Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 07 18 โรคบาดทะยัก คกก.พัฒนาเกาะ ศปจ.กพ

 วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย
- โรคบาดทะยัก

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา
- คณะทำงานพัฒนาเกาะกลางน้ำ แม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จะมีการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ วันพุธที่ ๒๒ กค.๕๘ ณ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.266868983436636.59497.146082892181913&type=3
- ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร (ศปจ.กพ.)
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1130592763623065.1073742114.100000170556089&type=3
๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเราข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา
- วันที่ ๒๒ กค.๕๘ ประชุม คณะทำงานพัฒนาเกาะกลางน้ำ แม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ณ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร
- วันที่ ๒๓ กค.๕๘ เวทีระดมความคิดระดับอำเภอเมือง ศปจ.กพ ห้องประชุมใหญ่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.กพ
- วันที่ ๑๕ พค. – ๑๓ สค.๕๘ กรมโยธาธิการและผังเมือง เชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้เสีย ไปตรวจดู ผังเมืองรวมจังหวัดกำแพงเพชร  ถ้ามีผลกระทบให้ร้องขอแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินได้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.542958535827678.1073741865.146082892181913&type=3
- วันที่ ๑๖ สค.๕๘ Bike for Mom “ปั่นเพื่อแม่” เป็นกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 12 สิงหาคม 2558  พร้อมกันทั้งประเทศ วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 เวลา 15.00 น.
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.715867685203428.1073741893.146082892181913&type=3

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3

- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3


๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย

โรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในดิน มีชื่อว่า คอสติเดี่ยม เตตะไน ( Clostridium tetani ) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสร้าง สารพิษ ( toxin ) ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาททำให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ
เชื้อมักจะเข้าทางบาดแผลบางครั้งแผลอาจจะเล็กมากจนไม่เป็นที่สังเกต แผลที่ลึก หรือแผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนั้นเชื้ออาจเกิดจากการทำแท้ง ฉีดยาเสพติด แผลไฟไหม้ แผลจากแมลงกัด ก็ได้

หลังรับเชื้อกี่วันจึงเกิดอาการ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2 วันถึง 2 เดือน โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการภายใน 14 วัน

อาการของโรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักมักเป็นกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้น 1 - 7 วันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะกระจายทั่วร่างกาย ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อกรามทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอ หลังเกร็ง และปวด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อทั่วร่างกายก็จะเกร็งทั้งหมดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจทำให้หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตจากหายใจวาย

การรักษา
•    ต้องนอนในโรงพยาบาลควรอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก ( ICU ) ห้องที่อยู่ควรเงียบ แสงสว่างไม่มาก
•    ให้ยาปฏิชีวนะ นิยมให้ เพนนิซิลิน ( penicillin )
•    ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ
•    ให้ยา tetanus antitoxin
•    ทำความสะอาดแผล

การป้องกัน
•    โดยการ ฉีดวัคซีน TOXOID ตามกำหนด และซ้ำทุก 10 ปี
•    ทำความสะอาดแผล และให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

แผลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก
•    บาดแผลที่มีเนื้อตายจำนวนมาก
•    มีการติดเชื้อเป็นหนอง
•    มีสิ่งแปลกปลอมตกค้าง
ตัวอย่างแผล เช่น แผลไฟไหม้ การติดเชื้อของสายสะดือ กระดูกหักชนิดแทงทะลุผิวหนัง การติดเชื้อจากทำแท้ง

ใครควรได้รับการฉีด ฉีดวัคซีน TOXOID
ผู้ใหญ่ทุกคนควรได้รับวัคซีน เมื่อเด็กอายุ 14 – 16 ปี ถ้าภายใน 5 ปียังไม่เคยได้วัคซีนมาก่อนให้ฉีด 1 เข็ม
ผู้ที่มีแผล ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก

จะฉีดวัคซีนอย่างไรกับผู้ป่วยที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน
•    ให้ฉีด 3 เข็ม เข็มแรกฉีดได้เลย เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 - 2 เดือน ส่วนเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่สอง 6 - 12 เดือน โดยฉีดยาปริมาณ 0.5 ซีซี เข้ากล้ามเนื้อ แล้วฉีดกระตุ้นทุก10 ปี
•    ไม่แนะนำให้ฉีด toxoid ถ้าบุคคลผู้นั้นได้ toxoid ครั้งล่าสุดไม่เกิน 5 ปี

