ในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม...เราเป็นหนูประเภทไหน....
เปรียบนักเรียนอริยสัจ ด้วยหนูต่างจำพวกกัน

เป็นอย่างไรดูพระสูตรนี้ครับ..







Create Date : 29 มกราคม 2556
Last Update : 29 มกราคม 2556 9:35:33 น.
Counter : 847 Pageviews.

0 comment
เราควรแนะนำธรรมสำหรับผู้ป่วยอย่างไร

เราควรแนะนำธรรมสำหรับผู้ป่วยอย่างไร

  ในชีวิตที่เรายังคงอยู่ เราจะต้องพบ 2 อย่างคือ

1.สัมผัสกับผู้ป่วย

2.เราเป็นผู้ป่วยเอง

ใน 2 กรณีนี้เราควรทำอย่างไร...นี่คือคำสอนของพระศาสดา.....








Create Date : 28 มกราคม 2556
Last Update : 28 มกราคม 2556 11:09:56 น.
Counter : 854 Pageviews.

0 comment
การฆ่าตัวตาย มีผลอย่างไร....


การฆ่าตัวตาย มีผลอย่างไร

สำหรับผู้ที่กำลังจะคิดฆ่าตัวตาย ให้ดูพระสูตรนี้ครับ




เห็นไหมครับ การฆ่าตัวตาย ฆ่าผู้อื่่นตาย หรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่น...ผลของกรรมคือ นรก..




Create Date : 27 มกราคม 2556
Last Update : 27 มกราคม 2556 8:16:50 น.
Counter : 2135 Pageviews.

0 comment
ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นอนัตตา...


สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อม

ไม่มี เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี

เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี. เมื่อความยึดมั่นอย่าง

แรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้น

จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้น จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม

เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด

ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗

                                                     พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

                                                      ข้อที่ ๙๓ หน้าที่ ๔๕-46





Create Date : 26 มกราคม 2556
Last Update : 26 มกราคม 2556 11:17:29 น.
Counter : 1105 Pageviews.

4 comment
อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดา เมื่อจุติจากเทพนิกาย


เมื่อเทพจะต้องจุติ (ตาย) เทพต้องการไปเกิดเป็นอะไร?

อ่านพระสูตรนี้ครับ

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติจากเทพนิกายเมื่อนั้น

นิมิตร ๕ ประการ ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ผ้าย่อมเศร้าหมอง ๑

เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ ๑ ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย ๑ เทวดาย่อมไม่ยินดีใน

ทิพอาสน์ของตน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจาก

เทพนิกาย ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ขอท่านจาก

เทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑ ครั้นไปสู่สุคติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ๑ ครั้นได้ลาภที่ท่าน

ได้ดีแล้ว ขอจงเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑ ฯ

[๒๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลายอะไรเป็นส่วนแห่ง

ลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย

พระเจ้าข้า ฯ

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์แล เป็นส่วนแห่งการไปสู่

สุคติของเทวดาทั้งหลาย เทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัยที่พระตถาคต

ประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล

เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูลเกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลก พึงนำไปไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดี

ของเทวดาทั้งหลาย ฯ

  เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิกายเพราะความสิ้นอายุเมื่อนั้น

        เสียง ๓ อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดีย่อมเปล่งออกไปว่า

แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความเป็น

        สหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิดท่านเป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยิ่ง

        ในพระสัทธรรมศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็นคุณชาติตั้งลงมั่น มีมูลเกิด

        แล้วมั่นคงในพระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว อันใครๆพึงนำไป

        มิได้ตลอดชีพ ท่านจงละกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต และอย่า

        กระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบด้วยโทษ กระทำกุศลด้วยกาย

        ด้วยวาจาให้มาก กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณมิได้ หาอุปธิมิได้

        แต่นั้นท่านจงกระทำบุญอันให้เกิดสมบัตินั้นให้มาก ด้วยทาน แล้วยัง

        สัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์ เมื่อใด

        เทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความ

        อนุเคราะห์นี้ว่า แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อยๆ ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

ข้อที่ ๒๖๑-262 หน้าที่ ๒๒๔-225





Create Date : 25 มกราคม 2556
Last Update : 25 มกราคม 2556 8:54:33 น.
Counter : 1086 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog