Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 10 29 โรคซึมเศร้า ๑๐ เรื่องน่ารู้ กำแพงเพชรรวมใจ อาลัยองค์ภูมิพล



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417  

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ ... โรคซืมเศร้า     
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-10-2016&group=4&gblog=126

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา ... ๑๐ เรื่องน่าสนใจ เกี่ยวกับการจัดงาน “ ชาวกำแพงเพชร รวมใจ น้อมอาลัย องค์ภูมิพล “
https://www.facebook.com/1825182744395543/photos/?tab=album&album_id=1827068284206989

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา  :
- ขอเชิญชาวกำแพงเพชร ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
- (บ่าย) วันที่ ๑๗ ตค. - ๑๒ พย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมอเนกประสงค์ วัดคูยางพระอารามหลวง (ข้าราชการ - ชุดปกติขาวไว้ทุกข์ ประชาชนทั่วไป – ชุดสุภาพสากลไว้ทุกข์)
- (ค่ำ) วันที่ ๑๗ ตค. - ๓๑ ตค. ๒๕๕๙ เวลา ๑๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. ณ อุโบสถ วัดคูยางพระอารามหลวง

รายชื่อวัด ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เครดิต Supa Chee  https://www.facebook.com/supa.chee.5/posts/1163387810394504

”””””””””””””””””””””””””””””

- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””


๑. ความรู้สุขภาพ ...  
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้ามีอุบัติการณ์เป็นอย่างไร?
    โรคทางอารมณ์ซึ่งรวมถึงโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder : MDD) ด้วย สามารถพบได้บ่อยถึง 10-20% ของประชากรทั่วโลก หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นโรคหัวใจ โรคเครียด โรคคิดมาก ครอบครัวหรือสังคมอาจมองว่าผู้ป่วยหนีปัญหาด้วยการร้องไห้เสียใจ องค์ การอนามัยโลก (WHO) มีการประมาณการณ์ว่าในปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการสุญเสียมากที่สุดในทางเศรษฐกิจสังคม เพราะโรคนี้มักเป็นตั้งแต่วัยทำงานและเป็นเรื้อรัง ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาสภาวะพึ่งพิงคนอื่นๆในครอบครัว
    โรคซึมเศร้า สามารถพบได้ในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกเศรษฐสถานะ พบในผู้หญิงมาก กว่าผู้ชาย (ญ:ช = 2:1) โรคนี้ไม่ได้ทำอันตรายต่อร่างกายจนทำให้เสียชีวิต แต่ความคิดที่ผิด ปกติจากโรคซึมเศร้า สามารถทำให้ผู้ป่วยมีมุมมองต่อตัวเองและคนอื่นผิดไป จนทำร้ายตนเองได้ ดังนั้นจึงเป็นความสูญเสียที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการของโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ หมดความสนุก หรือหมดอาลัยตายอยาก ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยมีอาการด้านต่างๆ ดังนี้
- อาการทางกาย (Neurovegetative or Somatic Symptoms) เช่น ซึมเศร้า ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆลดลงอย่างมาก เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% ใน 1 เดือน นอนไม่หลับ หรือ นอนมากกว่าปกติ
ปวดหัว/ปวดศีรษะ ปวดท้อง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- อาการทางบุคลิกภาพ เช่น มีอาการพูดช้า พูดเสียงเบา คิดช้า เคลื่อนไหวช้า แยกตัว บางรายมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นั่งไม่ติด ต้องเดินไปมา
- อาการทางความคิด ผู้ป่วยซึมเศร้ามักมีความคิดมองโลกแง่ร้าย รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือ รู้สึกผิด วิตกกังวล ขาดสมาธิและความมั่นใจ ในรายที่มีอาการมากๆ อาจหลงผิดมากจนเข้าขั้นโรคจิต (Psychosis) เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้ายตนเอง และคิดฆ่าตัวตายได้
อาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน หรือทำให้การประกอบอาชีพ การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญ บกพร่องลงอย่างชัดเจน







