ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
8 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ทองแดง (copper) ต่อร่างกาย

ทองแดง (copper)

เป็นสารอาหารที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากเป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายตัวในร่างกาย เช่น การสร้างพลัง งานให้แก่ร่างกาย การกำจัดอนุมูลอิสระ การสร้างความยืดหยุ่นกับผิวหนัง (Collagen และ Elastin) การสร้างสีผิวให้คล้ำเพื่อป้องกันแสง แดด การสร้างสีตา และสีผม เป็นต้น ร่างกายคนมีทองแดงประมาณ 75-150 มิลลิกรัม ทองแดงส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจ และไต ส่วนน้อยอยู่ในม้ามและไขกระดูก ถึงแม้ทองแดงจะไม่ใช่ส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแต่ก็เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยาเคมี (Catalyst) ในการสร้างฮีโมโกลบิน ดังนั้น จึงถือ ว่าเป็นสารจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นเดียวกับเหล็ก นอกจากนี้มีผู้พบว่าทองแดงช่วยให้เหล็กดูดซึม ดีขึ้น เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจหรือปฏิกิริยาการใช้ ออกซิเจนในร่างกาย เช่น Cytochrome oxidase, Ascosbic acid oxidase และอื่น ๆ แหล่งอาหาร อาหารที่มีเหล็กพอจะมีทองแดงเพียงพอ ในวันหนึ่ง ๆ เรากินอาหารมีทองแดงประมาณคนละ 2-5 มิลลิกรัม แหล่งอาหารที่มีทอง แดงมากที่สุดคือหอยนางรมและหอยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบใน nuts เมล็ดข้าวและเมล็ดพืชต่าง ๆ ปลา เนื้อสัตว์ ผลไม้ ผักต่างๆ ในเมล็ดข้าว จะพบในส่วนของรำข้าว และจมูกข้าว ดังนั้นการขัดสีข้าวจึงเป็นการกำจัดทองแดงออกไปเช่นกัน รวมทั้งนมมารดาที่มีทองแดงสูงกว่านมวัว เหล็ก และสังกะสีที่บริโภคมากเกินไปยับยั้งการดูดซึมทองแดงได้ การขาดทองแดง ก่อให้เกิดภาวะซีดจากโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวมีมากเม็ดเลือดแดงลดลง โคลเรสเตอรอลในเลือดสูงและการเต้นของ หัวใจผิดปกติ การเป็นพิษจากการบริโภคเกินความต้องการของร่างกายยังไม่พบ

ข้อมูลทั่วไป
o ทองแดงจัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ส่วนน้อย และร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่จะพบตามเนื้อหนังทุกแห่งร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญจะขาดเสียไม่ได้ และมีความสัมพันธ์กับเหล็กในร่างกายเป็นอย่างมาก นอกจากจะพบทองแดงตามเนื้อหนังทั่วร่างกายแล้ว จะพบว่ามีความหนาแน่นมากที่ ตับ ไต หัวใจ สมอง ในกระดูก และกล้ามเนื้อซึ่งมีความหนาแน่นรองลงมา แต่เพราะว่ามันเป็นก้อนจึงพบทองแดงมากถึง 50 % ของทองแดงทั้งหมดที่มีในร่างกาย



