MONEY TALK - พินัยกรรมชีวิต





พินัยกรรมชีวิต
(ชวนชมโดย_Theenuch_Team Money Talk 4)



.......................
https://www.youtube.com/watch?v=6c4U1hFfAXU
ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
กับหัวข้อที่น่าสนใจ และออกจะแปลกใหม่มาก
แต่อันที่จริง เป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะ ^^










ศ.พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ได้เล่าประสบการณ์จริงให้ฟังถึงเรื่องการทำพินัยกรรมชีวิตซึ่งประเทศไทยมีพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 10 ได้บัญญัติว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าไม่ประสงค์ขอรับบริการทางสาธารณสุข “เพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้” การทำหนังสือแสดงความประสงค์ล่วงหน้าได้นี้ลักษณะคล้ายกับการทำพินัยกรรมชีวิต (living will) ของต่างประเทศและมีผลเป็นการคุ้มครองทางกฎหมายแก่บุคคลทางวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่ไม่ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลผู้ทำหนังสือแสดงความประสงค์ที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา ทางปกครอง ฯลฯ ทั้งปวง ดังนี้...
บทความนี้อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายธุรกิจ แต่ผมตั้งใจจะเขียนก่อนจะได้เขียนบทความเรื่อง "การทำพินัยกรรมเพื่อรับมือภาษีมรดก" ในฉบับหน้า โดยขอนำบทความนี้มาเผยแพร่ก่อน​

บทความเรื่องพินัยกรรมชีวิตหรือ Living Will นี้ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผมเองที่สูญเสียภรรยาไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา จุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้แก่ผู้ที่เจ็บป่วย และ/หรือญาติมิตรของผู้เจ็บป่วย บุคคลากรที่ทำงานกับผู้เจ็บป่วย รวมตลอดถึงการวางแผนชีวิตกับความตายที่จะเกิดขึ้น ให้ตายอย่างมีสติทั้งตัวผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย

พินัยกรรมชีวิต (Living Will) คืออะไร

พินัยกรรมชีวิต (Living Will) หมายถึงหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตายในวาระสุดท้ายของตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ (มาตรา 12 ของ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) ดังนั้น พินัยกรรมชีวิตคือเอกสารหรือหนังสือที่เขียนแสดงความปรารถนาหรือเป็นการสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจถึงความต้องการในระยะสุดท้ายของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิธีการรักษาในระยะสุดท้าย การจัดการงานศพ

การเลือกวิธีการรักษาในระยะสุดท้าย หรืออาจกำหนดเป็นคำสั่งเสียหรือคำขอสุดท้ายของผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต เพื่อให้ลูกหลานรักและสามัคคีกัน รวมทั้งการบอกเล่าประสบการณ์ให้ลูกหลานฟัง ​หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือเอกสารก็ควรจะมีกระบวนการพูดคุยถึงเจตนาที่เปิดเผยให้บรรดาญาติมิตรของผู้ป่วยได้รับรู้ มีการสื่อสารระหว่างกันระหว่างผู้ป่วยกับญาติผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหมดความกังวลและยอมรับความตายและจากไปอย่างสงบก็ได้ รวมทั้งให้ญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ได้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วยเองได้

พินัยกรรมชีวิตจึงไม่ใช่การทำหนังสือเพื่อให้บุคคลที่เจ็บป่วยและไม่สามารถรักษาให้หายได้ จบชีวิตลงเพื่อให้พ้นทุกข์ทรมานที่เรียกว่า (Euthanasia) หรือการุณยฆาต (Mercy killing) ซึ่งทั้งสองเรื่องข้างต้นเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ตามกฎหมายไทย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง: ประสบการณ์ของผม

​ผมมีประสบการณ์จากการป่วยของภรรยาที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่และมีการแพร่กระจายไปจนกระทั่งเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งที่ปอดภายในเวลากว่า 11 ปี การแพร่ของมะเร็งในระยะท้ายไปต่อมน้ำเหลืองและปอดนั้นรวดเร็วมาก ใช้เวลาเพียง 1 ปี ตั้งแต่ทราบว่ามะเร็งมาเยี่ยมเยือน เราทั้งสองได้เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสุขภาพกายใจและปฏิบัติตัวอย่างเต็มที่ และหาวิธีการรักษาด้วยทุกวิถีทางทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก

ต่อมาแพทย์วินิฉัยว่าโรคได้ลุกลามเข้าสู่ระยะท้าย ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ผมและครอบครัวก็ยังไม่สิ้นความหวัง จนกระทั่งเดือนสุดท้าย จึงตกลงรักษาดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ผมมาตระหนักว่า การดูแลแบบ Palliative Care ของผมยังไม่ครบถ้วนนัก เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์ แม้ตัวผมและภรรยาต่างได้เคยเข้าร่วมรับการอมรมปฏิบัติมรณานุสติกับท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ด้วยความกรุณาของคุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ เมื่อภรรยาป่วยเป็นมะเร็งรอบ 2 เมื่อ 5 ปีที่แล้ว อีกทั้งภรรยาผมได้ทำ Living Will ตามแบบเพื่อปฏิเสธการรักษาเพียงเพื่อยื้อชีวิต

แต่สิ่งที่ผมค้างคาใจว่าเราไม่ได้ทำคือ การพูดคุยกันอย่างเปิดอก การกล่าวลากันอย่างจริงจัง ยังมีอะไรไหมที่เป็นความปรารถนาของเธอแต่เธอไม่ได้บอกผม เพราะตลอดเวลาหลายปีดังกล่าว เรามีความหวังลึกๆว่าเราจะมีชีวิตอยู่ด้วยกันนานกว่านี้ หรือรอให้ลูกทั้งสองเติบใหญ่เป็นฝั่งฝาก่อน แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นรวดเร็วเหลือเกินแม้กระทั่งวาระสุดท้ายก็ไม่ได้เตรียมการอะไรให้สมบูรณ์

ผมไม่อยากให้ผู้อ่านมีสภาพเดียวกับผม จึงอยากแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือที่ชื่อว่า "ญาติจะช่วยดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร ให้ชีวิตมี คุณค่าในเวลาที่เหลืออยู่" ที่เขียนโดยท่านศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส (สำนักพิมพ์สายธาร 2558) ท่านเขียนจากประสบการณ์จริงในการดูแลน้องสาวของท่าน เธอเป็นมะเร็งรังไข่เช่นเดียวกับภรรยาผม มีชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยใกล้เคียงกันคือประมาณ 10 ปี น้องสาวอาจารย์เสียชีวิตประมาณวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ส่วนภรรยายผมเสียชีวิตวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 หนังสือเล่มนี้จะทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงกระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมตัวอย่างพินัยกรรมชีวิต

ผมยังเสียดายว่าในตอนที่ภรรยาผมป่วยหนัก ผมไม่ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์แสวงและอ่านหนังสือเล่มนี้ ความจริงคือ ผมไม่ได้เข้าใจลักษณะอาการเจ็บป่วยและวิธีการดูแลรักษาตลอดจนการสื่อสารในการบอกความจริงเลย และหนังสือเล่มนี้ได้ระบุทุกสิ่งไว้ตรงกับที่เกิดขึ้นกับภรรยาและผม เกือบทั้งหมด

ผมเชื่อว่าหากท่านผู้อ่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติป่วยเป็นมะเร็งหรือเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งเอง จะได้เตรียมตัวรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นและสามารถพบกับความตายหรือวาระสุดท้ายได้อย่างมีสติ โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งสองหรือสามฝ่ายจะได้พยายามหาโอกาสพูดคุย สื่อสารและสะสาง ข้อข้องใจต่างๆ พร้อมทั้งการแสดงเจตนาให้จัดการเรื่องต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ต้องพะว้าพะวงอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่บอกเล่าความจริง ให้ความรู้ความเข้าใจ และแนวทางปฏิบัติที่ทำได้ เพื่อผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยหนักจัดทำพินัยกรรมชีวิตได้ถูกต้องครบถ้วน แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากก็ตาม

