กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า"ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
หลักปฏิบัติ: แยกจากหัวข้อใหญ่
สภาวธรรม
เบญจขันธ์
อายตนะ
ไตรลักษณ์
ปฏิจจสมุปบาท
กรรม
วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
ผู้บรรลุนิพพาน
หลักบรรลุนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทา
ปรโตโฆสะ
โยนิโสมนสิการ
ปัญญา
ศีล
สมาธิ
อริยสัจ ๔
อารยธรรมวิถี
แรงจูงใจคน
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคม ฯ
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
แรงผลักดันมนุษย์
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
<<
พฤศจิกายน 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
4 พฤศจิกายน 2564
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาฯ
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
ถาม
: ผู้พิพากษาตัดสินจำคุก หรือประหารชีวิตคน จะเป็นบาปหรือไม่ ?
ตอบ
: เรื่องนี้
พระให้แต่หลัก
เรื่องการทำหน้าที่ของผู้พิพากษานี้ พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ ขอเล่านิดหนึ่ง ท่านพูดถึงหลักการปกครอง และการรักษาความเป็นธรรม โยงมาถึงเรื่องของผู้พิพากษา ในหลักธรรมก็เหมือนกับมีตัวอย่างให้แนวทางไว้ แล้วเราก็มาพิจารณาเอาเอง
เรื่องนี้มาในพระสูตรหนึ่ง ซึ่งโคปกโมคคัลลานสูตร เป็นเหตุการณ์หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว วันหนึ่ง เสนาบดีของแคว้นมคธ ชื่อวัสสการพราหมณ์ ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยิน วัสสการพราหมณ์นี้สำคัญมาก เขามี
ผู้ร่วมงานคู่กัน
อีกคนหนึ่งชื่อว่า
สุนียะ
สองคนนี้เป็นเสนาบดีที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอชาตศัตรู ตั้งแต่สมัยของพระราชบิดา คือพระเจ้าพิมพิสาร
เสนาบดี กำลังดูแลบ้านเมือง หลังจากพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตไปแล้ว
และพระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพพานไปแล้ว วันหนึ่ง ท่านมหาอำมาตย์ หรือเสนาบดี ก็เดินตรวจราชการ และได้มาถึงที่พักของพระอานนท์ ท่านเข้าไปหาพระอานนท์ และเข้าไปสนทนา
ท่านเสนาบดีถามพระอานนท์
ตอนหนึ่งว่า เวลานี้ พระพุทธเจ้าก็ปรินิพพานแล้ว
พระพุทธเจ้าได้ตั้งใครไว้ให้เป็นผู้สืบต่อตำแหน่งของพระองค์ในการปกครองคณะสงฆ์
พระอานนท์ตอบว่า ไม่ได้ตั้งไว้
เสนาบดีนี้ เป็นนักปกครอง ได้ทำงานราชการแผ่นดินมาอย่างเชียวชาญมาก กระทั่งว่าสามารถดำเนินการปราบแคว้นวัชชีได้
(มีเรื่องเล่าในสามัคคีเภทคำฉันท์)
ท่านวัสสการพราหมณ์เสนาบดีก็บอกว่า
มีอย่างที่ไหนล่ะ การปกครองหมู่คณะใหญ่โต ถ้าไม่มีผู้นำ ไม่มีหัวหน้าจะอยู่กันได้อย่างไร
พระอานนท์ก็ ตอบว่า พวกเรามิใช่ไม่มีหัวหน้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้แต่งตั้งไว้
อ้าว...แล้วท่านทำอย่างไร พระอานนท์ก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักธรรมไว้ให้ว่า ผู้ใดประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้ ภิกษุทั้งหลายก็พึงนับถือผู้นั้น ให้เป็นผู้ใหญ่ เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำ หลักธรรมนั้น ท่านเรียกว่า
เถรธรรม ๑๐
ประการ ก็เมื่อมีพระภิกษุที่มีคุณสมบัตินี้ ภิกษุทั้งหลาย คือสงฆ์ ก็ยกย่องท่านผู้นั้นขึ้นไปเป็นหัวหน้า เราจึงมีหัวหน้าด้วยประการฉะนี้ โดยไม่ต้องตั้ง นี่แหละจึงว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งใคร
ก็เป็นอันว่า พระอานนท์ตอบเสร็จแล้ว บอกว่าไม่ต้องตั้ง แต่มีหัวหน้า คือมีขึ้นโดยหลักการ เมื่อมีหลักการให้ไว้ ก็ว่าไปตามหลักการนั้น มันก็จึงเป็นไปเอง ตามหลักการนั้นแหละ