ประโยชน์ต่อร่างกาย
o มีความสำคัญต่อเมแทบอลิซึมของเหล็ก โดยที่ทองแดงในพลาสมาที่อยู่ในรูปของ เซรูโรพลาสมิน ( ceruloplasmin ) จะเปลี่ยนเหล็กจาก เหล็กเฟอรัสไปเป็นเหล็กเฟอริค แล้วเหล็กเฟอริคจะรวมตัวกับอะโพทรานส์เฟอริน( apotransferrin ) กลายเป็น ทรานส์เฟอร์ริน( transferrin ) ซึ่งทำหน้าที่ขนถ่ายเหล็กในร่างกาย
o เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยไทโรซีเนส ( tyrosinase ) ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง ไทโรซีน ไปเป็นเมลานิน( melanin ) ซึ่งเป็นสีคล้ำของผมและผิวคน เป็นส่วนประกอบในน้ำย่อยไซโตโครม ซี ออกซิเดส ( cytochrome c oxidase ) น้ำย่อยแคแทเลส ( catalase ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และการปล่อยพลังงานในเซลล์
o ทองแดงเป็นสิ่งจำเป็นในการเผาผลาญโปรตีนและผลิต RNA ( RIBONUCLEIC ACID ) ซึ่งควบคุมการสร้างเซลล์ต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปรกติและถูกต้อง และมีความสำคัญเกี่ยวกับระบบโตรงสร้างเนื้อเยื่อ รวมทั้งการผลิต ฟอสโฟไลปิด ( PHOSPHOLIPID ) เป็นสารสำคัญในการสร้างแผ่นหุ้มรอบเส้นประสาท
o ช่วยในการใช้กรดอะมิโน และไทโรซีน ( โปรตีน ) ให้มีประสิทธิผล และช่วยในการเกิดสีของผม และสีของผิวหนัง
o ทอง แดงและวิตามินซีจะร่วมกันในการสร้าง คอลลาเจน และอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนังและทำให้ผิว หนังเกิดความยืดหยุ่น
o ช่วยในขบวนการสร้างเนื้อหนังขึ้นใหม่ในรายที่เป็นแผล
o ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบิน และเม็ดโลหิตแดง
o เป็นตัวสำคัญในการสร้างกระดูกให้เป็นไปตามปรกติ และรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์



แหล่งที่พบ
o แหล่ง ที่ดีที่สุด คือ ตับ หอยนางรม อาหารทะเล และผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดพืช ถั่วที่ยังไม่ขัดสี นอกจากนี้ได้แก่ ผลไม้แห้ง มะม่วง ลูกพรุน กล้วย เห็ด มันแกว หัวบีท นม เนื้อวัว ไข่ มันฮ่อ เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วอัลมอนด์ บริวเวอร์ยีสต์ เลซิติน โมลาส ( MOLASSES )หรือน้ำเหลืองอ้อย น้ำดื่ม ผักใบเขียว และผลไม้สด โดยเฉพาะปลูกที่ๆ ดินซึ่งมีเกลือแร่ทองแดงอุดม



ปริมาณที่แนะนำ
o ความต้องการของร่างกายต่อวัน
ทารก
3 - 5 เดือน 0.5 - 0.7 มิลลิกรัม
6 - 11 เดือน 07 -1.0 มิลลิกรัม
เด็ก
1 - 6 ปี 1.0 - 2.0 มิลลิกรัม
7 - 9 ปี 2.0 -2.5 มิลลิกรัม

ผู้ที่อายุ 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ 2.0 - 3.0 มิลลิกรัม


ผลของการขาด
o ไม่ ค่อยพบ ถ้าพบมักพบในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 1500 กรัม และเลี้ยงด้วยนมวัวอย่างเดียว อาการที่พบคือ ระดับทองแดงในเลือดต่ำ ( hypocupremia ) ควบคู่ไปกับโลหิตจาง เนื่องจากขาดเหล็ก ( iron-deficiency anemia ) ผมมีลักษณะแข็งและขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจาง บวมน้ำ อาการของการขาดจะรวมทั้ง การอ่อนเพลีย การหายใจผิดปรกติเป็นแผลที่ผิวหนัง เนื่องจากมีความผิดปรกติในการสร้างเนื้อเยื่อตามผิวหนัง มีการสลายตัวของกระดูกและความเสื่อมโทรมของระบบประสาทควบคุม


