ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง....

ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง
ภิกษุ ท. ! มรณสติ (ความระลึกถึงความตาย) อันบุคคลเจริญทำให้
มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด.
พวกเธอเจริญมรณสติอยู่บ้างหรือ ?


เมื่อรับสั่งดังนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลขึ้นว่า “แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า”.
พ. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !”
ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญ
มรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า”.
อีกรูปหนึ่งทูลว่า “ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า”.
พ. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !”
ภิ. “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วเวลากลางวัน. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญ
มรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า”.
อีกรูปหนึ่งทูลว่า “ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า”.
พ. เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !
ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อหนึ่ง. เราพึง
ใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’
ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล พระเจ้าข้า”.
อีกรูปหนึ่งทูลว่า “ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า”.
พ. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !
ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔ - ๕ คำ. เรา
พึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’
ดังนี้ ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า”.
อีกรูปหนึ่งทูลว่า “ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า”.
พ. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !”
ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า

‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว. เรา
พึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’
ดังนี้. ข้าพระองค์ เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า”.
อีกรูปหนึ่งทูลว่า “ถึงข้าพระองค์ ก็เจริญมรณสติอยู่ พระเจ้าข้า”.
พ. “เธอเจริญมรณสติอย่างไรเล่า ? ภิกษุ !
ภิ. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์มีความคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือชั่ว
ขณะหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตาม
คำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ’ ดังนี้. ข้าพระองค์เจริญมรณสติแม้อย่างนี้แล พระเจ้าข้า”.
เมื่อสิ้นคำทูลทั้งหมดแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า :-
ภิกษุ ท. ! ภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะมี
ชีวิตอยู่ได้ เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง _ _ ดังนี้ก็ดี, เราจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วเวลา
กลางวัน _ _ ดังนี้ก็ดี, เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อ
หนึ่ง _ _ ดังนี้ก็ดี, เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จ
เพียง ๔ - ๕ คำ. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติ
ตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี ; ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่ายังเป็น
ผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป.
ภิกษุ ท. ! ฝ่ายภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะ
มีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว _ _ ” ดังนี้ก็ดี, ว่า
“โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ เพียงชั่วขณะที่หายใจเข้า แล้วหายใจออก
หรือชั่วขณะหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เถิด. การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี ; ภิกษุเหล่านี้
เราเรียกว่า เป็น ผู้ไม่ประมาทแล้ว, เป็นผู้เจริญมรณสติเพื่อความสิ้น
อาสวะอย่างแท้จริง.

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ
ไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่, จักเจริญมรณสติ เพื่อ
ความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจ
ไว้อย่างนี้แล.

๑. บาลี พระพุทธภาษิต อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๗/๑๗๐, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่หมู่บ้านนาทิกะ.




Create Date : 06 มีนาคม 2556
Last Update : 6 มีนาคม 2556 9:54:34 น.
Counter : 954 Pageviews.

0 comment
บทสรรเสริญ พระรัตนตรัย ที่พระศาสดาบัญญัติ....

การที่เราจะสรรเสริญพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ควรจะสรรเสริญด้วยคำเหล่านี้ เพราะพระศาสดาได้ทรงบัญญัติไว้....

สรรเสริญพระพุทธเจ้า

...พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้
ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
ข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลก
อย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มี
ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้

ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม
สั่งสอนสัตว์ ดังนี้...

 สรรเสริญพระธรรม.

....ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ
พึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้
ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน
ดังนี้...

 สรรเสริญพระสงฆ์

....สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ
ให้รู้ธรรมเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว
อันได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้
แปดบุรุษ. นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่

สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน
เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็น
นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้....

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๙-๔๓๐/๑๔๑๔-๑๔๑๕.




Create Date : 05 มีนาคม 2556
Last Update : 5 มีนาคม 2556 9:47:30 น.
Counter : 1030 Pageviews.

0 comment
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มี ศรัทธาต่อพระศาสดา....

ลักษณะของผู้มีศรัทธา

 สทฺธา...(ศรัทธา)

พระศาสดาได้ทรงอธิบายลักษณะของ ผู้ที่มีศรัทธาไว้ว่า....

