Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 04 11 โรคหน้าร้อน สงกรานต์ ปลอดเหล้าที่กำแพงเพชร

 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย
- โรคหน้าร้อน ?
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- กำแพงเพชร สงกรานต์ปลอดเหล้า
๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา
“๑๒ - ๑๕ เมย.๕๘ เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์เมืองกำแพง” จัดโดย เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.680635542059976.1073741891.146082892181913&type=3
๑๕ เมย.๕๘  พิธีรดน้ำขอพรแสดงกตเวฑิตา ครูโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม (วัชร-นารี)
เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. (พิธีรดน้ำขอพร เริ่มเวลา ๑๒.๐๐ น.) ณ ลานธรรม โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
https://www.facebook.com/alumnikps/media_set?set=a.646598265462992.1073741910.100003384721086&type=3
๑๘ เมย.๕๘  งานประเพณีสงกรานต์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
- นั่งรถไฟฟ้า เส้นทางบุญ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเขตเทศบาลเมืองฯ รอบเช้า ๐๙.๐๐ น.  รอบบ่าย ๑๖.๐๐ น. ( ระยะเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ) จุดขึ้นรถ บริเวณ ลานโพธิ์ หน้าอำเภอเมือง ไม่ต้องจองล่วงหน้า  และ ฟรี   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร (ในเวลาราชการ) โทร ๐๕๕ – ๗๑๘ ๒๐๐ ต่อ ๓๒๒  ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทร ๐๙๔ – ๖๓๖ ๖๓๖๙



๑. ความรู้สุขภาพ โรคที่พบบ่อย  

โรคหน้าร้อน ?
1.    โรคทางเดินอาหาร  
2.    โรคพิษสุนัขบ้า
3.    โรคลมแดด
4.    การจมน้ำ

1 โรคทางเดินอาหาร
ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค และไข้ไทฟอยด์ โดยพบมากที่สุด คือ โรคอุจจาระร่วง ป่วย 175,270 ราย เสียชีวิต 2 ราย  
หลักสำคัญในการป้องกัน ก็คือ สุขอนามัย ที่ดี  โดยยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หลังเข้าห้องส้วมต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง
สาเหตุที่ควรรับประทานอาหารขณะที่ยังร้อนอยู่  เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เชื้อโรคก็จะเจริญเติบโตได้  
อาหารสดก่อนนำมา ปรุง ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า 2-3 ครั้ง
ส่วนผักหลังจากล้างน้ำควรแช่ในน้ำผสมเกลือ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำส้มสายชู อัตราส่วนครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4 ลิตร หรือเบคกิ้งโซดา อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วล้างน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง
ที่สำคัญควรล้างมือก่อนปรุงอาหาร และใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารหรือสวมถุงมือในการหยิบจับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ผู้ปรุงมักจะใช้มือสัมผัสในระหว่างการปรุง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ขนมจีน
สำหรับอาหารที่ทำขาย หากระยะเวลาจำหน่ายนานมากควรนำมาอุ่นทุกๆ 4 ชม.
อาหารปรุงสำเร็จที่ซื้อมารับประทานหากไม่รับประทานทันทีควรเก็บในตู้ เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ หากจะรับประทานอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นนานเกิน 4 ชั่วโมง หรือเก็บไว้ค้างคืน ต้องนำมาอุ่นให้เดือดด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อน
น้ำดื่ม ควรต้มสุกหรือดื่มน้ำที่บรรจุขวดที่ได้มาตรฐานน้ำบริโภค
น้ำแข็งต้องเป็นน้ำแข็งที่ผลิตเพื่อการบริโภคและได้มาตรฐานรับรองเท่านั้นน้ำแข็งหลอดจะปลอดภัยกว่าน้ำแข็งป่น แต่ในช่วงนี้ควรรับประทานน้ำในขวดที่แช่เย็นโดยไม่ต้องใส่น้ำแข็งจะปลอดภัยมากกว่า
การดูแลรักษาเบื้องต้น
เมื่อเกิดโรคอุจจาระร่วงสามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ  (สามารถทำ  ORS  ได้เองโดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา ลงในน้ำต้มสุก 1 ขวด (ประมาณ 750 ซีซี))
2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์
ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะ หรือยาแก้ท้องเสียรับประทานเอง เพราะการถ่ายอุจจาระเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับไล่ของ เสีย สารพิษและเชื้อโรคออกจากร่างกาย การรับประทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสียทำให้ลำไส้ต้องเก็บกักเชื้อโรคไว้ นานขึ้น และทำให้ท้องอืดแน่น
เมื่อใดควรไปพบแพทย์
1. ถ่ายเหลวมากกว่า ๓ ครั้ง ถ่ายเป็นมูกเลือด มีไข้
2. อาการท้องเสีย ไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง
3. เป็นในผู้ป่วยโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ ที่มีอาการขาดน้ำมาก ซึมลง
4. อาเจียนรุนแรง จนไม่สามารถรับประทานอาหาร หรือน้ำได้

