ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
12 พ.ค.ชวนดู “ดาวศุกร์” เคียง “ดาวพฤหัส”





ปราชญ์ชาวบ้านชวนดู “ดาวศุกร์” เคียง “ดาวพฤหัส” ปรากฏการณ์หาดูไม่ง่าย พร้อมการชุมนุมของดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธและดาวอังคาร บนท้องฟ้าตอนเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค.

วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ชาวบ้านจาก จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสในเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค. ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากนี้ยังได้เห็นดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธ และดาวอังคาร โดยมีรายละเอียดของปรากฏการณ์ ดังนี้

เช้ามืดวันที่ 12 พ.ค.2554 ทางขอบฟ้าทิศตะวันออก จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้มากห่างเพียง 37 ลิปดา 51 ฟิลิปดา และยังมีดาวพุธอยู่ในกลุ่มด้วยโดยดาวพุธอยู่ใกล้ดาวศุกร์ในระยะ 1 องศา 30 ลิปดา 08 ฟิลิปดา และอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในระยะ 2 องศา 3 ลิปดา 13 ฟิลิปดา

ดาวเคราะห์ 3 ดวงที่จะเกาะกลุ่มขึ้นจากขอบฟ้าใกล้เคียงกัน โดยดาวพฤหัสบดีขึ้นจากขอบฟ้าก่อนเวลา 04.21 น.ด้วยความสว่าง -2.07 อยู่ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) ตามมาด้วยดาวศุกร์ซึ่งขึ้นพ้นขอบฟ้าเป็นดวงที่สอง เวลา 04.24 น.ด้วยความสว่าง -3.89 อยู่ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) ส่วนดาวพุธขึ้นพ้นขอบฟ้าเป็นดวงที่สาม เวลา 04.26 น. ด้วยความสว่าง 0.30 อยู่ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) เช่นกัน

ต่อมาเวลา 04.40 น. ดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าคือดาวอังคาร ก็ขึ้นตามมา ด้วยความสว่าง 1.27 อยู่ในกลุ่มดาวแกะ (Aries) โดยดาวอังคารอยู่ห่างดาวศุกร์ 5 องศา 25 ลิปดา 10 ฟิลิปดา ดาวอังคารอยู่ห่างดาวพฤหัส 5 องศา 38 ลิปดา 49 ฟิลิปดา ดาวอังคารอยู่ห่างดาวพุธ 6 องศา 5 ลิปดา 36 ฟิลิปดา

นอกจากดาวเคราะห์ทั้ง 4 ดวงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยังมีดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวปลาด้วยนั่นคือดาวยูเรนัสซึ่งขึ้นจากขอบฟ้ามาก่อนแล้ว โดยอยู่สูงเหนือดาวพฤหัสบดี 21 องศา 55 ลิปดา 2 ฟิลิปดา

“เช้าวันที่ 12 พ.ค.2554 ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า เวลา 05.51 น. ขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวพุธ อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันออก 21 องศา ปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่สามารถสังเกตได้เช้ามืดของ สามวัน คือ วันที่ 11, 12 และ 13 พ.ค แต่วันที่ 12 พ.ค. ดาวศุกร์ใกล้ดาวพฤหัสมากที่สุด จึงน่าติดตามชมเป็นอย่างยิ่ง” วรวิทย์ให้ข้อมูล

ปราชญ์ชาวบ้านจากฉะเชิงเทรากล่าวว่า วิธีสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสเกิดขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศตะวันออกอยู่ต่ำมาก สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้สังเกตการณ์ ต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จึงจะพอสังเกตได้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวและเมฆฝนที่มีมากในฤดูนี้

ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000053960


Create Date : 03 พฤษภาคม 2554
Last Update : 3 พฤษภาคม 2554 16:48:15 น. 1 comments
Counter : 1253 Pageviews.

 
ทักททายยามค่ำคืนนี้นะจ่ะ อิอิ เอิ๊กๆๆ


โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 3 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:50:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.