ลักษณะแผล
•    ในกรณีแผลสะอาดและเกิดในช่วง 10 ปีหลังได้ toxoid ครั้งสุดท้ายแนะนำว่าไม่ต้องฉีด
•    กรณีแผลสกปรกแต่เกิดในช่วง 5 ปีหลังการฉีดวัคซีนแนะนำว่าไม่ต้องฉีด
•    กรณีแผลสะอาดแต่ได้วัคซีนเกิน 10 ปีแนะนำให้ฉีดวัคซีน
•    กรณีแผลสกปรกและได้วัคซีนเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 20 ปีให้ฉีดวัคซีน
•    ผู้ป่วยได้รับวัคซีนไม่ครบหรือไม่ทราบถ้าแผลสะอาดให้ฉีด toxoid ถ้าแผลสกปรกให้ฉีดTetanus immune globulin(TIG) ร่วมกับ toxoid
•    ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีบาดแผลควรได้รับ Tetanus immune globulin(TIG)
เกิดในช่วง 5 ปีหลังได้วัคซีน    ไม่ต้องฉีด    ไม่ต้องฉีด
เกิดในช่วง 5 - 10 ปีหลังได้วัคซีน    ไม่ต้องฉีด    ให้ฉีดวัคซีน
เกิดในช่วง 10 ปีหลังได้วัคซีนครั้งสุดท้าย    ให้ฉีดวัคซีน    ให้ฉีดวัคซีน
ไม่เคยได้รับวัคซีน    ให้ฉีดวัคซีน    ให้ฉีดวัคซีนร่วมกับ TIG


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา

- คณะทำงานพัฒนาเกาะกลางน้ำ แม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร  จะมีการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ วันพุธที่ ๒๒ กค.๕๘ ณ ห้องประชุมทุ่งเศรษฐี ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร
ท่านใด อยากจะเสนอข้อมูล หรือแนวทางในการดำเนินงาน ก็ร่วมแลกเปลี่ยนกันได้เลยครับ  
ติดตามข่าวสาร และ ร่วมแสดงความเห็นได้ที่เฟส รักษ์กำแพง :
เกาะกลางน้ำ วันนี้ ... ( อดีต-ปัจจุบัน รู้แล้ว แต่ว่า อนาคต ??? ) https://www.facebook.com/media/set/?set=a.266868983436636.59497.146082892181913&type=3





ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร (ศปจ.กพ.)

    ที่มา รัฐบาลไทยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการวางแผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ ของประเทศ มาตั้งแต่ปี 2540 (โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐไว้ในรัฐธรมนูญ พ.ศ. 2540 และ 2550) ทำให้ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีกลุ่มองค์กรและเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเกิดขึ้นมากมายเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเรื่องที่เป็นปัญหาหรือผลประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการบริหารจัดการเรื่องที่เป็นปัญหาหรือประโยชน์ของสาธารณะ ดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นพื้นฐานอันสำคัญยิ่งของระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ กลุ่ม องค์กรและเครือข่ายภาคประชาชน/ประชาสังคมต่าง ๆ ไม่มีสถาบันหรือหน่วยงานที่แน่นอนชัดเจนในการประสานงานกันเพื่อให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่บูรณาการ เชื่อมโยง สอดคล้องกัน จนเกิดพลังที่สามารถบริหารจัดการในการแก้ปัญหาและพัฒนาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.)  สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) หอการค้าไทย ศูนย์คุณธรรม มูลนิธิเพื่อคนไทย สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ฯลฯ จึงร่วมกันสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด (ศปจ.) ในทุกจังหวัด เพื่อสร้างความเป็นสถาบันของภาคประชาสังคม และสนับสนุน/พัฒนาให้สามารถประสานงานกับภาครัฐ เอกชน (ธุรกิจ) การเมืองท้องถิ่น วิชาการ (สถาบันการศึกษา) และสื่อสารมวลชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภารกิจของศูนย์ประสานงาน
    เป็นกลไกประสานงานเชิงยุทธศาสตร์ของภาคีการพัฒนาทุกสายงาน
    เป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันทรัพยากร ก่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกภาคส่วน เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การกำหนดนโยบายสาธารณะ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การจัดทำข้อเสนอในการพัฒนาต่อท้องถิ่นระดับตำบลและจังหวัด เป็นต้น
    เป็นศูนย์ที่มีข้อมูลของ องค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน  องค์กรสาธารณะประโยชน์ ภาคประชาสังคม  ฯลฯ  มีรายละเอียดทั้งบุคคล และสถานที่ติดต่อ
    เป็นกลไกประสานงานภาคสนามสำหรับหน่วยงานอิสระส่วนกลาง อาทิ สปพส. สช. สสส. LDI ศูนย์คุณธรรม ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนงานภาคประชาชน (ภาคพลเมือง)
    ดำเนินการเวทีวิสัยทัศน์จังหวัด โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ  ภาคธุรกิจ ท้องถิ่น  ประชาสังคม  ครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบล  อำเภอ ในจังหวัด
    ริเริ่มและประสานกิจกรรม/เวทีการเคลื่อนไหวปฏิรูปต่างๆร่วมกับแผนงาน Inspiring Thailand
    ประสานงานเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งชาติ

