Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 12 19 ปัญหาเท้า ที่พบบ่อย กลุ่มอาการปวดส้นเท้า ไบค์เลน 2

 วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ     
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-07-2008&group=5&gblog=34

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :
ถนนทาสีเขียว เท่ากับ ทางจักรยาน (bike lane) ?  รูปแบบ ทางเลือก กฎหมาย และ การอยู่ร่วมกัน  
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.595941563862708.1073741873.146082892181913&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘

- วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ธันวาคม๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. งานศิลป์ในสวน ซีซั่นสอง ครั้งที่ ๖ ธีม งานวัด ปีใหม่ ณ สวนสิริจิต โซนเอ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1668333356718121.1073741835.1579063952311729&type=3

- วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๒๒.๐๐ น - วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙  โครงการส่งท้ายปีเก่า วิถีไทย ต้อนรับปีใหม่ วิถีพุทธ สวดมนต์ข้ามปี " นบพระบรมธาตุ ตักบาตรเที่ยงคืน "

- อบจ.กำแพงเพชร ซุปเปอร์มินิมาราธอน ครั้งที่ ๙  วันอาทิตย์ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๙  
รับสมัคร ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๕๙ เส้นทาง ลานอนุรักษ์วัฒนธรรม(ริมปิง)–อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ระยะทาง ๕ กม. และ ๑๖ กม.
https://www.facebook.com/events/1477585532550120/

- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3

- เชิญร่วมบริจาคจักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3

- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3


๑. ความรู้สุขภาพ :  
กลุ่มอาการปวดบริเวณส้นเท้า
[ Heel Pain ]

สาเหตุ เช่น น้ำหนักมาก รองเท้าไม่เหมาะสม ยืนนาน เดินมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อเท้าหรือส้นเท้า เนื้องอกเส้นประสาท ถุงน้ำกระดูกส้นเท้าอักเสบ ถุงน้ำเอ็นร้อยหวายอักเสบ ความเสื่อมตามวัย  ฝ่าเท้าแบน รูมาทอยด์ เกาต์ เบาหวาน การติดเชื้อ ข้อเคล็ด กระดูกหัก เนื้องอกกระดูก เป็นต้น

อาการและอาการแสดง
เจ็บบริเวณด้านหลังของส้นเท้า หรือ ข้อเท้า  เจ็บมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวข้อเท้า เช่น กระดกข้อเท้าขึ้นลง กระโดดเดินขึ้นลงบันได วิ่ง เป็นต้น  เมื่อกระดกข้อเท้าขึ้น จะเจ็บมากขึ้น แต่เมื่อเหยียดข้อเท้าลง อาการก็จะดีขึ้น
บางครั้งพบว่าเกิดจากการกดทับจากขอบรองเท้าด้านหลัง เวลาใส่รองเท้าทำให้เป็นมากขึ้น
ในผู้ที่เป็นเรื้อรัง บริเวณส้นเท้าอาจบวมหรือคลำได้เป็นก้อน ซึ่งอาจเป็น ก้อนถุงน้ำ หรือ กระดูกงอก    
ผู้สูงอายุ ปกติทั่วไป ร้อยละ 30-70 ถ้าถ่ายภาพรังสีของเท้า จะพบว่ามีกระดูกงอกที่ไต้ฝ่าเท้าได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะพบกระดูกงอกจากภาพรังสี แต่ก็อาจจะไม่เกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้า จึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีทุกคน

แนวทางรักษา

    วิธีไม่ผ่าตัด  ส่วนใหญ่แล้วจะได้ผลค่อนข้างดี  เช่น
1.    ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ ที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือเดินนาน ๆ การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น และ ควรเปลี่ยนไปออกกำลังชนิดที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
2.    บริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
3.    ใช้ผ้าพันที่ข้อเท้า ใส่เฝือกชั่วคราวในตอนกลางคืน หรือ ใส่เฝือกตลอดเวลา เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า
4.    ใส่รองเท้าที่เหมาะสม เช่น ขนาดกระชับพอดี มีส้นสูงประมาณ 1–1.5 นิ้ว พื้นรองเท้านุ่ม มีขอบด้านหลังที่นุ่ม หรือใช้แผ่นรูปตัวยู ( U ) ติดที่บริเวณขอบรองเท้าด้านหลัง เพื่อไม่ให้ขอบของรองเท้ามากดบริเวณที่เจ็บ   
5.    หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า
6.    รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซ็ตตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ประคบด้วยความร้อน หรือใช้ยานวด
7.    ฉีดยาสเตียรอยด์ บริเวณที่มีการอักเสบ แต่ ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน ถ้าไม่จำเป็นก็ ไม่ควรฉีด เพราะอาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ เช่น เส้นเอ็นร้อยหวายขาด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเปลี่ยนเป็นสีขาว เป็นต้น

    การรักษาโดยการผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
1. ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาดี แต่กลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ ไม่หายขาดทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน  
2. ในรายที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี โดยเฉพาะรายที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น ฝ่าเท้าบิดเข้าหรือบิดออก   เป็นต้น

วิธีผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำ เนื้อเยื่อที่อักเสบ และ กระดูกงอก ออก หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เป็นต้น ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น แผลเป็นนูน (คีลอยด์) ทำให้ปวดแผลเรื้อรัง เส้นเอ็นร้อยหวายขาด เป็นต้น



๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  ถนนทาสีเขียว เท่ากับ ทางจักรยาน (bike lane) ?  รูปแบบ ทางเลือก กฎหมาย และ การอยู่ร่วมกัน  

๑๘ธค.๕๘ สรุป จากเอกสารโครงการส่งเสริมและพัฒนาเส้นทางจักรยานจังหวัดกำแพงเพชร
- ระยะทาง ๑๑+๕๕๐ กม.
- ตามรูปแบบ รายละเอียด ของ สำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
- ระยะเวลาดำเนินการ ภายใน ๖๐ วัน
- ราคากลาง ไม่เกิน ๔,๙๕๐,๐๐๐ บาท ( สี่ล้านเก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
- เบิกจ่ายจากงบประมาณ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๗ (กรมพละศึกษา)
- ร่าง TOR โดย สนง.โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

๑. เท่าที่มีรายละเอียดในเอกสารฯ มีงานติดตั้งป้ายโครงการ งานทาสีตีเส้นจราจร และ งานติดตั้งป้ายเส้นทางจักรยาน
๒. ส่วนเรื่องราคา ได้สอบถามเบื้องต้นจากเพื่อนผมที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทั่วไป บอกว่า ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับ "ชนิดของสี" ซึ่งไม่รู้ว่า ผู้รับเหมาโครงการนี้ ใช้สี ชนิดไหน จึงบอกไม่ได้ว่า ราคาเหมาะสมหรือไม่ ?
๓. คงต้องฝากผู้มีความรู้ และ พวกเรา ช่วยกันศึกษาหาข้อมูลกันต่อไป และ อย่าพึ่งต่อว่าด่าทอว่า ทุจริต เพราะยังไม่มีหลักฐาน
๔. การต่อว่าด่าทอไม่ช่วยทำอะไรให้ดีขึ้น ถ้าเป็นไปได้ อยากให้เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุง เผื่อผู้ที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันแก้ไขต่อไป ( ผมขอฝากปรับพื้นผิวถนนให้เรียบ ก่อนเลย นะครับ ^_^ )

ลักษณะของทางจักรยานโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
“1.ทางจักรยานเฉพาะ ที่แยกออกจากถนน แยกอกกจาฟุตปาธ ก็จะค่อนข้างดีหน่อยในเรื่องของความปลอดภัย ความสะดวก แต่ก็แล้วแต่คนสร้าง เช่น ทางจักรยานคลองไผ่สิงโต สวนลุมเชื่อมสวนเบญจกิติ เป็นเส้นทางเจ๋งมาก แต่การก่อสร้างทางกายภาพมีปัญหาทำให้ใช้งานจริงไม่ได้, ทางจักรยานถนนประดิษฐ์มนูธรรม แต่เวลาใช้งานจริงไม่ปลอดภัยเท่าไหร่ คือรถไม่สนใจทางจักรยาน รถมองข้ามเขาไม่สนใจว่านี่ทางเท้าหรือทางจักรยานจะมีคนผ่านหรือเปล่า
2. ทางจักรยานบนฟุตปาธ ซึ่งมีปัญหาเยอะสุดและใช้งานจริงไม่ค่อยได้ เลือนหายไปหมดแล้ว ร้านค้าขึ้นมาเต็ม
3. ทางจักรยานแชร์เลนบนถนน อย่างเช่นบริเวณ ถนนพระอาทิตย์
4. ทางจักรยานในตรอกซอกซอย ลักษณะเป็นภาพสัญลักษณ์จักรยานบนพื้น เป็นการแชร์เลนร่วมกันกับรถอื่นๆ เท่านั้นเอง”

