การยิงปืนใหญ่ตอบโต้กันระหว่างสองเกาหลีถือเป็นการปะทะที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่การยุติสงครามเกาหลีเป็นการชั่วคราวในช่วงปี 1953 และเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ที่เรือคอร์แวตต์ของเกาหลีใต้จมลงจากตอร์ปิโดว์ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นฝีมือของเกาหลีเหนือ
รวมถึงการแต่งตั้งลูกชายของประธานาธิปดีคิม จอง อิลในตำแหน่งที่พร้อมรอการสืบทอดอำนาจต่อจากผู้เป็นพ่อที่สุขภาพไม่แข็งแรงแต่การโจมตีในครั้งนี้แตกต่างจากกรณีเรือคอร์แวตต์ที่ชื่อโชวนันถูกยิงจมลง
เนื่องมาจากการโจมตีในครั้งนี้เป็นการโจมตีโดยตรงลงบนแผ่นดินของเกาหลีใต้ และมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
ซึ่งผู้บาดเจ็บมีผู้ที่เป็นพลเรือนแน่นอนว่าทั้งสองต่างกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้เริ่มก่อน แต่อย่างไรก็ตามกองทัพเกาหลีใต้ประกาศเตรียมพร้อมสูงสุดพร้อมทั้งเพิ่มจำนวนทหารเข้าไปยังเกาะยอนเปียว
และประธานาธิปดี ลี ยอง บักของเกาหลีใต้ประกาศที่จะตอบโต้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่เพียงคำพูด และทั้งสหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักรต่างออกมาประณามการกระทำในครั้งนี้
ส่วนจีนยังสงวนท่าทีพร้อมกับเรียกร้องทั้งสองฝ่ายให้ร่วมมือกันสร้างสันติภาพและเร่งกลับสู่โต๊เจรจาหกฝ่ายโดยเร็วยังไม่มีความชัดเจนใด ๆ ว่าเพราะเหตุใดเกาหลีเหนือจึงเปิดการโจมตีในครั้งนี้ แต่เมื่อพิจารณาแล้วมีหลายเหตุผลที่เป็นไปได้คือ1. การตอบโต้ทางทหารซึ่งกันและกัน -
อาจจะเกิดมาจากการลาดตระเวนเข้าใกล้แนวพรมแดนของทั้งสองฝ่ายและเหตุการณ์ลุกลามไปจนกลายเป็นการยิงปืนใหญ่ตอบโต้กัน
ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานใดยืนยันสาเหตุนี้2. การแสดงแสนยานุภาพของเกาหลีเหนือ -
เป็นสาเหตุที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น เนื่องจากเกาหลีเหนืออยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายอำนาจ
ลูกชายของคิม จอง อิล คือ คิม จอง อุนอาจจะพยายามเรียกเสียงสนับสนุนจากกลุ่มนายพลซึ่งเป็นผู้กุมอำนาจตัวจริงในเกาหลีเหนือว่าเขามีความสามารถและเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูจากทางใต้
เนื่องจากเขาไม่มีพื้นฐานทางการทหารมากเท่าใดนัก3. การกระทำโดยจงใจของกลุ่มนายทหารบางกลุ่ม - ซึ่งจะเป็นสาเหตุในทางตรงกันข้ามกับข้อ 2
ที่เหตุการณ์อาจจะเกิดขึ้นจากการแสดงการขัดขืนอำนาจใหม่ของคิม จอง อุน ด้วยการทำการโจมตีเกาหลีใต้เพื่อแสดงการไม่ยอมรับคิม จอง อุน หรือ
อาจจะเกิดจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจภายในกองทัพที่บางกลุ่มอาจจะยืนยันที่จะภักดีกับคิม จอง อุน แต่บางกลุ่มอาจจะไม่สนับสนุนคิม จอง อุน
ถ้าในอนาคตเขาก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิปดีแต่ไม่ว่าสาเหตุจะเป็นอย่างไร
เกาหลีใต้จะเป็นผู้ที่ต้องรับงานที่ยากที่สุดคือการตัดสินใจดำเนินการต่อไปหลังจากนี้ เพราะเกี่ยวพันถึงความมั่นคงของเกาหลีใต้เองและอนาคตทางการเมืองของประธานาธิปดีลี ยอง บัก เอง เมื่อครั้งที่เรือโชวนันจมลง
มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมบางคนออกมาให้ความเห็นในเชิงตำหนิการตอบโต้ที่ไม่แข็งกร้าวของลี ยอง บักต่อเกาหลีเหนือ ซึ่งทั้งที่จริง
ลี ยอง บักเองก็เป็นผู้นำหัวอนุรักษ์นิยมที่มีท่าทีเป็นปฏิบักษ์กับเกาหลีเหนือมากกว่าประธานาธิปดีคนก่อนตัวเลือกของเกาหลีใต้อาจจะเป็นหนึ่งในนี้
1. ไม่ทำอะไรเลยนอกจากการประท้วงด้วยวาจา -
ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้น้อยที่สุด เนื่องจากการโจมตีในครั้งนี้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาอย่างรุนแรงไปทั่วเกาหลีใต้
ถ้าประธานาธิปดีลี ยอง บักไม่ทำอะไรเลยอาจส่งผลให้อนาคตทางการเมืองของตนต้องสิ้นสุดลงภายในเวลาไม่นาน2. ตอบโต้ทางการฑูต การค้า และตัดความช่วยเหลือ - ซึ่งเป็นตัวเลือกที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น
โดยเกาหลีใต้อาจจะถอนการช่วยเหลือต่าง ๆ และงดทำธุรกรรมทางการค้าทั้งหมดกับเกาหลีเหนือ แต่ก็เป็นมาตราการที่ดูจะอ่อนเกินไปเมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
และจะไม่ส่งผลสะท้อนได้มากนัก3. การปิดล้อมทางยุทธศาสตร์ต่อเกาหลีเหนือ -
เช่นการปิดอ่าวด้วยกำลังทางเรือหรือการปิดน่านฟ้าด้วยกำลังทางอากาศ ซึ่งจะเป็นการกดดันเกาหลีเหนือให้ยอมโอนอ่อนตามความต้องการของเกาหลีใต้
และเป็นการแสดงแสนยานุภาพทางทหารที่ไม่รุนแรงนักในแง่ขนาดของการปะทะแต่จะสามารถสร้างผลลัพธ์ทางการฑูตได้ ซึ่งสิ่งที่เกาหลีใต้ต้องระวังก็คือ
การปิดล้อมจะต้องไม่มีการกระทำที่ส่งผลให้เกิดสงครามเต็มรูปแบบ4. การโจมตีตอบโต้ด้วยกำลังทางทหาร -
ดูจะเป็นตัวเลือกที่มีความเป็นไปได้พอสมควรที่เกิดขึ้นได้ แต่เกาหลีใต้จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการใด ๆ ที่จะสร้างความชอบธรรมในการเปิดการโจมตีครั้งใหม่
และการโจมตีจะต้องกระทำกับเป้าหมายที่ส่งผลลัพธ์ทางการฑูตและทางจิตวิทยามากพอ แต่จะต้องไม่ส่งผลที่จะทำให้สถานการณ์บานปลายออกไปเป็นสงครามเต็มรูปแบบซึ่งทั้งสองประเทศไม่อยากให้เกิดขึ้น เป้าหมายที่มีความเป็นไปได้เช่น ค่ายทหารและหน่วยทหารที่ทำการโจมตีเกาหลีใต้ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ ไม่มีการรับประกันใด ๆ ว่าการโจมตีจะไม่บานปลายไปสู่สงครามขนาดใหญ่5. การใช้กลไลของสหประชาชาติเข้าแก้ปัญหา -
ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้มาก แต่มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยมาก เพราะแม้จะเชื่อว่าสหรัฐ ฝรั่งเศส และอังกฤษ หรือแม้แต่รัสเซีย
จะออกเสียงสนับสนุนให้กับมาตราการใด ๆ ต่อเกาหลีเหนือของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่จีนซึ่งแสดงท่าทียืนข้างเกาหลีเหนือมาตลอดอาจทำการจีโต้ในท้ายที่สุดซึ่งจะทำให้มาตราการนั้นตกไปอยู่ดี
แต่เกาหลีใต้อาจเลือกหนทางนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นว่า เกาหลีใต้พยายามที่สุดแล้วที่จะหาหนทางด้วยสันติวิธี
แต่ไม่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสถานะของทั้งสองประเทศยังอยู่ในสถานะสงครามอย่างเป็นทางการ แต่ในโลกปัจจุบันนี้มีกลไลทางด้านความมั่นคงที่ช่วยจำกัดขอบเขตของสงครามหรือความขัดแย้งเช่น
กลไลในเวทีนานาชาติ หรือความเสียหายทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นถ้าเกิดสงครามขนาดใหญ่ จึงทำให้น่าจะเป็นการยากที่จะเกิดสงครามเกาหลีเต็มรูปแบบขึ้นมาอีกครั้ง
แต่ต้องจับตาดูต่อไปว่าเกาหลีใต้จะดำเนินมาตราการอย่างไรเพื่อเป็นการตอบโต้