ถ้าเราเลือกได้เราควรเลือกที่จะตายดี : ตายแบบไหนที่จะเรียกว่าตายดี

ในหนังสือปทานุกรมแห่งความตาย (ดูปทานุกรมความตาย: รวมคำและความหมายเพื่อชีวิตที่ดีและความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา 2558) ระบุการตายดีไว้ 12 ข้อ ได้แก่

1. การตายที่ผู้ตายยอมรับได้พร้อมที่จะจากไป

2. เป็นการตายอย่างมีสติ

3. ทราบว่าความตายจะมาถึงและเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

4. ได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และมีความเป็นส่วนตัว

5. ได้รับข้อมูลและการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ตามความจำเป็น

6. ได้รับการดูแลบรรเทาอาการปวดและอาการทางกายอื่นๆ เป็นต้น

7. สามารถเลือกได้ว่าจะตายที่ไหน (ที่บ้านหรือโรงพยาบาล)

8. ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามต้องการ

9. สามารถเลือกได้ว่าควรมีใครอยู่ด้วยในวาระสุดท้ายของชีวิต

10. สามารถแสดงเจตนาล่วงหน้าได้ว่าต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไรในวาระสุดท้าย (Advance Direction)

11. มีเวลากล่าวลาบุคคลที่ตนเองรัก สะสางสิ่งที่คั่งค้างในใจ

12. สามารถจากไปอย่างสงบเมื่อถึงเวลาไม่ถูกเหนี่ยวรั้งหรือยืดชีวิตโดยไร้ประโยชน์

​ดังนั้น การแสดงเจตนาล่วงหน้าว่าควรได้รับการปฏิบัติอย่างไรในวาระสุดท้าย การกล่าวลาบุคคลที่ตนเองรัก และสะสางสิ่งที่ค้างคาในใจ จึงเป็นเรื่องที่ควรกระทำ และเป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะเลือกว่าจะเตรียมตัวรับกับความตายอย่างไร เป็นการให้โอกาสผู้ป่วยได้ตายดี และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วย เรื่องดังกล่าวทั้งหมดทำได้ในหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษา เรื่องนี้จึงแสดงเจตนาไม่รับการรักษา เพื่อรับความตายได้อย่างมีสติ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือผู้ที่เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้

ความตายเป็นเรื่องที่ทุกคนหนีไม่พ้น เรามาเตรียมตัวตายอย่างมีสติกันเถอะครับและเพราะมันเป็นเรื่องยาก จึงควรเตรียมแต่เนิ่น ๆ เพื่อความไม่ประมาท

ทำไมเราถึงต้องทำหนังสือปฏิเสธรับการรักษา

นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องการตายดีหรือการตายอย่างมีสติข้างต้น ยังมีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยควรจะทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาแพงมาก เพราะโรงพยาบาลก็มุ่งที่จะมีรายได้จากการดูแลรักษา ทั้งที่ทราบว่าอาจจะไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายได้ หรือในบางกรณีที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่จะฟื้นคืนสู่สถานะเดิมได้ การให้อาหารทางสายยางก็ดี การต่อท่อช่วยชีวิตต่าง ๆ ก็ดี การอยู่ในห้องไอซียูก็ดี การลงทุนผ่าตัดหรือให้ยาราคาแพง ล้วนมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

ในหนังสือโรงพยาบาลเอกชนค่ารักษาแพง: ปัญหาและทางออกที่เขียนโดย น.พ. วิชัย โชควิวัฒน์ (สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาพ (สปพส) 2558) ได้กล่าวถึงว่ามีผู้ป่วยบางรายที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกือบ 20 ล้านบาท เพราะโรงพยาบาลเอกชนไม่ยอมให้กลับบ้าน หรือกรณีเมื่อ 20 ปีที่แล้วที่มีผู้ป่วยด้านสมอง ซึ่งมีโอกาสหายเพียง 3% แต่โรงพยาบาลเอกชนได้เก็บตัวไว้ และในที่สุดผู้ป่วยก็เสียชีวิตไปโดยมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเกือบ 400,000 บาท เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เงินจำนวนดังกล่าวครอบครัวน่าจะได้นำมาใช้เพื่อประโยชน์สูงสุด

