ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
8 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 

เตรียมชม! มหัศจรรย์ฝนดาวตก ลีโอนิดส์ และเจมินิดส์ ส่งท้ายปี 55



เตรียมชม! มหัศจรรย์ฝนดาวตก ลีโอนิดส์ และเจมินิดส์ ส่งท้ายปี 55

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชวนคนไทยชมความสวยงามของฝนดาวตกลีโอนิดส์ ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน และ ฝนดาวตกเจมินิดส์ ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม ในช่วงส่งท้ายปี 2555 นี้

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ช่วงปลายปีจะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกที่น่าติดตาม 2 ครั้ง ได้แก่ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ซึ่งจะเกิดขึ้นมากที่สุดในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2555 สามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องไปจนถึงเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน ช่วงเวลาที่คาดการณ์ว่าสามารถเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์มากที่สุด คือเวลา เที่ยงคืนถึง 05:00 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณใกล้กับกลุ่มดาวสิงโตซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกลีโอนิดส์

ในปีนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะได้ชมฝนดาวตกลีโอนิดส์กันอย่างจุใจ เนื่องจากเป็นช่วงดวงจันทร์ข้างขึ้น 4 ค่ำ หลังเที่ยงคืนเมื่อดวงจันทร์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ท้องฟ้าจะมืดสนิท เหมาะในการชมฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจจะเห็นดาวตกมากถึง 15 ดวงต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหาง ตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ทำให้ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า "ราชาแห่งฝนดาวตก"

สำหรับข้อแนะนำการชมฝนดาวตกนั้น ควรเป็นสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน จะสังเกตเห็นดาวตกมีความสว่างมาก ทั้งนี้ วิธีการชมฝนดาวตกให้สบายที่สุด ให้นอนรอชมเนื่องจากช่วงที่เกิดฝนดาวตกจุดศูนย์กลางจะอยู่เหนือท้องฟ้ากลาง ศีรษะพอดี อย่างไรก็ตาม สำหรับปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์นั้น เคยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2541 และคาดว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในอีก 19 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2574

นอกจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่จะได้ชมกันในเดือนพฤศจิกายนแล้ว ในเดือนธันวาคมยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์หรือฝนดาวตกคนคู่ที่จะเกิดขึ้นมากที่ สุดในวันที่ 13-14 ธันวาคม ปีนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะได้ชมความสวยงามของฝนดาวตกเจมินิดส์ เนื่องจากเป็นช่วงคืนเดือนมืด ข้างแรม 15 ค่ำ ไม่มีแสงจากดวงจันทร์มารบกวน นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า จะสามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกเจมินิดส์ได้มากกว่า 120 ดวงต่อชั่วโมง และสังเกตได้ง่ายกว่าฝนดาวตก ลีโอนิดส์ เนื่องจากมีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประมาณ 35 กิโลเมตรต่อวินาที

โดย ดร.ศรัณย์ ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมบริการวิชาการด้านดาราศาสตร์แก่ประชาชนว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมชวนคนไทยร่วมสังเกตการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ และฝนดาวตกเจมินิดส์ โดยมีชื่อกิจกรรมว่า "เปิดฟ้า..ตามหาดาว" บริเวณยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะในการชมฝนดาวตก เพราะเป็นดอยสูง ปราศจากแสงเมืองรบกวน โดยมีการตั้งกล้องโทรทรรศน์เพื่อสังเกตวัตถุบนท้องฟ้าอื่น ๆ พร้อมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดูดาว กิจกรรมทางดาราศาสตร์ และนำเยี่ยมชมหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ที่กำลังจะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2556 นี้ด้วย

สำหรับ ฝนดาวตก คือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการที่ดาวตกหลายดวงมีลักษณะเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้าในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งฝนดาวตกเหล่านี้เกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง โดยในแต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกันเมื่อใด จะทำให้โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกัน และการที่ธารสะเก็ดดาวเคลื่อนที่ขนานกัน โดยมีอัตราความเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็น จึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.narit.or.th หรือ เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 053-
225569 ต่อ 305



ที่มา
//hilight.kapook.com/view/78171




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2555
0 comments
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2555 7:13:55 น.
Counter : 2228 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.