Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 12 17 แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชน ๙บทเพลง ๕๙๙บรรเลง คีตกวีดนตรีเพื่อพ่อ



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนรายการ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ : แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชน //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2008&group=4&gblog=52

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : ๙ บทเพลง ๕๙๙ บรรเลง คีตกวี ดนตรีเพื่อพ่อ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1515130045169333&set=a.516543828361298.140932.100000170556089&type=3&theater

อัพเดต ข้อมูล เกาะกลางน้ำ
- คำสั่งจังหวัดกำแพงเพชร แต่งตั้งคณะทำงานโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร (คำสั่งจังหวัดที่ ๒๐๖๙/๒๕๕๙ ลงวันที่๙ธค.๕๙)
เกาะกลางน้ำ วันนี้ ... ( อดีต-ปัจจุบัน รู้แล้ว แต่ว่า อนาคต ??? ) https://www.facebook.com/media/set/?set=a.266868983436636.59497.146082892181913&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  

- วันจันทร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๙๙ เวลา ๑๗.๐๐ - ๒๐.๓๐ น. ณ สนามกีฬาชากังราว (ริมปิง) เชิญชมการแสดงดนตรีครั้งประวัติศาสตร์ และ ร่วมขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ๙ บทเพลง ๕๙๙ บรรเลง"คีตกวี ดนตรีเพื่อพ่อ"
เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ร่วมลงนามถวายความอาลัย ชมการแสดงดนตรี
เวลา ๑๙.๑๙ น. พิธีกล่าวคำอาลัย ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี จุดเทียน และ แปรอักษร "อัครศิลปิน แผ่นดินสยาม"
เวลา ๒๐.๓๐ น. เสร็จพิธี
- การแต่งกาย เสื้อสีดำ
- นำเทียนและที่รองน้ำตาเทียนมาด้วย
เครดิต ... ศุภชัย ศรีงาม
รายละเอียดเพิ่มเติม ... https://www.facebook.com/tu.obj/posts/1223178021062286

- วันอาทิตย์ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ศิลป์ในสวน ปี ๓  (ครั้งที่ ๘) สวนสิริจิต โซนเอ ที่เก่า เวลาเดิม ธีม (แนวคิดหลักของงาน) “ศิลป์เพื่อพ่อ” ท่านใน หน่วยงานไหน ที่สนใจอยากจะมาร่วมกิจกรรม กรุณาติดต่อ ครูแขก Eng@Home (นพรัตน์ รามสูต) โทรฯ ๐๘๙ ๔๙๖ ๘๗๒๖ FB: lotus.kpp  
กรุ๊ป https://www.facebook.com/groups/663671250426396/
เพจ //goo.gl/sH9DBd

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””





๑. ความรู้สุขภาพ  แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชน

ต่อเนื่องจาก ... เรื่อง ... ตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นหรือไม่

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-06-2008&group=4&gblog=45

แนวทางการตรวจสุขภาพของประชาชน
บทความพิเศษ …. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ( สปรส. )
โดย ….. พท.นพ. สุรจิต สุนทรธรรม

ตรวจสุขภาพดีจริงหรือ
ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งนับเป็นการตอบรับต่อกระแสการป้องกันโรคก่อนการรักษา ตามทิศทางการปฏิรูประบบสุขภาพ แต่การตรวจสุขภาพที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและเหมาะสมแล้วหรือยัง และการตรวจสุขภาพเป็นแนวทางของการป้องกันก่อนรักษาจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่บุคลากรสาธารณสุขรวมทั้งประชาชนทั่วไปต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้การตรวจสุขภาพแต่ละครั้งเป็นการตรวจที่ก่อให้เกิด "สุขภาพดี" อย่างแท้จริง

ตรวจสุขภาพเพื่ออะไร
ในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลและภาคเอกชนได้กำหนดให้พนักงานหรือบุคลากร โดยเฉพาะการรับคนที่จะสมัครเข้าทำงาน เข้ารับการศึกษา หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ต้องได้รับการตรวจร่างกายหรือต้องมีใบรับรองการตรวจร่างกายหรือต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ป่วยด้วยโรคตามที่กำหนด เพื่อคัดกรองไม่ให้บุคคลที่อาจมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ได้เข้าทำงาน เข้ารับการศึกษา หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อันจะลดการก่อให้เกิดภาระแก่หน่วยงาน มากกว่าที่จะมีจุดประสงค์เพื่อการป้องกันโรคและการสร้างเสริมให้บุคคลเหล่านั้นมีสุขภาพดี การตรวจสุขภาพในลักษณะนั้นจึงเป็นการ "ตรวจหาโรค" คือพยายามค้นหาว่า บุคคลนั้นมีโรคอะไรอยู่ในตัวบ้างหรือไม่ จากความเข้าใจนั้นได้กลายเป็นความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ในสังคมว่า "การตรวจสุขภาพ คือการตรวจหาว่ามีโรคอะไรอยู่บ้างหรือไม่"