ผลของการได้รับมากไป
o ไม่ ค่อยพบ เนื่องจากการดูดซึมและการเก็บของทองแดงในร่างกายน้อยมาก ในขณะที่ส่วนใหญ่ถูกขับออกจากร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามพิษของการมีทองแดงอยู่มาก ก็อาจปรากฏขึ้นได้ถ้าบริโภคมากกว่า 30 เท่าของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคเป็นระยะเวลานานและอาจพบได้ในโรค wilson s disease ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมซึ่งไม่ค่อยพบบ่อยนัก เนื่องจากความผิดปรกติของทองแดงเมแทบอลิซึมทำให้มีปริมาณของทองแดงอยู่ใน ตับ สมอง และกระจกตามาก ซึ่งอาจวิเคราะห์ได้จากการมองเห็นเป็นวงแหวนสีน้ำตาล หรือเขียวที่กระจกตา สมองโตเป็นแผล ตับโต ทรงตัวไม่ได้ ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ การควบคุมโรคก็โดยการลดอาหารทองแดงหรืออาจใช้พวกแพนนิซิลามีน( penicillamine ) ช่วยขับถ่ายทองแดงออกไป


ข้อมูลอื่นๆ
o การดูดซึม
+ ประมาณ ร้อยละ 30 ของทองแดงที่บริโภคจะถูกใช้ภายในร่างกาย การดูดซึมจะเกิดขึ้นบริเวณกระเพราะและลำไส้เล็กตอนต้น ทองแดงจะเคลื่อนจากลำไส้ลงสู่กระแสโลหิตหลังจากที่ย่อยแล้ว 15 นาที ทองแดงที่บริโภคส่วนมากถูกขับออกทางอุจจาระและน้ำดี มีส่วนน้อยที่ขับออกทางปัสสาวะ การกินอาหารที่มีธาตุโมลิบดีนัม ( Mo ) สังกะสี ( Zn ) และแคดเมียม ( Cd ) ในปริมาณที่สูงจะทำให้ความต้องการทองแดงมากขึ้น เพราะธาตุเหล่านี้เป็นสารต้านฤทธิ์ทองแดงในร่างกาย นอกจากนี้การได้รับวิตามินซีสูงจะทำให้การดูดซึมทองแดงลดลง และทำให้ระดับเซรูโรพลาสมินในพลาสมาลดลงด้วย ทองแดงจะถูกเก็บไว้ในเนื้อเยื่อและสะสมไว้มากในตับ ไต หัวใจ และสมอง
o อาหารหรือสารที่เสริมฤทธิ์
+ โคบอลต์ (COBALT ) เหล็ก ( IRON ) สังกะสี ( ZINC ) วิตามินซี ( VITAMIN C)
o อาหารหรือสารที่ต้านฤทธิ์
+ ยัง ไม่มีหลักฐาน แต่ยาคุมกำเนิดทำให้ทองแดงในเลือดสูงกว่าปรกติยังผลให้เกิดอาการผิดปรกติทาง ร่างกายและจิตใจ ความดันสูง โรคหัวใจวาย บุหรี่ ก็เช่นกัน เป็นสารต้านฤทธิ์ทองแดงทั้งสิ้น การเสื่อมสลาย
o การประเมิน
+ ปริมาณ ทองแดงในพลาสมาหรือซีรัม ที่ใช้เป็นดัชนีชี้บ่งทางโภชนาการของทองแดงอาจจะเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ไม่ดีของ ปริมาณทองแดงที่อยู่ในระดับก้ำกึ่งหรือเกือบจะขาดในระยะสั้นแต่จะเป็นดัชนี บ่งชี้ของการขาดทองแดงที่สะสมไว้ในระดับรุนแรง ในระดับที่ปรกติปริมาณทองแดงในพลาสมาจะถูกควบคุมให้อยู่ในภาวะที่สมดุลโดย กลไกที่แข็งขัน ปริมาณทองแดงในกระแสเลือดมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยทางโภชนาการของ ทองแดง เช่น ปริมาณฮอร์โมน estrogen ยาคุมกำเนิดจะเพิ่มระดับทองแดงในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ใช้ estrogen จะเพิ่มปริมาณสูงเช่นเดียวกัน ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ระดับทองแดงในพลาสมาสูงขึ้น เช่น การติดเชื้อ การอักเสบ และภาวะการตั้งครรภ์ เป็นต้น วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณทองดแงในซีรัมหรือพลาสมา คือ Atomic absorption spectrophotometry ( AAS ) อาจจะใช้ flame AAS หรือ graphite furnace AAS