สาเหตุ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เชื่อกันว่าสัมพันธ์กับหลายๆ ปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัวเป็นต้น
1.     โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยรวมๆ ทางด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และชีวภาพ
2.     โรคซึมเศร้ามักเกิดตามหลังความผิด หรือการสูญเสียจากพราก เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านสังคม การเรียน การงาน หรือการเงิน สภาพชีวิตที่โดดเดี่ยวว้าเหว่ ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น
3.     โรคซึมเศร้ามิได้เกิดจากสภาพจิตใจที่เปราะบาง อ่อนแอ อย่างที่เข้าใจกันผิดๆ หากแต่มีหลักฐานจากการวิจัยมาตลอด 20 ปีนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสมดุลย์ของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน โดยเฉพาะสารซีโรโทนิน นอร์เอปิเนฟรีน และโดปามีน
4.     หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติ ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์
5.     สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่ง ต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเอง และโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่าย เมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น
6.     หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้
7.     สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

เกณฑ์การวินิจฉัยว่าเกิดเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง (Major Depressive Disorder) แล้ว ได้แก่
ก. ผู้ป่วยมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการจากอารมณ์รู้สึกเศร้า และ/หรือเบื่อหน่ายไม่มีความสุข ซึ่งต่างไปจากอดีต รวมกับอาการ 5 อาการ (หรือมากกว่า) ดังจะกล่าวต่อไป โดยมีอาการร่วมกันอยู่นานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
1. มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน จากการบอกเล่าของผู้ป่วยหรือจากการสังเกตของผู้อื่น (หมายเหตุ: ในเด็กและวัยรุ่นสามารถเกิดเป็นอารมณ์หงุดหงิด)
2. ความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่างๆทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก เป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน
3. น้ำหนักตัวลดลง (โดยมิได้เป็นจากการคุมอาหาร) หรือเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญ/อย่างมาก หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน
4. นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไปแทบทุกวัน
5. กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้า ไม่อยากทำอะไรแทบทุกวัน
6. อ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรงแทบทุกวัน
7. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสมหรือมากเกินควร แทบทุกวัน
8. สมาธิหรือความสามารถในการคิดอ่านลดลงหรือตัดสินใจอะไรไม่ได้แทบทุกวัน
9. คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ คิดอยากตายอยู่เรื่อยๆ โดยมิได้วางแผนแน่นอน หรือพยายามฆ่าตัวตาย หรือมีแผนในการฆ่าตัวตายไว้แน่นอน

ข. อาการเหล่านี้ต้องมิได้เข้ากับเกณฑ์โรคอื่นๆทางจิตเวช
ค. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆที่สำคัญ บกพร่องลง
ง. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสารต่างๆ (เช่น ยา) หรือจากภาวะความเจ็บ ป่วยทางกาย
จ. อาการไม่ได้เข้ากับเศร้าจากการที่คนรักเพิ่งสูญเสียไป คนทั่วไปมักจะเป็นอยู่ประมาณ 2 เดือนหลังสูญเสียคนรัก

การรักษาโรคซึมเศร้าทำได้อย่างไร?
    หลังจากแพทย์ประเมินอาการจนค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุมาจากโรคทางร่างกายอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ โรคซึมเศร้าสามารถรักษาเป็นผู้ป่วยนอกได้ เริ่มให้การรักษาโดยให้ยาขนาดต่ำก่อน นัดติดตามการรักษาอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อมา ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียงอะไรก็จะค่อยๆ ปรับยาขึ้นไปทุกๆ 1-2 สัปดาห์จนได้ขนาดในการรักษา กระบวนการรักษา ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน จึงสามารถบอกได้ว่าตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ และจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี

แพทย์จะรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ
1. ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ไม่กินอาหารเลย อยู่นิ่งๆ ตลอดวัน คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย
2. แพทย์ต้องการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
3. แพทย์เห็นว่าการรักษาด้วยยาต้องดูแลใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น


ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมีหลัก  9 ข้อดังต่อไปนี้
1.    อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
2.    แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้
3.    อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
4.    พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
5.    เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไปเช่นการออกกำลังเบาๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
6.    อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้ และ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
7.    ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
8.    อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเองเพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
9.    ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ

คนใกล้ชิดควรจะช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าดังต่อไปนี้
    การช่วยพยุง หรือประคับประคองทางอารมณ์นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอันได้แก่การรับฟัง ความเข้าใจ ความอดทน ความห่วงใย
    การสนับสนุนและให้กำลังใจการรับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ โดยแทนที่จะแสดงท่าทีรำคาญ หรือดูแคลนผู้ป่วย แต่ควรจะชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง
    การชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนุกสนานต่อผู้ป่วย มาก่อน เช่น เดินเล่น ชมภาพยนตร์ หรือเล่นกีฬา แต่ไม่ควรผลักดันมากเกินไป และเร็วเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะรับได้เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกไร้ค่าไร้ความ สามารถให้มากขึ้น
    อย่าเรียกร้องให้ผู้ป่วยต้องหายจากโรคอย่างรวดเร็ว อย่ากล่าวโทษผู้ป่วยซึมเศร้าว่าแสร้งทำ หรือขี้เกียจ เพราะถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็ยังต้องใช้เวลา ช่วงหนึ่งจึงจะมีอาการดีขึ้น
.........................................

          ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่นำมาซึ่งความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงของคนไทยทั้งประเทศ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกคำแนะนำวิธีการดูแลสภาพจิตใจในช่วงที่คนไทยกำลังเผชิญกับบรรยากาศความโศกเศร้าในช่วงนี้ โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษา กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ประชาชนทุกคนสามารถช่วยกันดูแลสภาพจิตใจกันและกันได้ด้วยการปฐมพยาบาลทางใจตามหลัก 3L คือ

วิธีดูแลสภาพจิตใจ
1. Look
          การมองหาคนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน คือคนที่แสดงอาการเสียใจอย่างรุนแรง ร้องไห้ไม่หยุด คร่ำครวญ เครียด กินไม่ได้ นอนไม่หลับ และกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบทางจิตใจมากกว่าปกติ คือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้เจ็บป่วยเรื้อรังทางทั้งกายและทางจิต รวมถึงผู้ที่มีปัญหาชีวิตอยู่แล้วก่อนหน้า

2. Listen
          คือการรับฟังอย่างมีสติ อย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่น สบตา จับมือ โอบกอด แสดงถึงความสนใจและใส่ใจเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาได้ระบายความรู้สึกออกมา ทำให้เขาคลายความทุกข์ในใจ และจัดการอารมณ์ให้สงบ แต่ให้ระมัดระวังว่าอย่าแสดงความเห็นใจจนมีอารมณ์ร่วมไปกับผู้ที่ประสบเหตุวิกฤต เช่น ร้องไห้ตามไปด้วย เป็นต้น

3. Link
          คือการช่วยเหลือแก้ปัญหาในฐานะที่ทำได้ แต่หากช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วไม่ดี ให้ส่งต่อ โดยเฉพาะหากเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตสามารถโทรปรึกษาได้ที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

          นอกจากนี้ นพ.ยงยุทธ ยังระบุว่า แม้การสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเป็นความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่จะแสดงความรู้สึกกัน และสืบทอดพระราชปณิธานของพระองค์ เพื่อให้สังคมไทยได้ก้าวเดินต่อไป
    ทั้งนี้ ขอย้ำว่า การแสดงความเศร้าโศกและอาการทางใจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เป็นเรื่องปกติ ที่ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก และจะค่อยผ่อนคลายจนเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์
ไม่มีใครอยากสูญเสีย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราก็ควรจะดูแล จิตใจให้เข้มแข็ง แนะนำ "6 ตัวช่วย ดูแลจิตใจจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ" เพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลทางใจของตนเองและครอบครัว
1.ร่วมแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีและอาลัยรักต่อพระองค์ท่าน
2.แสดงความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อพระองค์ท่านผ่านช่องทางต่างๆ
3.ร่วมทำกิจกรรมสาธารณกุศล ทำความดีแก่พระองค์ท่าน
4.มีสติ ใช้ชีวิตตามปกติ หากเครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ควรไปรับบริการจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
5.สอดส่องดูแลคนใกล้ชิดว่ามีความเศร้าโศกเสียใจรุนแรงกว่าปกติหรือไม่ เช่น ร้องไห้หนักมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจิตเวช และผู้สูงอายุ  ถ้ามี ให้ตั้งสติ รับฟังความรู้สึกให้เขาได้ระบาย อาจใช้การโอบกอด สบตา เพื่อให้เขาคลายความทุกข์
6.ร่วมกันสืบทอดพระราชปณิธานของพระองค์ท่าน เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 ข้อคิด ที่ควรระลึกไว้เสมอ ว่า
1. ความเศร้าโศกเสียใจเป็นเรื่องปกติ ไม่ควรปิดกั้นการแสดงออก
2. ต่างคนต่างความคิด จึงควรเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน
3. เวลาที่เศร้าโศกเสียใจ อาจจะมีหลายๆ เหตุการณ์เกิดขึ้น จึงควรมองด้วยเหตุและผล

