Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 03 12 จมน้ำ ถนนคนเดิน (ต่อ)

 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
เชิญ ร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุฯ โทร 055 - 714 417

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  “ 5 มีนาคม ร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ” (วันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคม)
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.461096180680581.1073741852.146082892181913&type=3

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :
- ถนนคนเดิน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร  (อัพเดต หลังการประชุมเทศบาลฯ)
//on.fb.me/24Aq5a8

- รพ.กำแพงเพชร เชิญชวนบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร
ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (บริจาคได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ)
สอบถามรายละเอียดได้ที่....งานประชาสัมพันธ์ รพ.กำแพงเพชร โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันอาทิตย์ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. เปิดรังกระต่าย ครั้งที่ ๓ Rabbit art street @BanPran ช็อป สินค้าทำมือ โชว์ งานอาร์ต ชิม ของอร่อย
https://www.facebook.com/groups/796142933865735

-  วันที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคน ๒๕๕๙ การประชุมพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กลุ่มสยามบน ๙ จังหวัด ( upper siam ) ว่าด้วย "อาหารปลอดภัย" ครั้งที่ ๔ ณ โรงแรมนวรัตน์เฮอริเทจ
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1275185739163766.1073742186.100000170556089&type=3

-  วันที่ ๓๐ มีนาคน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. การบรรยาย และการปฏิบัติการ การสื่อสาร และการสร้างแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงการพัฒนากลุ่มผู้ผลิต และ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชม OTOP SMEs วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการทั่วไปของกำแพงเพชร  ณ หอประชุมคณะวิทยาการจัดการ ชั้น ๑ มรภ.กพ.  ( ไม่เสียค่าใช้จ่าย )
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=993608694066937&set=gm.975768429178814&type=3&theater


- วันที่ ๒๙ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๕๙ โครงการอบรมค่ายเยาวชนนาฏศิลป์อาเซียน เฉลิมพระเกียรติ ต๑ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ วันอนุรักษ์มรดกไทย “ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

- วันเสาร์ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ (วันอนุรักษ์มรดกไทย) เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. การแสดงนาฏศิลป์ ดนตรีอาเซียน ๑๐ ประเทศ  และมหกรรมอาหารพื้นบ้านเมืองกำแพงเพชร "มรดกการกินถิ่นไทย เชื่อมสายใยสู่อาเซียน" ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1003476506406909&set=a.123329937754908.32760.100002337089129&type=3&theater

- วันเสาร์ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๗.๐๐ – ๐๙.๐๐ น.  พิธีทำบุญ สืบชะตาต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร (บวชต้นโพธิ์) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีที่ ๔ ณ ลานโพธิ์ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
จัดโดย ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดกำแพงเพชร (ศพม.กพ.) ร่วมกับภาคประชาชนในชุมชนใกล้เคียง

“””””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคจักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- ขอสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3



๑. ความรู้สุขภาพ :  “ 5 มีนาคม ร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ”
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1243133159033647&set=pcb.1243133419033621&type=3

วันนี้ (3 มีนาคม 2559) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานแถลงข่าวรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ “ปิดล็อค...เด็กจมน้ำตายต้องเท่ากับศูนย์” พร้อมเปิดกิจกรรมรณรงค์และเยี่ยมชมจุดสาธิตมาตรการการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ
จากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆปีมีเด็กทั่วโลก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ 140,219 คน โดยเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเอดส์
สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งมีจำนวนการเสียชีวิตสูงมากกว่าโรคติดต่อนำโดยแมลงและไข้เลือดออก ถึง 14 เท่าตัว
จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าทุกๆ 8 ชั่วโมง จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 1 คน โดยเฉลี่ยทุกๆ 1 เดือนประเทศไทยสูญเสียเด็กจากการจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 90 คน ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2549-2558) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง 10,923 คน
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากจมน้ำ พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 – 2558) กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงเฉลี่ยถึงปีละ 192 คน คิดเป็นร้อยละ 21 ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด ส่วนภาชนะที่มักพบว่าเด็กกลุ่มนี้จมน้ำบ่อย ได้แก่ ถังน้ำ ถังสี กะละมัง กระติกน้ำ โอ่ง และอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ภายในบ้านและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือแม้แต่สระว่ายน้ำภายในบ้านของตนเอง ซึ่งพบว่าเด็กเล็กมักจะจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเล็กน้อยประมาณ 1-2 นิ้วเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากผู้ดูแลเด็กทำกิจกรรมบางอย่างเพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่น เข้าห้องน้ำ ทำกับข้าว คุยโทรศัพท์ เปิด-ปิดประตูบ้าน เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ประกอบกับขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงในบ้าน ซึ่งไม่คิดว่าแหล่งน้ำดังกล่าวจะเป็นอันตรายเพราะมีระดับน้ำเพียงเล็กน้อย โดยกลุ่มเด็กเล็ก มักเดินตามเป็ดหรือสุนัข และพลัดตกลงไปในน้ำในบ่อน้ำ รอบๆบ้านได้ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก จากข้อมูลย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) เป็นช่วงที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงสุด ในบางปีมีจำนวนสูงเกือบ 400 คน ส่วนเดือนที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดคือเมษายน เฉลี่ย 134 คน โดยช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนในปี 2558 ที่ผ่านมา มีข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 250 คน จึงขอให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กให้ความระมัดระวังและร่วมมือกันป้องกันไม่ ให้เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
การจมน้ำเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ เด็กไทยจึงไม่ควรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2565 “เด็กจมน้ำเสียชีวิตต้องเท่ากับศูนย์” โดยได้กำหนดกลยุทธ์ “ทีมผู้ก่อการดี” ดำเนินงานแบบสหสาขา ครอบคลุมทุกมาตรการ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัว และร่วมกันปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กไทย ไม่เฉพาะช่วงปิดเทอม แต่ต้องดำเนินงานตลอดทั้งปี โดยปีที่ผ่านมามีทีมผู้ก่อการดีทั้งสิ้น 335 ทีม

สำหรับมาตรการป้อง**การป้องกัน**เน้นใน 2 กลุ่มสำคัญ ได้แก่
1.มาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 5 ปี) คือ “เทน้ำ กั้นคอก ปิดฝา เฝ้าดูตลอดเวลา” ดังนี้
เทน้ำ ทิ้งหลังใช้งาน ฝัง/กลบหลุมหรือร่องน้ำที่ไม่ได้ใช้งาน
กั้นคอก จัดให้มีสถานที่เล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กซึ่งห่างไกลจากแหล่งน้ำ โดยมีลักษณะแบบคอกกั้นเด็ก มีรั้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ในทุกครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีควรใช้คอกกั้นเด็ก เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันเด็กเล็กจมน้ำแล้ว ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ เช่น รถทับ ไฟฟ้าช็อต พลัดตกหกล้ม โดยเฉพาะเมื่อผู้ปกครองทำกิจกรรมอื่นๆชั่วคราว ซึ่งคอกกั้นเด็กสามารถทำได้เองง่าย เช่น ไม้ไผ่ ท่อพีวีซี เป็นต้น
ปิดฝา ภาชนะใส่น้ำ กะละมัง โอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ
เฝ้าดูตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังแม้เพียงชั่วขณะ ที่สำคัญเปลี่ยนความคิดว่าคอกกั้นเด็กคือที่ขังเด็ก เพราะเราไม่ได้นำเด็กไว้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวตลอดเวลา เพียงแค่ไม่กี่นาทีที่เราติดภารกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเสี้ยวนาทีชีวิตของลูกหลาน

2.มาตรการป้องกันการจมน้ำในเด็กโต (อายุมากกว่า 5 ปี) คือ“ลอยตัว ชูชีพ ช่วยเหลือ ปฐมพยาบาล” ดังนี้
ลอยตัว สอนให้เด็กรู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำเมื่อตกน้ำ โดยการลอยตัวเปล่าหรือลอยตัวโดยใช้อุปกรณ์ช่วย,
ชูชีพ สอนให้ประชาชนและเด็กรู้จักกฎความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง ไม่ว่ายน้ำคนเดียว ไม่แกล้งจมน้ำ ไม่ดื่มสุรา รวมถึงการใช้ชูชีพทุกครั้งที่เดินทางทางน้ำ,
ช่วยเหลือ สอนให้เด็กรู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง โดยการ “ตะโกน โยน ยื่น” (ตะโกน : เรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย และโทร 1669, โยน : อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ เช่น ขวดน้ำพลาสติก ห่วงชูชีพ อุปกรณ์ที่ผูกเชือก, ยื่น : ไม้ เสื้อ กางเกง เข็มขัด เพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ),
ปฐมพยาบาล สอนและฝึกปฏิบัติให้ประชาชนและเด็กรู้วิธีการปฐมพยาบาลคนจมน้ำที่ถูกต้อง โดยห้ามจับเด็กอุ้มพาดบ่า แล้วกระแทกเพื่อเอาน้ำออก

จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้เสื้อชูชีพของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มอายุใช้เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ร้อยละ 15.7 ซึ่งมีการใส่ถูกต้องเพียงร้อยละ 4.2 ส่วนเด็กมีการใช้เสื้อชูชีพ ขณะเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ร้อยละ 18.0 ซึ่งใส่ถูกต้องเพียงร้อยละ 6.0 ผลการสำรวจพบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชูชีพ นั่นคือ ชูชีพที่ทุกคนเข้าใจเห็นทั่วไปตามเรือคือ เสื้อพยุงตัว ซึ่งออกแบบมาให้ใส่สบาย และเคลื่อนไหวได้คล่องตัว แต่จะไม่ช่วยพลิกตัวผู้สวมใส่ให้หน้าหงายขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้นเวลาใช้จึงต้องตีขาช่วย และหากคนที่ใส่ หมดสติ ก็จมน้ำเสียชีวิตได้ ส่วนเสื้อชูชีพจะถูกออกแบบให้พลิกตัวผู้ประสบภัยให้หงายหน้าขึ้นเหนือน้ำ ทำให้คนที่หมดสติไม่จมน้ำ แต่จะเทอะทะ และทำให้เคลื่อนไหวลำบาก

ในโอกาสวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำในปี 2559 นี้ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 มีนาคม 2559 (วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคม) กรมควบคุมโรค จัดทำเพลงเพื่อป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก โดยเน้นสอนให้เด็กกลุ่มนี้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เช่นถังน้ำ อ่างน้ำ ตุ่มน้ำ และสอนเด็กไม่ให้เข้าไป “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม”
อย่าใกล้... เมื่อเจอแหล่งน้ำ อย่าเข้าใกล้ เพราะอาจลื่นพลัดตกลงในน้ำ
อย่าเก็บ...เมื่อเห็นสิ่งของตกลงไปในน้ำ อย่าเก็บเองต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยเก็บให้
อย่าก้ม... อย่าก้มหรือชะโงก ลงไปในโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังน้ำ เพราะอาจหัวทิ่มลงไปในภาชนะ
และจัดประกวดคลิปวีดิโอเต้นประกอบเพลงสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งสามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซด์สำนักโรคไม่ติดต่อ //www.thaincd.com หรือ //www.facebook.com/thaincd และสามารถส่งคลิปเข้าร่วมประกวด ตั้งแต่วันนี้จนถึง 29 เมษายน 2559 สอบถามโทร 0 2590 3967, 0 2951 0402
*******************************************************
ข้อมูลจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค วันที่ 3 มีนาคม 2559
เผยแพร่ : กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
//www.dpc6pr.com
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :
- ถนนคนเดิน เทศบาลเมืองกำแพงเพชร  (อัพเดต หลังการประชุมเทศบาลฯ)
//on.fb.me/24Aq5a8
ผมสรุปเอาเอง ... เทศบาลฯ เชิญศิลป์ในสวนและคณะฯ ประชุม โครงการถนนคนเดิน "ฅนกำแพง"
ในวันจันทร์ที่ ๗ มีค.๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๑.๓๐ น. ณ ห้องประชุมชากังราว ๔ ชั้น ๔ สำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
๑. สรุปข้อมูลจากทางเทศบาลฯ
- ผังที่ร้านค้า ถนนคนเดิน เป็นเพียง "ร่าง" เท่านั้น โดยวัดจากพื้นที่ ๒x๒ เมตร ไม่ได้จะจัดร้านค้าสามร้อยร้านตามที่ในผังฯ
- เรื่องสถานที่จัดงาน ปรับเปลี่ยนได้ ทำมาเป็น ตัวอย่าง เท่านั้น - วางแผนจะเปิดช่วง เมษายน  ( วางแผนโครงการประมาณ ๖ เดือนในปีงบประมาณ )
- วางแผนจะเปิดช่วง เมษายน  ( วางแผนโครงการประมาณ ๖ เดือนในปีงบประมาณ )
- พื้นที่ เกาะกลางน้ำ เป็นดินและทราย มีฝุ่น ถ้าจะทำก็ต้องปรับพื้นที่ใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณ

๒. ผู้ร่วมประชุมฯ เห็นด้วยที่จะทำ " ถนนคนเดิน " แต่ยังมีความเห็นแตกต่างเรื่อง สถานที่จัด รูปแบบ ประเภทร้านค้า ฯลฯ

๓. เทศบาลฯ จะมีการปรึกษา และ นัดประชุม พูดคุย กันอีกครั้ง ( แต่ยังไม่กำหนดวันเวลาสถานที่ )

ปล. ผมเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม โครงการถนนคนเดิน "ฅนกำแพง" ตอนพูดในห้องประชุม อาจไม่เป๊ะ แต่ หลัก ๆ ก็ตามนี้
๑. ขอบคุณ เทศบาลฯ ที่เปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็น และเชิญชมรมศิลป์ในสวน มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวันนี้
๒. ก่อนที่ผมจะแสดงความคิดเห็น ก็ขออภัยล่วงหน้า ถ้าความคิดเห็นของผม อาจทำให้รู้สึกไม่พึงพอใจ ขอให้ท่านใจเย็น ๆ รับฟังแนวคิดและเหตุผลไปก่อน
๓. ผมเห็นด้วยกับแนวคิด โครงการถนนคนเดิน และ ผมเอง ก็เคยเสนอโครงการถนนคนเดิน ในบริเวณนี้ แต่ที่ต่างกัน คือ ผมเสนอให้ทำในสวนสาธารณะ (ไม่ปิดถนน) และ รูปแบบร้านค้าเป็นร้านเล็ก ๆจำนวนไม่มาก ขายริมทางเดินภายในสวน
๔. ผมไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่เทศบาลเสนอฯ เนื่องจาก มีจำนวนร้านมาก สามร้อยถึงสี่ร้อยร้าน และ รูปแบบก็ไม่แตกต่างจาก ตลาดไนท์
ผลกระทบโดยตรง เกิดขึ้นกับ
- ประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น ซึ่งทางเทศบาลฯ ก็ได้รับทราบแล้ว ตอนที่ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นเมื่อ ๑ มีนาคม ที่ผ่านมา
- พ่อค้าแม่ค้าในตลาดไนท์ เพราะ รูปแบบเหมือนกัน ช่วงเวลาเดียวกัน ลูกค้าก็กลุ่มเดียวกัน
๕. ผมมีข้อเสนอ ถ้าจะทำ ถนนคนเดิน ขึ้นมาใหม่ ให้ยั่งยืน ที่ต้องเสนอเรื่องความยั่งยืน เพราะ มีคนพูดว่า ถ้าทำแล้วเจ๊ง ก็เลิก แต่ผมคิดว่า มันไม่ง่ายอย่างนั้น ถ้าเราทำตลาดขึ้นมาแล้วเจ๊ง คนที่เดือดร้อนที่สุดก็คือ พ่อค้าแม่ค้าที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเงินเสียทั้งเวลา  ดังนั้น ถ้าจะทำแล้วก็ต้องคิดวางแผนให้ดี
- พื้นที่ฟุตบาท ริมปิง สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่ต้องปิดถนน ไม่มีบ้านคน บรรยากาศสวยงาม และ พื้นที่เพียงพอกับร้านค้าจำนวนมาก
   ถ้าจัดหน้าสวนน้ำ-ที่จอดรถไฟฟ้า อบจ. สามารถจอดรถด้านหลังได้ ถ้าจะขยายพื้นที่ สามารถขยายลงไปที่ทางเดินด้านล่างของเขื่อน หรือ ปิดถนนช่วงนี้ ก็ยังได้
- อยากให้เน้นเรื่องของสินค้า อาหาร ไม่ซ้ำกับ ตลาดไนท์
- เพิ่มกิจกรรม เกี่ยวกับ ศิลปะ ดนตรี การแสดง ของเด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ สถานศึกษา ฯลฯ เพื่อทำให้เกิดความแตกต่างและดึงดูดประชาชนมาร่วมกิจกรรม
ถ้าทำได้ ทุกฝ่ายก็มีผลดีร่วมกัน
- ประชาชน (ลูกค้า) เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ น่ามาเดิน แล้ว ยังช่วยส่งเสริมกันและกัน เดินถนนคนเดินแล้วแวะตลาดไนท์ หรือ จะมาซื้อของในตลาดไนท์อยู่แล้ว ก็แวะไปถนนคนเดินด้วย
- พ่อค้าแม่ค้าตลาดไนท์ ก็ไม่ต้องแย่งลูกค้ากับถนนคนเดิน
- พ่อค้าแม่ค้าในตลาดอื่น ก็สามารถมาเปิดร้านค้าเพิ่มได้ โดยไม่ต้องแย่งลูกค้ากับตลาดไนท์
- เทศบาลก็จะได้ถนนคนเดิน ที่น่าสนใจ ส่งเสริมทั้งการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ ตามที่ต้องการ







Create Date : 12 มีนาคม 2559
Last Update : 12 มีนาคม 2559 22:00:14 น. 1 comments
Counter : 811 Pageviews.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:18:19:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]