+ วัดปริมาณ ceruloplasmin ในเลือด ประมาณ 60-72% ของปริมาณทองแดงในพลาสมา จะรวมกันอยู่กับ ceruloplsmin ceruloplasmin เป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติเป็น acute phase reactant จะเพิ่มระดับขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการติดเชื้อหรืออักเสบ และจะลดระดับลงในโรคขาดสารอาหาร โรคไต โรค Wilson disease และโรคตับอักเสบ การทำงานของ ceruloplasmin จะลดลงเมื่อมีการขาดทองแดงการวัดปริมาณ ceruloplasmin ทำได้โดยการวัด oxidative activity วัดความขุ่นของโปรตีนโดยใช้เครื่องมือ nephelometry หรือวัดโดยใช้ partigen plate หรือ radial immunodiffusion หรือใช้วิธี rocket immuno-electrophoresis หรือใช้วิธีการวัดปฏิกิริยา oxidase activity ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการขาดทองแดงปริมาณ ceruloplasmin หรือ apoceruloplasmin ซึ่งเป็น inactive form ของ ceruloplasmin จะลดระดับลง ปัจจุบันนี้ ceruloplasmin ในพลาสมา จะเป็นดัชนีบ่งชี้ของภาวะทองแดงที่เชื่อถือได้และใช้กันมากที่สุด ceruloplasmin จะไม่มีความไวต่อภาวะการขาดทองแดงที่อยู่ในระดับก้ำกึ่ง ( marginal ) แต่จะสะท้อนให้เห็นถึงภาวะการขาดที่รุนแรง
+ วัดระดับ enzyme superoxide dismutase SOD ในเม็ดเลือดแดง ในกรณีที่มีการขาดทองแดง ระดับ enzyme จะลดลง ปัจจัยที่เกี่ยวกับอายุ เพศ และฮอร์โมนที่ใช้ไม่มีความสัมพันธ์กับ enzyme SOD ซึ่งตรงกันข้ามกับระดับทองแดง หรือ ceruloplasmin ในพลาสมาที่เปลี่ยนแปลงได้ตามอายุ เพศ และฮอร์โมนที่ใช้ ในนักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ ระดับenzyme SOD จะเพิ่มขึ้น โดยการวัดระดับ enzyme SOD ทำได้โดยการวัด activity โดยทางอ้อม ( indirect measurement of activity ) วิธีการที่ใช้วัดยังไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน มีการรบกวนจากสารอื่นๆ ที่รวมอยู่ในปฏิกิริยา จึงยังต้องมีการปรับปรุงวิธีการในขั้นต่อไป
+ ส่วนวิธีการอื่นๆ ที่ใช้ประเมินภาวะทองแดง อาจจะใช้วิธีการวัดระดับ enzyme cytochrome c oxidase ในเนื้อเยื่อ หรือเม็ดเลือดโดยใช้ spectrophotometric analysis เนื่องจากความไม่อยู่ตัวของ enzyme cytochome c oxidase ทำให้ผลการวิเคราะห์เปลี่ยนแปลงไปด้วย และมีค่าความแตกต่างระหว่างบุคคลมาก จากปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ทำให้มีข้อจำกัดในการนำวิธีการนี้ไปใช้ประโยชน์ โดยสรุปแล้วยังไม่มีดัชนีบ่งชี้ทางชีวเคมีในการประเมินภาวะการขาดทองแดงใน ระดับก้ำกึ่ง ( marginal) ที่ใช้ได้ผลดี การวัดการทำงานของ enzyme ต่างๆ ในเม็ดเลือดแดงจะสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณทองแดงที่พร้อมจะทำปฏิกิริยา และปริมาณทองแดงที่เก็บสะสมไว้ได้ดีกว่าการใช้ปริมาณทองแดงในพลาสมา หรือ ceruloplasmin


ที่มา
//www.nutritionthailand.com/nutrition/miniral/350-copper


Create Date : 08 มิถุนายน 2553
Last Update : 8 มิถุนายน 2553 11:35:57 น. 0 comments
Counter : 7493 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.