3 ข้อระวัง ดังต่อไปนี้
1. ระวัง อย่าให้รู้สึกผิดหวังมากเกินไป ให้ใช้วิธีเล่าถึงประสบการณ์ที่ดี ข้อคิดที่ได้จากพระองค์ท่าน การสืบสานพระราชปณิธาน และดูแลช่วยเหลือคนที่มีความเศร้ารุนแรง ด้วย 3 ส. “สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง ส่งต่อเชื่อมโยง”
2. ระวัง เรื่องความเห็นต่าง ควรปฏิบัติต่อกันอย่างมีสติ และเคารพซึ่งกันและกัน ไม่มองว่าคนที่กระทำไม่เหมือนตนเองเป็นคนไม่ดี หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งนำไปสู่ความรุนแรงในสังคม ทั้งระหว่างบุคคลและสื่อสังคม อาจใช้วิธี นิ่งเสีย ตลอดจนสื่อสังคมไม่ส่งต่อสื่อที่สร้างความโกรธ
3. ระวัง การใช้อารมณ์และโทษผู้อื่น เพราะจะมีแต่ผลเสีย ทำลายชื่อเสียงของประเทศ ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะป้องกันความขัดแย้งและความรุนแรง โดย ป้องกันไม่ให้เกิดการรวมตัวของฝูงชนที่มีอารมณ์ และไม่นำผู้ต้องหามาเผชิญกับฝูงชน เป็นต้น

************************* 19 ตุลาคม 2559

//haamor.com/th/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2/

//haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B22/

//med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

//www.manarom.com/article-detail.php?id=666672


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา   
๑๐ เรื่องน่าสนใจ เกี่ยวกับการจัดงาน “ ชาวกำแพงเพชร รวมใจ น้อมอาลัย องค์ภูมิพล “
นำมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย บันทึกไว้กันลืม
https://www.facebook.com/1825182744395543/photos/?tab=album&album_id=1827068284206989
ขอเชิญ ชาวกำแพงเพชร ทุกท่าน ร่วมแสดงความจงรักภักดี " รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “
วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.
ณ ต้นสักทรงปลูก หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร
ติดตามข่าวสารได้ที่เพจเฟสบุ๊ค " กำแพงเพชร รวมใจ น้อมอาลัย องค์ภูมิพล "   https://goo.gl/myeVAj


๑. ทำไม ต้องเป็นวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ?
- อยู่ในเดือน ตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ในหลวง ร.๙ เสด็จสวรรคต
- เป็นวันสิ้นเดือน ซึ่งจะทำให้จดจำได้ง่าย เมื่อเวลาผ่านไป
- เลขของวันจัดงาน ( ๓๑ ตค.๕๙) เป็นการสลับเลขวันสวรรคต (๑๓ ตค. ๕๙)
- เป็นวันจันทร์ สีประจำวันจันทร์คือ สีเหลือง

๒. ทำไม เวลาเริ่มพิธีการ ต้องเป็นเวลา ๑๙.๑๙ น. ?
- เลข ๑๙ ก็ถือว่าเป็นเลขมงคล
- เวลา ๑๙.๑๙ น. ท้องฟ้ามืด เมื่อเริ่มจุดเทียน ก็จะมีแสงสว่างสวยงาม
- วันจัดงาน (๓๑ ตค.๕๙) เป็นวันที่นับจากวันสวรรคตได้ ๑๙ วัน  

