ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
25 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
การค้นพบดาวยักษ์ใหญ่ R136a1

การค้นพบดาวยักษ์ใหญ่ R136a1

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ Paul Crowther หนึ่งในทีมวิจัย ได้เปิดเผยว่ามีการค้นพบดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดในเอกภพเท่าที่มีการสำรวจ โดยมีมวลมากกว่า 300 เท่าของมวลดวงอาทิตย์


รูปเปรียบเทียบขนาดระหว่างดาวยักษ์ R136a1 กับดวงอาทิตย์ (yellow dwarf)



ข้อมูลล่าสุดจากการศึกษาด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาว VLT (Very Large Telescope) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ที่บริเวณกระจุกดาวอายุน้อย 2 กลุ่ม คือ RMC 136a กับ NGC 3603 ตามลำดับ พบว่า NGC 3603 เป็นกลุ่มเมฆก๊าซและฝุ่นของเนบิวลาที่ขยายตัวออก โดยมีที่ตั้งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 22,000 ปีแสง ส่วน RMC 136a หรือรู้จักกันในชื่อ R136 ประกอบด้วยดาวมวลมากและอุณหภูมิสูง ตั้งยู่ในเนบิวลา Tarantula กลุ่มดาว Dorado ในกาแล็กซีแมกเจลเลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 165,000 ปีแสง


รูปกระจุกดาว R136 ในเนบิวลา Tarantula กาแล็กซีแมกเจลเลนใหญ่ บริเวณกลุ่มดาวปลาดาบ (Dorado)


ภายในกระจุกดาว R136 มีดาวเพียง 4 ดวงจากทั้งหมด 100,000 ดวง ที่มีมวลมากกว่า 150 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และใน 4 ดวงนี้มีหนึ่งดวงที่มีมวลมากที่สุดชื่อ R136a1 มีมวลในปัจจุบันประมาณ 265 เท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 35 เท่าของขนาดดวงอาทิตย์ คาดว่าดาวดวงนี้เมื่อล้านปีก่อนน่าจะมีมวลประมาณ 320 เท่า และผลจากที่มีมวลมากขนาดนี้ มันจะสร้างพลังงานและปล่อยออกมาในรูปของแสงสว่างมหาศาล โดยทุกๆ 20,000 ปีมันจะสูญเสียมวลเท่ากับดวงอาทิตย์ 1 ลูก แล้วต่อมามันจะขยายตัวระเบิดอย่างรุนแรงเป็นนวดารา (supernova) ซึ่งการระเบิดในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโลกของเราแต่อย่างไร เนื่องจากอยู่ห่างกันถึง 170,000 ปีแสง


ดาวยักษ์ R136a1 (อยู่กลางภาพ) ในกระจุกดาว R136


หอดูดาว Very Large Telescope หรือ VLT อยู่ในการดูแลของ European Southern Observatory หรือ ESO ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 14 ประเทศ หอดูดาวดังกล่าวประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระจก 8.2 เมตร จำนวน 4 ตัว และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กอีกจำนวน 4 ตัว เส้นผ่านศูนย์กลางของกระจก 1.8 เมตร กล้องยักษ์ทั้ง 4 ตัวสามารถแยกกันทำงานเป็นอิสระหรือทำงานเป็นกลุ่มได้แบบเครื่อง Interferometer ซึ่งช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถเห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้นถึง 25 เท่าของกล้องโทรทรรศน์เดี่ยว นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการแยกภาพที่อยู่ติดกัน (angular resolution) ในระดับค่ามุมหนึ่งส่วนพันของฟิลิปดา (milliarcseconds) ปัจจุบันหอดูดาว VLT ตั้งอยู่ที่ Cerro Paranal ประเทศชิลี เริ่มเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1998


รูปทางช้างเผือกเหนือหอดูดาว VLT ประเทศชิลี



Cerro Paranal ประเทศชิลี บริเวณที่ตั้งของหอดูดาว VLT



ดาวที่มีมวลมากขนาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทายในการหาทฤษฎีมาอธิบายและในอนาคตเราอาจจะเจอดาวที่มีมวลมากกว่าที่เราพบในปัจจุบันก็เป็นได้


ที่มา
//www.narit.or.th/index.php/astronomy-information/56--r136a1



Create Date : 25 กรกฎาคม 2553
Last Update : 25 กรกฎาคม 2553 15:34:25 น. 0 comments
Counter : 4001 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.