ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 

นักวิจัยพบวิธีสร้างแอนตีบอดีต้าน “เอชไอวี” ในหนู

นักวิจัยพบวิธีสร้างแอนตีบอดีต้าน “เอชไอวี” ในหนู

ผลทดสอบหนูในแล็บได้เปิดหนทางสู่วิธีใหม่ๆ ในการผลิตวัคซีนต้านเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นความท้าทายตลอด 3 ทศวรรษของประวัติศาสตร์โรคเอดส์ โดยนักวิจัยสร้างหนูจีเอ็มโอที่สามารถสร้างแอนตีบอดีซึ่งเป็นด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันได้

นับแต่โรคเอดส์ถูกค้นพบเมื่อปี 1981 จนถึงทุกวันนี้รอยเตอร์ระบุว่ามีวัคซีนสูตรเดียวในการทดลองระดับคลีนิคที่ให้ผลประมาณ โดยช่วยป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV:human immunodeficiency virus) ได้เพียง 31% จุดนี้เองกระตุ้นให้นักวิจัยหันกลับไปหาสารภูมิต้านทานในร่างกายที่จะต่อสู้โรคได้ และล่าสุดทีมวิจัยที่นำโดย เดวิด บัลติมอร์ (David Baltimore) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) หรือคาลเทค (Caltech) สหรัฐฯ กำลังเข้าใกล้เป้าหมายดังกล่าวแล้ว

ความพยายามเดิมในการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสเอชไอวีคือการพุ่งเป้าไปที่การออกแบบสารตั้งต้นที่กระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในรูปแบบแอนตีบอดีที่ป้องกันการติดเชื้อและเซลล์เม้ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T cells) ที่จะเข้าโจมตีเซลล์ติดเชื้อ แต่ไซน์เดลีรายงานว่าบัลติมอร์และทีมได้สร้าง “เวคเตอร์อิมมูโนโพรฟิลาซิส” (Vectored ImmunoProphylaxis) หรือวีไอพี (VIP) ที่ช่วยต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีได้โดยเน้นที่การสร้างสารภูมิต้านทานในร่างกาย

“วีไอพีให้ผลคล้ายกับวัคซีนแต่ไม่มีการปลุกให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานใดๆ โดยปกติเมื่อคุณใส่แอนติเจน หรือแบคทีเรียเข้าจู่โจมหรืออะไรบางอย่างเข้าไปในร่างกาย และระบบภูมิคุ้มกันก็จะค้นหาว่าทำอย่างไรให้แอนตีบอดีต่อสู้มันได้ ซึ่งเราทำได้ทั้งหมดของสมการ” อเลฮันโดร บาลัซส์ (Alejandro Balazs) หัวหน้าทีมในการเขียนรายงานวิจัยและนักศึกษาหลังปริญญาเอกในห้องปฏิบัติการของบัลติมอร์กล่าว โดยงานวิจัยครั้งนี้ได้เผยแพร่ลงวารสารเนเจอร์ (Nature)

หากแต่หนูนั้นต่างจากคนตรงที่ไม่ไวต่อเชื้อไวรัสเอชไอวี นักวิจัยจึงดัดแปลงพันธุกรรมของหนูให้สามารถรับเซลล์ภูมิคุ้มกันของมนุษย์ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงเชื้อเอชไอวีได้ พวกเขาใช้ประโยชน์จากไวรัสเอเอวี (AAV:adeno-associated virus) ซึ่งเป็นไวรัสขนาดเล็กที่ไม่เป็นอันตรายให้เป็นพาหะในการนำส่งยีนที่จำเพาะต่อการสร้างแอนตีบอดี โดยฉีดเชื้อไวรัสนี้เข้าไปในกล้ามเนื้อขาของหนู จากนั้นเซลล์กล้ามเนื้อใส่จะผลิตแอนตีบอดีบีเอ็นเอบีเอส (broadly neutralizing antibodies) เข้าไปในระบบไหลเวียนของหนู

หลังจากฉีดไวรัสเอเอวีเข้าไปเพียงครั้งเดียวหนูก็ผลิตแอนตีบอดีดังกล่าวในปริมาณมากไปตลอดชีวิตที่เหลือ และช่วยป้องกันไม่ให้หนูติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่นักวิจัยฉีดเข้าไปในเส้นเลือดดำได้ แต่นักวิจัยระบุว่าการต่อยอดจากหนูสู่มนุษย์นั้นยังอีกยาวไกล เพราะในความเป็นจริงนั้นความพยายามที่สำเร็จในหนูไม่ได้หมายความว่าจะให้ผลสำเร็จเดียวกันในมนุษย์ด้วย แต่นักวิจัยก็ยังเชื่อว่า แอนตีบอดีปริมาณมากที่หนูผลิตออกมาได้ บวกเข้ากับการค้นพบว่าแอนตีบอดีในปริมาณเพียงเล็กน้อยนั้นช่วยป้องกันหนูติดเชื้อไวรัสได้นั้น จะนำไปสู่การแปลงให้มนุษย์มีภูมิต้านทานการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้

ขณะนี้ทีมวิจัยอยู่ระหว่างขั้นตอนการวางแผนพัฒนาวิธีทดลองในมนุษย์ระดับคลีนิค ซึ่งจะเป็นการทดลองเพื่อตอบคำถามว่าไวรัสเอเอวีนั้นสามารถสั่งงานให้กล้ามเนื้อของมนุษย์นั้นสร้างแอนตีบอดีในระดับที่คาดหวังว่าจะช่วยป้องกันไวรัสเอชไอวีได้หรือไม่

ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000153232




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2554
1 comments
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 16:54:10 น.
Counter : 1705 Pageviews.

 

 

โดย: thebe01 4 ธันวาคม 2554 17:30:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.