แสนยานุภาพกองทัพอากาศสิงคโปร์+รายละเอียดการฝึกในไทย



เดี๋ยวนี้รู้สึกว่ามีคนพูดถึงเรื่องสิงคโปร์กันบ่อย ผมเลยคิดว่าน่าจะลองทำเรื่องกองทัพอากาศสิงคโปร์ดูบ้าง ไม่พูดมากแล้วครับ ไปเลยดีกว่า


รายละเอียด
ทอ.สิงคโปร์เกิดขึ้นหลังจากอังกฤษถอนตัวออกจากเกาะสิงคโปร์โดยเริ่มคัดเลือกคนไปเรียนการบินที่อังกฤษ ทอ.สิงคโปร์เป็นทอ.ที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน ด้วยงบประมาณกว่า 6% ของ GDP (ทั้งนี้ GDP เค้าก็สูงกว่าเราซะอีก) ทำให้สามารถซื้อของได้ไม่ขาดมือ ซึ่งอากาศยานส่วนมากจะซื้อจากสหรัฐ โดยอาศัยความใกล้ชิดสนิทสนมกัน สิงคโปร์แม้ไม่ได้เป็นพันธมิตรนอกนาโต้ แต่อเมริกาขายอาวุธให้ไม่มีอั้น (รวยซะอย่าง ซื้อได้หมด)

สิ่งที่สิงคโปร์ต้องการมากสำหรับกองทัพคือคนที่จะสมัครเข้าร่วมกับกองทัพครับ เพราะส่วนใหญ่คนสิงคโปร์มักจะไปทำธุรกิจกันมากกว่าจะมาเป็นทหาร จึงทำให้กองทัพต้องพยายามทำโฆษณาประชาสัมพันธ์กองทัพเพื่อดึงดูดเด็กหนุ่มให้มาสมัครเข้าเป็นนักบิน (ผมไปเที่ยวพิพิธภัณท์ทอ.เค้าเห็นผมบ้าสงคราม ยังมาชวนผมไปบิน F-16 เลย คิดดู) โดยอัตราเงินเดือนของเค้าเริ่มต้นที่ 3,500 เหรียญ (1เหรียญ=25 บาท และก๋วยเตี๋ยวชามละ 75 บาท) และมีสวัสดิการให้พร้อม

ชมภาพยนต์โฆษณาของทอ.สิงคโปร์ได้ที่นี่

การจัดซื้อเครื่องบินรบฝูงใหม่เพื่อทดแทน A-4U Skyhawk

หลังการปลดประจำการของ A-4U ทอ.สิงคโปร์จึงประการเชิญชวนให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกส่งแบบเครื่องบินเข้าแข่งขัน ซึ่งก็มี JAS-39 จากสวีเดน Su-30 จากรัสเซีย Refale จากฝรั่งเศส Eurofighter Typhoon จากอังกฤษ และ F-15T (F-15SG) จากสหรัฐ ซึ่งในรอบแรกสิงคโปร์ตัด JAS-39 และ Su-30 ออกด้วยเหตุผลที่มีพิสัยใกล้และไม่ใช่มาตราฐานนาโต้ตามลำดับ

ในรองรองชนะเลิศนั่น Eurofighter ถูกตัดออกด้วยเหตุผลที่อังกฤษให้ความมั่นใจไม่ได้ถึงการส่งมอบเครื่องบิน และในที่สุดผู้ชนะก็เป็นไปตามคาดคือ F-15T นั้นเอง โดยเหตุการณ์ตั้งแต่รอบรองชนะเลิศนี้แทบกะ copy กับการจัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่ของเกาหลีใต้เลยที่เดียว (เกาหลีใต้เลือก F-15K) ซึ่งแน่นอนการตัดสินใจส่วนหนึ่งน่าจะมาจากเหตุผลทางด้านการเมือง โดยการสั่งซื้อนั้นเบื้องต้นจะสั่งซื้อจำนวน 12 เครื่อง และจะสั่งซื้อจนครบ 24 เครื่อง

สเปคและอาวุธของ F-15T

F-15T ถือได้ว่าเป็น F-15 ที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดยมีระบบเรด้าห์รุ่นล่าสุดพร้อมระบบ Data link เชื่อมต่อทุกเครื่องเข้าเป็นเครือข่ายเหมือนใน JAS-39

ส่วนสาเหตุหลักที่สิงคโปร์ที่ประเทศเล็กนึดเดียวแต่ซื้อเครื่องบินที่บินได้ไกลเป็นพันกิโลนั้นน่าจะมาจากการที่มาเลเซียสั่งซื้อ Su-30 MKM ซึ่งเป็นบ.ชั้นเดียวกับ F-15T นั้นเอง

Model: F-15T (F-15SG)
Radar: Raytheon AN/APG-63(V)3 active electronically scanned array radar.
ระบบ Datalink: 24 Link 16 Multifunctional Information Distribution System/Low Volume Terminals (Fighter Data Link Terminals)
ระบบบินกลางคืน: 44 pairs of AN/AVS-9(V) Night Vision Goggles.
อาวุธอากาศสู่อากาศ:
-200 AIM-120C AMRAAM missiles with six Captive Air Training (CAT) rounds
-200 AIM-9X Sidewinder missiles with 24 CAT and dummy rounds
อาวุธอากาศสู่พื้น:
-50 GBU-38 Joint Direct Attack Munitions (JDAM)
-30 AGM-154A-1 Joint Stand Off Weapons both with BLU-111 warheads (JSOW)
-30 AGM-154C Joint Standoff Weapons (JSOW)

เครื่องบินที่ประจำการในปัจจุบัน

สิงคโปร์มีอากาศยานมากกว่า 200 ลำประจำการทั้งในสิงคโปร์และส่วนแยก (Detachment ทั่วโลก) ดังนี้


F-16D+ ในการฝึก Cope Tiger 2006 ที่โคราช (ภาพโดยพ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์)


F-16 C/D Block 50/52+ (ประมาณ 70 ลำ) ประจำการที่ฐานทัพอากาศ Changi ฝูงบินที่ 145 และฐานทัพอากาศ Tengah ฝูงบินที่ 140 และ 143 โดย F-16 รุ่นนี้สิงคโปร์ได้ปรับปรุงให้ติดหมวกบินติดศูนย์เล็ง (DASH) และซื้อขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ Python 4 มาติดตั้ง ซึ่งการปรังปรุงทั้งหมดได้รับความช่วยเหลือจากอิสราเอล


F-5T ในการฝึก Cope Tiger 2006 ที่โคราช (ภาพโดยพ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์)


F-5 S/T Tiger II (ประมาณ 50 ลำ) ประจำการที่ฐานทัพอากาศ Paya Lebar ฝุงบินที่ 141 144 และ 149 โดยสิงคโปร์ปรับปรุงมาจาก F-5 E/F โดยเพิ่มความแข็งแรงให้ปีก เปลี่ยนเรด้าห์ให้สามารถยิง AIM-120C ได้ รวมทั้งเพิ่มท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ โดยสามารถรับการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจากเครื่อง KC-130 ได้ ทำให้ F-5 ของสิงคโปร์เป็น F-5 ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก


AH-64D Apache ทอ.สิงคโปร์


AH-64D (ประมาณ 8 ลำ) ประจำการที่ฐานทัพอากาศ Sembawang ฝูงบินที่ 120 Apache ของสิงคโปร์นั้นประจำการอยู่ในกองทัพอากาศ น่าจะมีสาเหตุมาจากความต้องการที่จะรวมหน่วยบินไว้ในกองทัพอากาศเพื่อประหยัดพื้นที่และกำลังคน (การสั่งซื้อนั้นทำในเวลาไล่เลี่ยกับการสั่งซื้อรถถัง PT-91 ของมาเลเซียจากโปแลนด์)

นอกจากนี้ยังมีเครื่องบินเติมน้ำมัน KC-135 และ KC-130 เครื่องบินแจ้งเตือน E-2C Hawkeyes เครื่องบินลำเลียง C-130 เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง CH-47D Chinook อีกเป็นจำนวนมาก

หน่วนแยกในต่างประเทศ

เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ สิงคโปร์จึงมีหน่วยแยก (Detachment) หรือพูดง่าย ๆ ว่าฐานทัพอยู่ในหลายประเทศคือออสเตรเลีย ฝรั่งเศส บรูไน และสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ใช้ในภารกิจฝึกนักบิน โดยมีรายละเอียดของแต่ละแห่ง ดังนี้
- RAAF Pearce (YPEA) ประจำการด้วยเครื่องบินฝึก S.221 ฝูง 130
- RAAF Oakey (YBOK) ประจำการด้วย AS332M/AS532UL ฝูง 126
- Brunei International Airport (WBSB) ประจำการด้วย AB-205 ฝุง 120
- Cazaux, France (LFBC) ประจำการด้วย A-4SU/TA-4SU ฝูง 150
- Luke AFB, USA (KLUF), Cannon AFB, USA (KCVS), Cannon AFB, USA (KCVS), Grand Prairie Municipal Airport, Dallas TX, USA, Silverbell Army Heliport, Pinal Airpark, Marana AZ, USA ส่วนใหญ่ประจำการด้วยเครื่องบินที่เพิ่งซื้อจากอเมริกา

กองทัพอากาศสิงคโปร์ในเมืองไทย


Ch-47D Chinook ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ ณ กองบิน 2 ลพบุรี


ด้วยความสัมพันธ์อันดีกับไทย สิงคโปร์จึงของเช่าพื้นที่ฝึกบิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

๑. บันทึกความเข้าใจ ฯ ฉบับนี้กำหนดข้อตกลง และเงื่อนไขในการให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน แทนการที่กองทัพอากาศไทย จะให้การสนับสนุนกองทัพอากาศสิงคโปร์ แต่เพียงฝ่ายเดียว
๒. กองทัพอากาศฝ่ายหนึ่งอาจพิจารณาให้กองทัพอากาศ อีกฝ่ายหนึ่งยืมเครื่องมือ , ชิ้นอะไหล่ หรืออุปกรณ์ ตลอดจนวัสดุสิ้นเปลือง (Consumables) และวัสดุหมดเปลือง (Expendables) ได้ โดยกองทัพอากาศฝ่ายหลังจะใช้คืนพัสดุดังกล่าว หรือใช้คืนเป็นเงิน ให้กับกองทัพอากาศฝ่ายแรก ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อกองทัพอากาศไทย อย่างยิ่งในกรณีที่ต้องการวัสดุอุปกรณ์เร่งด่วน และไม่สามารถจัดหาได้ทันเวลา
๓. ในกรณีที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ต้องการจะส่งเครื่องบินของตน มาฝึกในประเทศไทย จะต้องทำการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง ซึ่งการวางกำลังของกองทัพอากาศสิงคโปร์ มิใช่การเข้ามาเช่าฐานทัพแต่อย่างใด โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์ มีสถานะเป็นผู้ขอใช้พื้นที่ และจะต้องปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ของประเทศไทย อย่างเคร่งครัด ในส่วนของกองทัพอากาศไทย สามารถพิจารณาอนุมัติ ให้กองทัพอากาศสิงคโปร์เข้ามาฝึกได้หรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ฉุกเฉิน เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือความมั่นคงในภูมิภาค เช่น เกิดการสู้รบ หรือเกิดความไม่มีเสถียรภาพภายใน กองทัพอากาศไทยสามารถระงับการวางกำลัง หรือการฝึกของหน่วยบินแยกกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ กองทัพอากาศ สามารถยกเลิกบันทึกความเข้าใจ ฯ ฉบับนี้เมื่อใดก็ได้
๔. กองทัพอากาศไทยจะเป็นผู้กำกับดูแลหน่วยบินของสิงคโปร์ รวมไปถึงกำหนดจำนวนเครื่องบินในการวางกำลังแต่ละครั้ง จำนวนคน รวมไปถึงรายละเอียดด้านพื้นที่การฝึก เส้นทาง ความสูงและระยะเวลาในการบินโดยละเอียด ทั้งนี้กองทัพอากาศไทย จะคำนึงถึงความปลอดภัย ผลประโยชน์และผลกระทบด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ

รายละเอียดการมอบเครื่องบิน F-16 A/B จำนวน 7 เครื่อง

จากการที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้จัดหาเครื่องบินรบแบบ F-16 C/D เข้าประจำการ จึงได้ยุติการใช้งานเครื่องบินแบบ F-16 A/B และจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี (Preservation) โดยปกติอายุการใช้งานของเครื่องบินแบบ F-16 A/B ตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ๘ , ๐๐๐ ชั่วโมงบิน ซึ่งเครื่องบินแบบ F-16 A/B ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ทำการบินโดยเฉลี่ย ๔ , ๐๐๐ ชั่วโมงบิน คงมีอายุการใช้งานเหลือโดยคิดเป็นร้อยละ ๕๐ หากใช้งานตามปกติสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี นอกจากนั้น เครื่องบินดังกล่าว ยังได้รับการปรับปรุง ทั้งในส่วนของโครงสร้าง , อุปกรณ์ , เครื่องยนต์ รวมทั้ง Software/Firmware ซึ่งมีความทันสมัย กว่าเครื่องบินแบบ F-16 A/B ของกองทัพอากาศไทย โดยภาพรวมเครื่องบินเหล่านี้มีคุณลักษณะเดียวกันกับ เครื่องบินแบบ F-16 ของฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ ฯ ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ ดังนั้นการบรรจุเครื่องบิน F-16 A/B Block 15Z ชุดนี้เข้าประจำการ จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการซ่อมบำรุง หรือในเรื่องความปลอดภัยในการบินแต่อย่างใด นอกจากนั้นเครื่องมือ , ชิ้นอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุน ซึ่งจะได้รับมอบ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ และการซ่อมบำรุง ในอนาคต นอกจากนี้กองทัพอากาศไทย จะได้รับมอบอะไหล่และอุปกรณ์อันเป็นยุทโธปกรณ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงมากกว่า ๓ , ๒๐๐ รายการเพื่อนำมาเสริมกำลังรบ ที่มีอยู่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการจัดหาแต่อย่างใด นอกจากนี้เครื่องบินแบบ F-16 B ( ๒ ที่นั่ง ) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการฝึกนักบิน ปัจจุบันกองทัพอากาศ ยังขาดแคลนและจัดหาได้ยาก ปัจจุบันกองทัพอากาศไทย มีเครื่องบินสองที่นั่งอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่พอต่อการฝึก นักบินพร้อมรบอย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาวะปัจจุบัน กองทัพอากาศไทย ไม่สามารถจัดหาเครื่องบินสองที่นั่ง เพิ่มเติมได้ ถึงแม้ว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตได้ปิดสายการผลิตไปแล้ว การที่ กองทัพอากาศสิงคโปร์ประสงค์จะมอบเครื่องบินแบบ F-16 A/B ให้โดยไม่ผูกพันใด ๆ จึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ กองทัพอากาศไทย



Create Date : 23 เมษายน 2549
Last Update : 14 ธันวาคม 2550 12:37:34 น.
Counter : 15334 Pageviews.

1 comments
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น SN_monchan
(7 เม.ย. 2567 05:39:08 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
  
เจิมๆๆๆๆ ช้าดีกว่าไม่มี ^^
โดย: prasopchai วันที่: 27 กันยายน 2551 เวลา:6:09:25 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Skyman.BlogGang.com

Analayo
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]

บทความทั้งหมด