๓. ทำไม จัดที่ ต้นสัก ทรงปลูก หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ?
- ต้นสักทรงปลูก ตั้งแต่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๐  รวมระยะเวลาเกือบ ๕๐ ปี แต่มีหลายท่านที่ยังไม่ทราบ การจัดในพื้นที่อื่น อาจมีความพร้อมมากกว่า กว้างขวางมากกว่า แต่เมื่อจัดงานเสร็จแล้ว ทุกอย่างก็หายไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ แต่ถ้าจัดที่ต้นสักทรงปลูก นอกจากจะทำให้หลายท่านได้รับทราบความเป็นมา ได้รับทราบถึงความสำคัญ ของต้นสักทรงปลูก เป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง ร.๙ ที่มีต่อชาวกำแพงเพชร หลังจากจัดงานแล้ว เราก็ยังมีต้นสักทรงปลูกให้ได้รำลึกถึงวันที่เรามาร่วมกันแสดงความรักความอาลัยต่อในหลวง ร.๙

๔. ทำไม ถึงมีการเล่นดนตรี ร้องเพลง ทั้งที่เป็นงานไว้อาลัยในหลวง ร.๙ ?
- เราไม่ได้มาฟังเพลง เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง แต่เรามาฟังเพลง เพื่อร่วมเรียนรู้พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ของในหลวง ร.๙ ผ่าน เนื้อหา ความเป็นมาของเพลงพระราชนิพนธ์ และ เพลงที่มีความหมายเกี่ยวข้อง

๕. ทำไม ภาคประชาชน ถึงจัด ?
- หลังจากวันเสด็จสวรรคต ( ๑๓ ตค.๕๙) มีกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยที่สนามหลวง โดยเฉพาะการรวมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งมีประชาชนเข้าไปร่วมมากมาย ทำให้เกิดการจัดกิจกรรมต่อเนื่องไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วไปประเทศ ส่วนราชการของจังหวัดกำแพงเพชร ได้มีการจัดกิจกรรมในวันอาทิตย์ ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ศูนย์ราชการ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดเรื่องของการเดินทางและการแต่งกายที่เป็นทางการ ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าประชาชนคนทั่วไป ที่อยากจะมีโอกาสแสดงความอาลัยต่อในหลวง ร.๙ บ้าง ได้มีการพูดคุยปรึกษาว่า น่าจะมีการจัดในเมืองบ้าง จนนำมาสู่การประสานเครือข่ายภาคประชาชนร่วมกันจัดงานนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสร่วมแสดงความอาลัยต่อในหลวง ร.๙

๖. ใครเป็น เจ้าของงาน ?
- เรามี “ทีมจัดงาน” ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ช่วยรวบรวมความเห็น อำนวยความสะดวก เพื่อให้ สิ่งที่ทุกคนคิดและอยากจะทำ จนนำให้เกิดงานนี้ ดังนั้น เจ้าของงานนี้ ก็คือ ประชาชนทุกคน ใครที่อยากจะมาร่วมงาน หรือ อยากจะมาร่วมจัดงาน ก็สามารถทำได้ ทีมจัดงานในตอนนี้ ทำหน้าที่ในการช่วยประสานงานเท่านั้นไม่ได้เป็นเจ้าของงาน ยกตัวอย่าง เช่น
- ทีมจัดการเรื่องของแจกอาหารขนมน้ำ เมื่อมีผู้แจ้งความประสงค์ว่าจะนำมาร่วมงาน เราก็รับ เพียงแต่ ถ้ามีบางอย่างมากเกินไป ก็จะเสนอว่า น่าจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทน แต่ถ้าเขายืนยันว่าจะนำมา ทีมจัดการก็จะรับไว้ และ ช่วยกันจัดแบ่งจัดพื้นที่ให้เกิดความสะดวกและเหมาะสมในภาพรวม
- ทีมจัดการเรื่องถ่ายภาพ (ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ โดรนถ่ายภาพ) ก็จะช่วยกันแบ่งพื้นที่เพื่อให้บันทึกภาพเหตุการณ์ได้ครอบคลุมมากที่สุด ช่วยประสานผู้ที่นำโดรนมา ป้องกันการเกิดปัญหาการรบกวนสัญญาณระหว่างโดรน เป็นต้น   

