ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
16 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
เดินทางมา 33 ปี “วอยเอเจอร์ 1” ส่งสัญญาณใกล้แตะขอบระบบสุริยะเป็นครั้งแรก

เดินทางมา 33 ปี “วอยเอเจอร์ 1” ส่งสัญญาณใกล้แตะขอบระบบสุริยะเป็นครั้งแรก


ภาพวาดแสดงการเดินทางของวอยเอเจอร์ซึ่งส่งสัญญาณมาล่าสุดว่าพ้นขอบเขตฟองอนุภาคที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์แล้ว และกำลังมุ่งหน้าสู่อวกาศระหว่างดวงดาว เป็นการเดินทางออกจากสุริยมณฑลครั้งแรกที่กำลังจะเกิดขึ้น (บีบีซีนิวส์)


วอยเอเจอร์ 1 มาถึงจุดที่จะก้าวพ้นขอบสุริยะ หลังตรวจพบสัญญาณความเร็วการเคลื่อนที่ของลมสุริยะเหลือศูนย์ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของระบบสุริยะ คาดยานสำรวจอายุ 33 ปี จะเข้าสู่อวกาศด้านนอกในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

วอยเอเจอร์ 1 (Voyager 1) เข้าสู่หลักไมล์ใหม่ ในเส้นทางสำรวจของตัวเอง และกำลังจะก้าวพ้นระบบสุริยะของเราออกไปในไม่ช้า ซึ่งตอนนี้ยานอยู่ห่างจากโลกออกไป 1.74 หมื่นล้านกิโลเมตร โดยบีบีซีนิวส์ระบุว่า ยานที่ผ่านประสบการณ์เดินทางมาอย่างโชกโชนได้ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนของกระแสอนุภาคที่อยู่รอบๆ ยาน

อนุภาคที่ฟุ้งกระจายออกมาจากดวงอาทิตย์เหล่านี้ ไม่ได้ฟุ้งกระจายออกไปข้างนอก แต่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างๆ ซึ่งหมายความว่ายานวอยเอเจอร์ใกล้จะเข้าสู่อวกาศระหว่างดวงดาว (interstellar space) แล้ว

ดร.เอ็ดเวิร์ดส สโตน (Edward Stone) นักวิทยาศาสตร์โครงการวอยเอเจอร์ ชื่นชมยานสำรวจอวกาศและข้อมูลวิทยาศาสตร์อันน่าเย้ายวนที่ยานส่งกลับตลอด 33 ปี นับแต่ส่งยานขึ้นไป ซึ่งเมื่อครั้งนั้น "ยุคอวกาศ" (space age) เพิ่งเริ่มต้นได้เพียง 20 ปีเท่านั้น จึงยังไม่มีใครทราบว่า ยานอวกาศจะคงอยู่ได้นานขนาดนี้

“เราไม่รู้เลยว่า เราจะต้องเดินทางไกลแค่ไหนเพื่อจะพ้นจากระบบสุริยะ ตอนนี้เรารู้แล้วล่ะว่าในอีกราวๆ 5 ปี เราจะได้ออกไปข้างนอกเป็นครั้งแรก” ดร.สโตนกล่าวภายในงานประชุมวิชาการสหภาพธรณีฟิสิกส์อเมริกันประจำฤดูใบไม้ร่วง (American Geophysical Union (AGU) Fall Meeting) ซึ่งเป็นงานที่รวมนักธรณีวิทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

วอยเอเจอร์ 1 ถูกส่งขึ้นไปเมื่อ 5 ก.ย. ปี ค.ศ.1977 และยานผู้น้องวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) ถูกส่งตามขึ้นไปหลังจากนั้นไม่มีกี่เดือนคือในวันที่ 20 ส.ค. ซึ่งยานสำรวจขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) มีเป้าหมายเบื้องต้นคือการสำรวจดาวเคราะห์วงนอก ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ยูเรนัสและเนปจูน โดยภารกิจดังกล่าวสำเร็จเมื่อปี ค.ศ.1989

จากนั้นยานทั้งสอง ได้ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลและข่าวสารจากการมุ่งหน้าสู่อวกาศห้วงลึกและทิศทางสู่ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือก ความคงทนของชุดพลังงานกัมมันตภาพรังสีทำให้อุปกร์ณต่างๆ ของยานทั้งคู่ยังคงทำงานได้ดีอยู่ และยังคงส่งข้อมูลกลับมายังโลก แม้ว่าด้วยระยะทางที่ไกลมาระหว่างโลกและยานอวกาศจะทำให้ข้อความจากสัญญาณวิทยุที่ส่งมาต้องใช้เวลานานถึง 16 ชั่วโมง

