สิ่งวิเศษสุดของตัวเลข ๑ - ๘ ในการปฏิบัติธรรม


สิ่งวิเศษสุดของตัวเลข ๑ - ๘ ในการปฏิบัติธรรม

เลข ๑  ละนันทิ

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ และสิ้นทุกข์
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การ เห็น
อยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง
จักษุ ทุกประการ.)
 สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

เลข ๒ สมถะ วิปัสนา

สมถะ คือการที่จิตอยู่ในอารมณ์เดียว

วิปัสนา คือการเห็นการเกิด - ดับของขันธ์ ห้า

[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสนา ๑ธรรม ๒ อย่าง
เหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ

เลข ๓ สังขาร 3

กายสังขาร  วจีสังขาร จิตตสังขาร

[๒๐๓] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ส่วนหยาบ ของคนบางคนในโลกนี้ ยังไม่สงบระงับ สมัยอื่น เขาฟัง ธรรมของพระอริยเจ้า
มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อเขา อาศัยการฟังธรรมของพระอริยเจ้า
มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรมอยู่ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่
หยาบๆ ย่อมสงบระงับ เพราะ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ที่หยาบๆ สงบระงับ สุข
ย่อมเกิดแก่เขา โสมนัสอันยิ่งกว่าสุขก็เกิดขึ้น ดุจความปราโมทย์ เกิดต่อจากความบันเทิงใจ
ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การบรรลุโอกาสนี้เป็นประการที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว เพื่อบรรลุถึง ความสุข ฯ

เลข ๔ สติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม

ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔
ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ
หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ
ซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข
หายใจออก”;

ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ
จิตตสังขารให้รำงับ” หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็น
อย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นเวทนา
อันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทงั้ หลายอยเู่ ปน็ ประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง
หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้
ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่
หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น
จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ
มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง
ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น
ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
เป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ให้บริบูร
์ได้.

โปรดติดตาม สิ่งวิเศษของตัวเลข อีกสี่ตัว ในเอนทรี่ต่อไปครับ



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2555 10:34:39 น.
Counter : 1042 Pageviews.

1 comment
เครื่องวัด ว่าการนั่งสมาธิของท่าน ก้าวหน้าหรือไม่?



ผู้ปฏิบัติธรรมต้องนั่งสมาธิ เพื่อฝึกจิตให้ได้สมถะ และนำไปสู่วิปัสนา 

   เคยมีความสงสัยหรือเปล่าว่า การฝึกสมาธิของเรา ก้าวหน้าถอยหลังหรืออยู่ที่เดิม

มีผู้ให้คำแนะนำมากมาย ถูกบ้างผิดบ้าง จึงทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจไม่ตรงกัน และเพื่อให้เป็น

มาตรฐานที่ถูกต้อง ต้องย้อนไปดูเครื่องวัดที่พระศาสดาบัญญัติไว้...


จากผังด้านบนขออธิบายดังนี้ครับ

  - เวลานั่งสมาธิ จิตอยู่กับลมหายใจ เข้า-ออก

  - นั่งไปซักครู่หากจิึต หลุดไปกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง (สัญญา เวทนา สังขาร )

     1. ครั้งแรก เรามีความเพลินไปกับอารมณ์นั้นในเวลา 5 นาที แล้วรู้ตัว ดึงจิต

         กลับมาที่ลมหายใจ

     2. ครั้งต่อๆไป เรามีความเพลินไปกับอารมณ์นั้นในเวลา 2 นาที แล้วรู้ตัวดึงจิตกลับ

         มาที่ลมหายใจ

 ***  เพราะฉนั้นตัววัดว่า เรามีความก้าวหน้า ในการทำสมาธิก็คือ ช่วงเวลาที่จิตติดไปกับอำนาจ

แห่งความเพลินมีน้อยลงจากครั้งที่แล้ว....

ก็ลองวัดดูว่า วันนี้ท่านนั่งสมาธิแล้ว ก้าวหน้าไปกว่าเมื่อวานแค่ไหนครับ





Create Date : 03 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2555 7:43:46 น.
Counter : 1694 Pageviews.

1 comment
...มีอาชีพ ฆ่าหมู..แต่ต้องการปฏิบัติธรรม ต้องทำอย่างไร?


คลิปธรรมะ 5.20 นาทีนี้ จะเป็นประโยชน์มากสำหรับ ผู้ที่ยังประกอบอาชีพบางอาชีพที่ยังต้อง
ฆ่าสัตว์ และก็ต้องการปฏิบัติธรรมด้วยเช่นกัน


มีคนเข้าใจผิดมากมาย เพราะการเข้าใจผิดนี้จึงทำให้ ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้...

หวังว่าคลิปธรรมะนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ พุทธบริษัท ที่ต้องการธรรม แต่ติดขัดเรื่องที่ไม่ทราบบางเรื่องครับ

   ......คนฆ่าหมู.....




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2555 8:42:36 น.
Counter : 1077 Pageviews.

1 comment
สักแต่ว่า...มรรควิธีที่ง่าย สำหรับคนแก่ คนป่วย...

สักแต่ว่า...

มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น
พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น ;
ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่า
เห็น ;
ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่า
ได้ยิน ;
ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)
จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ;
ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จัก
เป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรม
เหล่านั้น : เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้วสักว่าเห็น, สิ่งที่ฟังแล้ว
สักว่าได้ยิน, สิ่งที่รู้สึกแล้วสักว่ารู้สึก, สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว
สักว่ารู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะ
เหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้น ๆ ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้น ๆ,
เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.

  นี่คือมรรควิธีที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้แก่และผู้ป่วย ลัด สั้น ง่าย ได้ผล...





Create Date : 01 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2555 9:21:30 น.
Counter : 1235 Pageviews.

2 comment
อริยสัจ จากพระโอษฐ์...



อริยสัจสี่เป็นธรรมะที่ประเสริฐ เป็นความจริงที่พระศาสดาทรงตรัสรู้ และสั่งสอนให้กับสาวก
เพื่อจุดหมายคือ การหลุดพ้น...


สัตว์เกิดกลับมาเป็ นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่ง
ที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า. ฝุ่นนิดหนึ่ง
เท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย. ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบ
กับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค
(ส่วนเสี้ยว)”.

ภิกษุ ท. ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่
หมู่มนุษย์ มีน้อย ; สัตว์ที่เกิดกลับเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่า

โดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์
เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือ
ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม๑
อันเป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็น
อย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่
เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗.



Create Date : 31 ตุลาคม 2555
Last Update : 31 ตุลาคม 2555 9:08:17 น.
Counter : 989 Pageviews.

3 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  

รู้ธรรม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
All Blog