ตัณหา ก่อให้เกิดบาปอกุศลดังนี้..



Create Date : 16 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2555 9:29:53 น.
Counter : 1251 Pageviews.

0 comment
เหตุให้มีการเกิด

เหตุให้มีการเกิด
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ‘ภพ – ภพ’ ดังนี้. ภพ
ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า ? พระเจ้าข้า”

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ
จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ เป็นเมล็ดพืช,
ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความ
ปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน
ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วย
อาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ
จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช,
ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความ
ปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน
ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วย
อาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. อรูปภพ
จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช,
ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความ
ปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน
ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต. การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้
ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

- ติก. อํ. ๒๐/๒๘๘/๕๑๗



Create Date : 15 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 10:47:07 น.
Counter : 1511 Pageviews.

2 comment
ม้าอาชาไนย ๔ จำพวก กับ บุรุษอาชาไนย ๔ จำพวก


ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔
จำพวกเป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ พอเห็นเงาปะฏักเข้าก็ย่อมสลด ถึง
ความสังเวชว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัว
เจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปะฏักแล้วย่อมไม่สลด
ไม่ถึงความสังเวชเลยทีเดียว แต่เมื่อถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนจึงสลด ถึงความสังเวชว่า วันนี้
นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอเราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้า
อาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ใน

โลก ฯ
อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปะฏักแล้วย่อมไม่สลด
ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนก็ไม่สลดไม่ถึงความสังเวช แต่เมื่อถูกแทงด้วย
ปะฏักถึงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวชว่าวันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจัก
ตอบแทนแก่เขาอย่างไรดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี
นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปะฏักก็ไม่สลด ไม่ถึง
ความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปะฏักถึง
ผิวหนังก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แต่เมื่อถูกแทงด้วยปะฏักถึงกระดูก จึงสังเวช ถึงความสลด
ว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๔ มี

ปรากฏอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลกฉันนั้นเหมือน
กัน ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น
มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเขาย่อมสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้
สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วย
นามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญพอเห็นเงาปะฏักย่อมสลดถึงความ
สังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มีนี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคม
โน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่เขาเห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือ
ทำกาลกิริยาเอง เขาจึงสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้
โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยวย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอด
ด้วยปัญญาม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนย่อมสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใดเรา
กล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคม
โน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำ
กาลกิริยาเอง แต่ญาติหรือสาโลหิตของเขาถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา เขาจึงสลด ถึงความ
สังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทง
ผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๓ มี
ปรากฏอยู่ในโลก ฯ

อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคม
โน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือ
ทำกาลกิริยาเอง ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขาก็ไม่ถึงทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่เขาเองทีเดียว อัน
ทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ถูก
ต้องแล้วเขาจึงสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้วเริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย
มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปะฏักถึงกระดูก จึงสลดถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าว
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้
เห็นปานนี้ก็มีนี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อาจจะยาวไปนิด แต่ก็มีประโยชน์ครับ ท่านเลือกจะเป็นม้าอาชาไนยประเภทไหนครับ



Create Date : 14 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2555 8:56:17 น.
Counter : 4044 Pageviews.

1 comment
มรรค 8 และความหมาย....


มรรค 8 เราๆท่านๆคงทราบกันดี ว่าเป็นอริยสัจองค์ที่ 4 ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติให้พ้นทุกข์

แต่อาจจะมีหลายคนไม่ทราบว่า มรรค 8 มีอะไรบ้างและมีความหมายอย่างไร

  มาทบทวนกันครับ..

อุทเทสและนิทเทสแห่งอัฏฐังคิกมรรคแต่ละองค์


ภิกษุ ท. ! เราจัก แสดง จัก จำแนก ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค แก่เธอทั้งหลาย.
เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์เราจักกล่าว.
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นอย่างไรเล่า? อริยอัฏฐังคิกมรรค ได้แก่สิ่ง
เหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ความรู้อันใดเป็นความรู้
ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทาง
ดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า? ความดำริในการ ออกจากกาม
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า
สัมมาสังกัปปะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า? เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการพูดไม่
จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนา
เป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า? เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการฆ่า
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้วเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก
กรรมอันมิใช่พรหมจรรย์.๑ ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า
ในกรณีนี้ การเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. !
อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยัง
อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อม
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่

เกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิต
ไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม
ปรารภความเพียรประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงาม
ยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. !
อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสติ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีกิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอน
ความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็น
ประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ
ในโลกออกเสียได้; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความ
เพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออก
เสียได้; ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.
ภิกษุ ท. ! สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณี นี้ สงัด
แล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วย
วิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ ; อนึ่ง เพราะความจางคลาย
ไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติ
สุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อันนี้
เรากล่าวว่าสัมมาสมาธิ.
-มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๐ - ๑๒/๓๓-๔๑.





Create Date : 13 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2555 8:32:01 น.
Counter : 1204 Pageviews.

0 comment
ทานที่ให้แล้วในสงฆ์แบบใดจึงมีผลมาก


ทานที่ให้แล้วในสงฆ์แบบใดจึงมีผลมาก

ภิกษุ ท. ! บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ควรแก่

ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำ

อัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

๘ จำพวกอะไรบ้างเล่า ? ๘ จำพวก คือ :-

(๑) พระโสดาบัน

(๒) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

(๓) พระสกทาคามี

(๔) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

(๕) พระอนาคามี

(๖) พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

(๗) พระอรหันต์

(๘) พระผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์

ภิกษุ ท. ! บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้แล เป็น

ผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ

ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ผู้ปฏิบัติแล้วจำพวก

และผู้ตั้งอยู่ในผลแล้วจำพวก

นี่แหละ ! สงฆ์ที่เป็นคนตรง,

เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล

ย่อมกระทำให้เกิดบุญอื่นเนื่องด้วยอุปธิแก่มนุษย์ทั้งหลาย

ผู้มีความต้องการด้วยบุญกระทำการบูชาอยู่

ทานที่ให้แล้วในสงฆ์จึงมีผลมาก”.

อฏฐก. อํ. ๒๓/๓๐๑/๑๔๙.





Create Date : 12 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2555 9:13:45 น.
Counter : 1054 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog