ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
ข้อควรปฏิบัติโดยทั่วไปในการจัดแยกและจัดเก็บสารเคมี

ข้อควรปฏิบัติโดยทั่วไปในการจัดแยกและจัดเก็บสารเคมี

การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการทั่วไป มีข้อควรปฏิบัติทั่วๆไปดังนี้

•การจัดเก็บน้ำยาควรจัดวางอย่างเป็นระเบียบบนชั้นวางของ ซึ่งมีแผ่นปิดด้านหลังและด้านข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ขวดน้ำยาถูกดันหล่นลงจากชั้นวางของ โดยสารเคมีเหล่านี้สามารถป้องกันการหล่นจากชั้นวางด้วยการใช้ชั้นวางของที่มีขอบกั้นด้ายหน้าหรือทำการยกด้านหน้าชั้นวางของให้สูงขึ้นประมาณ1/4นิ้ว

•การจัดสารเคมีบนชั้นวางควรจัดให้มีช่องสำหรับหยิบสารได้สะดวกและมีช่องทางเดินระหว่าชั้นวางสารเคมีด้วย

•บริเวณทางเดินเข้า-ออกและทางออกฉุกเฉินต้องเป็นพื้นที่โล่งไม่ควรวางสิ่งกีดขวางอื่นๆ

•ต้องมั่นใจว่าชั้นวางสารเคมีได้มีการติดตั้ง/ประกอบอย่างหนาแน่นและอยู่ชิดฝาผนัง

•ชั้นวางสารเคมีที่ติดตั้ง/ประกอบ ควรทำด้วยไม้ เพราะโลหะอาจเกิดการกัดกร่อนได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ชั้นวางสารเคมีที่ทำด้วยโลหะและสามารถปรับเปลี่ยนหรือเลื่อนขึ้นลงได้ ชั้นวางสารเคมีที่ทำด้วยไม้จะดีและเหมาะสมกว่า

•หลีกเลี่ยงการเก็บหรือวางสารเคมีบนพื้นห้องอย่างเด็ดขาด

•หลีกเลี่ยงการจัดวางภาชนะบรรจุสารเคมีไว้บนด้านบนสุดของตู้เก็บของเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย

•หลีกเลี่ยงการเก็บบรรจุภาชนะสารเคมี ที่มีน้ำหนักมากๆไว้บนที่สูง

•ไม่ควรเก็บสารเคมีเหนือระดับสายตา

•ขวดเก็บสารเคมีใบใหญ่ควรเก็บไว้ในบริเวณชั้นล่างสุดของชั้นวางสารเคมี

•ไม่ควรจัดเก็บสารเคมีโดยวิธีเรียงลำดับตามตัวอักษรแต่เพียงออย่างเดียว สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ( Incompatible reagents ) ไม่ควรวางเก็บไว้ใกล้กัน เช่น สารเคมีที่เป็นด่า ( alkaline ) ไม่ควรเก็บไว้ใกล้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด ( acids ) และสารเคมีชนิด oxidant ควรจะเก็บแยกจากสารเคมีชนิด Reducetant เป็นต้น

•ควรมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดเก็บ เช่น จัดวางให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี , จัดเก็บห่างจากจุดกำเนิดไฟฟ้า , ไม่ควรถูกแดดส่องถึงโดยตรงและสารเคมีบางอย่างต้องเก็บไว้ในตู้เย็น เป็นต้น

•ควรนำขวดเก็บสารเคมีที่เป็นของเหลวโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่เป็นสารกัดกร่อนวางลงบนถาดหรือภาชนะสำหรับรองรับเพื่อรองของเหลวในกรณีที่มีการหก , ตกหล่น , หรือขวดแตก

•สารเคมีชนิดติดไฟง่ายไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดา เพราะไฟที่อาจจะกระเด็นจากมอเตอร์หรือสวิทซ์ไฟในตู้เย็นสามารถจุดติดไฟได้


ที่มา
//www.pharmacy.msu.ac.th/LAB/page_3.html


Create Date : 29 พฤษภาคม 2554
Last Update : 29 พฤษภาคม 2554 15:30:15 น. 0 comments
Counter : 1430 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.