๗. ไม่มีงบประมาณ แล้วเอาเงินที่ไหนมาจัด ?
- ผู้ที่เข้ามาร่วมจัดงาน ร่วมงาน ทุกคน ต่างก็ช่วยกันออกค่าใช้จ่ายกันเอง พอได้ทราบข่าวว่า จะมีการจัดงานนี้ขึ้น ทุกคนก็เข้ามาร่วมด้วยใจ อยากจะทำสิ่งดี ๆ เพื่อถวายในหลวง ร.๙ ต่างคนต่างช่วยกัน ไม่ว่าจะทำอะไร พอรู้ว่าจะนำมาจัดงานนี้ ทุกคนทุกหน่วยงานก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และ ช่วยกันโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น บริษัททิพย์อิเลคโทรนิก นำเครื่องเสียงและจอLCD มาช่วยเรื่องระบบภาพและเสียง อ.อาร์ม (วท.กพ) นำทีมงานมาช่วยวางระบบแสงและเดินสายไฟ ร่วมกับทีมของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.กพ ร้านบอลทำป้าย ทำไวนิลพระบรมฉายาลักษณ์ขนาด 5x6 ม. ส.ภูขจร นำเตนท์มาตั้งให้ เป็นต้น
ทีมจัดงาน มีความเห็นตรงกันว่า จะไม่มีการเรี่ยไร หรือ ขอรับเงินบริจาค ถึงแม้ว่าจะเข้าใจเจตนาและความหวังดีของผู้ที่อยากจะช่วยเหลือมอบเงินให้เป็นค่าจัดงาน แต่ก็ต้องขออภัยที่ไม่อาจรับได้ เนื่องด้วยเกรงจะทำให้เกิดข้อกังขา จนทำให้ งานที่ร่วมกันทำอย่างบริสุทธิ์ใจนี้แปดเปื้อนจากข้อกังขาเรื่องเงินทองตามมาภายหลัง

๘. โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ คืออะไร ?
- ถึงแม้ว่า การจัดงานในครั้งนี้ เป็นงานของภาคประชาชน ภาครัฐไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน แต่เมื่อแจ้งขอความช่วยเหลือ ก็ได้รับการสนับสนุนจาก ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ รัฐวิสาหกิจ เป็นอย่างดียิ่ง ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็แจ้งว่า ยินดีให้การสนับสนุนโดยให้สำนักงานจังหวัดมาช่วยประสานงาน หน่วยงานภาครัฐ ตำรวจ ทหาร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ฯ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียน ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

๙. อยากจะมาร่วมจัดงาน จะต้องติดต่อใคร ?
- ทีมจัดงานได้แบ่งหน้าที่ผู้ประสานงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกท่านที่อยากจะมาช่วย อยากจะมาร่วมจัดงานในครั้งนี้ โดยแบ่งออกเป็น
นำกิจกรรมมาร่วมงาน หรือ สอบถามรายละเอียด ติดต่อ    089 438 2335
นำสิ่งของอาหารขนมน้ำดื่มมาแจก ติดต่อ    089 191 0327 หรือ 082 888 3635
ประสานเรื่องถ่ายภาพ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือ โดรนถ่ายภาพ   083 065 0950

๑๐. ถ้าจะมาร่วมงาน ต้องเตรียมตัวอย่างไร ?
- สิ่งที่อยากให้ทุกท่าน คิดไว้ก่อนเลยก็คืองานนี้มีขึ้นเพื่อ แสดงความอาลัย ต่อการสวรรคตของในหลวง ร.๙ การแต่งกาย การกระทำทุกอย่าง โดยเฉพาะการถ่ายภาพ ก็ควรระมัดระวังอย่าสนุกสนานเกินเลย
การแต่งกาย ชุดสุภาพไว้ทุกข์ สีดำ หรือ ชุดเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา (ติดริบบิ้นสีดำด้านซ้าย )
กรุณาเตรียมเทียนสีขาว และ กระดาษรองน้ำตาเทียน มาด้วย
ร่วมกันทำดี เพื่อในหลวง ร.๙ โดย ลด ละ เลิก ใช้ถุงพลาสติก และ ช่วยกัน ทิ้งขยะ ให้ถูกที หลังจบงาน ช่วยกันเก็บขยะ ทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อย

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจเฟสบุ๊ค " กำแพงเพชร รวมใจ น้อมอาลัย องค์ภูมิพล "   https://goo.gl/myeVAj




Create Date : 12 ธันวาคม 2559
Last Update : 12 ธันวาคม 2559 14:18:31 น. 0 comments
Counter : 556 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]