ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

เชิดจีน...อาชาไนย...ม้าในจิตรกรรมจีน









ว่าพลางทางจูง...........สีหมอกม้า
เบาะอานพานหน้า.........ดูงามสม
ดังจะปลิวลิ่วลอย........ไปตามลม
อย่าปรารมภ์เลยนะเจ้า.....มาขี่ม้า

ปลอบพลางทางค่อย..กระซิบบอก
ม้าสีหมอกตัวนี้.................มีสง่า
เนื้ออ่อนงอนง้อ..............ขอสมา
อย่าให้พี่สีหมอกม้า....กระเดื่องใจ

วันทองสองมือ............ประนมมั่น
พรั่นพรั่นกลัวม้า.........ไม่เข้าใกล้
พี่สีหมอกของน้อง.....อย่าจองภัย
จะขอขี่พี่ไป................ทั้งผัวเมีย

ขุนแผนพานาง............มาใกล้ม้า
ลูบหลังอาชา............ให้เชื่องเสีย
หยิบมือลูบม้า..........ว่าปลอบเมีย
ม้าเลียมือหวีด..........ประหวั่นกลัว





ขอเริ่มต้นด้วยยอดวรรณคดีไทย "เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน"
ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี




กลอนบทนี้ได้รับการนำไปเป็นเนื้อร้อง "สุดยอดเพลงไทย(เดิม)" เพลงหนึ่ง คือเพลง "เชิดจีน"


ถือเป็นหนึ่งในTop Five ของเพลงไทยเดิมสุดโปรดของผม


การันตีโดย ผู้แต่งคือครูมีแขก
(มี ดุริยางกูร : บรรพชนของร้านดุริยบรรณ ถนนตะนาว
- ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว)
ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากคุณหลวง เป็นคุณพระ
เพราะท่านครูแต่งเพลงนี้ถวายสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
และทรงโปรดมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ
(คนละคนกับครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ - ศร ศิลปบรรเลง
ที่ประวัติท่านเป็นตำนานในหนังไทยเรื่อง "โหมโรง")
และภายหลังท่านครูหลวงประดิษฐ์ฯ(ศร)
ก็ได้สานต่อ(แต่งเชิดจีนตัวที่ 5) ในปี พศ.2471




เกิดมาเป็นคนไทย เกิดในแผ่นดินไทย



อย่าได้ละเลยที่จะได้ฟังเพลงนี้สักครั้งหนึ่งนะครับ
ชอบ ไม่ชอบ ไม่เป็นไร



เราเป็นคนยุคโลกาภิวัตน์ Go inter

แต่รากเหง้าเราเราก็ต้องรู้จัก ต้องเข้าใจ ต้องรักษา

เพลงชั้นครู ผมก็อยากให้รู้จักมั่ง ชื่นชอบมั่ง...นะนะ นะครับ

ไม่เช่นนั้นเราก็จะรู้จักแต่ ลาวดวงเดือน เขมรไทรโยค

ค้างคาวกินกล้วย กันไม่กี่เพลง





แต่ว่าตอนนี้ ผมก็กำลังดูหนังการ์ตูนร็อคญี่ปุ่น เรื่อง Beck อยู่ครับ
มันซุดหย็อดดด...ขอแนะนำ......แฮ่





ฟังเพลง เชิดจีน ได้ที่....
https://www.youtube.com/watch?v=jtQykjt6KFo






จวนเข้าเรื่องแล้วครับ

เอาม้าสีหมอกของขุนแผนมาเป็น Intro แล้ว

เที่ยวนี้เราจะว่ากันเรื่อง ม้า ครับ






ในรูปเขียนจีน ม้า เป็น subject หนึ่งที่จิตรกรนิยมวาดกันมาก

ความงดงามปราดเปรียว ว่องไว ความใกล้ชิดกับคน

ความรักใคร่ผูกพัน ดังที่ขุนแผนเรียก"พี่"

และคติถือว่าม้าเป็นสัตว์นำโชค

ฯลฯ




น่าจะนับว่าเป็นอะไรที่คนจีนชอบวาดละกัน
นอกจากวาดแล้วยัง แกะสลัก ปั้น หล่อ ปัก
ใช้สาระพัดเท็คนิคและวัสดุสื่อ




รูปม้าโบราณ สมัยพระเจ้าเหา(เก่ามาก)
ปรากฏตามหลุมฝังศพ มีวิวัฒนาการเรื่อยๆมา
จนสมัยปัจจุบัน





มีจิตรกรภาพม้าที่มีชื่อเสียงหลายท่าน
ผมจะค่อยๆแทรกเรื่องราวนิดหน่อยไปตอนที่ถึงชิ้นงานของเขาละกัน





ขี้เกียจเขียนยาวๆแล้ว เดี๋ยวคนเบื่อ พาลไม่อ่าน
ทั้งการบอกอะไรมากๆก็จะทำลายจินตนาการด้วย ใช่มะ?
(อ้างเหตุผลได้......สารพัด)







ดูรูปเยอะๆดีกว่าเนอะ 555.......เชิญครับ




..................................................










1. ม้าสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ก่อน คศ. 206 – คศ. 9)
สลักบนแผ่นศิลา จากเมืองลั่วหยาง




2. กู้ไข่จือ (顧 愷 之 : จิตรกรเอกสมัยราชวงศ์จิ้น)
เกิดราวปี คศ. 344 ในตระกูลขุนนาง เป็นชาวเมืองอู๋ซี (無 錫)
มณฑลเจียงซู (江 蘇)
นับถือกันว่าเป็นหนึ่งในตำนานแรกเริ่มของจิตรกรรมจีน
ที่ยังมีรูปภาพเหลือปรากฎเป็นชิ้นหลักฐานแจ้งชัด
รูปนี้วาดบรรยายบทกวี(ฟู่)ของโจสิด บทที่เรียกว่า “เทพีแห่งแม่น้ำลั่ว”
(洛 神 賦, เคยแปลไว้ทั้งบท มีโอกาสจะนำมาแปะให้อ่านเล่นครับ)




3. ม้านาม “ขาวโพลนจ้ายามราตรี”
โดย หันกาน ( 韓 幹 จิตรกรเอกสมัยราชวงศ์ถัง
สร้างผลงานราว คศ. 740-756) เกืดที่หลานเถียน จิงเถียว
(ปัจจุบันอยู่ ซีอาน มณฑลส่านซี)
เป็นลูกศิษย์ของหวางเหวย (王 維) มหากวีจิตรกรเอก
ภายหลังบวชเป็นภิกษุในปีเจี้ยนจุง (คศ.780)
ฝีมือวาดม้านับเป็นที่ 1 ตราบปัจจุบันยังหาใครเทียบได้ยากยิ่ง
ขนาดรูปยาว 34 ซม. สูง 30.8 ซม.
(กองทุน Dillon บริจาคให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Metropolitan สหรัฐอเมริกา ในปี 1977
ก่อนหน้านี้เคยอยู่ที่อังกฤษใน collection ของ Sir Percival David ลอนดอน)
เสียดายแทนคนจีนที่รูปม้าที่ผมว่า "งามที่สุด" รูปนี้
อยู่นอกแผ่นดินถิ่นกำเนิด
แต่เอาเถอะ อยู่ที่นี่ก็ให้โอกาสเราชื่นชม และเขาก็รักษาดูแลอย่างดีด้วย




4. หันกาน




5. หันกาน












6. ไม่ปรากฎชื่อจิตรกร เป็นภาพสมัยราชวงศ์ถัง
รูปนี้ให้ความรู้เรื่องม้าอย่างดีเลย
ตั้งแต่ลีลาท่าทางทุกอิริยาบท การเลี้ยงดู การฝึก การตกแต่งใส่เครื่องผูก
เขียนจากของจริงแน่นอน ถ่ายทอดได้ราวกับรูปถ่าย ฝีมือชั้นครูครับ




7. หูว่าย ( 胡 壊 : จิตรกรสมัยห้าราชวงศ์ )



8. หูว่าย ( 胡 壊 : จิตรกรสมัยห้าราชวงศ์ ราว คศ. 907 - 960)
รูปขยายจากภาพข้างบน




9. หลี่ซ่านหัว ( 李 賛 華 : จิตรกรสมัยห้าราชวงศ์ )




10. หลี่กุงหลิน ( 李 公 麟 :จิตรกรสมัยราชวงศ์ซ่ง คศ. 1049-1106 )
ฉายา หลุงเหมียน (龍 眠)
ท่านนี้ก็เป็นตำนานเซียนจิตรกรม้าครับ




11. หลี่กุงหลิน










12. เจ้าหลิน (趙 霖 : จิตรกรราชวงศ์จิน(กิม)
สมัยศตวรรษที่ 13 ตรงกับช่วงก๊วยเจ๋งในมังกรหยกนั่นแหละครับ
เป็นรูปม้าของพระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้ 6 ม้า เอามาให้ชม 4 ม้า










13. เจ้าเมิ่งฝู่ (趙 孟 頫 :จิตรกรสมัยราชวงศ์หยวน ฉายา จื่ออ๋าง :子 昂 1254–1322)
เป็นนักเขียนลายมืออักษรศิลป์เลื่องชื่อด้วย
น่าจะเป็นขวัญใจคุณไฮกุท่านหนึ่ง




14. เจ้าเมิ่งฝู่




15. ไม่ปรากฎชื่อจิตรกร เป็นภาพสมัยราชวงศ์หยวน




"ภาพ 100 อาชา" โดย หลางซื่อหนิง
ม้วนนี้ซื้อมาจากพิพิธภัณฑ์ที่ไต้หวัน
รายละเอียดภาพในม้วน ดูข้างล่างครับ














15. หลางซื่อหนิง (良 世 寕) "ภาพ 100 อาชา" วาดบนผ้าไหม
ขนาด สูง 94.5 ซม. ยาว 767.2 ซม.
วาดตามพระราชกระแสฮ่องเต้เฉียนหลงในปี คศ.1723
ใช้เวลาวาด 5 ปี เริ่มร่างบนกระดาษด้วยดินสอถ่านคาร์บอน
แล้วค่อยลงหมึก น่าจะเป็นปากกาแบบยุโรปมากกว่าใช้พู่กันจีน
ลงรายละเอียดเสร็จแล้วจึงลอกลงบนผ้าไหมอีกที
ม้ากับต้นไม้ ยังเป็นแบบจีน แต่ทิวทัศน์เป็นเพอร์สเป็คทีฟแบบตะวันตก
ดูในภาพรวมแล้วจะเห็นอิทธิพลแบบศิลปะตะวันตกชัดเจน
เมื่อเฉียนหลงทอดพระเนตรภาพนี้แล้ว
ก็ทรงออกพระโอษฐ์เรียกขาน หลางซื่อหนิง ว่าเป็น
“จิตรกรเอกแห่งราชสำนักชิง”
ของพระองค์เลย
เห็นไม๊ ได้เลื่อนชั้นเหมือนกับ "เชิดจีน" บันดาลให้ครูมี(แขก)เลยแน่ะครับ
(เคยเล่าประวัติหลางซื่อหนิงไว้อย่างสังเขปแล้วตอนคริสต์มาส)




16. สวีเปยหง (徐 悲 鸿 : จิตรกรสมัยสาธารณรัฐ คศ.1895-1953)
เป็นชาวเจียงซู ผ่านการศึกษาศิลปะที่ฝรั่งเศส




17. เหวยเจียงฝาน (韦 江 凡 : จิตรกรร่วมสมัย ) เกิดปี คศ.1922
เป็นชาวมณฑลส่านซี ครูของเขาคือ เจ้าว่างหยุน




ทั้งหมดนี้เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม
จากจิตรกรภาพม้าของจีนที่มีชื่อเสียงในอดีตตราบปัจจุบัน
ที่ผมตั้งใจคัดสรร มาฝากเพื่อนๆครับ
หวังว่าจะชอบ






ของแถม...........


เพลงจากเอ้อร์หูผสมขิม ม้าวิ่งแข่งกันในทุ่งหญ้าอันไพศาล
เสียงกุบกับของฝีเท้าม้า ดังสลับกับเสียงม้าร้องที่แทรกมาตอนท้าย
เท็คนิคเล่นซอเพลงนี้พิเศษตรงที่มีการใช้นิ้วดีดแบบ pizzicato




ขอบคุณ You Tube เอาดนตรีเพราะๆมาแบ่งปัน






หวัดดีครับ







"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""









 

Create Date : 26 มกราคม 2553
34 comments
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2553 11:10:10 น.
Counter : 17576 Pageviews.

 



...สวัสดีครับ ชมเพลินเลยครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: nai-nu-19 26 มกราคม 2553 12:02:12 น.  

 

มัชฌันติกะสมัยภุมวารสวัสดิ์ค่ะ


วันนี้ว่าด้วยอัสดรพาชีพี่สินธพ...ยอดค่ะ
ภาพงามๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ

เคยมีเพื่อนแซ่เดิมเบ๊...บ้านเขามีรูปวาดทุกอิริยาบทของม้าเลยค่ะ

วันนี้ราวกับได้มาคุยกันแต่เบื้องหลังปางก่อน...
ดีมากๆ เลยค่ะ ชอบเพลงไทย กินอาหารไทย และคนไทยค่ะ...

ทับทิมน่ะ เป็นภมรหนุ่มอย่าใช้เลยค่ะ เก็บไว้ให้สาวๆ เถอะ รับรองว่าเธอจะชอบมาก ๆ แน่นอนค่ะ...

อั๊พบล็อกเมื่อไร กรุณาแว่บไปหาบ้างนะคะ ไม่งั้นก็ไม่ได้มาอ่านค่ะ มัวแต่ทำอะไรเหลวๆ ไปหมดค่ะ


สิริสวัสดิ์ภุมวาร กมลมานปรีดิ์เขษมค่ะ

 

โดย: sirivinit 26 มกราคม 2553 12:04:48 น.  

 

สวัสดีครับ
ขอบคุณมากนะครับที่แวะเข้าไปทักทายและชมผลงาน

ยินดีที่ได้รู้จักครับ ขออนุญาตแอดไว้เช่นเดียวกันครับ ยังงี้ต้องหมั่นแวะไปมาหาสู่กันบ่อยๆ แล้วหล่ะครับ สำหรับคนคอเดียวกัน ว่าไหมครับ

ภาพจาก blog เป็นผลงานที่น่าสะสะมและน่าชื่นชมมากครับ เสน่ห์ของปลายพู่กันจีนนี้ช่างตวัดบาดลึกไปถึงก้นบึ้งของหัวใจดีแท้ๆ นะครับ ชื่นชอบมากครับ

ยิ๊นนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน...ดีจั๊ดนักครับ

 

โดย: เพลงดาบกระบี่เดียวดาย 26 มกราคม 2553 15:07:20 น.  

 

โหเฮีย....



ไปสรรหามาจากไหนเนี่ย


แจ่ม



ปล.ม้าสมัยก่อนทำไมแม่งอ้วนจังวะ

อิอิ

 

โดย: สันดานเสีย 27 มกราคม 2553 1:33:51 น.  

 

ขอบคุณมากนะคะ ที่แวะไปฟังเพลงที่บล๊อค

 

โดย: หมาน้อยตัวเล็กๆ 27 มกราคม 2553 10:25:15 น.  

 

เข้ามาบล้อกนี้ได้ความอิ่มเอมใจจริงๆครับ
ได้ความรู้ ความงามครบถ้วนเลย
สุดยอดมากๆเลยครับ

ผมชอบภาพพู่กันจีนแนวท่านสวีเปยหงมากๆครับ







หมิงหมิงหายดีแล้วล่ะครับ
วันนี้วิ่งปร๋อแล้วครับ



 

โดย: กะว่าก๋า 27 มกราคม 2553 22:30:52 น.  

 

สวัสดีค่ะ แวะเข้ามาดูศิลปะจีนสวยๆและอ่านเนื้อหากวีเยี่ยมๆ
ขอบคุณที่แวะทักทายที่บล็อกนะคะ

 

โดย: anigia 27 มกราคม 2553 23:09:44 น.  

 

โห ความรู้เยอะมากเลยครับ

ขอคารวะเช่นกัน ผมนะไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลยครับ
ครั้งแรก ขอบคุณมากครับผม

 

โดย: กลิ่นดอย 27 มกราคม 2553 23:38:28 น.  

 

สวัสดีตอนบ่ายครับ

ผมเพิ่งกลับเข้ามาที่ร้านเดี๋ยวนี้เองครับ





 

โดย: กะว่าก๋า 28 มกราคม 2553 13:20:02 น.  

 

ขอบคุณสำหรับ comment นะครับ

 

โดย: จอมมารแห่งหุบเขาคนโฉด (zoomzero ) 28 มกราคม 2553 13:50:31 น.  

 

ชอบหนังแขก ตรงส่ายหัวด๊อกแด๊ก ตอบรับใช่ไหมล่า...555

ดูหนังอินตระเดีย แล้วเหนื่อยค่ะ
ลุ้นตอนเขาจีบกัน...อีนี้ นายจ๋าวิ่งขึ้นเขาเนินเขากันหลายลูกน่ะนา...

 

โดย: sirivinit 28 มกราคม 2553 19:41:22 น.  

 

บอกให้ฟังเพลงผมก็เข้าไปฟังครับ
( ว่าง่ายดีเนอะ )
ฟังเสียงระนาดรู้สึกว่าจังหวะเร้าใจดีเหลือเกิน
นึกถึงลิเกที่ติดรูปม้าไว้ข้างตัวแล้วออกมาวิ่งทำขารัวๆ น่ะครับ
แบบนั้นเลย ...

เวลานึกถึงม้าผมจะนึกถึงม้าโครงสร้างแข็งแรงมีกล้ามเนื้อชัดเจน
แต่ดูภาพวาดเซ็ทนี้ส่วนใหญ่ม้าจะอ้วนท้วนสมบูรณ์นะครับ
สงสัยว่าจะเลี้ยงดี

 

โดย: พลทหารไรอัน 28 มกราคม 2553 21:56:17 น.  

 

หากมีเวลา ค่อยๆ อ่านค่ะ
บล็อกฉัน มีหลายอย่าง ราวกับต้มจับฉ่ายหม้อใหญ่

มีเรื่องสูงแตะฟ้าและต่ำราวหญ้าติดดินค่ะ
กว่าสองพันบล็อก ใน 42 กรุ๊ฟบล็อก มีสิ่งที่น่ารู้มากมายค่ะ

และสั้นๆ ไม่ยาวมาก คนบางคน เขาไม่ชอบอ่านยาวๆค่ะ

 

โดย: sirivinit 29 มกราคม 2553 9:48:34 น.  

 

หมิงหมิงตอนนี้หม่ำเก่งจนน่าตกใจครับ หุหุหุ
เมื่อเช้าผมป้อนข้าว
ใช้เวลาไม่ถึง 20 นาทีก็หมดถ้วย
จากก่อนหน้านั้น
ชั่วโมงครึ่งยังไม่พร่องถึงครึ่งถ้วยเลยครับ 5555





 

โดย: กะว่าก๋า 29 มกราคม 2553 11:09:54 น.  

 

ฟิ้วววว กว่าจะแวะมาได้ก็หลายวันเลย ช่วงนี้ภาระกิจรัดตัวฮ่ะ

บล๊อคนี้ก็เยี่ยมอีกแล้ว ได้รู้ประวัติศิลปะการวาดภาพม้าแบบครบเครื่องเลย คุณdingtechนี่สุดยอดจริง ๆ รู้ประวัติศาสตร์ของจีนเยอะมากเลยนะคะ เราก็ชอบรูปวาดม้าของจีนเหมือนกันค่ะ วาดแบบเก็บรายละเอียดก็งาม วาดแบบสะบัดพู่กันเร็ว ๆ ก็ชอบ ดูแล้วมีพลังดี

ภาพร้อยอาชามีประวัติที่น่าทึ่งมากค่ะ เป็นศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างตะวันออกและตะวันตกอย่างลงตัว อ่านประวัติแล้วนึกถึงท่านหวางซีจือ เจ้าของบทกวี "หลานถิงสวี่" ที่พระเจ้าถังไท้จงทรงโปรดลายมือของท่านมากเหมือนกัน ว่าแต่ภาพที่ซื้อมาเป็นต้นฉบับหรือภาพพิมพ์คะ ถ้าเป็นต้นฉบับคงแพงหูดับเลย

คุณ dingtech พูดถึงเจ้าเมิ่งฝู่แล้วนั่งนึกอยู่สักพักถึงร้องอ๋อ ท่านเป็นหนึ่งในสี่นักเขียนลายมือที่ลือชื่อทีุ่สดของจีน จริงแล้วเราจำชื่อได้แค่สองท่านคือ โอวหยางสวินกับหลิ่วกงเฉวียน ต้องไปหาในเวบดูเลยได้อีกสองชื่อมาคือ เอี๋ยนเจินชิงและจ้าวเมิ่งฝู่ ดูลายมือแล้ว รู้สึกว่าจะเคยฝึกคัดลายมือของทั้งสี่ท่านนะ แต่เวลาเขียนไม่ค่อยจะได้ดูหรอกว่าเป็นลายมือของใคร เห็นว่าสวยก็ฝึกเขียนอย่างเดียว ที่จริงต้องบอกว่าอ่านชื่อไม่ค่อยออกมากกว่า (ขี้เกียจเปิดดิคด้วยนั่นแหละ แฮะ แฮะ )

ปล. แวะไปอ่านบล๊อคที่แล้ว ขอบคุณมากสำหรับคำตอบเรื่องการประทับตรานะคะ คุยเรื่องลายมือพู่กันจีนแล้วนึกอยากทำบล๊อคพู่กันจีนอีกแล้วสิ

เอาลายมือของท่านเจ้าเมิ่งฝู่มาฝากค่ะ


ภาพจากเวบ .art-virtue.com

 

โดย: haiku 29 มกราคม 2553 15:18:01 น.  

 

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชมบ็อกเด็กใหม่ของผมนะครับ ว่าแต่ผมเข้ามาดูบ๊อกของคุณแล้วทึ่งในข้อมูลมาก ขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันครับผม

 

โดย: takaiji 29 มกราคม 2553 15:30:04 น.  

 

สวัสดียามเย็นครับผม
เป็นครั้งแรกที่ผมรู้เรื่องเกี่ยวกับเมืองจีนครับ เห็นแล้วประทับใจคุณครับ แสดงว่าเป้นคนชอบเมืองจีนมากๆ เพราะมีความรู้ลึกซึ้งมากเลยครับ ขอบคุณที่แบ่งปันนะครับ

 

โดย: กลิ่นดอย 29 มกราคม 2553 17:12:44 น.  

 

คุณไฮกุถามผมว่าภาพที่ซื้อมาเป็นต้นฉบับหรือภาพพิมพ์

อะโถ อะถัง มีกะตังค์ไม่กี่อีแปะ ซื้อได้แค่ reproduction มาเชยชมครับ
ถึงเป็นเจ้าสัวเงินเป็นถังก็ไม่นิยมของจริง โดยเฉพาะของเก่า เพราะมันเท่าส่งเสริมการทำลายศิลปวัตถุของโบราณ หรือโจรกรรมมาขาย
ให้มัน intact อยู่กับที่ที่มันควรอยู่ หรืออยู่ในพิพิธภัณฑ์ของส่วนรวมจะดีกว่า...นะนะ นะครับ

แต่ถ้าเป็นของใหม่ ราคาพอสู้ไหว ก็สู้บ้าง...นานๆถี่ๆครับ

 

โดย: Dingtech 29 มกราคม 2553 17:18:55 น.  

 

แอบอ่านเม้นท์คุณไฮกุ
แล้วก็มาอ่านเม้นท์ของคุณ Dingtech

เช้านี้ได้กำไรความรู้กลับบ้านไปอีกเพียบเลยครับ

เห็นด้วยนะครับ
เรื่องการไม่ซื้อของเก่า
เพราะเป็นการทำลายมากกว่าการอนุรักษ์ครับ








 

โดย: กะว่าก๋า 30 มกราคม 2553 4:59:33 น.  

 

ผมย้อนมองมาดูที่บ้านเรา
ความจริงเหมือนไม่ไ่ด้แตกต่างกันเลยครับ
เราเองก็มีชนชั้น
เพียงแต่ไมไ่ด้แบ่งแยกจนเห็นเด่นชัดเหมือนในอินเดียเท่านั้นเองครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 30 มกราคม 2553 7:19:44 น.  

 

ตามกลับมาเที่ยวบ้านคุณดิงเท็กค่ะ... ชื่อแปลกจัง
ได้ความรู้กลับไปเยอะเลย
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่บล็อกนะคะ...

 

โดย: Devonshire 30 มกราคม 2553 9:00:22 น.  

 

ขอบคุณที่เข้ามาอวยพรวันเกิดนะคะ

ขอให้คุณ ดิงเท็ค มีความสุขมากๆ เช่นกันค่ะ

 

โดย: harumi 30 มกราคม 2553 10:00:13 น.  

 

ช่วยทำลิ๊งก์ให้ครับ เพลง ‘เชิดจีน’ //www.patakorn.com/modules.php?name=MP3Player&m_op=play&playsongid=75)

ม้าแบบจีน วาดสวยครับ ผมเองดูแล้วก็ชอบ
เห็นถึงพละกำลัง ความแข็งแรงว่องไว ในรูปภาพ
แต่ไม่ถึงกับรู้ลึกซึ้งเรื่องม้า
ยังไม่เคยสะสมรูปม้า หรือรูปสัตว์อื่น

ในกล่องข้อมูลที่บ้าน จะมีพวกรูปสวยๆแบบ wallpaper แทบทั้งนั้น

กลอน ว่าพลางทางจูง...........สีหมอกม้า เพราะนะครับ
ไม่เคยได้อ่าน ไม่เคยได้ฟังมาก่อนเลย

 

โดย: yyswim 30 มกราคม 2553 14:03:59 น.  

 

มาตามคำแนะนำ

สวยค่ะ ....... ชอบ


มีเวลาจะแวะมาอีกค่ะ

 

โดย: ร่มไม้เย็น 30 มกราคม 2553 14:32:56 น.  

 

ชอบรูปบ้านนี้มากๆเลยค่ะ
เพราะเราชอบรูปเขียนสไตล์จีนๆเหมือนกัน แต่จะว่าไปก็ชอบทุกสไตล์ ขอให้ดูสวยและคลาสสิคก็แล้วกัน
...
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมสวนญี่ปุ่นนะคะ
ถ้าชอบจะเอามาลงอีกค่ะ อิ อิ

 

โดย: Suessapple 30 มกราคม 2553 20:03:37 น.  

 



ขอให้คำอวยพรที่ส่งมาย้อนกลับไปหาคุณ Dingtech ด้วยนะคะ

 

โดย: ส้มแช่อิ่ม 30 มกราคม 2553 22:36:02 น.  

 

เค้าบอกกรุงเทพฝนตก
แต่ที่เชียงใหม่อากาศร้อนมากเลยครับ




 

โดย: กะว่าก๋า 31 มกราคม 2553 14:48:18 น.  

 

นักกู่ฉินในอุดมคติที่แท้จริง
ควรเดินสายกลางครับ

ส่วนผลงานที่โดดเด่นจากความเวอร์ของนักดนตรีนั่น
เกิดจากที่มาของเพลงมีเนื้อหาที่น่าสนใจตื่นเต้นครับ
คนจีนชอบนิทาน ตำนาน เทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นต้น
แต่เพลงของกู่ฉินที่แท้จริงคงหนีไม่พ้นธรรมชาติและวิถี

ในความคิดของชัช
นักดนตรีกู่ฉินที่มีอีโก้สูง
และถูกอารมณ์ครบงำ
ก็ไม่ต่างกับคนถ่อยครับ

ถึงแม้ว่าความเป็นตนเองจะถูกถ่ายทอดออกมาทางผลงานเสียง
แต่เสียงเหล่านั้นควรเป็นกระจกสะท้อนตนเอง เพื่อปรับใจตน
ถ้าทำไม่ได้ ก็คือเล่นดนตรีเพื่อตอบสนองตัณหาเท่านั้นครับ

การที่ยึดในอุดมการณ์มากไป
ทำให้ตนเองต้องลำบาก
บางคนถึงกับเสียชีวิต
เล่าให้ใครฟัง ใครก็ตื่นเต้น
แต่ชัชเห็นว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ไม่ฉลาด
สำหรับผู้บรรเลงกู่ฉินด้วยแล้วถือว่าล้มเหลว
อาจจะเป็นอิธิพลแนวคิดสุดโต่งแบบเต๋าก็เป็นได้ครับ

 

โดย: ชัช (กู่ฉิน ) 31 มกราคม 2553 17:35:48 น.  

 

ขอคาราวะ 1 จอก ในแนวอนุรักษ์ทั้งหมด ศิลปยืนยาว ชีวิตแสนสั้น อยากให้Up date เยอะๆ

 

โดย: KKนครสวรรค์ IP: 117.47.141.237 6 กุมภาพันธ์ 2553 21:14:18 น.  

 

หนูชอบเพลงเชิดจีนจังเลยค่ะ
เป็นเพลงที่สนุกมากๆ

 

โดย: กล้วย IP: 125.24.134.93 7 เมษายน 2553 5:07:31 น.  

 

ยังไม่ได้เข้ามาดูบล๊อกนี้เลยค่ะ พอดีตั้งใจย่องมาหาความรู้วันละบล๊อก เริ่มจากข้างล่างก่อน คุณดิ่งตั้งใจไปแนะนำ วันนี้เลยข้ามมาดูรูปม้าก่อน

เพลง "เชิดจีน" ฟังแล้วเพลินดีค่ะ ส่วนเพลงจากเอ้อร์หูผสมขิม Horse Races คึกคักเหมือนดูม้าวิ่งแข่งกันจริงๆ เข้าใจแต่งนะคะ

เขียนยาวๆ คนอ่านที่สนใจศิลปะไม่เบื่อหรอกค่ะ หาคนพูดและเล่าเรื่องราวดีๆแบบนี้ยากจริงๆ

เห็นด้วยกับหลายคนที่ว่าบางรูปม้าดูสมบูรณ์มากๆเลย สงสัยเขารักและเลี้ยงดี ภาพเขียนหลายรูปแสดงความรักและความผูกพันที่คนมีให้ต่อม้าของเขาอย่างละเอียดเลย

ภาพ 100 อาชาชุดนี้ ของหลางซื่อหนิง ยังไม่เคยได้ดูเลยค่ะ ยอดเยี่ยมทุกศิลปินเลยค่ะ ขอบคุณนะคะที่นำมาให้ดูกัน

มีข้อสงสัยนิดหนึ่งว่าทำไมรูป ม้านาม “ขาวโพลนจ้ายามราตรี”ถึงมีตราประทับสีแดงมากมายจนจะเต็มรูปแล้วคะ?

 

โดย: Noshka 29 เมษายน 2553 9:36:58 น.  

 

ขอบคุณมากนะคะ ที่แวะไปตอบคำถามที่บ้าน อธิบายว่าทำไมภาพถึงมีตราประทับมากมาย

นอร์ชก้าได้ข้อคิดอีกแง่มุมว่า สมบัติพลัดกันคน ตายไปก็เอาไปไม่ได้ ภาพเขียนล้ำค่าเหล่านั้นจึงตกทอดต่อกันมาเรื่อยๆ ดีเหมือนกันที่รูปนั้นได้ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแล้ว ถ้ายังตกทอดไปเรื่อยๆมีหวังที่ว่างหมดต้องประทับบนตัวม้าเข้าสักวัน จะน่าที่เสียดายเป็นอย่างยิ่ง

ได้ฟังเรื่องที่คุณดิ่งเล่าถึง "ตราปลอม" โดยศิลปินเอก ท่านจางต้าเชียน ทำให้หายสงสัย เคยได้อ่านประวัติว่า ท่านเป็นหนึ่งในจิตรกรชาวจีนที่มีชื่อเสียงและน่าทึ่งที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ ที่สะดุดใจก็ตรงที่ได้อ่านประโยคที่ว่า ท่านยังเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานศิลปะว่าเป็นสุดยอดของนักปลอมแปลงงานศิลปะด้วยของยุคนี้ด้วย เมื่อได้ทราบวีรกรรมที่ท่านเคยสร้างไว้ก็ถึงบางอ้อ ว่าทำไมถึงได้เขียนถึงท่านจางต้าเชียนไว้แบบนั้น

ท่านจางมีผลงานออกมาหลากหลายแบบมาก จนเดาไม่ค่อยถูกเลยว่าผลงานชิ้นไหนเป็นของท่าน นอร์ชก้าชอบรูปสไตล์สาดสี (pocai, 泼彩) สวยแปลกดี

 

โดย: Noshka 30 เมษายน 2553 11:00:08 น.  

 

เป็นรูปที่สวยมากเลยครับ.อยากไปเมืองจีนที่สุด

 

โดย: เอ ส.อ. IP: 118.173.168.211 31 กรกฎาคม 2553 10:17:53 น.  

 

You will be pleasantly surprised to learn about our generous offer.
The link to our offer is valid for only one day https://tinysrc.me/go/hg0PJIWng

 

โดย: https://tinysrc.me/go/hg0PJIWng IP: 94.103.234.217 22 กรกฎาคม 2564 17:56:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.