ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
4 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

หลงคิดว่าหนาแน่นจนแสงลอดไม่ผ่านที่แท้คือ “รูโหว่” ในอวกาศ

หลงคิดว่าหนาแน่นจนแสงลอดไม่ผ่านที่แท้คือ “รูโหว่” ในอวกาศ

ภาพกลุ่มก๊าซและฝุ่นของเนบิวลา เอ็นจีซี 1999 (NGC 1999) โดยในภาพจะเห็นดาวอายุน้อยที่สว่างสดใสชื่อว่า "วี 380 โอไรออนิส" (V380 Orionis) - ภาพนาซา/กลุ่มฮับเบิลเฮอริเทจ/นิวไซแอนทิสต์

ถ้าใครเคยอ่านหรือติดตามเรื่องเนบิวลาคงจะได้รับข้อมูลว่า สีดำที่ปรากฏในเนบิวลานั้นเป็นกลุ่มแก๊สที่หนาแน่นมากจนแสงผ่านมาไม่ได้ บัดนี้ความเข้าใจนั้นได้ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

“เฮอร์เชล” กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดของอีซา เผยให้เห็นบริเวณที่ดูคล้ายจะเป็นจุดที่หนาแน่นจนแสงลอดออกไม่ได้ ของเนบิวลาที่มีดาวเกิดใหม่ แท้จริงแล้วเป็นบริเวณที่เป็นรูโหว่ที่ไม่เคยพบมาก่อน คาดช่วยให้เข้าใจกระบวนการเกิดของดวงดาว

เราอาจศึกษารายละเอียดกำเนิดดวงดาวอย่างที่ไม่เคยศึกษาได้มาก่อน ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศอินฟราเรดเฮอร์เชล (Herschel infrared space telescope) ขององค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ซึ่งเผยให้เห็นรูโหว่ในอวกาศบริเวณเนบิวลาซึ่งเข้าใจว่าเป็นบริเวณที่หนาแน่นจนไม่อาจปลดปล่อยแสงออกมาได้

แม้ว่าเราจะพบกระแสก๊าซพวยพุ่ง และพัดพาออกมาจากดาวอายุน้อยในอดีต แต่ยังคงเป็นเรื่องลึกลับอยู่ตลอดว่าดวงดาวใช้ก๊าซเหล่านี้พ่นไปรอบๆ และยังอุบัติขึ้นจากเมฆฝุ่นก๊าซเหล่านั้นได้อย่างไร ทั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราอาจจะได้เห็นขั้นตอนที่ไม่เคยเห็นมาก่อนของกระบวนการนี้โดยอาศัยกล้องเฮอร์เชลที่ออกมาเพื่อส่องเข้าไปยังบริเวณที่มืดทึบ

เนบิวลา “เอ็นจีซี1999” (NGC1999) เป็นกลุ่มเมฆของก๊าซซึ่งสะท้อนแสงสว่างสดใสที่นักดาราศาสตร์รู้จัก และเป็นเนบิวลาที่อยู่ติดกับรอยประสีดำบนท้องฟ้า โดยเกือบตลอดศตวรรษที่ 20 เรารู้จักรอยประดังกล่าวว่าเป็นเมฆฝุ่นและก๊าซที่หนาแน่นมากจนกั้นแสงไม่ให้ผ่านมาออกมาได้ แต่บริเวณดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งบริเวณที่มีความหนาแน่นมากหรืออาจจะไม่ใช่เลยก็ได้ ซึ่งเฮอร์เชลพบว่าบริเวณดังกล่าวไม่ใช่บริเวณที่หนาแน่น

จากการสังเกตการณ์ด้วยโทรทรรศน์บนโลกนั้น นักดาราศาสตร์ได้เห็นสิ่งคล้ายๆ กัน ซึ่งพวกเขาไม่ได้สังเกตบริเวณดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีก๊าซหนาแน่นแต่เพราะเป็นบริเวณที่ว่างเปล่าจริงๆ และมีบางสิ่งได้เป่าเมฆหมอกให้เกิดเป็นรูลักษณะดังกล่าว

“ไม่เคยมีใครเห็นรูเช่นนี้มาก่อน มันประหลาดพอๆ กับคุณรู้ว่ามีรูหนอนอยู่ในสนามหญ้าของคุณ แต่คุณพบว่าวันหนึ่งหนอนพวกนั้นได้ขุดหลุมไว้ใหญ่มาก เป็นหลุมกว้างเลย” ทอม เมเกธ (Tom Megeath) จากมหาวิทยาลัยโทเลโด (University of Toledo) ให้ความเห็น

นักดาราศาสตร์คิดว่ารูดังกล่าว ต้องเปิดขึ้นเมื่อกระแสก๊าซเป็นลำแคบๆ พวยพุ่งออกจากดาวอายุน้อยในบริเวณ ที่เจาะแผ่นฝุ่นและก๊าซ ซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นเนบิวลา เอ็นจีซี1999 นอกจากนี้การแผ่รังสีที่แรงกล้าจากดาวอายุมากอาจเป็นอีกแรงที่ทำให้เกิดรูดังกล่าวขึ้น ไม่ว่าอะไรจะเป็นเหตุการณ์ที่แท้จริงล้วนเป็นสัญญาณสำคัญต่อควมเข้าใจวิถีทางที่ดาวเกิดใหม่ขับไล่เมฆฝุ่นที่เป็นแหล่งกำเนิดได้.


ที่มา
ผู้จัดการออนไลน์




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 4 มิถุนายน 2553 11:26:47 น.
Counter : 1479 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.