ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
19 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
“ปู” (ปูจริงๆ นะ) ก็มีความรู้สึกเจ็บปวด


“ปู” ก็มีความรู้สึกเจ็บปวด


โรเบิร์ต เอลวูด ศาสตราจารย์ด้านปู และปูที่ถูกมัดจากภัตตาคาร (ไลฟ์ไซน์/โรเบิร์ต เอลวูด)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อมานานว่า ปูไม่มีความรู้เจ็บปวด นั่นเป็นเพราะพวกเขาขาดการศึกษาทางด้านชีววิทยาในเรื่องนี้ แต่งานวิจัยล่าสุดได้เผยหลักฐานด้านพฤติกรรมที่สนับสนุนสมมุติฐานว่าปูก็รู้สึกเจ็บปวดได้เช่นกัน โดยแสดงเห็นว่าปูที่ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเบาๆ จะหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญความเจ็บปวดเช่นนั้นอีกในอนาคต

สิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วนตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงแมลงหวี่ตัวเล็กๆ ล้วนมี “ความรู้สึกเจ็บปวด” (nociception) ซึ่งเป็นการตอบสนองอัตโนมัติที่ช่วยเลี่ยงความเสียหายของเนื้อเยื่อในร่างกายอย่างฉับพลัน หรืออักนัยหนึ่ง “ความเจ็บปวด” ที่เป็นผล จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทันทีนั้นไม่ได้เป็นความรู้สึกที่แผ่วงกว้างออกไป

ในการศึกษาใหม่นี้ไลฟ์ไซน์ให้รายละเอียดว่า ทีมวิจัยให้ปูชายฝั่งสปีชีส์ คาร์นิคัส แมนัส (Carcinus maenas) เลือก 1 ใน 2 ที่ซ่อนมืดๆ ซึ่งอยู่ภายในถังน้ำสว่างจ้า หนึ่งในนั้นมาพร้อมกับการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเบาๆ ซึ่งหลังทดลองไปเพียง 2 ครั้ง ปูที่ตอนแรกเลือกที่ซ่อนที่ถูกกระตุ้นจะหันไปเลือกที่ซ่อนซึ่งไม่ทำให้เจ็บปวดแทน ซึ่งบ่งชี้ว่าปูรู้จักเรียนรู้ที่จะแยกแยะระหว่าง 2 ตัวเลือกและพุ่งไปที่ตัวเลือกที่ทำให้เจ็บปวดน้อยกว่า

โรเบิร์ต เอลวูด (Robert Elwood) นักพฤติกรรมสัตว์จากมหาวิทยาลัยควีนส์ เบลฟาสต์ (Queen's University, Belfast) ในสหราชอาณาจักร หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่าแทบเป็นไม่ได้ที่จะพิสูจน์ว่าสัตว์รู้สึกเจ็บปวด แต่ก็มีเกณฑ์ที่เราสามารถพิจารณาได้ ซึ่งพวกเขาก็มีเกณฑ์ที่แน่ใจได้ โดยเมื่อมีข้อมูลที่สอดคล้องก็สามารถสร้างข้อพิสูจน์ขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างได้

แรกเริ่มเอลวูดพยายามทำเข้าใจว่าปูและสัตว์ขาปล้องในกลุ่มเดคาพอดส์ (decapod) รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่ หลังจากที่พ่อครัวใหญ่ตั้งคำถามนี้แก่เขาเมื่อ 8 ปีก่อน หากสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังรู้สึกเจ็บปวดได้ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นที่ไม่พึงปรารถนาจะต้องมากกว่าแค่การตอบสนองความเจ็บปวดอัตโนมัติแบบพื้นๆ ประสบการณืที่ได้รับจะเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นไประยะยาว

ในการทดลองแรกเอลวูดเผยให้เห็นว่า กุ้งซึ่งถูกสาดด้วยโซดาที่มีฤทธิ์กัดกร่อนจะรีบทำความสะอาดหนวดตัวเองอย่างคล่องแคล่วราวกับพยายามที่จะลดความเจ็บปวด ที่สำคัญพฤติกรรมเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นเมื่อเขาทำลายหนวดกุ้งที่ถูกให้ยาชาระงับความรู้สึกก่อนแล้ว

