ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
29 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ
หินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกนั้นมีอุณหภูมิและความดันสูงมาก หินหนืดจะถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกโดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น เรียกว่าการเกิดภูเขาไฟ

แรงอัดที่ถูกปล่อยออกมาจะบ่งบอกถึงความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟ หินหนืดที่พุ่งขึ้นมาจากการระเบิดของภูเขาไฟนี้เรียกว่า ลาวา ซึ่งจะไหลลงสู่บริเวณที่อยู่ระดับต่ำกว่าและสร้างความเสียหายให้แก่มนุษย์ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

นอกจากหินหนืดที่พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟแล้วยังมีสิ่งอื่นปะปนออกมาอีกมากมาย มีทั้งไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก็สไนโตรเจน เป็นต้น

แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดมากกว่าบริเวณที่อยู่ถัดเข้าไปภายในแผ่นทวีป ทั้งนี้เพราะบริเวณรอยต่อนี้จะมีขอบทวีปส่วนหนึ่งมุดจมลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง ส่วนที่มุดลงไปนี้จะหลอมเหลวเป็นหินหนืด มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก จึงดันแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น


geology


อย่างไรก็ตามการเกิดภูเขาไฟก็มีโอกาสเกิดขึ้นในบริเวณที่ห่างจากรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกได้เช่นกันแต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย โดยอาสัยกระบวนการก่อตัวของภูเขาไฟที่อาจเกิดจากการที่หินหนืดดันขึ้นตามรอยแตกในชั้นหิน ซึ่งรอยแตกนี้อยู่ห่างจากแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก

นักธรณีวิทยาพบหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณจังหวัดลำปางและบุรีรัมย์ เป็นบริเวณที่หินหนืดดันแทรกขึ้นมาตามรอยแตกของชั้นหินและมีเพียงบางแห่งเกิดปะทุแบบภูเขาไฟแต่ไม่รุนแรง และประมาณว่าการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณนั้นเกิดขึ้นเมื่อล้านปีมาแล้ว

นอกจากนี้นักธรณีวิทยาสังเกตพบว่าก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิดมักมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นก่อน ทั้งนี้เพราะเปลือกโลกบริเวณนั้นอาจมีจุดอ่อน เช่น อาจมีรอยแตกหรือรอยแยกของชั้นหิน ร่องรอยเหล่านี้เมื่อได้รับแรงดันจากหินหนืดชั้นหินบริเวณนั้นจึงเคลื่อนได้ และภายหลังจากที่ภูเขาไฟ ระเบิดแล้วก็จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งเกิดจากการปรับตัวระหว่างหินหนืดกับชั้นหินบริเวณข้างเคียง

ภูเขาไฟ หน้าต่างสู่ภายในอันกราดเกรี้ยวของโลก พลังที่รุนแรงที่สุดแห่งธรรมชาติ ภูมิประเทศกลับคุกรุ่นด้วยเปลวเพลิงเผาผลาญ ที่เราไร้ซึ่งอำนาจจะต้านทานทว่า ภูเขาไฟก็ช่วยสร้างแผ่นดินใหม่ พวกมันคือแหล่งของชีวิต แต่ก็ ทำลายล้างได้จนสิ้น ภูเขาไฟ พลังอำนาจอันรุนแรงของโลกที่ปั่นป่วนใบนี้

บนยอดภูเขาไฟที่สงบนิ่ง ช่างยากที่จะจินตนาการถึงพลังอำนาจที่สงบนิ่งอยู่ใต้พื้นผิวแห่งนี้ แต่พวกมันคือแรงพลังที่ก่อให้เกิดชีวิตบนโลก และท้ายที่สุดก็ทำลายลงจนสิ้น

ภูเขาไฟเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทรงพลังที่สุดของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่หล่อหลอมโลกของเรานับ ตั้งแต่จุดเริ่มต้น นี่คือความกราดเกรี้ยวอย่างสุดขีดของธรรมชาติภูมิประเทศทั่วทุกหนแห่งล้อมรอบไปด้วยเปลวไฟ การปะทุเพียงครั้งเดียวก็ทำให้ฟ้ามืดไปทั่วทั้งทวีป และเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไปนานหลายร้อยปี

การปะทุครั้งร้ายแรงที่สุดของภูเขาไฟ มีพลังงานมากกว่าอาวุธ นิวเคลียร์ทุกชนิด ในปี 1815 เถ้าจากภูเขาไฟ แทมโบรา ได้สร้างให้เกิดภาพพระอาทิตย์ตกดินสีแดงฉานไปทั่วโลกนานถึง 3 ปี การปะทุที่ใหญ่กว่านั้นปิดกั้นลำแสงจากดวงอาทิตย์ไปนานหลายสิบปี สร้างให้เกิดความหายนะต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกและทำให้สายพันธุ์สัตว์ต้องพบกับการสูญพันธุ์