ทีนี้ ต่อไปนี้ เวลามีภิกษุทำความผิด แล้วจะดำเนินการแก้ไข ก็ต้องตัดสินโทษ เมื่อจะลงโทษนั้น จะทำอย่างไร ในเรื่องนี้ ท่านก็บอกหลักการไว้ คือว่า หลักการมีอยู่ ได้แก่ธรรมวินัย ดังเช่นในพระวินัย ก็มีข้อบัญญัติว่า เมื่อภิกษุทำผิดข้อนี้ๆ ก็มีโทษอย่างนี้ๆ เมื่อภิกษุต้องอาบัตินี้ ให้ดำเนินการ ให้ปฏิบัติอย่างนี้ๆ
เมื่อมีภิกษุทำความผิด สงฆ์ก็ประชุมกัน แล้วก็ยกเอาหลักการตามพระธรรมวินัยนี้ขึ้นมา หลักการนั้นว่าอย่างไร สงฆ์นั้นก็เพียงแต่ว่า เหมือนมาเป็นกระบอกเสียงให้แก่ตัวธรรมวินัย แล้วภิกษุนั้นก็ถูกตัดสิน โดยหลักธรรมวินัย ภิกษุทั้งหลายที่มาประชุมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสินเพียงแต่ยกเอาหลักขึ้นมาแสดงตามที่ท่านบัญญัติไว้ หลักการหรือตัวธรรมวินัยนั่นเองเป็นผู้ตัดสิน
นี่ก็คือ ที่แท้นั้น ผู้พิพากษาไม่ได้ไปตัดสินใคร
ถ้าปฏิบัติถูกนะ ถ้าใจเป็นกลางจริงๆ
ก็ไม่มีตัวตนแล้ว คืออยู่กับปัญญาที่รู้ความจริง ที่เป็นธรรมะ ที่เป็นหลักการ ที่เป็น
กฎกติกา
นั้น เจตนาก็มุ่งจะรักษาความเป็นธรรม ก็เอาตัวหลักการ ที่วางไว้นั้น ยกขึ้นมาบอกให้รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ แล้วก็ว่าไปตามนั้น ก็คือ ผู้พิพากษาไม่ได้มีตัวตนของตนเอง เพราะไม่มีเจตนาของตัวเอง แต่เจตนานั้นอยู่ที่ธรรม เจตนานั้นคือธรรม ฉะนั้น ธรรมะก็ตัดสิน เรียกว่า "ธรรมตัดสิน"
ในที่นั้น พระอานนท์ก็บอกว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ลงโทษเขา ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ตัดสินเขา แต่ธรรมวินัยตัดสิน ธรรมวินัยเป็นผู้ลงโทษ ถ้าใช้ภาษาปัจจุบัน ก็ถือว่าพระภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น เป็นเหมือนกระบอกเสียงให้แก่ธรรมเท่านั้นเอง นี่
จะเข้ากันได้ไหม
เป็นเรื่องที่พระอานนท์เล่าไว้ ว่าไปตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดง และบัญญัติไว้ในหลักธรรมวินัย
ถาม
: สมมติว่าถ้าเป็นการตัดสินผิดพลาดไปล่ะ
ตอบ:
นี่แหละ อย่างที่บอกในตอนต้น มีสองขั้นตอน ดังที่ว่า เราทำหน้าที่โดยไม่มีตัวตนของเรา ก็คือ เมื่อเราทำโดยเจตนาที่บริสุทธิ์ มันก็จะมีแต่ตัวหลักการ ตัวธรรมวินัย ตัวบท กฎหมาย ตัวบัญญัติเท่านั้น ส่วนเรานี้ ก็ทำหน้าที่ไป เราเป็นเพียงทางผ่านไป หรือเป็นสื่อให้เท่านั้นเอง คือถ้าทำได้ตามนี้ การบรรลุผลสำเร็จของผู้พิพากษา ก็คืออยู่ในภาวะที่ว่ามานี้
แต่ทำอย่างไรเราจะบรรลุภาวะนี้ได้ ก็อยู่ที่ว่า
ปัญญา
และ
เจตนาต้องสมบูรณ์
อย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือ ปัญญาก็รู้ความจริงชัดเจน หลักการปฏิบัติการ ข้อมูลอะไรต่างๆ เหตุการณ์ คดีอย่างไร ชัดหมด แล้วก็เจตนาก็มุ่งเพื่อธรรมจริงๆ ถึงตอนนี้ก็ไม่มีตัวตนแล้ว
แต่ทีนี้ ความสมบูรณ์ของปัญญา และเจตนาเป็นตัวกำหนดท่านจึงว่า นี่แหละต้องพยายาม ต้องเตือนตนด้วยสติว่าปัญญาของเราเข้าใจถึงความจริงชัดเจนไหม ให้มั่นใจที่สุด และเจตนาต้องมั่นใจที่สุดว่า เราทำนี้ด้วยเจตนาบริสุทธิ์จริงๆ ตั้งใจดีจริงๆ
ถ้าเรามั่นใจในสองอย่างนี้แล้ว ในที่สุด ได้เท่าไร ก็เท่านั้น และเมื่อตัดสินไปแล้ว ถ้าผิดพลาด ก็รู้ว่าผิดพลาด ท่านก็มีธรรมะให้อีกว่าให้ไม่ประมาทในการศึกษาต่อไป หมายความว่า หลังจากนี้ไปเราไม่ปล่อยนะ ไม่ใช่ว่าเราจะหลงตัวเอง มัวเพลิดเพลินอยู่ แต่เราจะศึกษาฝึกฝนอีก ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรที่ทำให้ยังไม่สมบูรณ์ เราก็มาศึกษาปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในคราวต่อไป ก็มีแต่จะดียิ่งขึ้น ไม่ต้องไปเสียใจย้อนหลัง
Create Date : 04 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2564 16:38:58 น.
0 comments
Counter : 69 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ให้ทิปเจ้าของ Blog
[
?
]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com