2โรคพิษสุนัขบ้า
ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย มีพาหะหลักคือสุนัข และแมว ติดโรคจากการกัด ข่วน หรือเลียผิวหนังคนมีแผล และไม่มียารักษา แต่ก็สามารถป้องกันได้ ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน และลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดคือ อย่าไปแหย่สุนัข หากเห็นสุนัขท่าทางไม่น่าไว้วางใจก็ควรพยายามเดินเลี่ยง  แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วโดนกัด วิธีที่ดูแลตนเองในเบื้องต้นก็คือล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หากมียาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ ก็ใส่แผลได้เลย จากนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

 3.โรคลมแดด ( อุณหพาต , ฮีทสโตรก) เกิดจากการที่ร่างกายได้รับ ความร้อนมากเกิน ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการที่พบเบื้องต้น ได้แก่ อ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม หากรุนแรงอาจมีอาการตัวร้อนจัด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
สัญญาณสำคัญของโรคลมแดด ก็คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย
บุคคลที่เสี่ยงต่อโรคลมแดด คือ ทหาร นักกีฬา ผู้สูงอายุ เด็ก คนดื่มสุราจัด โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
วิธีป้องกัน
ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ทำงานในร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว    แต่เมื่อเหงื่อออกมากและเริ่มเพลีย อาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่
สวมใส่เสื้อผ้าหลวม มีสีอ่อน ไม่หนา และระบายความร้อนได้ดี (ผ้าฝ้าย)
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ การเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมากในช่วงอากาศร้อน พยายามอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้ดี เมื่อออกแดด ใช้ร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง
งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดหรืองดดื่ม เครื่องดื่มกาเฟอีน เพราะเครื่อง ดื่มเหล่านี้เพิ่มการขับน้ำทางปัสสาวะ ร่างกายจึงเสียน้ำและเกลือแร่มากขึ้น
วิธีรักษา
       - ให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง
       - คลายชุดชั้นในและถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้น
       - ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก
       - ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อนหรือเทน้ำเย็นราดตัว
       - ถ้าอาการไม่มาก ให้ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

5.การป้องกันเด็กจมน้ำ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตรงกับช่วงปิดเทอม ซึ่งมักจะมีข่าวว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเป็นเสียชีวิตมาเป็นอันดับ 1
 มาตรการที่ต้องยึดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือ“ตะโกน โยน ยื่น” ได้แก่
1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนอื่นมาช่วย และโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669
2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น
3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วย เพราะจากข้อมูลพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูกต้อง


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
กำแพงเพชร สงกรานต์ปลอดเหล้า
ครม.ออกกฎเข้ม 8 ข้อห้ามรับสงกรานต์ 58 รณรงค์ใช้ขันเล่นน้ำตามประเพณี
1. การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ใส่เสื้อผ้าที่ล่อแหลม โดยรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง หรือเสื้อลายดอก
2. การห้ามจำหน่ายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณที่มีการจัดกิจกรรมงานสงกรานต์
3. การห้ามเล่นน้ำที่มีสิ่งเจือปน แป้ง น้ำแข็ง และ โฟม
4. การห้ามใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงหรืออุปกรณ์เล่นน้ำที่อาจเกิดอันตราย โดยรณรงค์ให้ใช้ ขันน้ำ ตามประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม
5. การห้ามขับรถกระบะบรรทุกน้ำในการเล่นน้ำสงกรานต์ไปในที่ชุมชนหรือบริเวณจัดงาน
6. การแสดงภาพลักษณ์ที่เหมาะสมในการเล่นน้ำสงกรานต์ โดยรณรงค์ไม่ให้มีการแสดงหรือการเต้นที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
7. หากมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมประเพณีงานสงกรานต์ ขอให้จัดกิจกรรมที่สอดคล้องและส่งเสริมประเพณีไทย
8. ขอให้มีการกำหนดเวลาการเล่นน้ำที่ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาการจราจร และการเกิดอาชญากรรมในยามวิกาล

ช่วงเทศกาลสงกรานต์สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องของอุบัติเหตุ พบว่า สงกรานต์ปี 2557 ที่ผ่านมา มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น 2,992 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 3,225 ราย และผู้เสียชีวิต 322 ราย
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเมาแล้วขับ ร้อยละ 36.76
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.14 และ
อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 62.60 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.74
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชนที่มีการดื่มแอลกอฮอล์ และการออกมาเล่นสาดน้ำ