กรณีดังกล่าวข้างต้นมักไม่เกิดกับโรงพยาบาลของรัฐบาลเพราะว่าแพทย์มักจะพูดความจริง และบอกความจริงกับญาติและอาจให้ผู้ป่วยกลับบ้านก็ได้ ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายยังไม่เป็นที่แพร่หลายในโรงพยาบาลมากนัก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้แก่ทั้งผู้ป่วย ญาติมิตร ผู้เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาล และบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ตระหนักถึงความประสงค์ของผู้ป่วยหรือญาติและเหตุผลทางสถานะทางการเงินของครอบครัวด้วย

การทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาทำแบบไหนอย่างไร: ประโยชน์และตัวอย่าง

เอกสารที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรื่องความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต (Living Will) ได้อธิบายประโยชน์ของการทำหนังสือดังกล่าวไว้โดยสรุปว่า

1.​จะทำให้แพทย์ และญาติทราบ เป็นการช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับญาติในการวางแผนการรักษา เมื่อผู้ป่วยไม่อยู่ในสภาพที่แสดงเจตนาได้

2.​ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นการเจาะคอ การใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มที่ช่วยยืดการตายออกไปซึ่งที่ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

3.​ทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการรักษา จนกระทั่งถึงต้องขายทรัพย์สินจนสิ้นเนื้อประดาตัวมาเป็นค่ารักษา

4.​เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีการสื่อสารและร่ำลาคนในครอบครัวในขณะที่มีสติสัมปชัญญะอยู่

นอกจากนี้ การทำหนังสือแสดงเจตนาแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ

1.​ผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนาด้วยตนเองไม่ว่าจะเขียนหรือพิมพ์ หรือ ใช้แบบตามตัวอย่างที่กำหนด

2.​การแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล หรือญาติผู้ใกล้ชิดโดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ หรืออาจจะให้ผู้อื่นช่วยเขียนหรือพิมพ์แทน

หนังสือแสดงเจตนานี้ผู้ที่ทำควรมีอายุเกิน 18 ปีที่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือระงับยกเลิกได้ตลอดเวลา โดยต้องแจ้งการแก้ไขกับแพทย์ที่เคยได้รับการแจ้งไว้ก่อนแล้ว

ปัจจุบันทางราชการได้เผยแพร่ตัวอย่างการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษาหรือรับบริการสาธารณสุขตามกฏหมายไว้หลายที่ซึ่งผู้สนใจอาจจะเข้าตรวจสอบจาก เว็บไซต์ https://www.thailiving.in.th ก็ได้

ผมขออนุญาตนำตัวอย่างแบบที่ 2 ร่างหนังสือแสดงเจตนาที่ปรับปรุงแก้ไขจากหนังสือของท่านอาจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ฉบับภาษาไทยเพื่อเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่านได้จัดทำขึ้นท้ายบทความนี้ (พร้อมข้อสังเกตส่วนตัวฝากอยู่ด้วยในแต่ละข้อ)



ผมหวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย เพื่อจัดทำพินัยกรรมชีวิตของท่าน ผมมีเจตจำนงที่จะเผยแพร่ความรู้ในเรื่องนี้ให้กว้างขวางออกไปจึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง "กองทุนกิติพงศ์-วิภา อุรพีพัฒนพงศ์" โดยนำเงินที่เหลือจากการงานบำเพ็ญกุศลศพของภรรยาและเงินบริจาคจากบรรดาญาติสนิทมิตรสหายเมื่อวันที่ผมมีอายุครบ 6 รอบ (เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558)รวมค่าลิขสิทธิ์จากการเขียนหนังสือของผม รวมประมาณ 3 ล้านบาท โดยมอบให้แก่ศูนย์ชีวาภิบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

นอกจากนี้ ครอบครัวผมยังได้ร่วมบริจาคเงินจำนวน 300,000 บาท เพื่อสร้างวีดีทัศน์ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
https://thaitribune.org/contents/detail/307?content_id=16670



newyorknurse



Create Date : 05 ตุลาคม 2560
Last Update : 25 ตุลาคม 2560 5:30:10 น. 0 comments
Counter : 1324 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณTurtle Came to See Me, คุณtuk-tuk@korat


newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 ตุลาคม 2560
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.