ผู้ประสานงานหลักของ ศปจ.กพ. คือ ดร.ชำนาญ วัฒนศิริ (08-024506449; chamnanwat@gmail.com)

ประกาศศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร

ที่ ๑/๒๕๕๘
เรื่อง  การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร (ศปจ.กพ.)
    ตามที่ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในโครงการขับเคลื่อนภาคพลเมืองสู่ประเทศไทยมิติใหม่ (Solidarity for Bic Change of Thailand) ที่มีภารกิจในการเตรียมความพร้อมของกลไกประสานงานระดับส่วนกลางและจังหวัดต่างๆทั่วประเทศเพื่อการขับเคลื่อนโครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย (Inspiring Thailand) ให้มีความเป็นเอกภาพทุกองค์ประกอบของโครงการ นั้น
    เพื่อให้ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชรเป็นสำนักงานประสานเครือข่ายภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัด สามารถเชื่อมประสานและขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้นำหรือผู้ประสานขององค์กรภาคีสำคัญ ทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคท้องถิ่น ภาครัฐ ภาควิชาการและ ภาคสื่อสารมวลชน ต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร ในการจัดทำกำหนดเป้าหมายร่วมของจังหวัดเพื่อนำไปสู่กำหนดเป้าหมายร่วมแห่งชาติต่อไป ที่ประชุมของ ศูนย์ประสานงานภาคพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร         ครั้งที่ ๖/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร               ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร ดังต่อไปนี้ คือ

คณะที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด
๑.    นายธานี ธัญญาโภชน์       ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร    ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๒.    พระราชวชิรเมธี            รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๓.    ผศ.สุวิทย์  วงษ์บุญมาก    มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๔.    นพ.พนมกร  ดิษฐสุวรรณ์    ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๕.    ผศ.ดร.นพคุณ  ชูทัน    มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๖.    ผศ.อนุชา  เกตุเจริญ    มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๗.    ผศ.ชาลี  ตระกูล    มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์
๘.    นายสุวัฒน์  วัฒนศิริ    เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร    ที่ปรึกษาคณะกรรมการศูนย์

คณะทำงาน                                                                                           
ผู้ประสานงานหลัก
๑.    นายชำนาญ วัฒนศิริ    ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง     หัวหน้าศูนย์ประสานงาน
๒.    นางสาวนาริน  คชฤทธิ์     องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด    ผู้ประสานงานหลัก
๓.    นางสาวสุดารัตน์  ศิริพงษ์     เครือข่ายเด็กและเยาวชนกำแพงเพชร    ผู้ประสานงานหลัก

เวทีระดมความคิดระดับอำเภอ จัดทั้งหมด ๔ ครั้ง  - วันที่ ๒๓ กค.๕๘ ห้องประชุมใหญ่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.กพ
ร่างเป้าหมายโดยรวมของกิจกรรม
๑.    ปลุกให้ตื่นตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ของประเทศ สังคมไทย จังหวัดกำแพงเพชร                      (เหตุการณ์ธรรมชาติ การรวมศูนย์อำนาจการจัดการ)
๒.    เกิดทัศนคติที่ดี มีความที่ต้องการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังการเปลี่ยนแปลงสังคมในทางที่ดีต่อตนเอง                   ที่จะทำให้การประชาชนการจัดการตนเองได้

ร่างวัตถุประสงค์ของเวทีระดับอำเภอ
๑.    ตระหนักถึงวิกฤตทางการบริหารจัดการการพัฒนาของประเทศ จังหวัด
๒.    รู้และตื่นตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศและจังหวัด ปัญหาที่เกิดแล้ว                                     และแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต
๓.    สะท้อนปัญหาความเดือดร้อนสำคัญๆ ที่ประชาชนเผชิญอยู่
๔.    ร่วมกันกำหนดความฝัน ความต้องการต่อจังหวัดกำแพงเพชร ในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า
๕.    เกิดความสนใจที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น


กำหนดการจัดเวทีระดมความคิด
    เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
    เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. เกริ่นนำภาพรวมก่อน ดร.ชำนาญ                                                                              - ฉายภาพรวมนโยบายสาธารณะเรื่องกว้างๆ ความเป็นมาของการบริหารประเทศและ
        ให้ภาคประชาชนเตรียมพร้อม ปลุกพลังเปลี่ยนไทย                                                                                                         - สถานการณ์ภาพรวมแบบลึกๆ และประเด็นสำคัญๆ
             - สภาพการพัฒนาของจังหวัดกำแพงเพชร  แสดงภาพให้ผู้เข้าร่วมเวทีเห็น ผลของการพัฒนา                                        - ประเด็นร้อน เล่าให้ฟัง โรงงาน พลังงาน บุหรี่ สุขภาพ มีผลกระทบโรงพยาบาล แนวโน้มสุขภาวะ  
                 (ข้อมูลจาก สสจ. หมออนันท์ วิกฤตสุขภาพมีกี่เรื่อง)
    - โยงเรื่องสุขภาพ
    เวลา 10.00 – 12.00 น. แบ่งกลุ่มแต่ละด้านชวนคุยเติมเต็มข้อมูลเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้                         เพื่อรับทราบปัญหาตามหัวข้อ
๑.    เศรษฐกิจ    หอการค้าจังหวัด/พัฒนาชุมชน/อุตสาหกรรมจังหวัดและพาณิชย์จังหวัด +คุณศักดิ์ชัย+คุณตฤณศร+นศ.มรภ.กพ.                        
๒.    สังคม    พมจ. และสาธารณสุขจังหวัด+คุณหมอพนมกร+คุณหมออนันท์ และอ.สุดารัตน์+นศ.มรภ.กพ.                        
๓.    ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    ทรัพยากรจังหวัด (คุณรุ่งกานต์)+คุณประสิทธิ์ (ทีมงาน)+คุณอำนาจ +นศ.มรภ.กพ.                        
๔.    การเมืองการปกครอง    ท้องถิ่นจังหวัด (ป.กาญจน์) + ป.นาริน + น.ศ.มรภ.กพ.
๕.    เป้าหมายด้านความมั่นคงภายใน    สำนักงานจังหวัด/กอ.รมน./สถานีตำรวจภูธร+คุณสายรุ้ง+นศ. มรภ.กพ.                        
๖.    คุณธรรมจริยธรรมหลักธรรมาภิบาล    วัฒนธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรม+คุณมรุธ+นศ.มรภ.กพ.                        

-  แลกเปลี่ยนให้แต่ละท่านในกลุ่มเลือกหัวข้อที่ตนสนใจหรือเป็นประเด็นร้อน     ไม่ซ้ำกันและนำเสนอในกลุ่ม (45 นาที)  
-  ปัญหาที่ต้องการแก้ไข ความทุกข์ยาก ข้อเสนอ (45 นาที)
-  เสร็จแล้วนำเสนอผลงานกลุ่ม
เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.      แต่ละกลุ่มนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและอภิปรายในที่ประชุมใหญ่
เวลา ๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.      - พิจารณาให้ฉันทานุมัติเป้าหมายร่วมการพัฒนาของคนกำแพงเพชร
เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.      - ทำแบบสำรวจ (อธิบาย แบบสอบถาม) เลือกตัวแทนในระดับตำบล
เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.      - สรุปและปิดเวทีจัดทำเป้าหมายร่วมพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร





Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 21:47:35 น. 0 comments
Counter : 626 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]