อีกการทดลองเผยให้เห้นว่าปูเสฉวนจะทิ้งเปลือกหอยของตัวเองเมื่อถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าอ่อนๆ ซึ่งปกติปูที่ร่างเปลือยเปล่าคือปูที่ตายแล้ว แต่พวกมันก็ต้องยอมเพื่อแลกกับการเลี่ยงถูกไฟฟ้ากระตุ้นด้วยการออกจากเปลือกหอย และปูจำนวนมากจากย้ายไปเปลือกหอยอันใหม่ หากมีเปลือกหอยใหม่ให้เลือก

สำหรับการศึกษาใหม่นี้ไลฟ์ไซน์ระบุว่าเอลวูดทดสอบปูชายฝั่ง 90 ตัว ซึ่งตามธรรมชาติปูชนิดนี้จะเสาะหาพื้นที่มืดๆ อาศัย เพื่อพิสูจน์ว่าปูเหล่านั้นแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ที่จะเลี่ยงอันตราย และแยกแยะได้ระหว่างพื้นที่อันตรายและพื้นที่ปลอดภัย ครึ่งหนึ่งของปูเหล่านั้นถูกไฟฟ้าช็อตเมื่อเข้าไปยังช่องมืดที่เลือกครั้งแรก ขณะที่อีกครึ่งไม่โดน โดยห้องที่กระตุกให้ปูเจ็บปวดยังคงเป็นห้องเดิมตลอดการทดลอง 10 ครั้ง

ในการทดลองครั้งที่ 2 นั้นปูส่วนใหญ่ยังคงเลือกห้องเดิมแม้ว่าจะเป็นห้องที่ทำให้เจ็บปวดในครั้งแรก แต่ปูก็เลือกจะเปลี่ยนช่องมืดในครั้งที่สามเมื่อถูกกระตุกอีกในครั้งที่สอง และตลอดการทดลองปูที่เลือกช่องผิดมีแนวโน้มที่จะออกมาจากช่องมืดที่ไม่สบายตัวนั้น เผชิญกับแสงจ้าแล้วหลบเข้าไปบังช่องมืดอีกแห่ง และในการทดลองสุดท้ายปูกลุ่มใหญ่เลือกช่องมืดที่ไม่ถูกไฟฟ้ากระตุ้นในครั้งแรกเลย

ฟรานเชสกา เจอราดิ (Francesca Gherardi) นักชีววิทยาวิวัมนาการจากมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ (University of Florence) ในอิตาลี ซึ่งไม่ได้ร่วมในงานวิจัยนี้ให้ความเห็นแก่ไลฟ์ไซน์ว่า งานวิจัยนี้ให้หลักฐานสนับสนุนว่าเนื้อเยื่อของปูและสัตว์ขาปล้องอื่นๆ รู้สึกเจ็บปวดได้ ซึ่งการศึกษาที่พบว่าสัตว์จำพวกนี้เรียนรู้ที่จะเลี่ยงความเจ็บปวดคือสิ่งที่แตกต่าง และเน้นอีกว่าสัตว์ที่อยู่ในความเจ็บปวดจะเรียนรู้อย่างรวดเร็วในการเลี่ยงสภาพไม่ปรารถนา และแสดงการเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาว แต่จำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้ในสัตว์เดขาพอดส์ให้มากขึ้น

ส่วนเอลวูดกล่าวว่า งานวิจัยในอนาคตจะต้องไปในทิศทางที่แตกต่าง ความตึงเครียดมักมาพร้อมความเจ็บปวด ดังนั้น การทดลองอื่นจะหันไปพิจารณาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของสัตว์ขาปล้องหรืออัตราการเต้นของหัวใจระหว่างถูกกระตุ้น

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เอลวูดรู้สึกว่าถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราปฏิบัติต่อสัตว์เหล่านี้ในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งหากมีหลักฐานของความเจ็บปวดในสัตว์เหล่านี้มากขึ้นก็ถึงเวลาที่เราจะปฏิบัติให้เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกที่ได้รับการพิทักษ์สิทธิสัตว์แล้ว

ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000006903


Create Date : 19 มกราคม 2556
Last Update : 19 มกราคม 2556 7:51:41 น. 0 comments
Counter : 1575 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.