Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 07 23 โรคกระดูกพรุนเหมือนโรคข้อเสื่อม ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ตอน๑



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417  

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ ... กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-09-2008&group=5&gblog=40

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา ...  ร่วมเปลี่ยนประเทศไทย ร่วมใจลงประชามติ ๗ สค.๕๙    (ตอน ๑)
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1323748904307449.100000170556089&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา  :

- วันเสาร์ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ (เสาร์ที่สองและที่สี่ของเดือน) เวลา ๑๖.๐๐– ๒๑.๐๐ น. ถนนคนเดิน “ฅนกำแพง”
//on.fb.me/24Aq5a8
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1313045535377786.1073742195.100000170556089&type=3

- วันพฤหัสบดี  ๒๘  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๙ เวลา ๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม สมัชชาสุขภาพสยามบน (Upper Siam) ๙ จังหวัด ว่าด้วย การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด ประเด็น “อาหารปลอดภัย” ด้วยเกษตรอินทรีย์
ณ ห้องประชุมคณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสาธารณะฯว่าด้วยเรื่อง อาหารปลอดภัย ในภูมิภาค  ๕  ประเด็น  
ประเด็นที่ ๑  การบริหารจัดการทรัพยากร (ดิน น้ำ ป่า) กับวิถีการผลิตปลอดภัย
ประเด็นที่ ๒  การลดสารเคมีทางการเกษตรและการป้องกันสารปนเปื้อนในอาหาร
ประเด็นที่ ๓  การส่งเสริมพืชผักพื้นบ้านให้เป็นอาหารและยารักษาสุขภาพ
ประเด็นที่ ๔  ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนสยามบน
ประเด็นที่ ๕  การพัฒนากลไกการตลาดเพื่ออาหารปลอดภัย
https://www.facebook.com/875445149155518/photos/?tab=album&album_id=1238757852824244

- วันพฤหัสบดี ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น.  " ปั่นจักรยาน สู่เส้นทาง การออกเสียงประชามติ " ระยะทาง  ๒๒ กม. รับสมัครตั้งแต่ วันนี้ - วันพุธ ๒๗ กค.๕๙  ประกาศรายชื่อวันที่ ๒๙ กค.๕๙ (รับเสื้อ วันที่ ๔ สค.๕๙)
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1323748904307449.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. วันออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ และ ประเด็นเพิ่มเติม
หมายเหตุ การลงประชามติมีสองคำถาม คำถามแรกคือ "ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งฉบับ" และคำถามที่สองคือ ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ประเด็นเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า “เห็นชอบหรือไม่ ให้ ส.ว. แต่งตั้งร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีในระหว่าง 5 ปีแรกของรัฐธรรมนูญนี้”
เครดิต FB@สุขวิชชาญ มุสิกุล
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1323748904307449.100000170556089&type=3


””””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3

๑. ความรู้สุขภาพ

กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???

ด้วยอิทธิพลของระบบการตลาดในบ้านเรา ที่มีโฆษณาเยอะแยะมากมาย ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งระบบ ขายตรง เกี่ยวกับ แคลเซี่ยม จนทำให้เกิดความเข้าใจ คลาดเคลื่อนว่า เป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ...

ซึ่งไม่ถูกต้องนัก... เพราะ ถ้าพูดถึง กระดูก ยังจะต้องแบ่งให้ละเอียดลงไปว่า ที่พูดนั้น หมายถึง กระดูก ชนิดไหน ... ชนิด กระดูกแข็ง หรือ กระดูกอ่อน

กระดูกแข็ง เป็นส่วนที่เป็น แกนค้ำจุนโครงสร้าง จะมีความแข็งแรง ซึ่งมี แคลเซี่ยม เป็นส่วนประกอบ
ถ้าขาดแคลเซี่ยม ก็จะทำให้เกิด โรคกระดูกพรุน (กระดูกโปร่งบาง กระดูกผุ )
การรักษา คือ เสริมแคลเซี่ยม

กระดูกอ่อน พบได้มากที่บริเวณ ผิวข้อต่อ เป็นส่วนที่ ทำให้ข้อ เคลื่อนไหว ได้ดีขึ้น มีส่วนประกอบเป็น น้ำและโปรตีน
ถ้าผิดปกติ ก็จะทำให้เกิด โรคข้อเสื่อม (กระดูกเสื่อม)
การรักษา คือ ทานยาสร้างกระดูกอ่อน (กลูโคซามีน ซัลเฟต) หรือ ยาชะลอความเสื่อม (ไดอะเซรีน ซัลเฟต)

ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษา ก็ต้องรู้ก่อนว่า เป็นโรคของกระดูกแข็ง (กระดูกพรุน) หรือ โรคของกระดูกอ่อน (กระดูกเสื่อม) เพื่อที่ จะได้เลือกวิธีรักษาได้ถูกต้องเหมาะสม กับโรคที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เหมารวมว่า เป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม อย่างที่พูดกัน..

ยาเม็ดแคลเซียม
โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง จะมีปริมาณเนื้อกระดูกลดลง และ โครงสร้างภายในของกระดูกเปลี่ยนแปลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะปกติดีจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น ทั้งที่เป็นอุบัติเหตุไม่รุนแรง เช่น ลื่นล้ม หรือ ตกเก้าอี้ แล้วเกิดกระดูกข้อมือหัก กระดูกสะโพกหัก
โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 2 รองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้เพียงร้อยละ 10 และพบว่าในผู้หญิงไทยอายุ 55 ปีเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 แต่ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 จะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะมีโรคกระดูกพรุนแอบแฝงอยู่
การสูญเสียเนื้อกระดูก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันและรักษาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนจะเกิดกระดูกหัก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนก็คือ ได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกัน เช่น
คนทั่วไป ควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม
เด็กและวัยรุ่น ควรได้รับวันละ 800-1,200 มิลลิกรัม
ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับวันละ 1,500-2,000 มิลลิกรัม
ผู้หญิงช่วงหมดประจำเดือน ควรได้รับวันละ 1,500 มิลลิกรัม
ผู้สูงอายุ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น น้ำนม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เต้าหู้เหลือง น้ำเต้าหู้ หรือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วใส่ไข่ ข้าวราดไก่ผัดกระเพรา ขนมจีนน้ำยา เป็นต้น
อย่างไรก็ตามถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารประจำวันอย่างพอเพียง ก็ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเสริม นอกจากบางคนอาจได้แคลเซียมจากอาหารไม่พอเพียง หรือ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน
ถ้าได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนานประมาณ 18 เดือน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้
ในผู้สูงอายุ ควรได้รับ แคลเซียม ร่วมกับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน แคลซิโทนิน หรือ วิตามินดี ซึ่งจะช่วยให้แคลเซี่ยมถูกดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
วิตามินดี ส่วนใหญ่ได้รับจากแสงอาทิตย์ (ช่วงเช้า และ เย็น ) และ อาหาร ซึ่งค่อนข้างเพียงพอ ยกเว้นในผู้สูงอายุ ที่อยู่ในบ้าน ไม่ค่อยได้ออกไปตากแดด ทำให้ในผู้สูงอายุบางรายขาดวิตามินดี อาจต้องทานวิตามินดีเสริมด้วย
จากการศึกษาพบว่าในผู้ที่กินยาเม็ดแคลเซียมน้อยกว่าวันละ 2 กรัม ไม่พบว่ามีนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น และ ไม่ทำให้เกิดกระดูกงอกเพิ่มมากขึ้น (กระดูกงอกมักเกิดจากข้อเสื่อม ไม่เกี่ยวกับยาเม็ดแคลเซียม)

การเลือกชนิดของแคลเซียมเสริม ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อจะเลือกใช้แคลเซียมเสริม ได้แก่
1. ชนิดและปริมาณของเกลือแคลเซียม จะทำให้ร่างกายได้รับแตกต่างกันไป เช่น
แคลเซียมคาร์บอเนต ( calcium carbonate ) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 40
แคลเซียมซิเตท ( calcium citrate ) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 21
แคลเซียมแลคเตท ( calcium lactate ) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 13
แคลเซียมกลูโคเนต ( calcium gluconate ) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 9
2. ความสะดวกในการกิน จำนวนเม็ดที่ต้องกินในแต่ละวันขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ ถ้าเป็นยาที่มีแคลเซียมต่ำ เม็ดยาที่ต้องกินก็จะต้องมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวก และ ทำให้ความสม่ำเสมอในการกินแคลเซียมน้อยลง
3. ราคา ราคาของยาเม็ดแคลเซียมแตกต่างกันมาก โดยทั่วไป ยาเม็ดธรรมดาจะราคาถูกว่ายาเม็ดแคปซูล ส่วนยาเม็ดฟู่จะราคาแพงที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาอาจจำเป็นต้องใช้แบบเม็ดฟู่
4. ส่วนผสมอื่น ๆ ในยาเม็ดแคลเซียม เช่น วิตามินดี วิตามินซี แร่ธาตุอื่น ๆ ในผู้ที่ขาดสารเหล่านี้ ก็จะได้ประโยชน์เพิ่มเติม แต่ผู้ที่ไม่ขาดสารเหล่านี้ก็ไม่จำเป็น เพราะยาเม็ดแคลเซียมที่มีส่วนผสมเสริมจะมีราคาแพงขึ้นไปด้วย 

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา  ... ร่วมเปลี่ยนประเทศไทย ร่วมใจลงประชามติ ๗ สค.๕๙    (ตอน ๑)

6 ข้อ ทำได้ และ 8 ข้อ ทำไม่ได้
https://www.facebook.com/PeaceandOrderMaintainingCommand/photos/a.1456123944631412.1073741831.1455747901335683/1741800639397073/?type=3&theater

หลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติ ตามประกาศ กกต. กำหนดไว้ ดังนี้

" 6 ข้อ ทําได้ "

1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นเพิ่มเติมให้เข้าใจอย่างครบถ้วน จากเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นของตน

2. แสดงความเห็นโดยใช้ถ้อยคำที่สุภาพ

3. แสดงความเห็นด้วยข้อมูลที่มีความชัดเจน ไม่กำกวม อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง

4. การนำเสนอหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ เพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็นให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงบุคคลอื่นนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องและแสดงที่มาของงานวิจัยนั้นด้วย

5. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อเพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งของตน

6. การนำเข้าข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นพร้อมแสดงเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งของตน ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งต่อข้อมูลดังกล่าว โดยไม่มีการแสดงความเห็นเพิ่มเติม

.....................

" 8 ข้อ ทําไม่ได้ "

1. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่

2. การนำเข้าข้อมูล (โพสต์) อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่งต่อข้อมูล (แชร์) ในลักษณะดังกล่าว

3. การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอันมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่

4. การจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฎหมาย เข้าร่วม และมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง

5. การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ การขาย การแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไป เพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง

6. การใช้เอกสาร ใบปลิว หรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย หรือปลุกระดมทางการเมือง

7. การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม

8. การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง

.......................................

สุขวิชชาญ มุสิกุล
https://www.facebook.com/groups/254314207990910/permalink/1039114926177497/
...หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าคูหาลงประชามติ

# 1. อาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันลงประชามติ..อย่าหลงอย่าลืม กกต. กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 วันนี้วันเดียวเท่านั้นเป็นวันออกเสียงประชามติ

# 2. เริ่มออกเสียง ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น...วันออกเสียงประชามติคูหาลงคะแนนเริ่มเปิดเวลา 08.00 น. และจะปิดลงในเวลา 16.00 น. อย่าลืมเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ, บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร ให้พร้อมเพื่อแสดงตนในการไปออกเสียง

# 3. อายุ 18 ปี บริบูรณ์ในวันออกเสียงมีสิทธิออกเสียง..ใครที่อายุ 18 บริบูรณ์ในวันออกเสียงประชามติ (เกิดไม่เกิน 7 สิงหาคม 2541) ก็มีสิทธิไปลงคะแนนเสียงได้แล้ว โดยก่อนวันออกเสียง กกต.จะจัดส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้านเพื่อแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงไม่เกินวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ซึ่งหากรู้ว่าตัวเองมีสิทธิแต่ไม่มีรายชื่อ ต้องไปเพิ่มรายชื่อต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2559

# 4. การลงประชามติมีสองคำถาม..เน้นย้ำกันอีกที่ 7 สิงหาคมนี้ การลงประชามติมีสองคำถาม คำถามแรกคือ "ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งฉบับ" และคำถามที่สองคือ ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ประเด็นเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า “เห็นชอบหรือไม่ ให้ ส.ว. แต่งตั้งร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีในระหว่าง 5 ปีแรกของรัฐธรรมนูญนี้”...
............................




Create Date : 22 กรกฎาคม 2559
Last Update : 22 กรกฎาคม 2559 16:35:58 น. 1 comments
Counter : 702 Pageviews.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:11:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]