  สุภูติสูตร
[๒๒๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสุภูติกับสัทธภิกษุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
ถามท่านพระสุภูติว่า ดูกรสุภูติ ภิกษุนี้ชื่อไรท่านพระสุภูติกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้ชื่อว่าสัทธะ เป็นบุตรอุบาสกผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ดูกรสุภูติ ก็สัทธภิกษุนี้เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตด้วย
ศรัทธา ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายแลหรือ ฯ
     สุ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระภาคพึง
ตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิดข้าพระองค์จักทราบบัดนี้ว่า ภิกษุนี้จะเห็นพร้อมใน
ลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือไม่ ฯ
     พ. ดูกรสุภูติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระสุภูติ
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภูติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยใน
โทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มี
ศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก
ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ แม้นี้
ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรสุภูติ  ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็น
ผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทนเป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพแม้นี้ ก็เป็นลักษณะ
แห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
     อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูงและต่ำของเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น
อาจทำ อาจจัดได้ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ แม้นี้ ก็เป็น
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
     อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง
ในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้กล่าวคำอันเป็นที่รัก
มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของ
ผู้มีศรัทธา ฯ
     อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม
ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุ
ปรารภความเพียร ฯลฯ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
     อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดูกรสุภูติข้อที่ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็น
อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น
เราได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย
ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น  แม้ในภพนั้น
เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุขมีอาหารอย่างนั้น เสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก
ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ดูกรสุภูติ
ข้อที่ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้  แม้นี้
ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
     อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์
ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก  ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้
ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสุภูติ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา ที่พระผู้มีพระภาคตรัสนี้นั้น มีพร้อมอยู่
แก่ภิกษุนี้ และภิกษุนี้ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้เป็นเป็นผู้มีศีล ... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้มีสุตะมาก ... ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้
อดทน เป็นผู้รับเอาอนุศาสนีย์โดยเคารพ ภิกษุนี้เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งหลาย
ทั้งสูงและต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น
อุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ในธรรม กล่าวคำอันเป็นที่รัก เป็น
ผู้มีความปราโมทย์ยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความ
บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุนี้เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดย
ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ภิกษุนี้ย่อมระลึกถึง
ชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้างสองชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น
อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนี้พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุนี้ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วนี้ มีพร้อมอยู่แก่ภิกษุนี้ อนึ่ง ภิกษุนี้จักปรากฏในลักษณะศรัทธา
ของผู้มีศรัทธาเหล่านี้พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดีละๆ สุภูติ ดูกรสุภูติ ถ้าเช่นนั้นเธอพึงอยู่กับสัทธภิกษุนี้เถิดดูกรสุภูติ อนึ่ง
เธอพึงหวังจะมาเยี่ยมเยือนตถาคตในกาลใด ในกาลนั้น เธอกับสัทธภิกษุนี้พึงเข้ามาเยี่ยมเยือน
ตถาคตเถิด ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

ข้อที่ ๒๒๑ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๖

  ****และนี่คือ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา  เราในฐานะพุทธบริษัท ได้มีศรัทธาต่อพระศาสดาอย่างนี้แล้วหรือยัง....



Create Date : 04 มีนาคม 2556
Last Update : 4 มีนาคม 2556 9:56:53 น.
Counter : 1120 Pageviews.

0 comment
อินทรีย์ ห้า...คือธรรมะที่จะวัดว่าใครจะบรรลุธรรมได้ เร็ว - ช้า

การที่บุคคลจะสามารถบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับธรรม 5 ประการที่เรียกว่า

อินทรีย์ห้า ซึ่งทุกคนมี แต่จะมากหรือน้อยนั้น ก็ตามแต่เหตุปัจจัย....

อินทรีย์ห้าเป็นอย่างไรนั้น....ดูพระสูตรนี้ครับ

อินทรีย์ห้า จะขาดตัวใดตัวหนึ่งแล้วจะบรรลุธรรม เป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้.....




Create Date : 03 มีนาคม 2556
Last Update : 3 มีนาคม 2556 8:44:55 น.
Counter : 1115 Pageviews.

0 comment
ว่าด้วยเรื่อง...กาม......

เช้าวันเสาร์นี้ขอเสนอเรื่อง...กาม..สิ่งที่ทำให้เราเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏ

สิ่งที่เรียกว่ากามคุณและกามสุข
อานนท์! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ห้าอย่างอย่างไรเล่า?
ห้าอย่างคือ รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นรู้อัน
พึงแจ้งด้วยฆานะ .... รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วย
กาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป
อาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล ชื่อว่า กามคุณ ๕.
อานนท์! สุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เกิดขึ้น; สุข-
โสมนัสอันนั้น เรียกว่า กามสุข.
- ม. ม. ๑๓/๙๖/๑๐๐.

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค)
นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก
นั้น หาใช่กามไม่ ; ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก
นั่นแหละคือกามของคนเรา ; อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก

ตามประสาของมันเท่านั้น ; ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่ง
ฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้

๓๐๘ อริยสัจจากพระโอษฐ์

ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.

ภิกษุ ท. ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกาม๑ คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่าง
หนึ่ง ๆ ; ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคล
ใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้นๆ ให้
เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี ;
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็น
ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
ให้สังเกตว่าในเรื่องของกามนั้นไม่มีส่วนของธรรมารมณ์ มีแต่เฉพาะอายตนะ ๕ ในส่วนของกายเท่านั้นหรือกลุ่ม
ของดิน น้ำ ลม ไฟ

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทา
ให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้ ; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่ง
พรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.
- ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.




Create Date : 02 มีนาคม 2556
Last Update : 2 มีนาคม 2556 8:49:56 น.
Counter : 968 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog