Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2557 12 27 คำถามก่อนผ่าตัด ศิลป์ในสวน OTOP

วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดีที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "

สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.

ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

ท่านผู้ฟังสามารถโทรศัพท์มาร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง

๑. ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย

- คำถามที่ควรถามแพทย์ ก่อนที่จะผ่าตัด

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา

- งานศิลป์ในสวน Homemade Handmade ครั้งที่ ๒ ?

- กกต.จ.กพเชิญชวนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 18 ด้าน

๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา

- วันที่ ๒๖ – ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ มหกรรมสินค้าOTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ๔ ภาค ในงาน OTOP mobileto the factory and festival ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร

- วันที่ ๓๑ธันวาคม ๒๕๕๗ สวดมนต์ข้ามปี วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง นครชุม

- วันที่ ๑มกราคม ๒๕๕๘ ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ลานอนุรักษ์วัฒนธรรม ริมปิง

- ตลาดเกษตรกรหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น

- นั่งรถไฟฟ้าชมเมือง เส้นทางบุญไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเขตเทศบาลเมืองฯ รอบเช้า ๐๙.๐๐ น. รอบบ่าย ๑๓.๐๐ น. ( ระยะเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง )จุดขึ้นรถ บริเวณ ลานโพธิ์ หน้าอำเภอเมืองฯ ( กรุณามาก่อนเวลารถออกอย่างน้อย ๑๐นาที ) ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร (ในเวลาราชการ) โทร ๐๕๕ – ๗๑๘ ๒๐๐ ต่อ ๓๒๒ ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทร ๐๙๔ – ๖๓๖ ๖๓๖๙


๑.ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย คำถามที่ควรถามแพทย์ ก่อนที่จะผ่าตัด

คำถามเหล่านี้ไม่แนะนำสำหรับกรณีที่เป็นการผ่าตัดฉุกเฉินเป็นข้อแนะนำสำหรับการผ่าตัดที่รอได้ เพราะท่านจะมีเวลาพอในการซักถามแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดท่านซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถตัดสินใจได้อย่างดีที่สุด

คำถามสำคัญที่สุดก็คือทำไมถึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และมีวิธีรักษาด้วยวิธีอื่นหรือไม่ เพราะการผ่าตัดและการรักษาวิธีอื่น ๆ ก็มีทั้งข้อเสีย (ความเสี่ยง) และ ข้อดี (ประโยชน์)ควรเลือกวิธีรักษาที่มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

แพทย์ของท่านควรยินดีที่จะตอบคำถามของท่านถ้าท่านไม่เข้าใจคำตอบ ให้ซักถามแพทย์เพิ่มเติมจนเข้าใจดี

1.การผ่าตัดแบบไหนที่แพทย์แนะนำ?

ถามแพทย์เพื่อให้อธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่นมีสิ่งใดบ้างที่ต้องเย็บซ่อม หรือ ตัดออก และทำไม่ต้องทำเช่นนั้นขอให้แพทย์วาดรูปหรืออธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับการผ่าตัดมีวิธีผ่าตัดวิธีอื่นอีกหรือไม่ และทำไมแพทย์ถึงเลือกผ่าด้วยวิธีนี้

2.ทำไมคุณถึงจำเป็นต้องผ่า?

มีหลายเหตุผลที่จะต้องผ่าตัด เช่นเพื่อลดอาการปวด เพื่อช่วยให้อวัยวะทำงานดีขึ้น เพื่อวินิจฉัยโรคที่แน่นอนเพื่อช่วยรักษาชีวิต เป็นต้น คุณต้องแน่ใจว่าเหตุผลของการผ่าตัดคืออะไรเหมาะสมกับโรคที่คุณเป็นอยู่หรือไม่

3.มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่นอกจากการผ่าตัด

บางครั้งการผ่าตัดก็ไม่ได้เป็นคำตอบเดียวสำหรับโรคที่เป็นการรักษาด้วยยา หรือ วิธีที่ไม่ผ่าตัด เช่น การเปลี่ยนอาหาร หรือ การออกกำลังกายอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ ถามแพทย์ถึงข้อดี ข้อเสีย ของการรักษาด้วยวิธีอื่น

ทางเลือกหนึ่งคือการรอดูอาการซึ่งแพทย์และคุณอาจรอดูว่าปัญหาที่เป็นอยู่จะดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าแย่ลง คุณอาจเลือกถูก ที่ผ่าตัด แต่ถ้าคุณดีขึ้น คุณก็อาจจะเลื่อนการผ่าตัดไปได้ บางทีอาจตลอดชีวิต

4.ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัด

ถามแพทย์ว่าคุณจะได้ประโยชน์อะไรจากการผ่าตัด เช่นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมอาจจะทำให้คุณกลับมาเดินได้อีกครั้ง

ถามว่าประโยชน์นั้นจะอยู่นานเท่าไรสำหรับการผ่าตัดบางอย่าง อาจได้ประโยชน์อยู่ไม่นานนักและต้องการ การผ่าตัดครั้งที่สองในเวลาต่อมา เช่นการผ่าตัดข้อเทียม อาจใช้ได้ประมาณ 10 – 15 ปี เป็นต้น

5.การผ่าตัดมีความเสี่ยงอะไรบ้าง

การผ่าตัดทุกอย่างก็มีความเสี่ยงทั้งนั้นนี่คือเหตุผลที่คุณจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้กับความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหรือ ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของการผ่าตัดซึ่งไม่สามารถบอกได้แน่นอน เช่น การติดเชื้อ การเสียเลือดมากเกินไปปฏิกิริยาต่อยาระงับความรู้สึก หรือ อุบัติเหตุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นถ้ามีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดสามารถบอกได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น เช่น การบวม การปวดบริเวณผ่าตัด แผลเป็น

อาการปวดหลังการผ่าตัดเกิดขึ้นแน่นอนถามว่าจะปวดมากน้อยขนาดไหน และ จะลดอาการปวดได้อย่างไร

6.จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ผ่าตัด

ถามแพทย์ว่าอะไรที่คุณจะได้หรือจะเสียถ้ายังไม่ผ่าตัดในตอนนี้ เช่น ปวดมากขึ้น ก้อนโตขึ้น กระดูกไม่ติด

7.สามารถปรึกษาขอความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นได้ที่ไหน

การที่ได้รับความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นที่คุณจะแน่ใจได้ว่าการผ่าตัดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณคุณควรถามบริษัทประกันของคุณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการปรึกษาแพทย์ท่านอื่นถ้าคุณมีแพทย์ท่านอื่นให้ปรึกษา ก็ควรนำเอกสารบันทึก ผลการตรวจต่าง ๆ จากแพทย์คนแรกเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำการตรวจผลต่าง ๆ ซ้ำ

8.แพทย์เคยผ่าตัดด้วยวิธีนี้มามากน้อยแค่ไหน

ทางหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการผ่าตัดก็คือ เลือกแพทย์ที่ได้รับการฝึก และ มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญในการทำผ่าตัดวิธีนั้นคุณสามารถถามแพทย์เกี่ยวกับผลของความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนที่เคยเกิดขึ้น

9.การผ่าตัดทำที่ไหน

แพทย์ส่วนใหญ่จะทำงานในโรงพยาบาล1-2 แห่ง ถามแพทย์ว่าการผ่าตัดจะทำที่ไหนเพราะบางทีผลของการผ่าตัดในโรงพยาบาลที่ต่างกัน ก็อาจไม่เหมือนกัน และจะต้องอยู่ในรพ.นานเท่าไร

ควรถามแพทย์ว่าสามารถผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกได้หรือไม่เพราะการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

10.จะให้ยาระงับความรู้สึกแบบไหน

การให้ยาระงับความรู้สึกจะทำให้ไม่เกิดอาการปวดที่ไม่จำเป็นแพทย์ของคุณจะบอกคุณได้ว่าแบบไหน เช่น

• แบบเฉพาะที่ จะหมดความรู้สึกเฉพาะจุดที่ฉีดยาในช่วงเวลาสั้น ๆ

• แบบเฉพาะส่วนจะหมดความรู้สึกในบริเวณกว้างออกไป เช่น บล็อกหลัง จะชาส่วนล่างของร่างกาย

• แบบทั่วไป (ดมยาสลบ)จะหมดความรู้สึกทั้งร่างกาย ตลอดการผ่าตัด โดยที่คุณจะไม่รู้สึกตัวเลย

การให้ยาระงับความรู้สึกค่อนข้างจะปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ และจะทำโดยวิสัญญีแพทย์ (หมอดมยา) หรือวิสัญญีพยาบาล (พยาบาลดมยา)ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญและได้รับการฝึกสอนที่จะให้ยาระงับความรู้สึก

ถ้าคุณตัดสินใจที่จะผ่าตัดหาวิธีที่จะได้พบผู้ที่จะให้ยาระงับความรู้สึกกับคุณ และหาข้อมูลว่าเขามีความเชี่ยวชาญทางไหนถามถึงผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการให้ยาระงับความรู้สึกในกรณีของคุณต้องแน่ใจว่าคุณได้บอกเขาเกี่ยวกับโรคที่คุณเป็นอยู่ รวมถึง การแพ้ยาและยาที่คุณกินอยู่ เพราะอาจมีผลต่อการให้ยาระงับความรู้สึก

11.ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะหาย

แพทย์สามารถบอกคุณได้ว่า คุณจะรู้สึกอย่างไร และอะไรที่คุณจะทำได้ หรือ ห้ามทำ ในช่วงวัน สัปดาห์ หรือ เดือน แรก ๆ หลังผ่าตัดสอบถามถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่จะช่วยเหลือคุณ เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน

ถามว่าเมื่อไรที่คุณสามารถกลับไปเล่นกีฬา หรือกลับไปทำงานได้เหมือนปกติ คุณคงไม่ต้องการทำอะไรที่จะทำให้คุณหายช้าลงการยกของหนัก 5 กิโลกรัมอาจดูเหมือนว่า "ไม่หนัก" แต่ หลังผ่าตัดมันอาจหนักเกินไปก็ได้

12.การผ่าตัดมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร

ระบบประกันสุขภาพสำหรับการผ่าตัดอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด บางส่วนคุณอาจต้องจ่ายเอง ก่อนผ่าตัดควรถามบริษัทประกันของคุณว่าอะไรบ้างที่จะจ่ายให้และคุณต้องจ่ายเองเท่าไร เช่น ค่าดูแลของแพทย์ ค่าใช้จ่ายให้กับรพ.เกี่ยวกับการดูแลทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก รวมถึงวิสัญญีแพทย์ และการดูแลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด

( พักสักครู่ เพื่อพบกับผู้สนับสนุนรายการ แล้วกลับมาพบกันในช่วงข้อคิดความเห็นเกี่ยวกับบ้านเรา )

๒.ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา

งาน “ศิลป์ในสวน ครั้งที่ ๑ โฮมเมด แฮนเมด” ในวันอาทิตย์ที่๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ สวนสิริจิต โดยมีแนวคิดหลักของานฯ คือเพื่อให้เด็กเยาวชนครอบครัว ได้มีเวทีได้พบปะ แสดงความสามารถแลกเปลี่ยนความคิดความฝัน สร้างแรงบันดาลใจร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในชุมชน

จัดแบบกันเองสบาย ๆ เน้นความสุขสนุกสนานหลากหลายกิจกรรมจากผู้ร่วมสร้างสรรค์งานศิลป์ ที่มาด้วยใจล้วน ๆ แบ่งกิจกรรม ออกเป็น ๔ ส่วนหลัก

๑. ดนตรี จาก KPRU crass band วงเครื่องสาย 4 ชิ้น (เปิดงาน) วงออเคสตร้าร.ร.บ้านดงซ่อม (นักดนตรี 40 คน) ไวโอลิน กีตาร์ ดนตรีจากบ้านดนตรี มายากลจากร.ร.ทุ่งโพทะเลพิทยา

๒. งานศิลปะ การ์ดทำมือ ที่คั่นหนังสือหมวกแฟนซี ตุ้กตาทำมือ พับดอกไม้จากใบเตย สอนทำการ์ด ที่ใส่กล่องดินสอ พวงกุญแจจากเศษผ้า สานทางมะพร้าวเพ้นท์หน้าเด็ก

- ร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนแบบสนุก ๆ เรื่อง"ศิลปะ ความสุขกายใจ"

- เรื่องเล่าในสวน Story in the Park by FROG

๓. ของเก่าบ้านเราใหม่บ้านเขา reuseGarage sale เช่น หนังสือมือสอง ของเล่นมือสอง ตุ้กตามือสอง ของตกแต่งบ้านมือสอง เสื้อผ้าของใช้เด็กเล็ก วัยรุ่น เสื้อผ้าของแม่กับลูก

- สินค้าแฮนด์เมด เช่น กระเป๋าผ้าแบบเพ้นท์กระเป๋าผ้าเย็บเอง แก่นตะวัน งานเพ้นท์นาฬิกาแขวน เพลโด ตุ้กตาถักมือ ตุ้กตาไหมพรมหมวกไหมพรม เทียนหอม ผ้าเช็ดมือ ริบบิ้นใส่เหรียญหว่านทาน

๔. อาหารโฮมเมด เช่น ขนมเค็กโฮมเมด คุ้กกี้บราวนี แยม ไอสครีมกระทิ กระยาสารท ทองม้วน ขนมเทียนสลัดงา ขนมหวานสูตรโบราณ สาคูไส้กุ้ง ก๋วยเตี๋ยวลุยสวนเครื่องดื่มสมุนไพร น้ำสมุนไพรเทียนทั้งห้าเกษรทั้งห้า ม้อคเทลสมุนไพร

งานนี้ ไม่มีลำโพงเสียงดัง ไม่มีไฟฟ้าไม่มีเตาแก๊ส ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีเก้าอี้ แต่มี " ใจ " เพียบ ^_^

สิ่งที่นำมาด้วย "กระเป๋าผ้า" และ"รอยยิ้ม"

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ .. งานศิลป์ในสวน ครั้งที่ ๑ Homemade Handmade

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.615156448607886.1073741878.146082892181913&type=3

แจ้งเป็นข้อมูลเบื้องต้น.. ในขณะนี้ยังติดปัญหาเรื่องระเบียบการขอใช้พื้นที่สวนสาธารณะ ของเทศบาลเมืองฯซึ่งกำหนดไว้ว่า ห้ามจำหน่ายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ภายในสวนสาธารณะครั้งแรกที่จัด ผมส่งหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่ล่าช้าจึงยังไม่ได้รับการอนุญาตให้จัดงาน จากทางเทศบาลฯแต่เนื่องจากทุกฝ่ายเตรียมงานกันแล้ว จึงเลยตามเลยไปก่อน (ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีอะไรตามมาบ้าง )

แต่ถ้ามีการจัดครั้งต่อไปก็คงต้องขึ้นอยู่กับทางเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และ นายกเทศมนตรีฯ จะพิจารณาอนุญาตให้ใช้พื้นที่สวนสิริจิต จัดงานหรือไม่ ? ซึ่งมี ๒ แนวทางคือ

๑. ถ้าอนุญาต ผ่อนผันให้จัดแบบเดิมได้ ..ก็จัดแบบเดิม ที่เดิม ( เหตุผลคือ เป็นการจัดงานที่มี ดนตรี และ ศิลปะ เป็นหลัก ..อาหาร ขนม น้ำดื่ม สินค้ามือสอง เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น และครั้งที่ผ่านมาก็ไม่ได้ทำให้เกิดความสกปรกในสวนฯ )

๒. ถ้าไม่อนุญาต ถ้าจะจัดในสวนสาธารณะก็มีทางเลือกเดียว คือ งด..จำหน่าย สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม หรือไปจัดที่อื่นที่ไม่ใช่สวนสาธารณะ ? (ทางเลือกนี้ ไม่ผิดระเบียบ แต่บรรยากาศในงาน คงขาดสีสรรไปพอสมควร )

ผมเองก็รับทราบถึงเจตนาดีในการออกระเบียบฯและความลำบากใจของทางเทศบาลเมือง (นายกเทศมนตรี และ ข้าราชการ)แต่ก็อยากให้พิจารณาถึงรูปแบบวัตถุประสงค์ และเด็กเยาวชนครอบครัวที่จะได้รับประโยชน์จากการจัดงานแบบนี้ ด้วยนะครับ


กกต.จ.กพเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิรูปประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำแพงเพชร(กกต.จ.กพ) ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงาน เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการปฏิรูปประเทศขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 18ด้าน โดยสามารถส่งเอกสารได้ทางช่องทาง

1. ยื่นเอกสารด้วยตนเอง ที่ “งานจัดการเลือกตั้ง “ หรือ ใส่กล่องรับความคิดเห็น ณสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ที่ว่าการอำเภอเก่าหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร)

2. ส่งจดหมาย จ่าหน้าซองถึงสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำแพงเพชร เลขที่ 167 ถนนเทศา 2ต.ในเมือง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000

3. ทาง E-mail :kamphaeng@ect.go.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์055-716363 ต่อ 15

ส่วนหนึ่งของการปฏิรูป ซึ่งผมคิดว่า "สำคัญมาก " ก็คือ กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ส่วนคือ ประชาชนที่สนใจได้แสดงความคิดเห็น ต้องใช้เวลาพอสมควร และ "ผู้จัด"ต้องรับฟัง (ไม่ใช่แค่จัดให้มีเกิดขึ้น)

กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ ในระยะเวลาไม่กี่เดือนหลังจากนี้ โอกาสเปิดแล้ว เหลือแต่"ประชาชน" เตรียมตัว เตรียมข้อมูล ความต้องการ ข้อเสนอ พร้อมหรือยัง ?

( พักสักครู่ เพื่อพบกับผู้สนับสนุนรายการ แล้วกลับมาพบกันในช่วงข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา)




Create Date : 14 กันยายน 2558
Last Update : 14 กันยายน 2558 23:35:32 น. 0 comments
Counter : 647 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]