ภาพรวมตลาดเครื่องบินรบในอาเซียน
ลงทุนแปลให้เลยครับ

Singapore 2008 - Southeast Asia defence market opens up
By Siva Govindasamy
Thai Translation by Skyman

With South-East Asian air forces looking to update their fleets across the board, some fascinating manufacturer tussles are afoot

ในขณะที่กองทัพอากาศอาเซียนกำลังปรับปรุงฝูงบินอยู่นั้น ผู้ผลิตชั้นนำต่างพยายามแย่งชิงส่วนแบ่งกันอยู่

South-East Asia is developing into a very open and competitive market for military aircraft, with regional air forces looking to renew fleets which have some aircraft that have been in service for more than 40 years.

ตลาดอากาศยานทางทหารของอาเซียนพัฒนามาจนกลายเป็นตลาดที่เปิด ซึ่งกองทัพอากาศอาเซียนกำลังพยามปรับปรุงฝูงบินของตนซึ่งมีอากาศยานที่ประจำการมากว่า 40 ปี

Almost all major defence contractors have a chance of selling to the region. Singapore has ordered US fighters and is choosing between South Korean, Italian and UK advanced jet trainers. Indonesia and Malaysia have gone for Russian Sukhoi fighters in recent years, while Thailand warmed Swedish hearts with an order for the Saab Gripen multi-role combat aircraft.

ผู้ผลิตแทบทั้งหมดต่างมีโอกาสในการขายในอาเซียน สิงคโปร์สั่งซื้อเครื่องบินรบสหรัฐและกำลังเลือกระหว่างเครื่องบินฝึกไอพ่นของเกาหลีใต้ อิตาลี และอังกฤษ อินโดนิเซียและมาเลเซียเลือกเครื่องบินจากรัสเซีย ในขณะที่ไทยเลือกเครื่องบินจากสวีเดน

Not just fighters

All four are likely to order more aircraft in the next few years, and Vietnam could begin a major fighter replacement exercise early next decade. And it is not just fighters that are required - maritime patrol aircraft, airborne early warning capability, attack, utility and transport helicopters, and trainers are all on the region's shopping list.

มีความเป็นไปได้ที่ทั้ง 4 ประเทศจะสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มในปีนี้ และเวียดนามน่าจะเริ่มการจัดซื้อครั้งใหญ่ในช่วงต้นทศวรรตหน้า และมันไม่ใช่แค่เครื่องบินขับไล่ที่เป็นที่ต้องการ – เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ เฮลิคอปเตอร์โจมตีและเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ และเครื่องบินฝึกก็ยังอยู่ในความสนใจของอาเซียน

"This is not a classic arms race as there is no real animosity among the players," says Richard Bitzinger, a senior fellow at Singapore's S Rajaratnam School of International Studies. "Most of the purchases are needed to replace old inventory and prevent a drop in relative capability. But there is also an element of 'keeping up with the Joneses' - tit-for-tat, non-aggressive procurement rivalries."

“นี่ไม่ใช่การแข่งขันสะสมอาวุธแบบเดิม ๆ เพราะมันไม่มีความขัดแย้งที่แท้จริงระหว่างแต่ละประเทศ” Richard Bitzinger แห่ง Singapore's S Rajaratnam School of International Studies กล่าว “การจัดซื้อส่วนมากเป็นไปเพื่อทดแทนของเก่าและป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพของกองทัพตกลงไป แต่มันก็มีนัยยะของการที่จะคงสมดุลทางทหารระหว่างประเทศโดยไม่ทำให้เกิดความตื่นตระหนก”

One official at a major Western defence contractor points out that although North-East Asia and India grab most of the headlines, South-East Asia is a key market. "Singapore, for example, has a big budget and its decisions are often taken very seriously elsewhere," he says. "Its order of the [Boeing] F-15, for example, was seen as a vote of confidence in the aircraft. Its decision in the advanced trainer competition will also be closely monitored."