รายงานการสำรวจล่าสุดมาจากเครื่องมือตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ (Low-Energy Charged Particle Instrument) ของยานวอยเอเจอร์ 1 ซึ่งทำหน้าที่จับตาความเร็วลมสุริยะ ซึ่งกระแสของอนุภาคมีประจุนี้ก่อตัวเป็นเหมือนฟองอากาศรอบๆ ระบบสุริยะ ที่รู้จักกันในชื่อ “สุริยมณฑล” (heliosphere) โดยลมสุริยะดังกล่าวเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับเสียงซูเปอร์โซนิกจนกระทั่งข้ามผ่านคลื่นกระแทกที่เรียกว่า “กำแพงกระแทก” (termination shock)

ณ จุดนี้เมื่อถึงบริเวณที่เรียกว่า “ฝักสุริยะ” (heliosheath) ลมสุริยะจะลดความเร็วลงอย่างมากและร้อนขึ้น โดยยานวอยเอเจอร์ประเมินว่าความเร็วของลมสุริยะ ณ จุดที่ยานอยู่นั้นช้าลงเหลือศูนย์

“เราได้มาถึงจุดที่ลมจากดวงอาทิตย์ซึ่งปกติจะเคลื่อนออกไปข้างนอกอยู่ตลอดไม่เคลื่อนออกไปข้างนอกแล้ว แต่มีเพียงการเคลื่อนไหวข้างๆ ซึ่งท้ายสุดจะรวมเป็นหางของสุริยมณฑล ที่มีรูปร่างคล้ายดาวหาง” ดร.สโตน ซึ่งประจำอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียในพาซาเดนา (California Institute of Technology in Pasadena) แคลิฟอร์เนียอธิบาย

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นผลจากลมต้านสสารที่มาจากดาวอื่น ซึ่งขอบเขตระหว่างลมทั้งสองทิศทางนั้นถือเป็น “ขอบอย่างเป็นทางการ” ของระบบสุริยะหรือ “ขอบสุริยะ” (heliopause) เมื่อวอยเอเจอร์ผ่านจุดดังกล่าวไปแล้ว ตำแหน่งของยานก็จะอยู่ในอวกาศระหว่างดวงดาว

สัญญาณแรกที่บ่งชี้ว่าวอยเอเจอร์ได้ก้าวสู่หลักไมล์สำคัญมาถึงโลกเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และข้อมูลต่อมาอีกหลายเดือนยืนยันชัดเจนถึงสิ่งที่วอยเอเจอร์ได้สำรวจพบ ซึ่งสัญญาณความเร็วเหลือศูนย์ของอนุภาคจากดวงอาทิตย์นั้นทำให้ ร็อบ เด็คเกอร์ (Rob Decker) ผู้สังเกตการณ์ร่วมในเครื่องมือตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ จากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์นสฮอพกินส์ (Johns Hopkins University) ในลอเรล แมรีแลนด์ รู้สึกอึ้ง

“วอยเอเจอร์ที่ทำหน้าที่เป็นม้างานมานาน 33 ปี ได้แสดงให้เราได้เห็นถึงการค้นพบใหม่ๆ อีกครั้ง” เด็คเกอร์กล่าว

ตอนนี้วอยเอเจอร์กำลังซิ่งออกจากขอบอวกาศด้วยความเร็ว 17 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่ง ดร.สโนคาดการณ์ว่า การข้ามผ่านขอบอวกาศจะเกิดขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000175826


Create Date : 16 ธันวาคม 2553
Last Update : 16 ธันวาคม 2553 10:07:55 น. 2 comments
Counter : 1210 Pageviews.

 
มันจะโดนมนุษย์ต่างดาวจับตัวไปแล้วส่งกลับมาหาผู้สร้างของมันหรือเปล่า


โดย: axquest IP: 58.8.54.207 วันที่: 16 ธันวาคม 2553 เวลา:13:11:16 น.  

 
at : axquest

มันจะโดนมนุษย์ต่างดาวจับตัวไปแล้วส่งกลับมาหาผู้สร้างของมันหรือเปล่า



: intresting quetion :D but i dont think they will send it back, i think they will keep it and study our technology :)


โดย: Expert IP: 193.47.167.190 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:19:51:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.