“แนวคิดสงกรานต์ปลอดภัย ทำให้มีรณรงค์ ในรูปแบบต่างๆ ในพื้นที่ โดยนำ 7 มาตรการสำคัญมาใช้ คือ ประกาศ ห้าม ขอ แลก ฝาก เฝ้า และ สร้าง
1. "ประกาศ" การประกาศนโยบายจัดงานปลอดเหล้า
2. "ห้าม" การห้ามไม่ให้มีการขายการดื่มในงาน
3. "ขอ" การขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้า
4. "แลก" การนำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือน้ำดื่มชนิดอื่น ๆ มาแลกกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจมีคนถือเข้ามาในงาน
5. "ฝาก" การฝากแอลกอฮอล์ไว้ในจุดที่กำหนดไว้
6. "เฝ้า" การเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในพื้นที่จัดงาน  
7. "สร้าง" การสร้างกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมจะช่วยให้สังคมยึดแบบแผนของวัฒนธรรมที่ดีงามและมี รวมทั้งรักษาคุณค่าความหมายของประเพณีสงกรานต์ได้เป็นอย่างดี"
สสส. ภาครัฐ และประชาสังคมเครือข่ายงดเหล้า 77 จังหวัดทั่วประเทศ ขอรณรงค์ 7 มาตรการสงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้าด้วยกัน คือ
1. พื้นที่โซนนิงเล่นน้ำปลอดเหล้าปลอดภัย
2. สร้างนโยบายสาธารณะให้สงกรานต์ปลอดภัย
3. ควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ปลอดแป้งสี ปลอดโป๊ ปลอดน้ำแข็ง ปลอดปืนฉีดน้ำแรงดันสูง
 4. สนับสนุนกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชน
5. เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการตลาดที่ไม่รับผิดชอบจากธุรกิจแอลกอฮอล์
6. ใช้มาตรการชุมชน เพื่อปกป้องดูแลลูกหลาน
7. ฟื้นประเพณีวัฒนธรรมสงกรานต์ไทยๆ

โดยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ปี 2556 จากจำนวน 6700 ตัวอย่างทั่วประเทศ
ร้อยละ 85 เห็นด้วยกับการจัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้าปลอดภัย
ร้อยละ 79.3 เห็นด้วยที่เจ้าภาพจัดงานไม่รับสปอนเซอร์จากธุรกิจเหล้าเบียร์
ร้อยละ 82 เห็นด้วยกับการมีมาตรการควบคุมไม่ให้มีไม่ให้มีแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำ
และร้อยละ 78 อยากให้รัฐออกกฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วประเทศในช่วงสงกรานต์”

การทำสงกรานต์ให้ปลอดภัย ประชาชนเที่ยวชมสบายใจ ไม่ยาก แค่ 3 ข้อเท่านั้น
1. เจ้าภาพผู้จัดงานต้องลดปัจจัยเสี่ยง
จัดให้มีการรณรงค์ ประกาศเป็นนโยบาย มีการตรวจตราและเฝ้าระวังโดยเจ้าหน้าที่เพื่อลดการดื่ม-การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพื้นที่เล่นน้ำ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า น้ำเมาและคนเมา เป็นสาเหตุสำคัญของความไม่ปลอดภัย ความสูญเสียและความรุนแรงนานาประการ
 2. เพิ่มพื้นที่ดี
การกำหนดขอบเขตของพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัยที่ชัดเจน การส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชนเข้ามาร่วมกิจกรรมการแสดงออกในพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ เช่น ดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรม การละเล่นต่างๆ
จัดกิจกรรมฝากเหล้าไว้กับตำรวจ น้ำดื่มชื่นใจแลกเหล้า
 3. มีความร่วมมือของผู้ร่วมจัดงาน
ตำรวจ สรรพสามิต เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมมือกันเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยตลอดงานเทศกาล

ทำพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย  หลัก 5 ข้อ เพื่อความสุขสนุกของผู้ร่วมงานอย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ ได้วัฒนธรรม
1. ติดป้ายประกาศแสดงขอบเขตพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย (Zoning)ไร้แอลกอฮอล์
2. มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราเฝ้าระวังดูแลก่อนเข้าบริเวณงาน
3. ไม่อนุญาตให้มีการขายหรือดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่นั้น พร้อมมาตรการลงโทษผู้ฝ่าฝืน
4. หากมีการดื่มหรือขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เล่นน้ำเกินกว่าเหตุมีการแสดงที่เกินเลยจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลสั่งการโดยตรงแบบทันท่วงที
5. ความสนุกและสาระการทำบุญยังมีอยู่ครบ สังเกตว่าทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส โดยไม่ต้องดื่มเหล้าย้อมใจ




Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 21:19:53 น. 0 comments
Counter : 649 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]