ภูเขาไฟได้หล่อหลอมพื้นผิวดาวเคราะห์ของเรามานานหลายพันล้านปีแล้ว พวกมันสร้างให้เกิดแผ่นดินใหม่ตรงจุดที่มีเพียงมหาสมุทร

ภูเขาไฟคือหน้าต่างไปสู่โลกอันแตกต่าง, ผ่านภูเขาไฟเหล่านี้ เราจะได้เห็น
ภาพของขั้นตอนเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นภายในโลกของเราอยู่ทุกขณะด้วยแรงพลังแห่งการทำลายล้างทั้งมวล ภูเขาไฟก็ยังเป็นพลังสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในธรรมชาติอีกด้วยพวกมันได้สร้างให้เกิดองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีพของเรา

-- ทั้งอากาศที่เราหายใจ
-- แร่ธาตุเพื่อให้พืชเจริญเติบโต
-- แม้แต่น้ำ,

หากปราศจากภูเขาไฟแล้ว ก็จะไร้ซึ่งมหาสมุทร เมฆ และฝน,ดาวเคราะห์ของเราก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ไร้ชีวิต ภูเขาไฟได้มอบชีวิตให้ แต่ก็อาจพรากไปได้เช่นกัน วันนี้ ผู้คนนับล้านอาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของภูเขาไฟที่รอวันปะทุ มันง่ายที่จะทำเป็นเพิกเฉยต่ออันตราย ลืมเลือนไปว่ามันมีตัวตน แต่ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่นั้น เป็นภัยคุกคามมรณะพลังของมันรุนแรงและเลวร้าย

ทั่วโลกมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่อย่างน้อย 1,500 ลูกก่อนที่เราจะพยากรณ์ได้เราจะต้องเข้าใจวิธีการทำงานของมันเสียก่อนแต่การศึกษาภูเขาไฟนั้นเป็นงานที่อันตราย แม้แต่จะศึกษาตามภูเขาไฟที่ไม่รุนแรงนักเช่นในฮาวายที่นี่ พวกเขานำตัวอย่างลาวาจาก สกายไล้ท์ ซึ่งเป็นโพรงในหินเหนือธารลาวา เปลือกของหินใกล้กับขอบนั้นมักจะร่วนและบาง ก้าวพลาดเพียงก้าวเดียวอาจส่งพวกเขาลงไปยังหุบเหวมรณะเบื้องล่าง

ลาวาเบื้องล่างชั้นหินนี้อาจจะมีความร้อนสูงถึง 2,000 องศาฟาเรนไฮท์ และพ่นก๊าซพิษกำมะถันที่อันตรายออกมา เมื่อ 2 ล้านปีก่อน ภูเขาไฟลูกมหึมา ปะทุในที่ๆเป็นอุทยานแห่งชาติ เยลโล่ สโตน ทุกวันนี้มันทำให้หินกว่า 2,045 ลูกบาศน์กิโลเมตร ปลิวว่อนไปทั่ว, เมื่อฝุ่นสงบ ก็ปกคลุมพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของสหรัฐ ภูเขาไฟนั้นกำเนิดขึ้นโดยการเคลื่อนไหวของ แผ่นเพลทหินขนาดใหญ่ ที่เป็นส่วนของชั้นเปลือกโลก แผ่นเพลทเทคโทนิค ที่บรรทุกมหาสมุทรและแผ่นทวีปไว้ด้านบนเหล่านี้ ลอยอยู่บนชั้นแมนเทิ้ลที่ล้อมรอบแกนชั้นในสุดของโลก แผ่นเพลท จะเคลื่อนที่ขณะที่ความร้อนภายในโลกสร้างให้เกิดกระแสรุนแรงในชั้นแมนเทิ้ล ทะเลสาบลาวาหลอมละลาย ในฮาวาย แสดงให้เห็นถึงกระบวนการแบบย่อส่วน, โดยที่กระแสคลื่นจะทำให้แผ่นเปลือกโลกบางๆ เคลื่อนที่และแตกหัก ภูเขาไฟชนิดหนึ่งเกิดขึ้นตรงจุดที่กระแสลาวาเหล่านี้ผุดขึ้นมายังพื้นผิว, แผ่นเปลือกโลกจะถูกดึงแยกจากกัน และหินก้อนใหม่จะขึ้นมาแทนที่, สิ่งนี้เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรแมกม่าใหม่จะพุ่งตรงขึ้นมาจากชั้นแมนเทิ้ลที่อยู่ลึกลงไปในโลก มันเป็นของเหลวที่เรียกว่า บะซอลท์ ตรงจุดที่ภูเขาไฟก่อตัวขึ้นพวกมันจะสร้างให้เกิดเกาะต่างๆ เช่น เกาะ ไอซ์แลนด์ และ หมู่เกาะ คานารี่ ในมหาสมุทรแอตแลนติค หินเหลวจะผุดขึ้นมายังพื้นผิว และไหลออกจากภูเขาไฟในรูปของลาวา




Create Date : 29 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2552 10:34:00 น. 0 comments
Counter : 1619 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.