ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
26 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
ความคืบหน้าเกี่ยวกับการศึกษาอุกกาบาตทิสซินท์ (Tissint) จากดาวอังคาร

ความคืบหน้าเกี่ยวกับการศึกษาอุกกาบาตทิสซินท์ (Tissint) จากดาวอังคาร


ก้อนอุกกาบาตทิสซินส์ (Tissint) ที่มีลักษณะภายนอกเป็นสีดำเข้มมันวาวคล้ายกับหินบะซอลต์ (Basalt) ที่พบในเขตบริเวณภูเขาไฟบนพื้นผิวโลก อุกกาบาตก้อนนี้มีน้ำหนักประมาณ 3.4 กรัม สันนิษฐานว่าเป็นเศษชิ้นส่วนของหินภูเขาไฟที่หลุดออกมาจากดาวอังคารและแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเมื่อเข้าสู่บรรยากาศของโลก ภาพโดย: H. Chennaoui Aoudjehane


“อุกกาบาต (Meteorite)” คือเศษชิ้นส่วนของวัตถุท้องฟ้าอาทิเช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและเศษชิ้นส่วนของดาวเคราะห์บางดวง ที่มีการเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศและตกลงมายังพื้นผิวโลก ซึ่งก้อนอุกกาบาตที่มีการค้นพบนี้มีขนาดและโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดและแหล่งที่มาของวัตถุต้นกำเนิด ปรากฏการณ์การถูกพุ่งชนจากก้อนอุกกาบาตนั้นเกิดขึ้นได้กับดาวเคราะห์ทุกดวงหรือแม้แต่ดวงอาทิตย์เองก็เคยถูกพุ่งชนด้วยดาวหางอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการค้นพบก้อนอุกกาบาตจำนวนมากบนพื้นโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จัดประเภทของก้อนอุกกาบาตออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ อุกกาบาตหิน อุกกาบาตเหล็ก และสุดท้ายคืออุกกาบาตหิน-เหล็ก แต่สิ่งที่ยากกว่าการจัดประเภทของอุกกาบาตก็คือการระบุแหล่งที่มาที่ชัดเจนของอุกกาบาตแต่ละก้อนได้ แหล่งที่มาของอุกกาบาตที่นำมาอ้างอิงกันในปัจจุบันคือ บริเวณแถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ดาวหางที่อยู่บริเวณแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ที่อยู่ขอบนอกของระบบสุริยะหรือบางทีอาจจะเป็นเศษชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ด้วยกันเองเช่นเดียวกับก้อนอุกกาบาตที่มีชื่อว่าอุกกาบาตทิสซินส์ (Tissint)

อุกกาบาตทิสซินส์ (Tissint) เป็นอุกกาบาตหินที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา บริเวณประเทศโมร็อกโก (Morocco) อุกกาบาตหินก้อนนี้เป็นชิ้นส่วนที่มาจากดาวอังคารซึ่งเป็นดาวเคราะห์หินเพื่อนบ้านของเรา

อุกกาบาตทิสซินส์ เป็นหนึ่งในจำนวนของอุกกาบาตทั้งหมดที่ถูกค้นพบมีจำนวนประมาณ 100 ก้อน ซ่ึงมีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ นิยามของคำว่าสมบูรณ์ในที่นี้คืออุกกาบาตถูกปนเปื้อนและถูกทำลายโดยกระบวนการทางธรณีบนโลกน้อยมาก เนื่องจากอุกกาบาตเหล่านี้ถูกเก็บกู้ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว นับจากวันที่ตกลงมาใช้เวลาแค่เพียงประมาณ 2 เดือน นักล่าอุกกาบาตก็สามารถเก็บกู้อุกกาบาตได้เกือบทั้งหมดและอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือบริเวณที่มีการค้นพบอุกกาบาตครั้งนี้เป็นทะเลทรายซึ่งมีความแห้งแล้งดังนั้นโอกาสที่หินอุกกาบาตจะถูกปนเป้ือนโดยน้ำหรือความชื้นบนโลกจึงมีน้อยมาก

ทีมงานนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮัสซันส์ 2 เมืองคาซาบลังกา ของประเทศโมร็อกโก (Hassan II University of Casablanca, Morocco) ได้นำอุกกาบาตดังกล่าวเข้าไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบภายในล่าสุดก็ได้มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาสมบัติทางเคมีพบว่าหินอุกกาบาตทิสซินส์ก้อนนี้มีความพิเศษกว่าอุกกาบาตก้อนอื่นๆ โดยอุกกาบาตก้อนนี้มีลักษณะคล้ายกับหินบะซอลต์ (Basalt) ที่พบบนพื้นโลกบริเวณที่เป็นเขตการระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งมีก้อนแร่โอลีวีน (Olivine) เป็นส่วนประกอบหินและแร่ในลักษณะนี้เป็นหินที่เกิดขึ้นจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของหินหลอมเหลวร้อนลาวา) ที่ประทุขึ้นมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าหินอุกกาบาตก้อนนี้น่าจะเป็นเศษชิ้นส่วนของหินภูเขาไฟก้อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟบนดาวอังคารเมื่อประมาณ 700,000 ปีก่อน แต่ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือหินอุกก าบาตก้อนนี้มีลักษณะที่บ่งบอกว่ามันถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการทางธรณีวิทยาซึ่งถูกเปลี่ยนแปลงโดยน้ำ แต่องค์ประกอบของน้ำบนดาวอังคารนั้นจะมีความเป็นกรดสูงมากซึ่งแตกต่างจากน้ำบนโลก


ภาพตัดขวางของก้อนอุกกาบาตทิสซินส์ (Tissint) ชี้ให้เห็นลัษณะทางกายภาพและสมบัติทางเคมี จากภาพพื้นที่ส่วนที่เป็นสีเขียวคือส่วนที่เป็นแร่โอลีวีน (Olivine) ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะคล้ายคลึงกับหินอัคนีที่ชื่อว่าหินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหลอมเหลว (ลาวา) อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับหินบะซอลต์ที่พบบริเวณเกาะฮาวาย ซึ่งเป็นบริเวณที่เคยเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ
ภาพโดย : หน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา (Science / AAAS)


จากการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าดาวอังคารเคยมีน้ำอยู่จริงเพียงแต่ยังไม่ทราบว่าทำไมมันจึงมีความเป็นกรดสูงกว่าน้ำปกติ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของยานสำรวจดาวอังคารที่มีความสามารถและประสิทธิภาพรวมถึงเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยมากอย่าง “ยานคิวริออสซิตี้ (Curiosity)” จะช่วยให้เราสามารถสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับดาวอังคารซึ่งเป็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเราได้มากขึ้น ได้แก่ โครงสร้างทางธรณีวิทยาของดาวอังคาร สภาพอากาศของดาวอังคารทั้งในอดีตและปัจุบัน รวมถึงเป็นการสร้างฐานข้อมูลเพื่อที่จะเป็นเหตุผลในการส่งมนุษย์ไปทำการสำรวจดาวอังคารเป็นต้น



ที่มา
//www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=504:tissint&catid=1:astronomy-news&Itemid=4


Create Date : 26 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2555 21:00:10 น. 0 comments
Counter : 1790 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.