับทุกข์ที่ให้ผลจริงตลอดกาล

ดังนั้นอย่าลงมือ ปฏิบัติ      แต่ไม่รู้ปริญัติ

รู้ปริญัติแต่พอควร แล้วลงมือปฏิบัติให้มาก ก็จะยังประโยชน์เฉพาะตน

แต่ถ้ารู้ปริญัติให้มาก แล้วปฏิบัติให้มาก ก็จะยังประโยชน์เฉพาะตนและผู้อื่น



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2555 8:48:46 น.
Counter : 1634 Pageviews.

0 comment
สิ่งวิเศษสุดของตัวเลข ๑ - ๘ ในการปฏิบัติธรรม ตอนจบ


เลข ๕  ขันธ์ ๕

รูป เวทนา สัญญา สังขาร

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “รูป” เพราะอาศัยความหมาย
อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่น
นี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า รูป. สิ่งนั้น แตกสลายได้ เพราะอะไร ?
สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความกระหายบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง,
(ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น
(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมาย
อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่
ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา. สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้
ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความ

รู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
(ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้
มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สัญญา” เพราะอาศัยความหมาย
อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้
แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา. สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งอะไร ?

สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลือง
บ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่ง
สีขาวบ้าง (ดังนี้เป็นต้น). ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ใน
สิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.
- ขนฺธฺ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความ
หมายอะไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่ง
นั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร. สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่ง
อะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความ
เป็นรูป, ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา, ย่อมปรุง
แต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา, ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จ
รูป เพื่อความเป็นสังขาร, และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูปเพื่อความ
เป็นวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น
(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.

เลข ๖ อายตนะ ๖

อายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อายตนะภายนอก ๖ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์

 [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะ
ภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ ภายในและภายนอก ๖ อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็น
ที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่ ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม
รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อม
รู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและ
ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น
ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการ นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า
อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภาย
นอก ๖ อยู่ ฯ

เลข ๗   โพชฌงค์ ๗

[๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง
๑. สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้]
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม]

๓. วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น]
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]


เลข ๘  มรรค ๘

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์

ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ใน

หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า

ความเห็นชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์

ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ใน

หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า

ความเห็นชอบ.

ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูด

เท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการ

พูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ

ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการ

ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.

ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้

ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,

ี้ เราเรียกว่า อาชีวะชอบ


ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณี

นี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต

ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก

ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก

ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร

ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความ

งอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า  ความเพียรชอบ

ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความ

รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา

บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก

เสียได้ ; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;

เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา

บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก

เสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุ

ในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง

ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะ

วิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน

ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่

สมาธิ แล้วแลอยู่. เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ

มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อัน

เป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้

มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ

เพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่

อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. !

นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับ

ไม่เหลือแห่งทุกข์.

- มหา. ที. ๑๐/๓๔๐-๓๕๐/๒๙๔-๒๙๙.

 และนี่แหละ ตัวเลข 1-8 ในการปฏิบัติธรรม ขึ้นอยู่กับผู้ที่มีธุลีในดวงตาน้อย จะหยิบฉวยธรรมะเลขไหน ไปปฏิบัติ

เพื่อความพ้นทุกข์..



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2555 8:37:28 น.
Counter : 910 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog