ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
หวงปินหง (黃賓虹) : เสือใต้ร่ายรำพู่กัน



จิตรกรร่วมสมัยผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหาประชาชนจีน



ถ้า ฉีไป๋สือ (齊白石) เป็น สิงห์เหนือ

หวงปินหง (黃賓虹) ก็ต้องเป็น เสือใต้






หวงปินหง

1865-1955

สิริอายุ 90 ปี







ภาคชีวประวัติ

เกิดที่เมือง จินหัว(金華) มณฑลเจ้อเจียง(浙江)
เป็นลูกคนหัวปี เตี่ยเป็นพ่อค้าจ้อเซ็งลี้ แต่มีความชื่นชมในบทกวีและภาพเขียน
เมื่อเกิดได้นามว่า เม่าจื้อ(懋質) ตอนหลังทอนลงเหลือแค่ จื้อ(質)
ฉายาว่า ผู่ฉุน(樸存)

ที่หมู่บ้านบริเวณนั้นเรียกว่า ศาลาปินหง滨虹 จึงได้ชื่อตั้งเองว่า ปินหง
ต่อมาแปลงอักษร "ปิน" ให้ต่างไปอีกโดยตัดธาตุ "น้ำ" สามจุดออกจากหน้าอักษรนั้น


อายุ 5 ขวบ อาเตี่ยได้จ้างครูตำแหน่งขั้นซิ่วไฉมาสอน ท่านนี้นามว่าครู เจ้าจิงเถียน(趙经田)
ครูซินแสท่านนี้สอนอ่านเขียนแต่งกาพย์กลอน แถมยังสอนดนตรีกู่ฉินให้อีก
ยังไม่สะใจท่านครู จึงได้เรียนเขียนรูปทิวทัศน์อีกด้วย


สรุปเอาว่า หวงปินหง เติบใหญ่มาในบรรยากาศอันอบอวลด้วยศิลปะ ฉะนี้แล


พออายุได้ 7 ขวบ เจ้าหนูน้อยก็คล่องแคล่วใน "พันอักษร"


มีเรื่องเล่าตอนนี้

เพื่อนของอาเตี่ยนาม หนียี่ฝู่(倪逸甫) สอนวิธีเขียนพู่กันให้
เคล็ดวิชาคือ เขียนด้วยพลังที่ถูกต้องลงบนกระดาษ
แล้วพลิกกระดาษดูจะเห็นหมึกทะลุทะลวงถึงข้างหลังอย่างครบเส้น
ไม่เป็นเพียงจุดที่กดหนักบางแห่ง

การเขียนรูปก็เช่นกัน มีเคล็ดวิชา
ตอนเช้าให้วางกระดาษขาวๆไว้ตรงหน้า ยังไม่ต้องเตรียมพู่กันหรือหมึก
ให้จ้องดูกระดาษอย่างเดียว
เช้าอีกวัน ทำซ้ำแบบเดิมอีก
ไม่ช้าภาพในใจจะเริ่มปรากฏแล้ว
และเมื่อนั้นเขาจะสามารถเห็นสิ่งที่เขาจะวาด มองเห็นอย่างมั่นใจ
และเมื่อวาดออกมาก็ประสบความสำเร็จยิ่ง!


อาเตี่ยของปินหงมีหนังสือ "ตราประทับแห่งหอเฟยหง(飞鸿堂印谱)"
ซึ่งรวบรวมตราประทับของนักแกะตราผู้มีชื่อเสียง อาทิ
ติงจิ้ง(丁敬) เติ้งสือหรู(鄧石如)
หวงปินหงใช้เวลาราว เดือนหนึ่งเพื่อแกะตราลอกเลียนได้ถึงมากกว่าโหล
แกะได้สวยงามตามต้นแบบ พออาเตี่ยมาเห็นบอก
"อั๊วไม่เชื่อว่าลื้อแกะเอง อย่ามาแหกตาอั๊วนะเฟ้ยอาหง"
อาหงจึงต้องแกะสดๆให้ดูจะจะ อาเตี่ยจึงยอมเชื่อศิโรราบโดยดี
ตอนนั้นเขาอายุแค่ 11 ขวบ


พออายุ 13 ขวบ อาหงสามารถสอบผ่านระดับอำเภอ
ปีนี้เขาเห็นรูปเขียนภูเขาหวงซานของ สือเทา(石涛) ที่บ้านสกุลหวาง ในหมู่บ้านฉิว(虬)
อาหงประทับใจมากและขอยืมมาเป็นแบบเพื่อวาดลอกเลียน แต่เจ้าของไม่ยอมให้ยืม
วันถัดมา ตื่นขึ้นเขาก็ร้องด้วยความปิติว่า "แม้ข้าจะไม่มีโอกาสวาดลอกเลียนสือเทา
แต่รูปนั้นก็ปรากฏในความฝันของข้าแล้วเมื่อคืน"


อายุ 15 ไม่ได้มาเป็นสาว เอ๊ย หนุ่มรำวง อาหงไปฝึกวิชาวรยุทธ ชอบทั้งขี่ม้าและวิชากระบี่ รำดาบ
วิชาเหล่านี้ยังคงติดตัวหวงปินหงมาตราบชั่วชีวิต เขามีความเชื่อว่าวิชาศิลปะต้องการความแข็งแรง
มิฉะนั้นเส้นพู่กันจะขาด "พลัง"
เขาจึงออกกำลังเสมอ ทั้งปีนเขา และเดินระยะไกล


อายุ 19 ปี ได้เดินทางไปชมเขาหวงซานครั้งแรก ตื่นเต้นมากเมื่อแรกเจอ
วันหนึ่งในตอนเย็นหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยเพราะเขาเดินทางไปชมน้ำตก
แต่คืนนั้นเพื่อนร่วมทางพบว่า เขายังไปนั่งวาดรูปท่ามกลางแสงจันทร์
เพื่อนๆต้องตักเตือนเพราะห่วงใย เกรงจะเกิดอันตรายเนื่องจากความเหนื่อยล้า


อายุ 20 ปี มีคนจากหังโจวนำเอาของขวัญมาฝาก
เป็นภาพทาบถูเพื่อลอกอักษรจากหินสลัก หวงชอบมาก
นำติดตัวไปด้วยตลอดเวลา เมื่อมีเวลาก็จะหัดเขียนเลียนตัวอักษร
ทำให้เกิดความชำนาญในการเขียนอักษรโบราณแบบต่างๆในเวลาต่อมา

ลายมือของเขามีความสวยงามจากการที่ได้แบบอย่างจากต้นแบบที่ดีเยี่ยม
ดังนั้น ในภาพเขียนของเขา ไม่ว่าเป็นภาพทิวทัศน์ หรือภาพดอกไม้
จะเห็นร่องรอยของเส้นพู่กันตามแบบของเส้นการเขียนตัวอักษรนั่นเอง
มีทั้งเส้นเฟยไป๋(เส้นปาดเร็วจนทิ้งรอยขาวไว้)เมื่อวาดก้อนศิลา
ลายเส้นแบบ "เจ้า(เมิ่งฝู่)" เมื่อวาดต้นไม้
นี่คือศิลปะของหวงปินหง


ปี 1886 (22 ปี) หวงรับงานเป็นเสมียนสำนักบริหารเกลือในหยางโจว
หัวหน้าของเขาเข้าใจในศิลปะและอนุญาตให้เขาใช้เวลาศึกษาศิลปะได้
โดยไม่มอบงานให้มากนัก บางทีหวงจะชวนลูกชายหัวหน้าไปชมงานสะสมศิลปะที่หยางโจว
ช่วงนี้หวงศึกษางานทิวทัศน์ของเจิ้งซาน ศึกษางานนก-ดอกไม้ของเฉินซงกวาง

หวงสะสมผลงานเป็นภาพวาดเก่าๆกว่า 300 ชิ้น ส่วนมากเป็นภาพวาดสมัยหมิง
สมัยนั้นซื้อหากันด้วยราคาถูกมาก (เขาเคยเล่าว่าภาพของแท้ของ
สือเทา หรือหนีจานหาซื้อได้ในราคารูปละ 10 หยวน)
ส่วนหนึ่งในงานสะสมของเขาภายหลังได้ขายต่อให้จินเต๋อเจียน

เมื่อหวนรำลึกถึงเยาว์วัย หวงเล่าว่า

"เมื่อได้รูปภาพมาคราวใด จะศึกษาอย่างกระตือรือล้น
ยากนักที่จะปล่อยให้ผ่านสายตาไปอย่างง่ายๆ
หากมีเวลาให้ดูน้อย เขาจะคัดลอกหลายๆครั้งเพื่อจะได้เข้าใจว่า
จิตรกรสมัยก่อนวาดกันอย่างไร"

งานคัดลอกขอเขาระหว่างช่วงอายุ 40 – 50 ปี ได้รับการรักษาไว้อย่างดี
มีงานของ ถงหยวน หมี่ฟู่ หลี่ถัง หมาหย่วน เซี่ยเกวย หวางเมิ่ง
หนีจาน และอื่นๆอีกมาก
สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่าหวงศึกษางานอย่างทุ่มเท
เพื่อจะได้เข้าใจในส่วนที่ดีที่สุดของบรรดาปรมาจารย์ยุคเก่าทั้งหลาย



ด้วยบุคลิกและความคิดของเขา หวงไม่สามารถทำงานอ๊อฟฟิศได้นาน
การเป็นพ่อค้าในธุรกิจเกลือจำต้องสัมผัสกับการประพฤติมิชอบและการให้สินบาทคาดสินบน
บางครั้งภาพเขียนโบราณก็สามารถนำมามอบให้กันต่างสินบนได้
หวงเคยถูกเรียกไปให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพแท้ภาพเก๊
เมื่อไม่ชอบใจก็ลาออกแล้วกลับบ้าน

หวงเคยเขียนเล่าเมื่ออายุ 60 ปีว่า
"ข้าฯเสมียนน้อยต๊อกต๋อยในหยางโจว พับแขนเสื้อแล้วก็(สะบัดก้น)กลับบ้าน"


ปี 1894 (อายุ 30 ปี) กลับไปภูมิลำเนาเพื่อจัดการงานศพบิดา
หลังจากนั้นใช้เวลาประมาณ 3 ปี เพื่อช่วยงานสร้างเขื่อนทดน้ำ


หวงเข้าไปมีบทบาททางการเมืองในปลายศตวรรษที่ 19
โดยเข้าไปสนับสนุนนักปฏิรูป คังโหย่วเหวย เหลียงฉีเจา และถานซื่อถง


ปี 1899 (อายุ 35 ปี) หวงหลบภัยไปที่เซี่ยงไฮ้เพราะพัวพันกรณีขบถ


ปี 1900 หวงเข้าร่วมมือในกิจการชลประทานในบ้านเกิด
งานของเขาประสบผลสำเร็จมาก เขาจะขี่ม้าไปตรวจตราเขื่อน
และคลองระบายน้ำ


ปี 1903 เขาไปเป็นครูในโรงเรียนที่หวูหู ช่วงนี้จะเผยแพร่แนวคิดปฏิวัติ
แม้กระนั้นก็มิได้ทิ้งการศึกษาศิลปะ น้อยคนนักที่จะทราบว่าเขาสามารถวาดภาพได้ดี


จนฤดูร้อนในปี 1906 บ้านเกิดของหวงเกิดภัยพิบัติจากแมลง
หวงคิดน้ำยาผสมน้ำมันถงฉีดพ่นปราบแมลงเป็นผลสำเร็จ
เขาดีใจมากและกลายเป็นที่ชื่นชมของบรรดาเกษตรกร


อย่างไรก็ดีในความคิดทางการเมืองของเขา ซึ่งต่อต้านราชวงศ์ชิง
ทำให้เขาต้องสงสัยและถูกหมายจับ คราวนี้เขาต้องลี้ภัยไปที่เซี่ยงไฮ้
และต้องหลบอยู่นานถึง 30 ปี นับแต่ปี 1907 เป็นต้นไป


ที่เซี่ยงไฮ้ หวงได้ร่วมงานกับกลุ่มรักชาติออกหนังสือถกวิจารณ์กันเรื่องศิลปะกับการเมือง
ช่วงนั้นพวกชาวต่างชาติมานำเอาสมบัติทางโบราณคดีและศิลปวัตถุออกไปจากจีนมาก
หวงวาดการ์ตูนในหนังสือที่มีเกาเจี้ยนฝู้ และเกาฉีเฟิงเป็นบรรณาธิการ


ปี 1911 เขากับเติ้งชิวเหมยออกหนังสือเกี่ยวกับศิลปกรรม
เป็นเรื่องเกี่ยวกับศิลปกรรม วรรณกรรม เนื้อหาจำพวก ลายมือ
ภาพเขียน ปฏิมากรรม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด หยกและศิลา
วรรณคดี และอื่นๆ


ปี 1913 หวงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีของวิทยาลัยศิลปะแห่งนครเซี่ยงไฮ้
และสองปีถัดมาก็ได้ตั้งร้านจำหน่ายโบราณวัตถุในเซี่ยงไฮ้


ปี 1921 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกศิลปกรรมใน
สำนักพิมพ์ Commercial Press แต่ทำได้ 4 ปี ก็ลาออก


เขาสะสมตราประทับที่หายากมากกว่า 2,000 ตรา
ตราเหล่านี้นอกจากมีคุณค่าในด้านสุนทรียศาสตร์แล้ว
ยังมีคุณค่าในการวิจัยทางภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์
ในปี 1924 ตราประทับที่หายากของเขาถูกขโมยไป
และน่าสงสัยว่าขโมยคงทำตามใบสั่ง เนื่องจากมีผู้มาขอซื้อ
จากหวงหลายครั้ง แต่เขาไม่ขาย

ระยะนี้หวงค่อนข้างจะซึมเศร้า เขาจึงผ่อนคลายโดยการเดินทาง
ท่องเที่ยวไปชมสถานที่สวยงามต่างๆ
อีกทั้งค่าครองชีพในเซี่ยงไฮ้ค่อนข้างสูง
เขาจึงต้องขายของสะสมเพื่อให้การดำรงชีพของครอบครัวจะได้ไม่ลำบากนัก
ตอนนั้นหวงอายุ 60 ปีแล้ว


ในปี 1924 หนังสือชื่อ "จิตรกรที่มีชื่อเสียงของจีน" ของเขาได้รับการตีพิมพ์
เขายังชีพอยู่ได้ส่วนหนึ่งจากการวาดรูป เขากินอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย
แม้ค่าจ้างวาดรูปจะได้ต่ำกว่าที่ตกลงเขาก็ไม่ว่ากระไร

ส่วนหนึ่งของงาน เขาจะมอบให้แก่หอศิลปกรรมและพิพิธภัณฑ์


ในช่วง 10 ปีสุดท้ายในเซี่ยงไฮ้ เขารับงานสอนศิลปะให้หลายโรงเรียน
นอกจากนี้ก็ท่องเที่ยวไปชมมหาสิงขรต่างๆและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในจีน
เมื่ออายุได้ 70 ปีแล้ว เขายังแข็งแรง ไม่ว่าจะไปที่ใดก็ยังขยันวาดรูปตลอดมา


ในปี 1926 (72 ปี) รับงานบรรณาธิการหนังสือ "เสินโจวกว๋อกวางเส้อ"


ปี 1928 เดินทางไปกว่างซีเพื่อบรรยายตามคำเชิญของมหาวิทยาลัยแห่งกว่างซี ที่กุ้ยหลิน
เขายังไปที่กว่างโจวและได้ซื้อหนังสืออัลบั้มภาพวาดของหวงหลวี่ บรรพชนของเขา


ปี 1932 หวงไปที่เสฉวน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์
ในสถาบันศิลปกรรมหนานหนิงในนครเฉิงตู
เขายังไปที่ภูเขาเอ๋อร์เหม่ย(ง่อไบ๊)แม้จะเป็นฤดูหนาวที่หนาวแสนสาหัส
จวบเข้าฤดูใบไม้ร่วงปีถัดมา เขาจึงกลับไปยังเซี่ยงไฮ้
หวงเขียนลายมือบันทึกการเดินทางครั้งนั้นเป็นบทกวี
และได้พิมพ์แจกแก่บรรดามิตรสหายในเวลาต่อมา
สุขภาพและร่างกายเขายีงสมบูรณ์แข็งแรงมาก เดินตัวปลิวอย่างเร็วบนทางราบ
และไม่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยเวลาขึ้นเขา


ปี 1935 เขาเดินทางกลับไปเยี่ยมกุ้ยหลินอีกครั้ง ขากลับแวะที่ฮ่องกงก่อนแล้วจึงไปเซี่ยงไฮ้
ที่ฮ่องกงเขาไปเที่ยวที่วิคตอเรียพีค และเกาลูน ได้สเก็ตช์ภาพจำนวนหนึ่ง
นำออกแสดงนิทรรศการที่ฮ่องกง และมาเก๊า


ปี 1937 (อายุ 74 ปี) หวงไปปักกิ่งเพื่อรับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์
ในเดือน มิถุนายน เขาได้ซื้อภาพเขียนสมัยซ่งที่ไม่ปรากฏลายเซ็นจิตรกร
ความนึกคิดของเขาหมกมุ่นอยู่ที่รูปเขียนนั้น แยกตัวอยู่กับรูปนั้นกับกองหนังสือ
เขาปรารถนาที่จะไปชมภูเขาในกวางตุ้ง กว่างซี แคว้นจิง และแคว้นฉู่


ปี 1943 เพือนๆได้จัดแสดงนิทรรศการรูปเขียนฉลองวันเกิดให้


เมื่ออายุได้ 80 ปี หวงเขียนบันทึกว่า
"อายุ 80 ยังคงเรียนอย่างหนัก
อย่างไม่เหนื่อยหน่าย จุด(ตะเกียง)น้ำมันยันเที่ยงคืน"


ปี 1948 ( 84 ปี) รับไปสอนที่สถาบันศิลปกรรมที่หังโจว
ยังเดินเที่ยวขึ้นเนินเขาและวาดรูปเสมอๆ
บอกใครๆว่าไม่เกี่ยงที่จะเป็น "ตาแก่นักวาดแห่งทะเลสาบซีหู"


เมื่ออายุ 88 ปี มีคนเห็นเขาวาดรูปบนรถไฟขณะเดินทางไปปักกิ่ง


เมื่ออายุ 89 ปี ได้เสียสายตาไปมาก แต่ก็ไม่เคยทิ้งให้พู่กันอยู่เฉยๆ
หมายความว่า ฝีมือการปาดป้ายพู่กันของเขาบรรลุถึงขั้นสุดยอดแบบว่าไม่จำเป็นต้องใช้สายตา


ในปี 1953 อายุย่างเข้าปีที่ 90 ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลผ่าตัดต้อกระจก
ในเดือนถัดมาก็ป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบ แม้จะป่วยเขาก็ยังแปลความอธิบายแก่หวางป๋อหมิ่น


ปี 1954 หวงให้สัมภาษณ์แก่จิตรกรอาคันตุกะจากฮังการีและโปแลนด์
ต้นเดือน มีนาคมปีนี้ เขาป่วยหนักอยู่ 29 วัน และถึงแก่กรรม
ก่อนสิ้นชีวิตเขาพยายามพยุงตัวขึ้นเพื่อวาดรูปทิวทัศน์เล็กๆ
และ 2 วันก่อนสิ้นลม เขาได้นอนตะแคงแต่งกวีบทสุดท้าย


ในพินัยกรรมของเขา ได้อุทิศหนังสือที่สะสมไว้ทั้งหมด
ตลอดจนงานศิลปกรรมที่เขาวาดสะสมไว้กว่า 10,000 ชิ้นให้แก่ประเทศจีน



ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่ เนินทักษิณ ริมทะเลสาบซีหู
อยู่ในร่มเงาไม้สนและต้นแป๊ะ และมีคลื่นจากแม่น้ำเฉียนถัง
สาดสำเนียงขับกล่อมอยู่ชั่วนาตาปี







ตัวอย่างผลงาน


ที่นำมาให้ชมในคราวนี้ เป็นผลงานอัลบั้มภาพเขียนชุด
ปาซานสูสุ่ย (巴山蜀水) หรือ ทิวทัศน์แห่งแคว้นเสฉวน
จำนวน 12 ภาพ เป็น reproductions ที่ผมสะสมไว้
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ศิลปกรรมแห่งเสฉวน (四川美术出版社)
เมื่อปี คศ.1985





1

犍为小景(เจียนเหวยเสียวจิ่ง)
เจียนเหวยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเสฉวน



2

叙州舟次(ซู่โจวโจวชื่อ)



3

巴渝山石(ปาหยวีซานสือ)



4

蓮渓道中(เหลียนซีเต้าจุง)



5

广安天池(กว่างอันเทียนฉือ)



6

遂宁道次(ซุ่ยหนิงเต้าชื่อ)



7

嘉州江岸(เจียโจวเจียงอั้น)



8

嘉陵江边(เจียหลิงเจียงเพียน)



9

北碚泉石(เป่ย์เป้ย์ฉวนสือ)



10

合江舟行(เหอเจียงโจวสิง)



11

虎头岩景(หู่โถวเหยียนจิ่ง)



12

青城山中(ชิงเฉิงซานจุง)


13

ลายมืออักษรศิลป์แบบตัวบรรจงเล็ก (เสี่ยวไค่)
ของหวงปินหง เขียนเป็นบทกวี(ซือ)





ตราประทับตราหนึ่งของหวงปินหง




ท่านจะเห็นลักษณะการ "เขียน" ภาพของท่านหวงปินหง
ด้วยสไตล์การใช้ "เส้น" หรือ "ฝีพู่กัน" แบบการเขียนตัวอักษรจีน

รสนิยมหรือการชื่นชมวิธีการแบบนี้ต้องอาศัยประสบการณ์
และความเข้าใจค่อนข้างลึกซึ้งมากๆ อธิบายกันได้ยากเสียด้วย
ผมจึงจะไม่พยายามบอกเล่าอะไรมาก เพราะอาจจะผิดก็ได้

หากท่านเปรียบเทียบกับงานของท่านฉีไป๋สือ ผมว่าการเข้าใจและเข้าถึง
จะเรียบง่ายตรงไปตรงมามากกว่า


สรุปคือ ท่านผู้ชมตัดสินใจเอง





จิตรกรเอกทั้งสองท่านต่างมีดีด้วยกันทั้งคู่

ที่เหมือนกันมากในอุดมการณ์ของสังคมนิยม คือ

การรับใช้มวลมหาประชาชน รักและศรัทธาประชาชน

ประเทศชาติและประชาชน....ต้องมาก่อน !






ไอ้ที่คอยจ้องจะงาบ

จะโกงบ้านกินเมือง

ลงนรกไปเรย...ชิ้ว ! ชิ้ววววว !




........................................................



สำหรับดนตรีคราวนี้ชักคิดถึงกู่ฉิน ท่านหวงปินหงได้ร่ำเรียนกู่ฉินมาแต่เล็ก
ขอเอาฝีมืออันดับหนึ่งของ หวางเฟย (王菲) ในเพลง 鸥鹭忘机
คำแปลสำนวนคุณชัชกู่ฉินแปลเอาความว่า "ละจิตที่คิดร้าย"


ขอขอบคุณ You Tube ที่พาเพลงไพเราะมาสู่เรา




........................................................









ปอลอ :

สำหรับรูปในบล๊อกนี้ถ่ายด้วยกล้องตัวใหม่ครับ อิ อิ
เป็น Canon รุ่น S95 เพิ่งไปสอยมาจากฟิวเจอร์พาร์ค
ยังไม่คุ้นเคยกันเท่าไร คู่มือก๊อขี้เกียจอ่านเป็นนิสัยถาวร

ไม่ว่าเป็นกล้องดีหรือห่วยแค่ไหน ฝีมือผมก็คงเส้นคงวา
" ของแท้ต้องเบลออออ....ถ้าชัดๆสวยๆคือของเก๊ " 5 5 5 +





Create Date : 27 ตุลาคม 2553
Last Update : 2 ธันวาคม 2553 16:26:14 น. 40 comments
Counter : 4890 Pageviews.

 
สวัสดียามเช้าครับพี่

คืนนี้จะขอนั่งพิศเรื่องราวในบล้อกพี่อีกครั้งอย่างตั้งใจครับ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:7:56:58 น.  

 
อ่านจากประวัติแล้ว
ภาพแต่ละภาพสวยจริงๆครับ

คนวาดภาพเนี่ย ต้องใช้อะไรหลายๆอย่างมากกว่าฝีมือจริงๆ



สวัสดียามเช้าครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:10:39:54 น.  

 
ภาพสวยครับ


โดย: Kavanich96 วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:13:52:21 น.  

 
ผมก็จะรอชมพร้อมพี่เลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:16:03:54 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:6:16:11 น.  

 
อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:8:52:34 น.  

 
ต้องกล่าวว่า
ท่านหงได้ดีเพราะมีครูดีเลยนะครับพี่

ชอบเคล็ดลับในการสอนเรื่องการวาดภาพ
ผมเองก็ใช้วิธีนี้ในการเขียนหนังสือครับพี่

คิดไว้ในใจจนเสร็จแล้วก็เีขียนออกมา


ท่านเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต
และไม่ปล่อยให้ความชราและอายุเป็นอุปสรรคในการทำงาน

น่ายกย่องจริงๆครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:11:44:49 น.  

 
เปลี่ยนโลโก้ใหม่ทำให้งงๆครับ
ของเดิมก็ดีนี่ครับคุณครูดิ่ง
ไม่เจอน้ำท่วมนะครับ
..............................


โดย: panwat วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:17:16:39 น.  

 

......................................
สวัสดีดึกๆครับคุณครูดิ่ง


โดย: panwat วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:22:52:20 น.  

 
สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยม
ขอบคุณนะคะที่ไปเยี่ยมที่บลอค

นั่งอ่านประวัติแลชมภาพ พร้อมฟังเพลงประกอบ สมบูรณ์ยิ่งค่ะ


โดย: หมีปุ๊ วันที่: 28 ตุลาคม 2553 เวลา:23:17:17 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 29 ตุลาคม 2553 เวลา:6:41:54 น.  

 
อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 29 ตุลาคม 2553 เวลา:9:43:48 น.  

 
ขอบคุณมากๆค่ะ เพิ่งเข้ามาในแวดวงบล็อคค่ะ ดีใจที่ได้อ่านเรื่องราวดีๆ ได้ชมภาพดีๆ ขอบคุณอีกครั้งที่นำมาให้ค่ะ


โดย: buraneemeo วันที่: 29 ตุลาคม 2553 เวลา:11:01:13 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:6:26:04 น.  

 
อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:10:17:33 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่


ผมเคยฝันว่าตัวเองตายสองครั้ง
และเมื่อตื่นขึ้นมา
เหมือนเป็นคนใหม่เลยครับ 555

เคยตกหลังคา 1 ครั้ง
อยู่ในเหตุการณ์รถชน 1 ครั้ง
เรือเกือบล่ม 1 ครั้ง

ทุกครั้งที่เดินเข้าไปใกล้ความตาย
ก็คล้ายว่าเริ่มเข้าใจชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:5:12:56 น.  

 
ช่วงนี้ยุ่งๆ กับงานคอนเสิร์ตเพื่อนนะขอรับท่านพี่

เลยผลุบๆ โผล่ๆ เอาแน่ไม่ได้

แวะมาชมภาพ replica ก่อน เด๋วค่อยกลับมาอ่านชีวประวัติ ไม่ทราบว่าขนาดจริงใหญ่โตแค่ไหนขอรับ?


โดย: น้องหมี (Bkkbear ) วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:8:50:32 น.  

 
สวัสดียามเช้านะครับพี่ดิ่ง

ถ้าปวดหนักนอกจากจะไม่โรแมนติคแล้วหน้าเขียวแน่นอนครับ 5555+


^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:10:23:49 น.  

 
ขวัญอนุญาตนำพระบรมสารีริกธาตุมาฝาก
เพื่ออธิษฐานจิตด้วยกันนะคะ



โดย: ในความอ่อนไหว วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:22:00:05 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:36:56 น.  

 


ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณค่ะ


ขอบคุณสำหรับคำอวยพรวันเกิด
สิ่งดีๆทั้งหมดที่มอบให้ป้า โปรดย้อนกลับมาหาคุณดิง………เป็นหลายเท่าทวีคูณ


ขอให้เป็นผู้มีสติทุกลมหายใจ มีความสุขทุกชั่วขณะ
มีสุขภาพที่เต็มร้อย และอยู่กับสุขที่อิ่มเย็น


ตอนนี้ป้ายังลี้น้ำมาอยู่ในที่สูงเนื่องจากภาวะน้ำในหมู่บ้านยังมีปัญหา
คงต้องรอดูอีกสักระยะและจะกลับเข้าบ้านได้เมื่อภาวะน้ำดีขึ้น


รักษาสุขภาพ และมีความสุขกับวันดีๆทุกทุกวันนะคะ




โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:49:36 น.  

 
สวัสดีครับ

ณ กาลครั้งนี้ ได้มีบุญมาฝากครับ...




โดย: เพลงดาบกระบี่เดียวดาย วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:06:21 น.  

 
ล้าจากงานมาทั้งวันขอพักมาทักทายหน่อยค่ะ
มีความสุขกับทุกวันนะคะ


โดย: ในความอ่อนไหว วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:11:09 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณDingtech ได้อ่านเรื่องราวดี ๆ ของศิลปินจีนอีกแล้ว ขอบคุณมากนะคะ

โห ท่านปินหงนี่อัจฉริยะสุด ๆ เลยอ่ะ อายุสิบเอ็ดก็แกะสลักตราประทับได้งามหยดแล้ว ตอนเราอายุเท่ากัน ทำอะไรยังไม่เป็นเลย ได้อ่านเรื่องราวในชีวิตแต่ละช่วงอายุแล้วก็ทึ่งมาก ถือได้ว่าท่านเป็นคนที่โชคดีนะคะ มีอายุยืนยาว และได้ทำงานศิลปะที่รักจนลมหายใจสุดท้ายเลย

วิธีมองกระดาษให้เห็นรูปแล้วค่อยเขียนนี่ คล้าย ๆ กับวิธีแกะสลักของแอนเจลโลนะคะ เคยฟังมาว่า ท่านจะมองก้อนหินให้เห็นรูปที่ต้องการแกะ แล้วค่อยสกัดหินส่วนที่ไม่ต้องการออกไปอะไรทำนองนี้แหละค่ะ


โดย: haiku วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:15:59 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:5:50:58 น.  

 
ท่าน หวงปินหง คงจะเก่ง แต่ผมดูศิลป์ของจีนไม่ค่อยเก่ง
อาจจะฝีมือเปรียบระดับประถม อ่านจบนะครับ เพียงแต่ไม่ค่อยลึกถึงศิลป์มากนัก



โดย: yyswim วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:45:24 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณพี่..

เข้าบล็อกคุณพี่บ่อยๆ จากคนที่ไม่รู้เรื่องทางนี้มาก่อนเลย กลับเป็นเพลิดเพลินค่อยๆละเลียดอ่านเรื่องราวที่คุณพี่นำมาเล่าขานอย่างมีความสุข สงบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ดูรูปประกอบค่ะ หาคำพูดอื่นใดอธิบายไม่ได้นอกจาก โอ้.. สวย..


เรื่องลายมือนี่เห็นจะจริง (ไว้ก่อนทั้งๆที่ป้าโซก็ไม่รู้หรอกว่าจริงหรือไม่) เพราะปู่ของเด็กๆเน้นนักเน้นหนาเรื่องการคัดลายมือด้วยพู่กัน การคัดตัวคันจิที่คล้ายอักษรจีนนั่นแหละค่ะ ปู่บอกว่าจะสามารถตัดสินอนาคตกันได้ในภายหน้าเลยเชียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเขียนเรียงความที่กลั่นกรองมาจากความคิดความรู้สึกของคนเขียน

ถ้าให้เดา ป้าโซก็จะเดาว่าคงเป็นเพราะสิ่งที่ได้จากการฝึกฝน นั่นคือสมาธิ ความอดทน และท้ายที่สุดความชำนาญที่ได้มาจากสมาธิและความอดทนนั่นเอง จะมีผลกับการกระทำต่างๆที่เราจะทำซึ่งน่าจะมีผลดี

ถึงไม่เคยใช้พู่กันเขียนตัวอักษรจีน แต่ตอนเล็กๆป้าโซก็เคยได้รางวัลคัดลายมือด้วยปากกาคอแร้งนะ .. ไม่อยากจะคุย ว่าแต่ว่าเกี่ยวกันมะ?


ขอให้ห้วยที่ขวางคลองของคุณพี่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติน้ำท่วมนะคะ เดินทางไปไหนมาไหน ออกต่างจังหวัดที่ต้องประสบภัย ก็ดูแลตัวเองด้วยนะคะคุณพี่..


โดย: ป้าโซ วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:51:36 น.  

 
"ชีวิตที่ลำบากเป็นชีวิตที่เจริญ"

.
.


ผมคิดว่าชีวิตที่ดีเหมือนกระท้อนนะครับพี่
ยิ่งทุบ ยิ่งหวาน
ยิ่งผ่านอุปสรรคมากเท่าไหร่
ก็ยิ่งประสบความสำเร็จได้มากเท่านั้นครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:25:02 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:31:52 น.  

 
สวัสดียามบ่ายนะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:47:36 น.  

 
ทุกข์เพราะถูกคาดหวัง
แสดงว่าพี่มีดีนะครับ
เขาถึงหวังจะพึ่งพาครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:08:56 น.  

 
สวัสดียามค่ำคืนครับคุณครู
ผมว่าอย่างคุณก๋าแหละครับ


โดย: panwat วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:03:49 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่










โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:24:37 น.  

 
พี่ถามบ่อยๆเดี๋ยวก็แต่งซะเลยนี่ 5555+

อันนี้คงต้องรอเจ้าสาวตอบตกลง 555+



อรุณสวัสดิ์นะครับพี่ดิ่ง ^^


โดย: พระจันทร์ของขวัญ (Great_opal ) วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:15:02 น.  

 
สวัสดียามบ่ายค่ะพี่ ขอบคุณสำหรับความห่วงใย ตอนนี้หลายๆพื้นที่น้ำท่วมสูง แต่ตอนนี้เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้วละคะ


โดย: sawkitty วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:55:17 น.  

 
รูปถ่ายฝีมือพี่แป๋ว
สวยเสมอในความรู้สึกของผมครับพี่

เป็นอันดับหนึ่งที่ยังไม่มีใครโค่นได้ในใจของผมครับ


ผมคิดเอาไว้เล่นๆว่ามีภาพสวยๆของตัวเองได้สัก 1 ใน 10 ของพี่แป๋ว
ผมก็คงดีใจมากเลยครับ 555

ขอบคุณสำหรับ
หมื่นตา-มาตื่นนะครับพี่
เป็นคำที่น่ารักมากเลยครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:46:34 น.  

 
สวัสดียามค่ำๆครับคุณครูดิ่ง
อากาศเริ่มหนาวๆแล้วนะครับ



โดย: panwat วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:48:55 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:26:12 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับพี่








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:30:11 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่

แป๋วเปิดมาอ่านได้สามบรรทัดหลายทีแล้ว
อยากอ่านให้จบแต่ว่าอยู่ที่ทำงาน
เลยต้องตัดใจกลับไปทำงานก่อน

วันนี้วันศุกร์กลางคืนเลยขอหนีกองหนังสือมาอ่านต่อก่อน
ประวัติท่านหวงอ่านจบแล้ว ร้องโอ้โห
ต้องบอกว่าท่านเป็นยอดคนจริงๆค่ะ

เวลาอ่านประวัติคนที่เก่งๆแบบนี้
รู้สีกว่าจิตใจเข้มแข็ง มีกำลังใจ
ที่กำลังเหี่ยวๆ ตัวขี้เกียจเพียบ
ก็พลันหายไป
เพราะเป็นแรงบันดาลใจ
อยากทำตัวดีๆบ้างค่ะ

อ่านจบแล้วเลยต้องไปตามอ่านบล็อกท่านฉีอีกรอบ
พอเห็นรูปแล้วจำรูปคราดได้

ความชอบส่วนตัว แป๋วชอบรูปแบบท่านฉีมากกว่าค่ะ
รูปท่านหวงสวยละเมียดละไม แต่รูปของท่านฉีเข้าทำนอง impressionism หรือเปล่าคะ

ดีใจที่มาอ่านบล็อกพี่วันนี้
ที่ต้องอ่านหนังสือกองโตอีกสองวัน
ค่อยมีแรงพยายามหน่อยค่ะ

ปล. อ่านคอมเม้นท์ลงมาเรื่อยๆด้วย
เห็นเม้นท์คุณก๋า
...
แบบพูดไม่ออกค่ะ
ขอบคุณคุณก๋ามากๆด้วยค่ะ

ปล.สอง ดูรูปท่าานฉีใหม่
แหม อยากไปเรียนเขียนภาพค่ะ


โดย: SevenDaffodils วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:03:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.