ศิระ กล่าวว่า การตีเส้นเลนจักรยานนั้นสำคัญต่อความปลอดภัยมาก ถ้าเกิดตีโดยไม่ได้คิดถึงการใช้งานจริง ทำให้คนปั่นจักรยานตามเลนเกิดอุบัติเหตุได้ เป็นปัญหาหยุ่มหยิมที่พบได้ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการดีไซน์และเชื่อว่าทางผู้เกี่ยวข้องก็มิได้นิ่งนอนใจในประเด็นดังกล่าว

สอบถามถึงในประเด็นที่มอเตอร์ไซค์รุกกล้ำเข้ามาวิ่งบนเส้นทางจักรยาน ศิระ กล่าวว่า กฎหมายควบคุมไว้แล้วระดับหนึ่ง คือห้ามมอเตอร์ไซค์และรถยนต์มาใช้ทางจักรยาน หรือว่ามาจอดทับ มีการระบุค่าปรับชัดเจน แต่เป็นได้ไว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจไม่คุ้นเคยก็เลยไม่มีการบังคับใช้มากนัก

ซึ่งก็เป็นปัญหาที่หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบยังไม่สามารถแก้ไขได้ ศิระ ทิ้งท้ายว่า การรณรงค์การปลูกฝังจิตสำนึกสู่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่สิ่งสำคัญที่เรายังขาดอยู่ คือการทำความเข้าใจพฤติกรรมการขับขี่ของกลุ่มคนที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ เพราะเหตุใดพวกเขาถึงต้องมาวิ่งบนเลนจักรยาน เพราะรถติดใช่ไหม เพราะเลนจักรยานโล่งอยู่หรือเปล่า ถนนหนทางในประเทศไทยเป็นอุปสรรค์ต่อการขับขี่มอเตอร์ไซค์หรือเปล่า ตรงนี้มันควรจะมีอะไรที่ออกแบบมาให้เขาปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามกฎหมายและสะดวก

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000099758

บ้านเมืองอื่นเขามีทางจักรยานกันแบบไหน?
by bangkokbikerider | posted in: Daily ride | 0

ทางจักรยาน หรือ Bike Lane กลายเป็นกระแสที่เพิ่มเข้ามาในวงการการปั่นจักรยานในปีนี้ หลังจากที่มีการปรากฏขึ้นให้เห็นทางจักรยานในหลายๆเส้นทางในกรุงเทพมหานครและในหัวเมืองต่างๆ และตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ก็ได้ยินว่า ได้มีการอนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนไม่น้อยแล้วด้วยเช่นกัน วันนี้เลยอยากจะเอามะพร้าวห้าว เอ๊ย ข้อมูลเรื่องทางจักรยานที่เขาใช้กันในเมืองนอก และมีข้อมูลแชร์ไว้ในอินเตอร์เน็ต มาขายสวน เอ๊ย มาเล่าต่อให้เพื่อนๆรู้กันครับ

ประเภทแรก Bike Lane
เป็นเลนเฉพาะปั่นจักรยานครับ รถยนต์ไม่สามารถใช้เลนนี้ได้เลย ถ้าเส้นแบ่งเลนเป็นเส้นทึบ แต่ถ้าตรงไหนเป็นเส้นปะ รถยนต์ก็ขับข้ามเลนจักรยานนี้ไปได้ แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อพื้นถนนเป็นสีเขียว และก็ควรจะต้องจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ในชัดเจนด้วย และห้ามจอดเด็ดขาด ถ้าจอดมักจะมีค่าปรับหัวโตเลย

แบบที่ 2 Shared Lane หรือ Sharrows
แบบนี้เข้า Concept 3Rs ที่ผมเคยเขียนในบทความก่อนหน้านี้ คือทั้งจักรยาน มอไซต์ รถยนต์ มีสิทธิ์ที่จะใช้ช่องทางนี้ด้วยกัน แน่นอนล่ะ ก็ต้องใช้ร่วมกันด้วยความระมัดระวัง โดยบางประเทศเขาก็จะมีกฎหมายกำหนดไว้ว่า ถ้ามีจักรยานใช้ทางร่วมด้วย รถอื่นจะต้องอยู่ห่างจักรยานอย่างน้อย 3 ฟุตเพื่อความปลอดภัย และจักรยานสามารถใช้เลนนี้ได้ทั้งเลน คือปั่นกลางเลนนี้ได้ ในบางช่วงของเส้นทาง ซึ่งก็จะมีเครื่องหมาย Sharrows แบบที่เห็นในภาพด้านบนนั่นล่ะครับ แต่ถ้าช่วงนั้นไม่มีเครื่องหมาย จักรยานก็จะต้องปั่นชิดทางครับ

แบบที่ 3 Bike Box
จักรยานจะได้อภิสิทธิ์มากกว่ารถยนต์ คนขับรถยนต์ต้องจอดภายนอก Box นี้ และต้องให้จักรยานเคลื่อนที่ออกไปก่อน ส่วนมากก็จะเป็นในบริเวณสี่แยกสัญญานไฟต่างๆ อันนี้ไม่เห็นเลยในประเทศไทย

แบบที่ 4 Cycle tracks
แบบนี้ก็ที่เราเห็นกันที่แถวๆรอบเกาะรัตนโกสินทร์นั่นล่ะครับ เรียกว่าเป็น Separated/Protected Bike Lane แต่ถ้าเราลองดูๆบ้านอื่นเมืองอื่นเขาทำ เขาจะมี Buffer ระหว่างทางจักรยานกับการจราจร โดยอาจจะมีช่องจอดรถระหว่างเลนจักรยานกับเลนรถยนต์ หรือจะเป็นเส้นทะแยงตัดกัน (สัญลักษณ์ห้ามทับเป็นจรเข้ขวางคลองนั่นล่ะครับ) แต่บ้านเรา เท่าที่เห็น ก็คือจะมีท่อยางตั้งกั้นไว้ (ซึ่งพอผ่านไปไม่กี่เดือนก็มักจะเหลือแต่ตอ ถ้านึกไม่ออก ให้ดูตรงคอสะพานต่างๆครับ ที่เอาเสายางสีส้มไปติดตั้ง ตอนนี้ส่วนมากเหลือแต่ตอแล้วทั้งนั้น)

คราวต่อไป ถ้ามีการเรียกร้องหรือพูดคุยกันเรื่องทางจักรยาน อาจจะต้องพิจารณาที่จะหยิบเอาประเภทของทางจักรยานแบบต่างๆขึ้นมาพูดคุยด้วยครับ ไม่ใช่ทุกที่ ที่จะเหมาะที่จะทำทางจักรยานแบบ Cycle Tracks ที่เป็น Protected Bike Lane เช่นถนนที่แคบอยู่แล้ว และก็ยังไม่ได้มีผู้ใช้จักรยานในเส้นทางนั้นมากนัก อาจจะพิจารณาทำเป็นแบบ Sharrows ก่อนไหม พร้อมกับการสร้างจิตสำนึก การสร้างการยอมรับการใช้ถนนร่วมกัน และผู้รักษากฎหมายก็จริงจังต่อการรักษากฎหมาย ไม่รักษากฎหมายเอาหน้าเพื่อออกข่าวเท่านั้นครับ

//www.bangkokbikerider.com/type-of-bike-infrastructures/

กฏหมายบอกว่าจักรยานสามารถปั่นบนถนนได้ และไม่มีใบขับขี่จักรยานแล้ว

จากกรณี จักรยานถูกชนแล้ว และถูกซ้ำเติมว่าถนนไม่มีเลนจักรยานให้ขี่ถูกปรับเพิ่มอีกตามลิงค์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=609436505756028
จึงมีพี่ท่านนึงร้อนใจและรวมนักกฎหมายมาคุยกัน สรุปตามนี้
จักรยานสามารถขี่บนถนนได้ตามกฎหมาย เป็นการใช้รถในทาง
รถมีความหมายรวมถึงจักรยาน ตาม(18)
รถที่ต้องห้ามอยู่ในมาตรา 6 - มาตรา 10 ทวิ
กม.ไม่บังคับให้จักรยานติดทะเบียน ดังนั้นมาตรา7 จะไม่ได้หมายรวมถึงจักรยาน

ส่วนเรื่องใบขับบี่รัฐบาลได้เสนอกม.ยกเลิกพรบ.ล้อเลื่อนไปแล้ว จึงมีผลเป็นการยกเลิกการทำใบขับขี่รถจักรยาน กรมการขนส่งทางบกจึงต้องยกเลิกแผนกทำใบขับขี่รถจักรยานไปเลย... หมายความว่าไม่เปิดให้ทำใหม่อีกแล้วครับ...

การยกเลิกพรบ.ล้อเลื่อนฯ นั้น เป็นเพียงการลดหน้าที่ในการทำใบขับขี่ แต่คนขี่จักรยานยังได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอยู่เช่นเดิมครับ ตัวอย่างเช่น
๑. ประมวลกฎหมายอาญา ยังลงโทษคนที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนขี่จักรยานได้เหมือนเดิม
๒. ประมวลกฎหมายแพ่ง ยังบังคับแก่คนที่ทำละเมิดให้เกิดความเสียหายแก่คนขี่จักรยานได้เหมือนเดิม
๓. พรบ.จราจรทางบกฯ ยังเป็นกฎ กติกา มารยาทในการใช้ถนนของทั้งยานยนต์ จักรยาน และเกวียน เหมือนเดิม
๔. พรบ.ทางหลวงฯ ยังเป็นกฎระเบียบในทางระหว่างเมือง ป้าย เครื่องหมายจราจรนอกเมือง กับข้อกำหนดทางวิศวกรรมของทางจักรยานและที่จอดจักรยาน เหมือนเดิม
๕. พรบ.รถยนต์ฯ ยังเป็นกฎหมายที่อนุญาตสำหรับการขนจักรยานด้วยรถยนต์ เหมือนเดิม
๖. พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ยังเป็นกฎหมายที่กำหนดอัตราอากรขาเข้า และยกเว้นอากรสำหรับการนำเข้ามาหรือส่งออกไปซึ่งจักรยาน เพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศล เหมือนเดิม
๗. พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ก็ยังคุ้มครองคนขี่จักรยานเหมือนเดิม

โดยหลักการ กฎหมายมีไว้เพื่อควบคุม การยกเลิกจึงเป็นการเลิกควบคุม
ตอนนี้จึงมีผลให้ใครๆ ก็ขี่จักรยานในทางหลวง(ยกเว้นทางพิเศษ)ได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่ (การจดทะเบียนรถจักรยานสองล้อก็เลิกมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ แล้ว)
ฉะนั้น การยกเลิกพรบ.ล้อเลื่อนฯ จึงเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้จักรยานมากขึ้นนั่นเองครับ

ส่วนกฎ กติกา มารยาท ในการใช้รถใช้ถนนนั้น... รถจักรยานทั้งสองล้อ สามล้อ
ก็ยังอยู่ภายใต้พรบ.จราจรทางบกฯ เช่นเดียวกับยานยนต์ทุกชนิดอยู่เช่นเดิม(ยังไม่มีการยกเลิก)

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.514688751933416.1073741826.355930277809265&type=1

""""""""""""""""""""

ชมรมจักรยาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
30 กรกฎาคม 2013 เวลา 15:30 น. · ·

สิทธิในการใช้ทางของจักรยานปัจจุบันถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งน่าจะเป็นฉบับเดียวที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พรบ.ล้อเลื่อนนั้นถูกยกเลิกไปแล้วโดยผลของพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ.2546 ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับจักรยานนั้นพรบ.จราจรทางบกบัญญัติไว้ใน ลักษณะที่ 10 ตั้งแต่มาตรา 79 – มาตรา 84

เริ่มต้นมาตราแรกก็ว่าด้วย “ทางจักรยาน” เลย คือในมาตรา 79 บัญญัติว่า ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับขี่ในทางนั้น ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาทด้วย (มาตรา147) คราวนี้ เรามาดูกันว่า เจ้า “ทางที่จัดทำไว้สำหรับจักรยาน” เนี่ยมันคืออะไรกันแน่ ? ใช้ทางแดงๆแถววงเวียนใหญ่มั้ยนะ ? หรือจะทางเขียวๆข้างหน้าธรรมศาสตร์ ?? หรือจะทางบนทางเท้าที่หลบป้ายทีต้นไม้ทีตอม่อสะพานลอยทีแบบที่ถนนสุขุมวิทกันแน่ ...??

ทางใดจะเป็นทางเฉพาะของจักรยานนั้น “เจ้าพนักงานจราจร” จะเป็นผู้กำหนด ซึ่งเท่าที่ค้นหาเจอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มี “คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 387/2541” กำหนดให้อธิบดีกรมตำรวจ เป็นเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร และ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บังคับการตำรวจจราจร เป็นเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเท่าที่ค้นหาเจออีกเช่นกัน ข้อบังคับพนักงานจราจรเกี่ยวกับทางจักรยานั้น เห็นจะมีแต่ “ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดช่องทางเดินรถสำหรับจักรยาน พ.ศ.2553” ซึ่งกำหนดให้ทางจักรยานที่วิ่งวนไปวนมาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์เท่านั้นที่เป็น“ทางที่จัดทำไว้สำหรับจักรยาน”ตามกฎหมาย ส่วนทางอื่นๆนอกจากนี้ที่กรุงเทพมหานครทำไว้ 30 กว่าเส้นทาง (และที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาอีก ดังที่ท่านผู้ว่าเคยหาเสียงไว้) เป็นแค่ทางที่ทำไว้อำนวยความสะดวกให้จักรยาน(หรือเปล่า?) แต่ไม่ได้มีผลและสภาพบังคับตามกฎหมายเลย... จบเรื่องมาตรา 79 ไว้เพียงเท่านี้...

คำถามต่อมาจึงเกิดขึ้นว่า อ้าววว...!!! แล้วถนนเส้นอื่นๆนอกเกาะรัตนโกสินทร์นี่ตรูจะไปปั่นจักรยานไม่ได้เลยรึไงฟร่ะ..!!! #!&@*$ !!!
คำตอบคือ ปั่นได้นะฮะ พิจารณาจากถ้อยคำทั้งหมดทั้งมวลในกฎหมายแล้ว ไม่มีส่วนไหนที่จะตีความไปได้เลยว่าห้ามจักรยานปั่นลงบนท้องถนน เพียงแต่ต้องอยู่ภายใต้กฎจราจรเช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป ซึ่งมาตรา 84 กำหนดให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม อย่างเช่น การปฏิบัติตามสัญญาณจราจร ไฟเขียว-ไฟแดง (มาตรา 21-26) ใช้ทิศทางตามช่องทางเดินรถ ขับชิดซ้าย (มาตรา 82) เว้นแต่ช่องซ้ายมีสิ่งกีดขวาง หรืออยู่บริเวณทางร่วมแยก (มาตรา 34) การปฏิบัติตามป้ายบังคับจราจรต่างๆ

แล้วจักรยานจะไปขี่บนทางเดินเท้าได้ไหม ?? มาตรา 43 (7) ซึ่งมาตรา 84 อนุโลมให้ใช้บังคับกับจักรยานด้วย บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งโดยถ้อยคำแล้วไม่ใช่การบังคับเด็ดขาด แต่ต้องพิเคราะห์ตามวิสัยและพฤติการณ์แต่ละกรณีไปว่าทางตรงนั้น จักรยานควรจะมาใช้บนทางเท้าหรือไม่ อาทิเช่น ทางเท้าบริเวณนั้นมีคนเดินเท้ากันมากน้อยแค่ไหน ลักษณะการปั่นจักรยานของเราปั่นช้าปั่นเร็วอย่างไร เป็นอันตรายต่อคนเดินเท้าหรือเปล่า จะปั่นบนทางเท้าก็ปั่นได้ แต่ช่วยคำนึงถึงส่วนรวม ความเหมาะสมกันด้วย หากต้องปั่นบนทางเท้าก็ปั่นแบบให้เกียรติคนเดินเท้าค่อยๆไปค่อยๆขอทางกันไป...

นอกจากนี้ หากว่ากันตามกฎหมายแล้ว มาตรา 80 ยังกำหนดให้จักรยานต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น อย่างกระดิ่ง เบรก ไฟหน้าจักรยานสีขาว และไฟท้ายจักรยานหรือแผ่นสะท้อนแสงสีแดงด้วย หากไม่ติดตั้ง หรือใช้สีอื่นผิดแผกไปจากนี้มีโทษปรับ 200 บาทเช่นกัน และหากยังห้าวขี่โดยประมาท ปล่อยแฮนโชว์สาว ขี่กันเป็นฝูง (กฎหมายให้ขี่ขนานกันได้ไม่เกิน 2 คัน) หรือไม่ยอมนั่งบนอาน หรือแม้กระทั่งเกาะเอวขี่ซ้อนกันหวานซึ้งแบบหนังญี่ปุ่นก็ตาม มีโทษปรับ 500 บาทเลยทีเดียว !!! จึงขอแนะนำให้ไปขี่จู๋จี๋กันในถนนหมู่บ้านหรือในสวนรถไฟแทนจะดีกว่านะ...







Create Date : 19 ธันวาคม 2558
Last Update : 19 ธันวาคม 2558 22:37:14 น. 0 comments
Counter : 813 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]