เจ้าหน้าที่ของผู้ผลิตชั้นนำคนหนึ่งชี้ว่า แม้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและอินเดียจะแย่งพื้นที่ของพาดหัวข่าวส่วนมากไว้ได้ อาเซียนก็ยังเป็นตลาดที่มีความสำคัญ “ยกตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีงบประมาณทางทหารมากมาย และการตัดสินใจของพวกเขาจะถูกพิจารณาอย่างจริงจังในภูมิภาคอื่น” เขากล่าว “เช่นการจัดซื้อ F-15 จาก Boeing นั้นถูกมองว่าเป็นการแสดงความมั่นใจในตัวเครื่องบิน และการตัดสินใจในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ขั้นปลายก็ถูกจับตาอย่างใกล้ชิด”

Tough market

Boeing says the region will remain a tough, open market. "Competition is intense, and always will be. We believe customers will make their decisions based on technology access, low risk, proven capability and value for money."
Leading the way is Singapore, with tactical fighters, advanced trainers and maritime patrol aircraft all on the horizon. The South-East's biggest operator of Lockheed Martin F-16s has ordered 24 F-15SGs, and is looking to increase its "strategic depth" in the next decade, says air force chief Maj Gen Ng Chee Khern.

Boeing กล่าวว่าตลาดนี้ยังคงเป็นตลาดเปิดที่ยาก “ในตอนนี้และในอนาคต การแข่งขันยังคงสูง เราเชื่อว่าลูกค้าจะตัดสินใจโดยยึดถือการเข้าถึงเทคโนโลยี ความเสี่ยงที่ต่ำ ความสามารถที่พิสูจน์แล้ว และความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไป” โดยผู้นำตลาดคือสิงคโปร์ซึ่งกำลังพิจารณาเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินฝึกขั้นปลาย และเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล สิงคโปร์ซึ่งเป็นผู้ใช้ F-16 จาก Lockheed Martin ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนสั่งซื้อ F-15SG จำนวน 24 ลำ และกำลังพยายามเพิ่มความลึกเชิงยุทธศาสตร์ในทศวรรตหน้า, ผบ. ทอ. สิงคโปร์ Maj Gen Ng Chee Khern กล่าว

Singapore aligned itself with the Lockheed Martin F-35 Joint Strike Fighter programme in 2002 at the "security co-operation participant" level, the lowest rung of the four-tier international teaming set-up. Delays in the fighter's development have kept the country waiting for the final configuration, but that information should be delivered this year. Singapore will then have to choose between a second batch of F-15s and going ahead with the F-35.

สิงคโปร์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ F-35 Joint Strike Fighter ของ Lockheed Martin ในระดับของ "security co-operation participant" ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดใน 4 ระดับของผู้เข้าร่วมจากนานาชาติ ความล่าช้าในการพัฒนาทำให้สิงคโปร์ต้องรอองค์ประกอบขั้นสุดท้ายอยู่ แต่คาดว่าข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งมาในปีนี้ และสิงคโปร์จะต้องเลือกระหว่าการจัดหา F-15 เพิ่มเติมหรือเดินหน้ากับโครงการ F-35

Hawk viability

Advanced jet trainers are also on Singapore's wish-list. It is evaluating the AermacchiM-346, BAE Systems Hawk 128, and Korea Aerospace Industries T-50. The Hawk has been the standard for more than 30 years, but its viability has come into question after it was eliminated from an United Arab Emirates contest, where it faced the same rivals.

เครื่องบินฝึกขั้นปลายยังอยู่ในรายการจัดหาของสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์กำลังประเมิน M-346 ของ Aermacchi 0kdอิตาลี, Hawk 128 จอง BAE Systems จากอังกฤษ, และ T-50 ของ Korea Aerospace Industries จากเกาหลีใต้

Singapore's choices could have an impact on those of its neighbour. Bitzinger points out that when Singapore ordered F-16s, Malaysia bought 18 Sukhoi Su-30MKMs to complement its fleet of 18 MiG-29s, eight Boeing F/A-18Ds and 13 Northrop F-5E/Fs. Its first all-Sukhoi squadron should be combat ready in the first quarter of 2009.

ตัวเลือกของสิงคโปร์สามารถมีผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน Bitzinger กล่าวว่าเมื่อสิงคโปร์จัดซื้อ F-16 มาเลเซียก็จัดหา Su-30MKM จาก Sukhoi ของรัสเซีย เพื่อเสริมเข้ากับฝูงบินที่ประกอบไปด้วย MiG-29 จำนวน 18 ลำ, F/A-18D ของ Boeing จำนวน 8 ลำม และ F-5E/F จาก Northrop จำนวน 13 ลำ ฝูงบิน Su-30MKM จะประกาศความพร้อมรบในไตรมาสแรกของปี 2009

Kuala Lumpur is keen to buy more fighters and is likely to choose between a second batch of Su-30s and possibly F/A-18E/Fs for delivery from 2011. A contract must be awarded in 2009 if funding is to be secured in time for the country's 2011-15 five-year plan. Both internal and external politics will play a role in its decision.

