กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
4 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)

   ถาม: จะเป็นบาปติดตัวผู้พิพากษาไปไหม ที่ตัดสินผิดพลาดไป ?

   ตอบ: เจตนาเป็นตัวตัดสินกรรม เพราะตอนที่เราจะตัดสินนั้น เราบอกตัวเองแล้วนี่ คือ เราทำความมั่นใจก่อน เอาละ เราดูตัวเองว่า ด้านปัญญาเราก็มั่นใจ ด้านเจตนาเราก็มั่นใจ ในที่สุด เมื่อถึงเวลาปฏิบัติการ ได้เท่าไรก็เท่านั้น

  เมื่อเรามีเจตนาบริสุทธิ์ดีแล้ว มันเป็นกรรมดี แต่มันยังมีข้อบกพร่อง เราก็ยอมรับความบกพร่องนั้น เพื่อการปรับปรุงแก้ไข ตอนนี้ ท่านเรียกว่า “ปฏิกรรม


  นี่แหละคำว่า ปฏิกรรม มาแล้ว เมืองไทยไม่เอาใจใส่เรื่องนี้ ไม่เอามาเรียน แต่ปฏิกรรมนั้นมีในหลักกรรม คือหลักปฏิกรรม หมายความว่า “กรรม” แล้วก็ “ปฏิกรรม” คือเราทำกรรมลงไป ถ้ามันเกิดความผิดพลาด ไม่สมบูรณ์ ท่านให้ปฏิกรรม คือแก้ไข เพื่อให้การกระทำครั้งต่อไป มันดียิ่งขึ้น หรือจะสมบูรณ์ต่อไป เพราะฉะนั้น ก็มาสอดคล้องกับหลักที่เรียกว่า ความไม่ประมาท

  คนที่จะปฏิกรรมได้ดี ก็ต้องไม่ประมาทในการศึกษา ซึ่งจะทำให้เราทำงานให้ดีขึ้น วงการก็ดีขึ้น วิชาการ เรื่องของสังคม ก็ดีขึ้นๆ ไม่เรื่อย ถ้าปฏิบัติตามหลักนี้แล้ว ไม่มีเสีย ไม่ต้องมัวมาเสียใจอยู่

  สำหรับปุถุชนก็เป็นธรรมดา เสียใจได้บ้าง แต่โดยหลักการ ท่านไม่ให้มัวหวนละห้อยกับอดีต (อตีตํ นานุวาคเมยฺย) ถ้ามันผิดพลาด เราก็ตระหนักรู้ความผิดพลาดนั้น เพื่อเอามาแก้ไขปรับปรุง แต่ไม่ทิ้งนะ ถ้าทิ้ง ถ้าปล่อย เป็นการละเลย ท่านเรียกว่า ประมาท คือ เราเอาในแง่ความรู้ ส่วนด้านความรู้สึก ไม่ต้องไปติดค้าง คือ ถ้าเรามั่นใจแล้ว เราก็เอาด้านความรู้ว่ายังมีข้อบกพร่องผิดพลาดอะไร ความรู้นี้ต้องเอา แล้วความรู้นี้ จะเอามาใช้ในการปรับปรุงแก้ไข ก็จะเป็นประโยชน์ดียิ่งขึ้น ไม่มีปัญหา

  หลักท่านมีอยู่แล้ว ว่าไม่หวนละห้อยความหลัง แล้วก็ถ้าจะเสียใจบ้าง ก็เป็นวิสัยของปุถุชน มันเป็นไปได้ เอามาเตือนตัวเองว่า เห็นไหม ขนาดว่าเราเตรียมเต็มที่แล้ว ยังมีพลาดได้ เพราะฉะนั้น ต้องไม่ประมาท ต่อไปต้องรอบคอบยิ่งกว่านี้ ก็ยิ่งทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

  ก็ยอมรับว่าความเสียใจนี่ไม่ดี เป็นอกุศล ทำให้มีความทุกข์ แต่เมื่อมันเกิดมีขึ้นมาแล้ว ก็เอามันมาทำให้เป็นประโยชน์ เอาอกุศลนั้นมาทำให้เป็นประโยชน์ ท่านเรียกว่า เอาอกุศลมาเป็นปัจจัยแก่กุศล คือ เอามาทำให้มันเกิดผลดีต่อไป อย่าไปมัวเศร้ามัวทุกข์ จะยิ่งแย่ใหญ่

  ถ้ามันมีทุกข์ ก็รู้ว่า เออ ไอ้ทุกข์นี่ก็ดี มันเตือนเรา ทำให้เรามีสติ จะเห็นว่าคนที่มีแต่สุขอยู่เสมอนี่ มันเพลิน มันหลงง่าย ก็เลยกลายเป็นประมาท ส่วนคนที่มีทุกนี่ จะทำให้ไม่ประมาท ทำให้เตือนตัวเอง ทำให้เกิดสติง่าย

  มีตัวอย่างนอกเรื่อง พวกเทวดานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า แพ้เปรียบมนุษย์หลายอย่าง ข้อดีกว่ามนุษย์ไม่ต้องพูด ข้อที่เทวดาแพ้มนุษย์ ขอยกมาข้อหนึ่ง คือ สติด้อยกว่า เทวดานั้นท่านสบาย มีแต่ความสุข ก็เลยเพลิน สติจึงแพ้มนุษย์ ส่วนมนุษย์นี่มีทุกข์มีสุขระคนกันไป เจอปัญหามากกว่า แต่ทุกข์และปัญหานี่แหละมันเตือนให้คนไม่ประมาท ทำให้มีสติขึ้นมา เพราะฉะนั้น ทุกข์ก็มีดีอยู่ ไม่ใช่ไม่ดีเสียเลย

 ทุกข์นี่ทำให้คนได้ดีมีสุขก็เยอะ คือมันเตือนเรา ทำให้เราไม่ประมาท เร่งแก้ไขปัญหา ดังนั้น ถ้าเกิดความไม่สบายใจ มีความขุ่นมัว เศร้าหมอง ก็เอามันมาใช้ประโยชน์ โดยเอามาเตือนตัวเราให้จับจุดได้ว่า มันมีจุดอ่อนข้อบกพร่องอะไร เราขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะอะไรแล้วอย่าให้มันเกิดขึ้นอย่างนี้อีก ก็แก้ไขไป ดีทั้งนั้น

  ทีนี้ ก็ขอแถมหน่อย ที่พูดข้างต้นถึงหลักการทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้แก่ธรรม ด้วยปัญญาที่รู้ชัดเจนและเจตนาที่สะอาดแท้โดยไม่มีตัวตนที่จะเอาอะไรเพื่อตัวหรือจะสนองความต้องการของตัวตนอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นคือธรรมตัดสินเขา ไม่ใช่เราตัดสิน นี่เป็นหลักการทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์

  แต่กระนั้น ก็ต้องยอมรับความจริงว่า เป็นธรรมดาที่คนเรานี้ เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ยังมีความยึดถือในตัวตนฝังลึกอยู่ ความยึดถือว่าตัวเรา ตัวเขายังมีอยู่ ดังนั้น แม้จะมุ่งทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์ตามหลักการแท้ๆ แต่ความรู้สึกว่ากระทำต่อเราต่อเขา ก็ไม่ว่างโล่งไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ตามปกติก็จึงไม่พ้นเป็นการทำกรรมอยู่บ้าง แต่เมื่อปฏิบัติตามหลักการที่ว่านั้นเท่าที่ทำได้ กรรมที่ยังจะมี ก็เบาลงเยอะแยะ

  แล้วยังมีอีกชั้นหนึ่ง คือ เมื่อทำกรรมที่เป็นบาปอันใดไปแล้ว ถ้าวางจิตใจไม่ถูก มัวครุ่นคิดขุนมัวเศร้าหมอง (ความสำนึกได้ กับการครุ่นคิดขุ่นข้อง เป็นคนละอย่าง ต่างกันมาก) นอกจากเป็นการเสริมซ้ำเติมบาปแล้ว ก็เป็นการกีดกั้นกุศลให้เสียโอกาสด้วย ท่านจึงไม่ให้มัวหวนละห้อยอดีต แต่ให้ทำตามหลักปฏิกรรม

  ขอเล่าเรื่องประกอบไว้เป็นแง่พิจารณาหน่อยหนึ่ง คือ ท่านเล่าเรื่องไว้ว่า นายคนหนึ่ง ได้ตำแหน่งเป็นเพชฌฆาตฆ่าโจร และได้ทำหน้าที่นี้อยู่นานถึง ๕๕ ปี จนแก่ ทำไม่ไหว จึงพ้นหน้าที่ออกมา

  ทีนี้ วันหนึ่ง พระสารีบุตรมาที่บ้าน และแสดงธรรมแก่เขา แต่เขามัวคิดไม่สบายใจกับการที่ได้ฆ่าคนมากมายนักหนา จิตก็เลยข้องอยู่นั่น ไม่สามารถตามรู้ตามเข้าใจธรรมที่ท่านแสดง พระสารีบุตร จะช่วยเขา ก็ถามว่า ที่เขาฆ่าคนนั้น เขาคิดจะฆ่าเอง หรือคนอื่นสั่งให้ฆ่า เขาก็ตอบว่า ทำตามคำสั่งของบ้านเมือง พระสารีบุตรก็กล่าวว่า  เมื่อเป็นอย่างนั้น  มันจะเป็นบาปของท่านได้อย่างไรหรือ

  พอได้ยินคำนี้ เขาก็คิดเอาเองว่าเขาไม่บาป ทั้งที่ยังไม่ถูกแท้ในรายละเอียด แต่มันทำให้ใจของเขาหายติดข้อง ก็เลยตั้งใจฟังธรรมได้แน่วไป จนรู้เข้าใจธรรมสูงเกือบถึงขั้นโสดาบัน และตายแล้วก็ไปสวรรค์ชั้นสูงด้วย (ธ.อ.4/87) เรื่องนี้ น่าจะเป็นแง่คิดที่ตอบคำถามของหลายคน

 


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2564 16:59:07 น. 0 comments
Counter : 387 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space