ต้องการอะไรกับการตรวจสุขภาพ
ขอให้เราได้ไตร่ตรองดูว่า หากเราต้องการจะรับการตรวจสุขภาพของตัวเราเองแล้ว เราต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องการก็คือ ต้องการให้ตัวของเรามีสุขภาพพีและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใช่หรือไม่ และหากเราต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวการตรวจสุขภาพนั้นจะต้องนำไปสู่การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ

ความหมายของ "การตรวจสุขภาพ"
ดังนั้น ความหมายที่ถูกต้องของ "การตรวจสุขภาพ" คือ การตรวจสอบภาวะอันเป็นสุข และตรวจหาอะไรก็แล้วแต่ที่จะมีผลทำให้ภาวะอันเป็นสุขนั้นเสียไป และหัวใจของการตรวจสุขภาพ คือการตรวจค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อจะได้ป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค และหากสามารถขจัดได้ก็จะส่งผลให้ไม่ต้องเป็นโรค

ส่วนการตรวจหาความเจ็บป่วยหรือหาว่าเป็นโรคอะไรหรือไม่นั้นควรเป็นเรื่องสุดท้ายในการตรวจสุขภาพ ซึ่งโรคที่สมควรตรวจหานั้น ต้องมีหลักฐานจากการศึกษาค้นคว้าอย่างชัดเจนแล้วว่า การตรวจพบโรคนั้นๆ ตั้งแต่ระยะที่ยังปราศจากอาการแล้ว มีประโยชน์ต่อตัวเรามากกว่าการตรวจพบเมื่อมีอาการปรากฎแล้ว

ป้องกันย่อมดีกว่าแก้
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด เมื่อเหตุดับแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับ (ไม่เกิดอีก) นี้เป็นพุทธอมตพจน์ที่เราทุกคนทราบกันดีอยู่โรคทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน คือมีเหตุมีปัจจัยชักนำให้เกิดเช่นเดียวกับสิ่งทั้งหลายเหมือนกัน เราเรียกสิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคดังกล่าวว่า "ปัจจัยเสี่ยง" ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหรือทุกขภาพมีมากมายหลายอย่าง สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
พฤติกรรมหรือแบบรูปชีวิตที่ส่งเสริมการเป็นโรค (เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การกินอาหารสุกๆ ดิบๆ) ซึ่งในปัจจุบันนับเป็นเหตุปัจจัยที่ทรงอิทธิพลก่อให้เกิดโรคหรือก่อทุกขภาพได้มากที่สุด คือถึงร้อยละ 53
สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ (เช่นการอาศัยอยู่ในบ้านหรือทำงานในบริเวณที่มีคนสูบบุหรี่) เป็นปัจจัยที่สร้างเสริมให้เกิดโรค หรือก่อทุกขภาพที่สำคัญเช่นเดียวกัน คือถึงร้อยละ 31
ปัจจัยชีวภาพ (เช่น พันธุกรรม) เป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคร้อยละ 16 และโรคที่มีพันธุกรรมเป็นปัจจัยเสริมส่วนใหญ่ (เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ) หากบุคคลนั้นได้รับการสร้างเสริมสุขภาพพฤติกรรมและปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็จะสามารถลดโอกาสการเป็นโรคดังกล่าวลงได้อย่างมาก แต่อาจต้องทำมากกว่าเข้มงวดกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีปัจจัยพันธุกรรมเท่านั้น

การตรวจสุขภาพที่ถูกต้อง
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของการตรวจสุขภาพไว้คือ การตรวจหาปัจจัยเสี่ยงอันจะส่งผลทำให้สุขภาพเสียไป ซึ่งเราไม่ได้ตระหนัก (คือยังไม่ทราบ ยังไม่ยอมรับ และยังไม่ปฏิบัติ) ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงเน้นที่การตรวจก่อนการเป็นโรค ไม่ได้เน้นที่การตรวจหาว่าที่เป็นโรค ไม่ได้เน้นที่การตรวจหาว่าเป็นโรคอะไรบ้างแล้วหรือยัง การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องจะทำให้เราได้รู้ว่า "เรายังมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง" เพื่อจะได้ขจัดเหตุปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะได้ไม่ต้องเป็นโรค ดังนั้น การตรวจสุขภาพก็คือ การตรวจดูว่า สิ่งที่เราควรละนั้น เราได้ละแล้วหรือยัง และสิ่งที่ควรทำเราได้ทำอย่างเพียงพอแล้วหรือยังเป็นสำคัญ แล้วนำคำแนะนำที่ได้ไปปฏิบัติ

ตรวจพบโรคตั้งแต่ต้นดีกว่าจริงหรือ
มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะต้นอยู่หลายประการ และบางครั้งถ้าไม่ทราบที่ไปที่มาของข้อมูลสถิติอาจชักนำให้เข้าใจผิดได้มาก โดยเฉพาะโรคมะเร็ง เช่น มีข้อมูลว่า โรคมะเร็งอวัยวะหนึ่งหากตรวจพบในระยะที่ 1 (แรก) แล้วได้รับการรักษาพบว่ามีอัตราการรอดชีวิตที่ระยะ 5 ปี ร้อยละ 80 และหากตรวจพบในระยที่ 4 (สุดท้าย) พบว่ามีอัตราการรอดชีวิตที่ระยะ 5 ปี ร้อยละ 10 ข้อมูลดังกล่าวหมายความว่า การตรวจพบโรคมะเร็งดังกล่าวตั้งแต่ระยะที่ 1 แล้วให้ผลประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่าการตรวจพบเมื่อมีอาการแล้วจริงหรือไม่

คำถามข้างต้นดังกล่าวอาจตอบได้ทั้ง "จริง" และ "ไม่จริง" สิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นประการแรก ได้แก่ระยะเวลาการดำเนินโรค หากโรคมะเร็งดังกล่าวมีการดำเนินโรคจากระยะที่ 1 ไป จนถึงระยะที่ 4 ใช้เวลานานมาก เช่น 20 ปี ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นอาจหมายความว่า ผู้ที่ตรวจพบโรคมะเร็งดังกล่าวในระยะที่ 1 ไปจนถึงระยะที่ 4 ใช้เวลานานมาก เช่น 20 ปี ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นอาจหมายความว่า ผู้ที่ตรวจพบโรคมะเร็งดังกล่าวในระยะที่ 1 จำนวนถึงร้อยละ 20 ที่เสียชีวิตในระยะ 5 ปี แต่ถ้าไม่ได้รับการตรวจพบหรือไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจำนวนร้อยละ 20 ที่เสียชีวิตในระยะ 5 ปี แต่ถ้าไม่ได้รับการตรวจพบหรือไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจำนวนร้อยละ 20 ดังกล่าวอาจไม่เสียชีวิต หรือยังไม่มีอาการเลยก็ได้ ดังมีตัวอย่างจากการศึกษาการตรวจศพผู้ชายอายุที่มากกว่า 70 ปี ที่ไม่เคยมีอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเลย และเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่จากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเลย พบว่าตรวจพบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในตัวผู้ชายดังกล่าวถึงมากกว่าร้อยละ 60

ดังนั้นที่จะตอบได้ว่า "จริง" อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อมีผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคมะเร็งดังกล่าวในระยะที่ 1 แล้ว มีการวิจัยด้วยการสุ่มแบ่งผู้ช่วยดังกล่าวออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการรักษา และมีการศึกษาติดตามผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวไประยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษามีอายุยืนยาวกว่า มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า และมีคุณภาพชีวิตดีกว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างชัดเจน ในปัจจุบันมีโรคมะเร็งเพียง 3 อวัยวะเท่านั้นที่ได้มีผลการวิจัยที่แสดงว่า การตรวจพบรอยโรคตั้งแต่ระยะต้น โดยเฉพาะการตรวจพบรอยโรคก่อมะเร็ง แล้วให้ผลประโยชน์ดังกล่าวต่อผู้ป่วยเหนือกว่าการตรวจพบระยะที่มีอาการแล้ว ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ในทำนองเดียวกัน ยังมีโรค / ภาวะอื่น (ที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง) ที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยวิธีการดังกล่าวแล้วยืนยันได้ว่า การตรวจพบภาวะดังกล่าวตั้งแต่ระยะต้นแล้วส่งผลดีให้แก่ผู้รับการตรวจ คือทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น ลดการเจ็บป่วยแทรกซ้อนและความพิการ และสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน สายตาผิดปกติ เป็นต้น

ส่วนคำตอบที่ว่า "ไม่จริง" อย่างชัดเจนนั้นก็คือ โรคมะเร็ง (หรือโรคอื่นใด) ที่ได้รบการวิจัยตามวิธีดังที่กล่าวมาแล้วพบว่า ผู้ที่ได้รับการรักษามีอายุสั้นกว่า มีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า หรือมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่กว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาหรือผู้ที่ได้รับการรักษาเมื่อมีอาการแล้ว ซึ่งก็มีโรคมะเร็งหลายชนิดที่ผลการศึกษาแสดงออกมาในลักษณะนี้กรณีอย่างนี้ก็ไม่ควรไปตรวจหาโรคชนิดนั้น รอให้มีอาการแล้วค่อยรักษาอาจจะดีกว่า

นอกจากนี้ยังมีโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ อีกมากมายหลายชนิดที่ยังไม่ได้รับการดำเนินการศึกษาด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งคำตอบสำหรับกรณีนี้ก็คือ "ไม่ทราบชัดเจน" ดังนั้นในกรณีนี้จะตรวจหรือไม่ตรวจ ก็ต้องเสี่ยงดวงกันเอาเองก็แล้วกัน

ความแม่นยำของวิธีการตรวจโรค
เมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่า โรคนั้นหากได้ตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะต้นแล้วได้ผลดีแน่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ วิธีตรวจหาโรคดังกล่าวนั้นมีกี่วิธี และแต่ละวิธีนั้นมีความแม่นยำเพียงใด รวมทั้งวิธีการตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคจริงนั้นมีอันตรายหรือไม่

ความแม่นยำของวิธีการตรวจหาว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่งดูได้จากคนที่เป็นโรคแล้ว เมื่อตรวจด้วยวิธีนั้นสามารถบอกได้ว่าเป็นโรคนั้นอย่างถูกต้อง เรียกว่าได้ผล "บวกจริง" และเมื่อนำวิธีดังกล่าวไปตรวจคนที่ไม่เป็นโรค แล้วก็บอกได้ว่าไม่เป็นโรคนั้นได้อย่างถูกต้อง เรียกว่าได้ผล "ลบจริง"

ในสภาพของความเป็นจริงวิธีการตรวจทั้งหลายไม่สามารถให้ผลบวกจริงและผลลบจริงได้อย่างแม่นยำมากนัก เนื่องจาก
เป็นการใช้ค่าสถิติมาตัดสิน การตรวจบางอย่างกว่าจะให้ผลบวกก็ต่อเมื่อโรคนั้นเป็นมากแล้ว เช่น การตรวจการทำงานของไตโดยดูระดับครีอะตินินในเลือดกว่าระดับสารดังกล่าวจะเริ่มเห็นผิดปกติ ก็ต่อเมื่อไตบกพร่องไปแล้วกว่าร้อยละ 75 ดังนั้นหากไตบกพร่องไปแล้วแต่น้อยกว่าร้อยละ 75 ผลที่ตรวจได้ก็ยังบอกว่าปกติอยู่ เรียกผลที่ออกมานี้ว่า "ผลลบลวง" คือเป็นโรคแล้ว แต่ผลตรวจบอกว่าปกติในทางตรงกันข้าม การตรวจบางอย่างกลับให้ผลบวกทั้งที่ยังไม่ได้เป็นโรค เรียกผลในลักษณะดังกล่าวนี้ว่า "ผลบวกลวง"

ผลการตรวจที่เป็น "ผลลบลวง" อาจทำให้ประมาท คือไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงตัวเพื่อป้องกันโรคตัวอย่างเช่น คนสูบบุหรี่ แล้วไปเอกซเรย์ปอดแล้วผลเป็นปกติ ก็ยังสูบบุหรี่ต่อไป หรืออาจจะสูบหนักขึ้นก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น เท่ากับผลการตรวจไปสร้างเสริมพฤติกรรมให้เลวร้ายยิ่งขึ้น ดังนั้นการตรวจดังกล่าวแทนที่จะช่วยป้องกันโรคกลับเป็นการสร้างเสริมการเป็นโรค

ผลการตรวจที่เป็น "ผลบวกลวง" อาจก่อความทุกข์อกทุกข์ใจได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจหาโรคร้ายแรง ซึ่งไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้หรือวิธีการรักษามีอันตรายสูงถ้าไปทำในคนที่ไม่ได้เป็นโรค เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งมะเร็งต่างๆ ทั้งมะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ มักมีผลบวกลวงถึงมากกว่าร้อยละ 90 ในบุคคลที่ปราศจากอาการผิดปกติ ถ้าไปตรวจแล้วผลออกมาเป็น "บวก" (ซึ่งมีโอกาสเป็นผลบวกลวงมากกว่าร้อยละ 90) แล้วจะทำอย่างไร

วิธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับว่ามีความแม่นยำเพียงพอในบริบทของประเทศไทยสำหรับโรคมะเร็งซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์แล้วว่าการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะต้นมีประโยชน์ได้แก่ การตรวจแพ็บ (Papanicolaou test) สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก จึงแนะนำให้หญิงตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ได้รับการตรวจแพ็บปีละหนึ่งครั้งหากได้ผลลบติดต่อกัน 3 ปี ก็แนะนะให้ตรวจต่อไปทุก 3 ปี

โรคมะเร็งเต้านม จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การตรวจเต้านมทางเวชกรรม (การตรวจคลำเต้านมโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึก) มีความไวร้อยละ 87 (คือคนเป็นโรคมะเร็งเต้านม 100 คน ตรวจแล้วพบว่าเป็น 87 คน) และการตรวจภาพรังสีเต้านม (mammogram) ในหญิงอายุ 50 - 69 ปี มีความไวร้อยละ 75 ส่วนในหญิงอายุ 40 - 49 ปี มีความไวเพียงร้อยละ 60 - 65 เท่านั้น รวมทั้งความจำเพาะก็ไม่สูงมากนัก จึงอาจส่งผลให้มีผลบวกลวงเป็นจำนวนมาก การตรวจภาพรังสีเต้านมมีแนวโน้มให้ความไวสูงกว่าโดยเฉพาะในผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ที่คลำได้ยาก

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาถึงความแม่นยำดังกล่าวในประเทศไทย แต่คาดว่าการตรวจเต้านมทางเวชกรรมน่าจะมีความไวมากกว่าในต่างประเทศ เนื่องจากคนไทยมีเต้านมไม่ใหญ่นัก ทำให้คลำได้ง่าย ดังนั้นจึงแนะนำให้มีการฝึกบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการตรวจคลำเต้านมได้อย่างถูกต้อทั่วประเทศและแนะนำให้ตรวจพร้อมกับการตรวจแพ็บ (มะเร็งปากมดลูก) ทุกครั้งรวมทั้งแนะนำให้สอนหญิงทุกคนได้มีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองด้วย โดยเฉพาะในหญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

การตรวจภาพรังสีเต้านม ยังไม่สามารถให้คำแนะนำได้เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะกายวิภาคของคนไทย ซึ่งมีเต้านมไม่ใหญ่นัก ผลที่ได้ไม่น่าจะดีกว่าการตรวจเต้านมทางเวชกรรม นอกจากนี้ต้องพิจารณาถึงปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจ (0.1 แรดต่อครั้ง) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีดังกล่าวนี้ในคนที่อายุน้อย

การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในต่างประเทศแนะนำให้ใช้การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ แต่ยังไม่สามารถให้คำแนะนำได้ว่าในประเทศไทยควรตรวจหรือไม่ เพราะจากการวิจัยในประเทศไทยพบว่ามีผลบวกลวงสูงมาก เนื่องจากคนไทยมักกินอาหารที่มีเลือดสัตว์ปนอยู่ ดังนั้นหากต้องรับการตรวจก็แนะนำให้งดอาหารที่มีเลือดสัตว์ปน เนื้อสีแดงวิตามินซี ยาแอสไพริน และยาต้านการอักเสบต่างๆ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการเก็บอุจจาระส่งตรวจสำหรบการตรวจด้วยการหาสารบ่งมะเร็ง (CEA) นั้น แม้ในต่างประเทศก็ไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากมีผลบวกลวงสูงมาก

สิ่งสำคัญที่สุดในการตรวจสุขภาพ
แพทย์ทั้งหลายทั่วโลกตระหนักยิ่งว่า การที่จะสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ การจัดการบำบัดรักษาได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการจัดการตรวจและการสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลประวัติสุขภาพอย่างละเอียด ได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันและอดีต ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว ผู้ร่วมงาน และผู้ใกล้ชิด ประวัติสิ่งแวดล้อมและการทำงาน รวมทั้งประวัติอุปนิสัยปและพฤติกรรม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด

ตามปกติ แพทย์สามารถรวบรวมข้อมูลดังกล่าวได้จากการซักประวัติ ซึ่งก็คือการพูดคุยสนทนากันระหว่างแพทย์และผู้รับบริการอย่างไรก็ตาม แพทย์ส่วนใหญ่มักมีเวลาไม่มากเพียงพอในการซักประวัติดังกล่าวได้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นผลให้การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงได้ไม่ครบถ้วน และอาจพลาดในส่วนที่สำคัญบางประการได้

การรวบรวมข้อมูลประวัติสุขภาพ ซึ่งได้จากการตอบแบบสอบถามโดยผู้รับบริการกรอกด้วยตนเองหรือบุคลากรผู้ช่วยแพทย์ช่วยและจัดทำเป็น "สมุดบันทึกสุขภาพ" ก่อนพบแพทย์ จะช่วยให้แพทย์สามารถทราบข้อมูลประวัติของผู้มารับบริการได้อย่างละเอียด เพื่อจะได้วิเคราะห์และซักถามเพิ่มเติมในส่วนที่สำคัญเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงอันอาจทำให้เกิดโรค รวมทั้งสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้เวลามากนัก เมื่อแพทย์ได้พิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว รวมทั้งเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีความจำเพาะสำหรับเรา เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำเฉพาะสำหรับตัวเราได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การจัดทำห้องสมุดบันทึกสุขภาพด้วยตนเองยังนับเป็นการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมสุขภาพ เพราะทำให้เราได้ทบทวนและค้นพบปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นด้วยตนเอง ก็ยิ่งสร้างความตระหนักให้แก่เรายิ่งขึ้นและส่งผลให้เราระมัดระวังขจัดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคได้ดียิ่งขึ้นด้วย

การจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพนี้จึงนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการตรวจสุขภาพ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ นอกจากนี้สมุดบันทึกดังกล่าวยังสามารถใช้ในการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่องทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เราอาจไม่ได้ตระหนักได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และบุคคลทุกคนควรได้รับการทบทวนความตระหนักต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเราเรียกการตรวจทบทวนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวนี้ว่า "การตรวจสุขภาพประจำปี"

ดังนั้นในการตรวจใดๆ ถ้าขาดการจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพซึ่งบันทึกปัจจัยเสี่ยงต่างๆ (ได้แก่ประวัติการเคยตรวจสุขภาพในอดีต ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา ประวัติการแพ้ ประวัติการรับวัคซีน ประวัติการเจ็บป่วยและสาเหตุของการเสียชีวิตในเครือญาติ ประวัติการทำงานและสิ่งแวดล้อม และประวัติการทบทวนอาการตามระบบต่างๆ) อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็ไม่สามารถเรียกการตรวจนั้นได้ว่าเป็นการตรวจสุขภาพ


กระแสตรวจสุขภาพกับคนไทย
ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สังคมไทยมีความตื่นตัวต่อการตรวจสุขภาพเป็นอย่างมาก (เช่นกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าศึกษา การจัดให้มีการตรวจสุขภาพในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การตรวจสุขภาพของลูกจ้าง) โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นสถานพยาบาลหลายแห่ง แม้แต่ภาพรัฐ ก็ได้จัดโครงการตรวจสุขภาพด้วยการจัดโปรแกรมต่างๆ อย่างหลากหลาย นอกจากนี้สถานบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชน ยังได้ใช้กลยุทธ์การตลาด คือเสนอบริการตรวจสุขภาพแบบเข้าแถวตรวจเป็นชุด (package) เป็นจุดขาย โดยมีการซักประวัติและการค้นปัจจัยเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ซึ่งหากผู้ใช้บริการไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และผลที่ออกมาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็อาจทำให้เจ็บตัว เสียสุขภาพจิต เสียโอกาสในการเข้าทำงานหรือเข้ารับการศึกษา และสร้างเสริมพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้

การตรวจสุขภาพไม่ถูกต้อง "เสียมากกว่าดี"
การตรวจสุขภาพเพื่อนำไปสู่การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ต้องไม่มุ่งเฉพาะการตรวจหาว่าเป็นโรคอะไรบ้างแล้วหรือยัง การตรวจที่มุ่งเน้นที่การตรวจหาโรค อาจทำให้ผู้รับการตรวจกังวล เมื่อตรวจแล้วพบโรคที่วิทยาการในปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าได้ผลดี (รักษาไม่หาย) นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ตรวจก็ไม่ได้มีความแม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์ ผลการตรวจที่ได้จึงอาจไม่ตรงความเป็นจริง ส่งผลทำลายสุขภาพทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ

ดังนั้นการตรวจหาโรคโดยไม่จำเป็นจึงมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะถ้าเป็นโรคหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแล้วตรวจไม่พบโรคก็จะส่งผลให้พฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของผู้ถูกตรวจเหมือนเดิมหรือชะล่าใจกระทำมากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทนที่จะลดความเสี่ยง และเท่ากับเป็นการสร้างเสริมการเกิดโรคแทนที่จะเป็นการป้องกันโรค นอกจากนี้การตรวจแล้วพบโรคร้ายที่วิธีการรักษาตั้งแต่ระยะต้นยังไม่ได้ผลดี ก็จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตหลังการตรวจย่อมแย่ลงได้

ทิศทางการตรวจสุขภาพในประเทศไทย
ดังนั้นหากต้องการให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดีถ้วนหน้าแล้ว การตรวจสุขภาพที่กำหนดขึ้นจึงต้องนำไปสู่การป้องกันก่อนการเกิดโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ ไม่ใช่การค้นหาผู้ที่เป็นโรคแล้วมารักษาดังนั้น ทิศทางการตรวจสุขภาพในประเทศไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งด้านแนวคิด วิธีการ และเนื้อหาสาระ ดังต่อไปนี้

ต้องทำให้ทั้งสังคมเข้าใจตรงกัน ว่าหัวใจหลักของการตรวจสุขภาพ เน้นและให้ความสำคัญยิ่งที่การตรวจเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อจะได้ป้องกันก่อนที่โรคจะเกิดขึ้น ส่วนการตรวจหาความเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนการตรวจหาความเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเป็นเรื่องรอง ซึ่งแนะนำให้ตรวจเฉพาะเมื่อโรคนั้นมีข้อพิสูจน์จากการวิจัยแล้วว่า การตรวจพบโรคนั้นตั้งแต่ระยะต้นให้ผลประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่าการตรวจพบเมื่อมีอาการแล้วและวิธีการตรวจนั้นให้ผลที่มีความแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้เท่านั้น

ต้องทบทวนข้อกำหนดในการตรวจสุขภาพประจำปี ที่ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญมีและเบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยปรับปรุงคัดเลือกให้ทำเฉพาะวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิชาการแล้วว่ามีอรรถประโยชน์ เพื่อสร้างเสริมให้ข้าราชการไทยมีสุขภาพดีถ้วนหน้า และเป็นมาตรฐานที่สังคมสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องได้

ระบบ / โครงการต่างๆ ที่ดูแลเรื่องการจัดบริการสุขภาพ ควรเร่งดำเนินการให้ทุกคนมี "สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัว" รวมทั้งสร้างเสริมทักษะการประเมินสุขภาพตนเองแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง


สรุป
ศาสตราจารย์นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์ ฝากแง่คิดเพิ่มเติมว่า การหันมาให้ความสนใจและใส่ใจในเรื่องสุขภาพของประชาชนเป็นเรื่องที่ดี แต่ความเชื่อว่าการตรวจสุขภาพเป็นการเสริมสร้างสุขภาพจำเป็นต้องหันกลับมาทำความเข้าใจกันเสียใหม่ คำว่า "สร้างนำซ่อม" ต้องมุ่งให้ทุกคนร่วมสร้างสุขภาพดี โดยเจ้าของสุขภาพต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลตัวเอง จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ การสร้างสุขภาพด้วยการตรวจสุขภาพอาจจะเป็นการไปย่ำรอยเดิมที่เรื่องสุขภาพกลับไปอยู่ในมือหมอในโรงพยาบาล ต้องพึ่งยา พึ่งเครื่องมือทางการแพทย์เกินจำเป็นต่อไปอีก

ดังนั้นต้องมุ่งสร้างศักยภาพประชาชนในการดูแลตนเอง สร้างให้เกิดความตระหนักว่า สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นความสุขที่เกิดจากความสมดุลระหว่างกายกับใจของตน และระหว่างกายใจของตนกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีการบริการตรวจสุขภาพชุดใดที่จะเป็นคำตอบของสุขภาพดีอย่างที่ฝันไว้

ในเมื่อการตรวจสุขภาพกำลังกลายเป็นความต้องการที่เกินความจำเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของธุรกิจ หรือเหตุผลทางวิชาการที่ไม่สมบูรณ์ก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขแพทยสภา หรือกลไกอื่นใดที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง น่าจะออกมาดูแลเรื่องนี้ให้อยู่ในทิศทางที่เหมาะสม สร้างความเข้าใจใหม่แก่ประชาชนในเรื่องการสร้างสุขภาพไม่ให้ประชาชนตกเป้นเหยื่อของธุรกิจสุขภาพที่กำลังฉวยโอกาสแห่งความ "ไม่รู้" ของประชาชนมาสร้างผลประโยชน์กอบโกยเข้ากระเป๋าตัวเองอีกต่อไป

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :   
“9 บทเพลง 599 บรรเลง คีตกวี ดนตรีเพื่อพ่อ”
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมเครือข่ายวัฒนธรรมและภาคเอกชน ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เด็กและเยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทย ดนตรีสากลและดนตรีพื้นบ้านขึ้น ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 วันที่ 4 , 11 และ 17 ธันวาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ส่วนวันที่ 18 ธันวาคม 2559 จะเป็นการซ้อมครั้งใหญ่ ณ สนามกีฬาชากังราว(ริมปิง) เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้แสดงจำนวน 599 คน ก่อนที่จะบันทึกการแสดงประวัติศาสตร์ ภายใต้ชื่อ 9 บทเพลง 599 บรรเลง “คีตกวี ดนตรีเพื่อพ่อ” ในวันที่ 19 ธันวาคม 2559 เวลา 18.19 น. ณ สนามกีฬาชากังราว(ริมปิง) อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
กิจกรรมภายในงานจะเป็นการเปิดเวทีให้เด็กและเยาวชนของจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 599 คน ได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีไทย และสากล โดยบรรเลงและขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ร่วมกับเหล่าศิลปินชื่อดังของประเทศไทย นำโดย ครูสลา คุณวุฒิ
เชิญชวนทุกท่าน ร่วมกิจกรรมขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ เช่น เพลง แสงเทียน ยามเย็น ชะตาชีวิต สายฝน ใกล้รุ่ง อาทิตย์อับแสง ยิ้มสู้ อาทิตย์อับแสง แผ่นดินของเรา และพรปีใหม่ พร้อมร่วมพิธีจุดเทียนถวายความอาลัยและร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อรวมพลังสร้างความดีเพื่อพ่อและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการยกย่องพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่องพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลง แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิด และทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วย ตลอดจนทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่างแท้จริง สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” และเพื่อเป็นการบันทึกภาพประวัติศาสตร์ อันจะเป็นความทรงจำที่ดีตราบนานเท่านาน ในหัวใจของพสกนิกรชาวกำแพงเพชร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร 0 - 5571 - 8280 ต่อ 801
ครูสลา-ขับร้องเพลงเล่าสู่หลานฟัง
เนค นฤพล-ขับร้อง ล้นเกล้าเผ่าไทย.
เสถียร -ขับร้อง ร่มไทร
ข้าวทิพย์- ขับร้องเล่าสู่หลานฟัง
เอิ้นขวัญ- ขับร้องรูปที่มีทุกบ้าน
-นำร้อง ต้นไม้ของพ่อ/ความฝันอันสูงสุด







Create Date : 24 ธันวาคม 2559
Last Update : 24 ธันวาคม 2559 21:49:24 น. 0 comments
Counter : 524 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]