กัวลาลัมเปอร์ยังต้องการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่เพิ่ม และมีความเป็นไปได้ที่จะจัดซื้อ Su-30 เพิ่มเติมหรือจัดซื้อ F/A-18E/F ซึ่งทั้งหมดจะต้องส่งมอบในปี 2011 ผู้ชนะจะต้องถูกเลือกในปี 2009 ถ้ามาเลเซียต้องการการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ทันเวลาของแผนพัฒนาระหว่างปี 2011 – 15 การเมืองทั้งภายในและภายนอกจะมีบทบาทในการตัดสินใจ

"General elections are expected this year and the ruling Barisan Nasional coalition should win again," says a Kuala Lumpur-based observer. "Some factions favour the Russians and others favour the Americans, and we must see who gains the upper hand. Russia has been a reliable supplier, but the MiGs have faced technical problems. But if Malaysia buys American fighters, it must induct aircraft that are very different from what it already has. It may make sense to stick to one type."

“การเลือกตั้งทั้วไปจะเกิดขึ้นในปีนี้และพรรคร่วม Barisan Nasional coalition ซึ่งเป็นรัฐบาลก็น่าจะชนะอีกครั้ง” นักสังเกตุการณ์ในมาเลเซียกล่าว “บางส่วนสนับสนุนเครื่องบินรัสเซียในขณะที่อีกส่วนหนึ่งสนับสนุนเครื่องบินสหรัฐ และเราต้องดูว่าใครจะชนะ รัสเซียเป็นผู้ผลิตที่ไว้ใจได้ แต่ MiG-29 ก็ประสบปัญหาทางเทคนิค แต่ถ้ามาเลเซียจัดซื้อเครื่องบินจากสหรัฐ ก็จะทำให้เครื่องบินที่จัดซื้อใหม่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในตอนนี้ มันอาจจะดูเหมาะสมกว่าที่จะจัดหาจากค่ายเดียวกัน”

Malaysia's priorities are maritime patrol aircraft and utility helicopters, however, says the observer. "Malaysia must live up to its commitment to monitor its waters. It also needs new utility helicopters to replace its ageing 'Nuris' [Sikorsky S-61] after recent high-profile crashes."

ความต้องการเร่งด่วนของมาเลเซียคือเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลและเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ อย่างไรก็ตาม นักสังเกตุการณ์กล่าวว่า “มาเลเซียควรต้องมุ่งมั่นในการตรวจตราน่านน้ำของตน และยังต้องการเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่เพื่อทดแทน Nuri (S-61 จาก Sikorsky) ซึ่งมีประวัติการตกบ่อย”

Financial considerations may lead to upgrades of the F/A-18s and MiG-29s, which have six years' life left without modification, instead of new fighters, he adds.

ด้วยเหตุผลทางการเงินอาจจะทำให้มาเลเซียหันไปปรับปรุง F/A-18 และ MiG-29 ซึ่งจะหมดอายุในอีก 6 ปีถ้าไม่มีการปรับปรุง แทนการจัดหาเครื่องบินฝูงใหม่, เขากล่าว

Neighbouring Indonesia, the region's most populous and largest country, also needs to upgrade its aircraft. A fleet of 12 F-16A/Bs, 10 F-5s and 11 A-4 Skyhawks are a testament to the country's historical close relationship with Washington. But much of the fleet was grounded after a US arms embargo, imposed in the late 1990s after the Indonesian government's bloody crackdown on separatist forces in East Timor, cut off the supply of spare parts.

ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนิเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในอาเซียน ยังต้องการปรับปรุงฝูงบินของตน ฝูงบินซึ่งประกอบไปด้วย F-16 จำนวน 12 ลำ, F-5 จำนวน 10 ลำ และ A-4 Skyhawk จำนวน 11 ลำ เป็นเครื่องยืนยันถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับวอชิงตัน แต่เครื่องบินส่วนมากต้องจอดอยู่กับพื้นเนื่องจากขาดอะไหล่หลังจากการคว่ำบาตรด้านอาวุธของสหรัฐในช่วงทศวรรตที่ 1990 อันเนื่องมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในติมอร์

Cancelled orders

Jakarta turned to Russia and ordered 12 Su-30s in 1997, but cancelled that order in 1998 after the Asian financial crisis. In 2003, former Indonesian president Megawati Sukarnoputri unexpectedly confirmed an order for two Sukhoi Su-27s and two Su-30s during a visit to Moscow. Eventually, Indonesia plans to buy 48 new aircraft to replace its front-line fighters. It is also looking to replace its ageing Rockwell OV-10 Broncos and BAE Systems Hawk 53s, and is considering the Aero Vodochody L-159, Hongdu K-8 and KAI KO-1B turboprop.

