Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 06 20 MERS เกาะกลางน้ำ อพท.

 วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย
- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012  (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือ โรคเมอร์ส
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1117913024891039.1073742019.100000170556089&type=3

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- เกาะกลางน้ำ อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต ?   อัพเดต มิย.๕๘
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.266868983436636.59497.146082892181913&type=3

๑๙ มิย อัพเดต เรื่องถนนคนเดิน สรุปว่า เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จะเป็นผู้ดำเนินการ ถนนคนเดิน เอง โดยกำหนดให้พื้นที่ในการจัดกิจกรรม ณ บริเวณถนนเทศา 1 ตั้งแต่ข้างโรงแรมนวรัตน์จนใกล้ถึงสามแยกด้านหลังโรงพยาบาลกำแพงเพชร และให้ลงพื้นที่สอบถาม สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาล ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2558 มีเป้าหมายจำนวน 700 คน

๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเราข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา
- วันที่ ๑๙ – ๒๐ มิย.๕๘  เวลา ๑๘.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. กิจกรรม เปิดฟ้าดูดาว ชมดาวเคียงเดือน  (พระจันทร์ตะแคงยิ้ม) ณ บริเวณริมปิง หลังตลาดไนท์ จัดโดย ชุมนุมดาราศาสตร์ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1117897954892546&set=a.107498969265788.14669.100000170556089&type=1&theater

- วันที่ ๒๐ มิย.๕๘ เวลา ๑๐.๓๙ น. พิธีวางศิลาฤกษ์ ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ณ วัดพระบรมธาตุ (หน้าวัด ด้านที่ติดแม่น้ำปิง )
     สำหรับ ผู้บริจาค ยอดเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป ( จำนวน ๑๐๐ ท่าน ) จะได้เข้าเฝ้า รับพระราชทานของที่ระลึก จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3

- วันที่ ๑๕ พค. – ๑๓ สค.๕๘ กรมโยธาธิการและผังเมือง เชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้เสีย ไปตรวจดู ผังเมืองรวมจังหวัดกำแพงเพชร  ถ้ามีผลกระทบให้ร้องขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินได้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.542958535827678.1073741865.146082892181913&type=3

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3

- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
รอบเช้า ๐๙.๐๐ น.  เส้นทางบุญ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในเขตเทศบาลเมืองฯ ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง
รอบบ่าย ๑๖.๐๐ น.  เส้นทาง เล่าเรื่องชมเมืองชากังราว ใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร (ในเวลาราชการ) โทร ๐๕๕ – ๗๑๘ ๒๐๐ ต่อ ๓๒๒
ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองกำแพงเพชร โทร ๐๙๔ – ๖๓๖ ๖๓๖๙ 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3


๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย

องค์ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012
(Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือโรคเมอร์ส
กรมควบคุมโรค  วันที่ 6 มิถุนายน 2558

1. ลักษณะโรค : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV)

2. สถานการณ์ :
ทั่วโลก
ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1,190 ราย เสียชีวิต 444 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.31 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 49 ปี โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจาก 25 ประเทศ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน คูเวต เลบานอน กาตาร์ โอมาน และเยเมน
- กลุ่มประเทศยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ตุรกี และอังกฤษ
- กลุ่มประเทศแอฟริกา 2 ประเทศ ได้แก่ อัลจีเรีย และตูนีเซีย
- กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
- กลุ่มประเทศเอเชีย 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ จีนแผ่นดินใหญ่ และ ไทย

โดยผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 85 ) เป็นผู้ป่วยที่มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
ทั้งนี้ในปี 2558 พบผู้ป่วยโรคเมอร์ส ใน 11 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน โอมาน กาตาร์ จอร์แดน เยอรมัน จีน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และ ไทย

และรายงานการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน ๒๕๕๘ องค์การอนามัยโลกได้รายงานอย่างเป็นทางการ พบผู้ป่วยที่ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 36 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ที่มีประวัติสัมผัสเชื้อในประเทศเกาหลีใต้ และเดินทางผ่านฮ่องกงไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย การติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจำกัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง
ประเทศไทย พบ ๑ ราย เป็นชาวตะวันออกกลาง เดินทางมากรุงเทพฯ ตรวจพบเมื่อ สองวันก่อน (พฤหัส ๑๘มิย๕๘) รักษาตัวในโรงพยาบาล ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

3. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรนา (MERS CoV)

4. อาการของโรค : ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV บางรายไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการบางรายมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรง และถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจทำให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จึงควรได้รับการดูแลในห้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
(intensive care unit) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบ และหายใจลำบาก ปอดบวม ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าจะมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36 ส่วนในผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป

5. ระยะฟักตัวของโรค : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน
(//www.who.int/csr/disease/coronavirus_infections/MERS_CoV_RA_20140424.pdf?ua=1)

6. วิธีการแพร่โรค :
           การสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
           ติดต่อผ่านละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย การไอ หรือจาม
           มือที่สัมผัสของใช้ร่วมกับผู้ป่วย
           การสัมผัสกับอูฐที่มีเชื้อ

          ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า ไวรัสเมอร์สเป็นเชื้อโรคที่มีอัตราการแพร่กระจายไม่ได้สูงมากนัก คือ ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ 0.60-0.69 คน ในขณะที่อัตราการแพร่กระจายของโรคอื่น ๆ มีมากกว่า
           ผู้ป่วยโรคหัด 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 12-18 คน
           ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อได้อีก 1.5-2.5 คน

          ดังนั้น โอกาสที่โคโรน่าไวรัสจะแพร่กระจายเป็นกลุ่มก้อนในชุมชนจึงมีน้อย ยกเว้นคนนั้นจะมีความเสี่ยงจริง ๆ เช่น เป็นผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย หรือมีร่างกายไม่แข็งแรง  
          ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า แม้ไวรัสเมอร์สจะเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับซาร์ส แต่โอกาสการแพร่ระบาดจากคนสู่คนน้อยกว่าโรคซาร์ส 5 เท่า ทำให้การแพร่ระบาดส่วนใหญ่จึงยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ตะวันออกกลาง โอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกน้อย ต่างจากโรคซาร์สที่มีโอกาสสามารถแพร่ไปทั่วโลกได้มากกว่า
          ทั้ง นี้ปัจจุบันยังไม่พบว่าเชื้อไวรัสตัวนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือกลายพันธุ์แต่อย่างใด และแม้ว่าโรคนี้จะมีอัตราการแพร่ระบาดจากคนสู่คนต่ำ แต่สำหรับการระบาดที่เกาหลีใต้ ถือเป็นการ แพร่ระบาดเร็วและจำนวนมาก จากคนเกาหลีที่ติดเชื้อจากพื้นที่ตะวันออกกลางเข้ามาในประเทศ และมีผู้ติดเชื้อต่อไปอีกถึง 30 คนในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ สาเหตุของการแพร่ระบาดเร็วคาดว่ามาจากความไม่รู้ ทำให้ไม่มีการระมัดระวังตัว โอกาสแพร่กระจายเป็นจำนวนมากจึงสูง

7. การรักษา : เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จำเพาะ
เนื่องจากยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ต่างจากโรคซาร์สที่แม้จะแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าไวรัสเมอร์ส แต่อัตราการเสียชีวิตมีเพียงร้อยละ 9.6 เท่านั้น

8. การป้องกัน :
• สำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
           งดการสัมผัสกับอูฐ หรือดื่มนมอูฐดิบ หากเดินทางไปยังประเทศในตะวันออกกลาง
           สวมใส่หน้ากากอนามัย
           หลีกเลี่ยงไปในสถานที่แออัด มีคนรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก
           หมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ
           ไม่ควรสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือต้องสงสัยป่วยด้วยโรคนี้
           หากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ภายใน 14 วัน มีอาการเป็นไข้ เป็นหวัด หอบ หายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
          อย่างไรก็ตาม ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่มีคำสั่งห้ามเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด ดังนั้นต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

หากใครมีประวัติเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด แล้วมีอาการไอ เป็นหวัด ให้ใส่หน้ากากอนามัย และพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา พร้อมแจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศด้วย แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง และภูมิต้านทานโรคต่ำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่า นอกจากนี้ยังสามารถโทร. 1422 ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค beid.ddc.moph.go.th


• สำหรับประชาชนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
- เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้างมือเป็นประจำ ก่อน และหลังการสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย

หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
โทร. 025903159 หรือ หาข้อมูล และคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ //beid.ddc.moph.go.th
***************************************************
ที่มา : องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา__

หน้ากากอนามัย วิธีการใส่ที่ถูกต้อง

1. ใส่ตามที่ผู้ผลิตระบุ
- ส่วนมากเอาด้าน สีเข้ม ออก
- เหตุผลคือ รอยพับของผ้าด้านที่ไม่มีสี มักจะพับในแบบที่สามารถกักเอาน้ำลายที่เกิดจากการไอจามได้
- สีที่พื้นผิว ด้านที่มีสี ในบางยี่ห้อสาก บางยี่ห้อกันน้ำ เวลาไอจาม ถ้าเอาด้านนี้เข้า น้ำจะไหลเปื้อนซึมออกมาข้างนอกง่าย แถมใส่แล้วเจ็บหน้า
- ถ้าเป็นสีขาวล้วนให้สังเกต ที่จุดเชื่อมของสายคาดหูกับตัวหน้ากากอนามัย ให้หันด้านที่เป็นปมออกด้านนอก (ถ้า ปม อยู่ด้านในจะขูดผิวหน้าเป็นรอยได้ )

2. ใส่สลับฝั่ง การกรองต่างกันไหม
- ไม่ควรต่างกันเลย เพราะ ตัวชั้นกรองอยู่ตรงกลาง ไม่ได้อยู่ฝั่งสีหรือไม่สี
   ดังนั้น คนที่ป่วย หรือ ไม่ป่วย ... ก็ใส่เหมือนกันไป

3. ข้อสำคัญกว่าใส่ข้างไหน
- กดลวดที่อยู่ด้านบนให้แนบชิดจมูกด้วย ลมจะได้ไม่รั่ว ไม่งั้นใส่แล้วไม่ป้องกันอยู่ดี
- เวลาถอดออก ควรล้างมือ เพราะมือไปจับหน้ากากที่ถือว่าต้องกรองเชื้อโรค(แม้ว่าชั้นกรองจะอยู่ตรงกลางก็ตาม)
- ควรใช้วันเดียวทิ้ง ไม่ให้สะสมโรค

เครดิต FB @ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- เกาะกลางน้ำ อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต ?   อัพเดต มิย.๕๘
สรุปข้อมูล เกาะกลางน้ำ เทศบาลเมืองฯ จ.กำแพงเพชร

๒๕๓๔    จังหวัด เสนอโครงการฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา พระบรมราชินีนารถ

๒๕๓๕    จังหวัด ตั้งคณะกรรมการจัดสร้างศาลเจ้าฯ   ( เดือนกรกฎาคม ตอกเสาเข็ม)

๒๕๓๗    เทศบาลแจ้งให้รื้อถอน เนื่องจาก ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ในที่สาธารณประโยชน์ และ
ผิด พรบ.ผังเมือง พ.ศ.๒๕๑๘ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ.๒๕๓๒) ผังเมืองรวมกำแพงเพชร

๒๕๔๐    จังหวัด ตั้งคณะกรรมการทำงาน พิจารณาแก้ไขปัญหา    

๒๕๔๓    คณะทำงานฯ สรุปว่ายังไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินของรัฐ
    - พนง.ที่ดิน ภาพถ่ายปี ๒๕๑๑ ไม่มีเกาะ จึงถือว่ามิใช่เกาะธรรมชาติ (เกิดจากการขุดทราย)

๒๕๔๔ กรมเจ้าท่า ตอบหนังสือขออนุญาตก่อสร้างว่า ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่และการดูแลของกรมเจ้าท่า เนื่องจาก เกาะมีสภาพเป็นที่ดินสาธารณสมบัติ อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองฯ

๒๕๔๘    เทศบาลเมือง ไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้เนื่องจาก
    ๑. อยู่ในพื้นที่สีเขียวอ่อน ที่ดินเพื่อนันทนาการและคุณภาพสิ่งแวดล้อม พรบ.การผังเมือง พ.ศ.๒๕๑๘  
    ๒. ที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เฉพาะทบวงการเมืองเป็นผู้ขอใช้    
๓. ดำเนินการปลูกสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตมาก่อน ถ้าจะดำเนินการต่อ ต้องดำเนินการตามข้อ ๑ และ ๒ และต้องยื่นแบบแปลนพร้อมเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้องต่อพนักงานท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒

๒๕๕๔    จังหวัดกำแพงเพชรมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อหาข้อยุติร่วมกันในการพัฒนาเกาะกลางแม่น้ำปิง ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ณ เทศบาลเมืองฯ (๑๗ ตค.๕๔) ที่ประชุมมีมติให้
-มูลนิธิกำแพงเพชรประชานุเคราะห์และมูลนิธิสว่างกำแพงเพชรธรรมสถาน ร่วมกันยื่นขออนุญาตใช้ที่ดินก่อสร้างต่อสำนักงานที่ดินจังหวัด พร้อมทั้ง ยื่นขอให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองเข้าตรวจสอบอาคารและยื่นขออนุญาตใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ. ผังเมือง พ.ศ. 2542 เสร็จแล้วให้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อเทศบาลเมือง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ต่อไป
    - เทศบาลเมือง ดำเนินการขอถอนสภาพพื้นที่ เป็นที่ทำประโยชน์ตามพื้นที่สีเขียวอ่อน และ เป็นผู้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ ยื่นผ่าน สนง.ที่ดินจังหวัด กรมที่ดิน
    - ตั้งคณะทำงาน โดยมี นายอำเภอ (ปธ.) ท้องถิ่นจังหวัด(รอง ปธ.) นายกเทศมนตรีฯ (เลขา) ผอ.กองการช่างเทศบาลฯ (ผู้ช่วยเลขา) เพื่อหาข้อยุติในเรื่อง รูปแบบการพัฒนา แบบแปลนของสิ่งปลูกสร้าง (เพิ่มศูนย์เพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ) งบประมาณดำเนินการ ความคิดเห็นของชุมชน รวมทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อม

๒๕๕๕    ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น ณ ศาลเจ้าพ่อเสือ (๒๐ มค.๕๕ พิธีเปิดศาลฯ) รอง.ผวจ.เป็นประธาน
    - ผอ.กองช่าง : เสนอแบบ รูปเรือ งบ ๓๙๕ ล้านบาท
    - ผู้แทนชุมชน : ควรขยายสะพานหรือทำเพิ่ม ขอรถไฟฟ้าในตัวเกาะ(ห้ามรถยนต์เข้า) ขอตลาดน้ำ
    - ผู้แทน สนง.ทรัพยฯ : พื้นที่ใช้สอยเกินกว่า ๑๐,๐๐๐ ตรม. ควรทำรายงานวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม
    - รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ รอง อธิการบดี มน. : เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ชำนาญการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ
    - ผู้แทน สนง.ที่ดิน : เทศบาลฯ ได้ขอรังวัดทำแผนที่เกาะ ปกติต้องทำเรื่องขอเพิกถอนสภาพของที่ดิน โดยต้องออกเป็น พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพที่ดิน ซึ่งต้องใช้เวลานาน เสนอให้ทำเรื่อง ขอใช้ที่ดิน ตาม มาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจะใช้เวลาไม่นาน ถ้าอนุญาตแล้วสามารถทำการก่อสร้างได้เลย

๒๕๕๕ เทศบาลเมือง มีแผนการพัฒนา โดยฝ่ายกองช่าง เทศบาลเมืองกำแพงเพชร และ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกำแพงเพชร เป็นผู้ร่วมกันออกแบบ แนวคิดเรือมาด  ( กพ.๒๕๕๕ )

๒๕๕๕ โครงการจ้างเหมาขุดลอกและฟื้นฟูสภาพร่องน้ำที่ประสบอุทกภัยแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ตอนที่๔ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕  ผู้ว่าจ้าง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม  (เมย-กย.๒๕๕๕)

๒๕๕๕ เทศบาลเมืองฯ ประกาศ ปิดเกาะ เพื่อปรับปรุง ตั้งแต่ ๑๖สค.๕๕ จนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

๒๕๕๕ ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (ศพม.กพ.)  เชิญร่วมหารือแนวทางสร้างสรรค์สาธารณสมบัติ (เกาะกลางน้ำ) ของจังหวัดกำแพงเพชร ( ๙ พย. และ ๒๗ พย.๒๕๕๕ )

๒๕๕๗ เทศบาลเมืองฯ จัดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติวันแม่แห่งชาติ จำนวน ๑๐๙ ต้น (๘สค.๕๗)

๒๕๕๗ การนำเสนอผลการศึกษาออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อการจัดตั้งศูนย์ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ บริเวณเกาะกลางน้ำ โดย องค์การบริหาร การพัฒนา พื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.๔ )  ( ๘กย.๕๗)

๒๕๕๘ คำสั่งจังหวัดที่ ๑๐๘๒/๒๕๕๘ (๙มิย๕๘) แต่งตั้ง คณะทำงานพัฒนาเกาะกลางน้ำ แม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จังหวัดกำแพงเพชร ( กรอ.จ.กพ) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ (๒๒เมย๕๘)


อ้างอิง :  สนง.โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ร่วมกับ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร พ.ศ. ๒๕๕๕



อ้างอิง : วิทยานิพนธ์ หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๕



อ้างอิง : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท. (บทที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๗




Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 21:41:12 น. 0 comments
Counter : 501 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]