จาร์กาต้าจึงหันไปหารัสเซียและสั่งซื้อ Su-30 จำนวน 12 ลำในปี 1997 แต่ยกเลิกไปในปี 1998 หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ในปี 2003 อดีตประธานาธิปดี Megawati Sukarnoputri สร้างความประหลาดใจด้วยการยืนยันการจัดซื้อ Su-27 จำนวน 2 ลำ และ Su-30 จำนวน 2 ลำ ในระหว่างการเยือนมอสโคว ในที่สุด อินโดนิเซียจึงวางแผนที่จะจัดซื้อเครื่องบินรบจำนวน 48 ลำเพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ขั้นแนวหน้าของตน อินโดนิเซียยังมองหาเครื่องบินที่จะมาทดแทน OV-10 Bronco จาก Rockwell และ Hawk 53 จาก BAE Systems ซึ่งกำลังประเมินค่า L-159 ของ Aero Vodochody จากเช็ค, K-8 ของ Hongdu จากจีน และ KO-1B ซึ่งเป็นเครื่องบินโจมตีใบพัดจาก KAI เกาหลีใต้

The USA lifted its embargo on Indonesia in 2007, which should lead to the availability of spare parts, possibly upgrades to existing fighters, and maybe even an order for newF-16s. But many in Jakarta are still unhappy. "How can we be sure the USA won't impose another embargo?" says an Indonesian defence ministry official. "The Russians seem to be more reliable, especially during difficult times for our country."

การยกเลิกการคว่ำบาตรทางทหารในปี 2007 ของสหรัฐน่าจะทำให้การจัดหาอะไหล่สามารถกระทำได้อีกครั้ง และอาจจะทำให้อินโดนิเซียเลือกที่จะปรับปรุงเครื่องบินขับไล่เดิมของตน และอาจจะถึงขั้นสั่งซื้อ F-16 เพิ่มเติมก็เป็นได้ แต่ชาวอินโดนิเซียส่วนมากยังคงไม่ค่อยพอใจ “เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสหรัฐจะไม่คว่ำบาตรอีกครั้ง?” เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมอินโดนิเซียกล่าว “รัสเซียดูจะไว้ใจได้มากกว่า โดยเฉพาะเวลาที่ประเทศเกิดวิกฤต”

search and rescue

Indonesia also has a requirement for utility and search and rescue helicopters, a shortfall that was highlighted by the army's difficulty in reaching victims of the December 2004 tsunami. Jakarta has already been in talks with Russia to buy four Mil Mi-35 attack helicopters and five cargo helicopters of an unspecificed type.

อินโดนิเซียยังต้องการจัดหาเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์และกู้ภัย ซึ่งเป็นผลมาจากความยากลำบากของกองทัพในการเข้าถึงผู้ประสบภัยสึนามิในปี 2004 จาร์กาต้ากำลังเจรจากับรัสเซียในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 ของ Mil จำนวน 4 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอีก 5 ลำซึ่งยังไม่ทราบรุ่น

A tight budget could halt those ambitions, however. "Indonesia says it wants 48 fighters by 2010, but I doubt it can afford half of that, even if the Russians give a good discount," says one defence contractor. "And while new fighters will bring bragging rights, the priority has to be helicopters. The government can't be seen to spend too much on defence procurements as well. Poverty alleviation remains a big goal."

แต่งบประมาณที่จำกัดอาจจะหยุดความตั้งใจนั้น อย่างไรก็ตาม “อินโดนิเซียพูดว่าพวกเขาต้องการเครื่องบินขับไล่ 48 ลำในปี 2010 แต่เราสงสัยว่าอินโดนิเซียจะสามารถจัดหาได้สักครึ่งหรือไม่ แม้ว่ารัสเซียจะลดราคาก็ตาม” ผู้ผลิตรายหนึ่งกล่าว “และในขณะที่เครื่องบินขับไล่อาจจะดูมากเกินไป ความจำเป็นเร่งด่วนน่าจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ รัฐบาลยังคงไม่สามารถใช้จ่ายอย่างมากมายไปกับการทหารเพราะการแก้ปัญหาความยากจนยังคงเป็นเป้าหมายหลัก”

Like Indonesia, Thailand postponed plans for new F/A-18s and F-16C/Ds after the 1998 economic crisis and stuck to its 60 F-16A/Bs and 35 F-5E/Fs. Last year, however, the air force said it would spend $1 billion on new helicopters and aircraft over the next five years. The first phase began in December last year with an order for six Saab Gripens and an option for six more to replace the F-5s. The deal includes two Saab Erieye airborne early warning aircraft, with the first likely to be delivered in 2010.

เช่นเดียวกับอินโดนิเซีย ไทยเลื่อนการจัดหา F/A-18 และ F-16C/D หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1998 และยังคงใช้ F-16A/B จำนวน 60 ลำ และ F-5E/F จำนวน 35 ลำ ปีที่แล้ว กองทัพอากาศไทยกล่าวว่าจะใช้จ่ายเงิน 1 พันล้านเหรียญใน 5 ปีข้างหน้าเพื่อจัดหาเครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์ การจัดซื้อระยะแรกเริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วด้วยการสั่งซื้อ Gripen จาก Saab จำนวน 6 ลำและมีตัวเลือกที่จะจัดหาเพิ่มเติมอีก 6 ลำเพื่อทดแทน F-5 สัญญายังประกอบไปด้วยเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ Saab Erieye ซึ่งเครื่องบินลำแรกน่าจะส่งมอบได้ในปี 2010

Thailand's choice of Sweden's Gripen over its traditional source, the USA, has raised eyebrows. "Talks have been ongoing for several years and the Swedes have developed a very good relationship with the Thais," says a Singapore-based observer. "Saab is also keen to get export sales and it must have made a very good offer."

การที่ประเทศไทยเลือก Gripen ของสวีเดนเหนือสหรัฐซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักของไทยมาโดยตลอดทำให้ทุกคนแปลกใจ “การเจรจาดำเนินมาเป็นเวลา 2 - 3 ปีและสวีเดนก็พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทย” นักสังเกตุการณ์ในสิงคโปร์กล่าว “Saab ต้องการได้รับคำสั่งซื้อและพวกเขาต้องเสนอข้อเสนอที่ดีพอ”

The observer says he expects Bangkok to exercise its options for Gripens around late 2009, forming a proper squadron of the type. Thailand will then need to decide on a follow-up order between the F-16, F/A-18 and the Gripen. "The Thai-US relationship stretches back to the Vietnam war. Things were a little rocky during the 2006 military coup, but both countries will continue to be good friends. Gripen gave Thailand a very good deal this time around, but I doubt it can continue doing that," says the observer.

นักสังเกตุการณ์กล่าวว่า เขาคาดว่ากรุงเทพจะใช้ตัวเลือกในการจัดซื้อ Gripen เพิ่มเติมในช่วงปลายปี 2009 ซึ่งจะทำให้ไทยมีฝูงบิน Gripen ที่สมบูรณ์ และหลังจากนั้นไทยต้องตัดสินใจระหว่าง F-16, F/A-18 และ Gripen ว่าจะจัดหาเครื่องบินแบบใดเพิ่มเติม “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐมีมาตั้งแต่สงครามเวียดนาม ความสัมพันธ์ดูตึงตัวในระหว่างการรัฐประหารเมื่อปี 2006 แต่ทั้งสองประเทศก็ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน Gripen ทำให้ไทยได้รับข้อเสนอที่ดีในเวลานี้แต่ผมยังสงสัยว่ามันจะเป็นไปเช่นนี้ในอนาคตหรือไม่” นักสังเกตุการณ์กล่าว

Swedish success

All the major contractors will also be eyeing Vietnam, which will require new fighters early in the next decade. Hanoi has about 220 combat-capable aircraft, mostly 1970s and 1980s-era fighters such as the MiG-21 and Su-22. It tried to modernise in the 1990s, buying Su-27s and Su-30s from Russia and reconditioning Su-22s and L-39s. But plans to buy Dassault Mirage fighters from France fell through under pressure from the USA and it did not go ahead with upgrades for the MiG-21s.

ผู้ผลิตชั้นนำยังให้ความสนใจต่อเวียดนามซึ่งต้องการเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ในทศวรรตหน้า ฮานอยมีเครื่องบินรบจำนวน 220 ลำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินขับไล่ในยุคทศวรรตที่ 1970 – 1980 เช่น MiG-21 และ Su-22 เวียดนามพยายามปรับปรุงเครื่องบินเหล่านั้นในช่วงทศวรรตที่ 1990 โดยการคืนสภาพ Su-22 และ L-39 กับจัดหา Su-27 และ Su-30 จากรัสเซีย แต่แผนการจัดซื้อ Mirage ของ Dassault จากฝรั่งเศสนั้นล้มเหลวเนื่องจากแรงกดดันจากสหรัฐ และเวียดนามก็ไม่ได้เดินหน้าปรับปรุง MiG-21 อย่างที่ตั้งใจไว้

Defence contractors say Vietnam's growing economy has boosted state coffers, possibly paving the way for a competition. Dislodging the Russians could be tough, given the close relations between the countries, but Vietnam's growing economic ties with the USA and Europe could help defence contractors from those two regions.

ผู้ผลิตต่างกล่าวว่า เศรษฐกิจของเวียดนามที่กำลังเติบโตทำให้รัฐมีเงินมากขึ้น ซึ่งจะปูทางไปสู่การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตทั้งหลาย การสลัดทิ้งจากรัสเซียอาจจะยากเนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ แต่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของเวียดนามกับสหรัฐและยุโรปที่พัฒนาขึ้นก็อาจจะช่วยเหลือผู้ผลิตจากทั้งสองภูมิภาคดังกล่าว

But there is no such optimism about the Philippines, which is short of money and has a track record of corruption tainting tenders. Its air force has Aermacchi SF-260 and S-211 aircraft, many of which are not operational, and a helicopter fleet mainly comprising Vietnam War-era Bell UH-1H Hueys and MD Helicopters MG520s. But Manila desperately needs to renew its fleet, especially to help its army cope with separatist rebels.

แต่มันไม่ได้มีความคาดหวังเช่นนั้นในฟิลิปปินส์ซึ่งขาดแคลนงบประมาณและมีปัญหาการทุจริต กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ใช้งาน SF-260 ของ Aermacchi และ S-211 จากอิตาลี โดยมีจำนวนมากที่ไม่สามารถปฏิบัติการได้ และฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ก็ประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์ยุคสงครามเวียดนามคือ UH-1H ของ Bell และ MG520 ของ MD Helicopters จากสหรัฐ แต่มะนิลาก็พยายามอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงฝูงบินของตนเพื่อช่วยเหลือกองทัพในการจัดการกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

Last year, after a delay of several years, Philippines president Gloria Macapagal Arroyo set aside a budget of about 1 billion pesos ($30 million) to buy attack helicopters. But this month the defence department overturned a decision to buy MD Helicopters MG530F helicopters following irregularities in the selection process and ordered a fresh tender. The government has also said it would set aside7 billion pesos for 20 attack and utility helicopters over the next few years.
Contractors are not rushing in to show off their wares, however. "We don't know if the money will come in, and the best equipment might not win anyway due to the corruption," says one official. "The best thing to do when it comes to the Philippines is to roll your eyes, offer your products with a shrug, and not expect anything to happen."

ในปีที่แล้ว หลังจากความล่าช้ามา 2 – 3 ปี ประธานาธิปดี Gloria Macapagal Arroyo จัดสรรงบประมาณจำนวน 1 พันล้านเปโซ (30 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี แต่ในเดือนนี้กระทรวงกลาโหมสั่งยกเลิกการตัดสินใจจัดหา MG530F จาก MD Helicopter ของสหรัฐเนื่องจากความไม่ชอบมาพากลในกระบวนการคัดเลือก และสั่งให้มีการยื่นข้อเสนอเข้ามาใหม่ รัฐบาลยังจัดสรรงบประมาณจำนวน 7 พันล้านเปโซสำหรับเฮลิคอปเตอร์โจมตีและลำเลียงจำนวน 20 ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามผู้ผลิตยังไม่ได้รีบร้อนเสนอสินค้าของตน “เราไม่รู้ว่าจะมีการจัดสรรงบประมาณไหม และสินค้าที่ดีที่สุดอาจจะไม่ได้รับเลือกเนื่องจากการทุจริต” เจ้าหน้าที่นายหนึ่งกล่าว “สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อนึกถึงฟิลิปปินส์คือทำใจให้สบาย เสนอสินค้าโดยไม่คิดอะไรมาก และไม่ต้องคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้น”

Countries such as Laos and Cambodia are in a similar position, with a shortage of cash and the taint of corruption putting off defence contractors. Oil-rich Brunei may have the money, but has dithered for years on a deal for light combat aircraft.

ประเทศอย่างลาวและกัมพูชาก็อยู่ในสถานะเดียวกัน ด้วยการขาดแคลนงบประมาณและการทุจริตทำให้ผู้ผลิตต่างถอยหนี บรูไนซึ่งแม้ว่าจะร่ำรวยน้ำมันจนทำให้มีเงินมากมาย แต่ก็ชะลอโครงการจัดหาเครื่องบินรบขนาดเบามาหลายปี

Myanmar, on the other hand, has been shunned by most contractors following an arms embargo imposed on its ruling military junta for its brutal crackdown on pro-democracy activists. The country bought 10 second-hand MiG-29s from Russia in 2001, but its main supplier is China. Beijing has sold it about 60 Chengdu F-7Ms, derived from the MiG-21, 42 Nanchang A-5s, which are modified MiG-19s, and 12 K-8 primary trainers that can be used for light ground attack.

ในอีกแง่มุมหนึ่ง พม่าซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตส่วนมากอันเนื่องมาจากการคว่ำบาตรด้านอาวุธอันเป็นผลมาจากการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยของรัฐบาลทหาร ก็จัดหา MiG-29 มือสองจำนวน 10 ลำจากรัสเซียในปี 2001 แต่ผู้ผลิตหลักกลับเป็นจีน ปักกิ่งขายเครื่องบินขับไล่ F-7M ของ Chengdus จำนวน 60 ลำ ซึ่งปรับปรุงมาจาก MiG-21, เครื่องบินโจมตี A-5 ของ Nanchang ซึ่งปรับปรุงมาจาก MiG-19, และ เครื่องบินฝึก K-8 จำนวน 12 ลำ ที่สามารถนำไปใช้ในการรบได้

China is seen as a potential alternative supplier of relatively cheap weapons to the region. It has offered to sell eight Harbin Aircraft Z-9, a licensed copy of Eurocopter's AS365N Dauphin, to the Philippines for its utility helicopter requirement and has reportedly held talks with Cambodia, Laos, Thailand and Indonesia. Its new Chengdu J-10 and Chengdu/PAC JF-17 fighters could be an alternative to Russian and US aircraft.

จีนยังถูกมองว่าเป็นทางเลือกของผู้ผลิตอาวุธราคาถูกสำหรับอาเซียน จีนเสนอขาย Z-8 ของ Harbin Aircraft ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่จีนได้สิทธิบัตรในการผลิต AS365N Dauphin จาก Eurocopter จำนวน 8 ลำให้ฟิลิปปินส์สำหรับความต้องการเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ และมีรายงานว่าจีนกำลังเจรจาขาย Z-8 กับกัมพูชา ลาว ไทย และอินโดนิเซีย เครื่องบินขับไล่ J-10 และ JF-17 ของ Chengdu ก็อาจจะเป็นตัวเลือกนอกจากเครื่องบินของรัสเซียและสหรัฐ

Beijing may need to improve the quality of its exports, however. Myanmar has had problems with the performance and reliability of many of its Chinese aircraft, and has reportedly lost several F-7s through accidents. It has also had trouble obtaining spare parts. China may find it tough to convince a market weaned on Western weapons that it offers viable alternatives.

ปังกิ่งอาจจะต้องปรับปรุงคุณภาพของสินค้าของตน แต่พม่าไม่มีปัญหาสำหรับเรื่องประสิทธิภาพแบะความน่าเชื่อถือของเครื่องบินจีนของตน ซึ่งมีรายงานการสูญเสีย F-7 บางลำจากอุบัติเหตุ พม่ายังพบความยากลำบากในการจัดหาอะไหล่ซึ่งทำให้จีนสามารถแทรกเข้ามาในตลาดได้โดยเสนอตัวเลือกที่ใช้การได้

Still, South-East Asia has an annual arms budget of around $2 billion, so the likes of China will not stop trying. And defence contractors will keep flocking to events such as the Singapore Air Show to display their offerings and talk to prospective customers.

อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังคงงบประมาณทางทหารต่อปีเอาไว้ที่ราว 2 พันล้านเหรียญ ทำให้ผู้ผลิตอย่างจีนคงไม่ยุติความพยายาม และผู้ผลิตยังคงเดินหน้าเข้าร่วมงานอย่าง Singapore Air Show เพื่อแสดงสิ่นค้าของตน พร้อมทั้งพูดคุยกับประเทศที่อาจจะมาเป็นลูกค้า

"Look at China and India - they mainly buy Russian," says Bitzinger. "Japan, South Korea and Taiwan are all good customers of the USA. In South-East Asia, almost everyone has a fair chance of winning something. This is one of the most open and competitive markets around, and it will continue to be so for some time."

“เมื่อมองดูที่จีนและอินเดีย – พวกเขาซื้อจากรัสเซียเป็นส่วนใหญ่” Bitzinger กล่าว “ญี่ปุ่น, เกาหลี, และไตหวันยังคงเป็นลูกค้าที่ดีต่อสหรัฐ ในอาเซียน เกือบทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการได้รับสัญญาสักอย่างหนึ่ง นี่คือหนึ่งในตลาดที่เปิดและแข่งขันกันสูง และมันจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง”

//www.flightglobal.com/articles/2008/02/11/221436/singapore-2008-southeast-asia-defence-market-opens-up.html




ภาคผนวกของบทความครับ .... แบบของเครื่องบินบางรายการเป็นเพียงการคาดการณ์ของคนเขียนบทความ ซึ่งอาจจะไม่ตรงความจริงก็ได้ครับผม

Buyers' requirements and possible suppliers

• Singapore: Fighters (Boeing F-15, Lockheed Martin F-35), maritime patrol aircraft (Boeing P-8, Lockheed MartinP-3C), advanced jet trainers (BAE Systems Hawk, Korea Aerospace Industries T-50, Aermacchi M-346)
• Malaysia: Fighters (Sukhoi Su-30, Boeing F/A-18), utility helicopters (AgustaWestland AW101, Eurocopter EC725, Sikorsky S-92, Kamov KA-31), airborne early warning (Embraer R-99, Saab 2000, Northrop Grumman E-2)
• Indonesia: Fighters (Su-30, Lockheed Martin F-16), light attack aircraft (Aero Vodochody L-159, Hongdu K-8, KAI KO-1), attack helicopters (Mil Mi-35), utility helcopters (unconfirmed)
• Thailand: Fighters (Saab Gripen, F-16, Su-30, F/A-18), attack helicopters (Boeing AH-64)
• Vietnam: Fighters (Su-30, ChengduJ-10, F-16, F/A-18, Gripen)
• Philippines: Attack helicopters (MD Helicopters MG530F, PZL-Swidnik Kania), utility helicopters (Harbin Z-9)
• Brunei: Light attack aircraft (Hawk, KO-1)
• Myanmar: Fighters (Chengdu J-10, MiG-29), utility helicopters (Harbin Z-9, Hindustan Aeronautics Advanced Light Helicopter)




Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2551 2:30:44 น.
Counter : 4654 Pageviews.

3 comments
แกร็บ รับลูก ททท. เปิดตัวแคมเปญ “สุขทันที…ที่เที่ยวกับ Grab" นายแว่นขยันเที่ยว
(1 เม.ย. 2567 07:40:13 น.)
มิ้งค์ พิรดา เตชะวิจิตร์ : ว่าที่นักบินอวกาศไทยคนแรก newyorknurse
(26 มี.ค. 2567 01:56:43 น.)
ประโยชณ์ของ living trust มีมากกว่า will มากมายค่ะ newyorknurse
(19 มี.ค. 2567 04:58:36 น.)
โขนรามเกียรติ์ ชุด “สัจจะพาลี” ณ วัดไชยวัฒนาราม haiku
(10 มี.ค. 2567 21:53:14 น.)
  
จ่อย ง่วง เสียงแหบเสียงแห้ง เสียงหายจ๋อย
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:04:07 น.
  
เห็นว่าหยุดเลยอัพบล้อกน้อยหน่อยครับ
.....กลัวพี่โยเหนื่อยอ่ะ อิอิอิ

emoemoemo
โดย: ก. วรกะปัญญา (กะว่าก๋า ) วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:30:37 น.
  
พักบ้างครับพี่โย
ไปเหล่สาวบ้างก้ได้ครับ
อย่ามัวแต่เหล่ปีกเครื่องบินอย่างเดียว 5555

emoemoemo
โดย: ก.วรกะปัญญา (กะว่าก๋า ) วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:19:37 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Skyman.BlogGang.com

Analayo
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]

บทความทั้งหมด