คิดว่าภาพนี้คือพิธีรับมอบและขึ้นระวางประจำการของเรือคอร์แวตต์ชั้น 77 เมตร ของกองทัพเรือพม่าครับ โดยลำแรกคือ UMS Anawrahta หมายเลข 771 คงเคยเห็นกันมาแล้วครับ

คลิ๊กเพื่อขยายขนาดของภาพส่วนภาพต่อไปนี้คือภาพของเรือลำต่อมาจาก UMS Anawrahta ครับ
ผมหาชื่อของเรือไม่เจอเหมือนกัน อีกทั้งผมไม่ทราบเวลาที่ภาพนี้ถูกถ่ายด้วยครับ ซึ่งอาจจะเป็นราวไม่กี่ปีมานี้
คลิ๊กเพื่อขยายขนาดของภาพตามข้อมูลที่มีอยู่นั้นเรือชั้นนี้มีทั้งหมด 3 ลำครับคือหมายเลข 771, 772, และ 773 ต่อโดยอู่ของพม่าเอง ให้เดาจาภภาพคือเรือน่าจะมีระวางขับน้ำอยู่ที่ราว ๆ 1,000 ตัน เรือติดปืนเรือที่ดูรูปร่างแล้วคล้ายกับปืน 76/62 Super Rapid ของบริษัท Oto Melara ประเทศอิตาลีและตามข้อมูลในอินเตอร์เน็ตทั่วไปก็ยืนยันเช่นนั้น
แต่ผมตั้งข้อสงสัยตรงข้อมูลจุดนี้ครับว่าไม่น่าจะถูกต้องเพราะสหภาพยุโรปน่าจะมีการคว่ำบาตรการขายอาวุธให้กับรัฐบาลทหารพม่า ตัวปืนน่าจะเป็นปืนของจีนที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกันมากกว่าครับ
ปืนรองของเรือชั้นนี้คือปืน AK-230 ขนาด 30 มม. ของรัสเซีย หรืออาจจะเป็นปืนรุ่นเดียวกันที่จีนลอกแบบมาคือ Type 69 จำนวน 2 กระบอกครับ แต่มองด้วยสายตาแล้วยังหาไม่เจอเหมือนกัน อาจจะมาติดตั้งทีหลังหรือภาพอาจจะถ่ายไม่เห็นก็ได้ครับ
โดยปืนกระบอกนี้ทำหน้าที่เป็นปืนต่อสู้อากาศยานส่วนที่เห็นทางด้านขวาในภาพนี้ก็คือท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือรบแบบ C-802 ของรัสเซียจำนวน 4 ท่อยิงครับ C-802 เป็นอาวุธปล่อยของจีนที่พัฒนามาจาก C-801 ซึ่งแม้มีขนาดเท่ากันแต่มีระยะยิงที่ไกลกว่าเดิมมาก คือมีระยะยึงถึงเกือบ 180 กม. เทียบกับ C-801 ที่มีระยะยิงเพียง 50 กม. เท่านั้น
ซึ่ง C-802 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือรบหลักของกองทัพเรือพม่าครับ โดยนอกจากติดตั้งกับเรือชั้น 77 เมตรแล้วยังติดตั้งกับเรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ชั้น Houxin ที่ซื้อจากจีนจำนวน 6 ลำ และชั้นหมายเลข 5 ที่ต่อเองอีกอีก 5 ลำด้วยครับ

คลิ๊กเพื่อขยายขนาดของภาพมองตรงส่วนของเสากระโดงเรือแล้วจะพบระบบเรด้าร์อยู่ราว 2 - 3 ระบบครับ
ผมไม่มีความรู้เหมือนกันจึงไม่สามารถเดาชื่อรุ่นได้จากรูปร่างของมัน แต่โดยรวมแล้วก็น่าจะเป็นระบบเรด้าร์ค้นหาภาคพื้นน้ำและอากาศซึ่งจำเป็นสำหรับอาวุธปล่อย C-802 และปืน AK-230 ครับพูดด้วยใจเป็นธรรมก็คือเรือชั้นนี้ยังมีการออกแบบที่ยังไม่ทันสมัยนักครับ การออกแบบตรงปล่องควันยังน่ากลัวว่าจะมีรังสีอินฟาเรดแผ่ออกมามากเกินไปหรือเปล่า (ซึ่งมีผลให้เรือถูกตรวจจับได้ง่ายขึ้น)
พูดตรง ๆ อีกแล้วว่าเรือรบที่ออกมาจากอู่ของไทยหลายลำในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี้มีคุณภาพการผลิตและการออกแบบที่ดีกว่าพอสมควรทีเดียวครับแต่อย่างไรก็ตามนี่ก็คือความพยายามของพม่าในการพึ่งพาตนเองครับ ต้องรอดูว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือไทยกำลังเริ่มดำเนินการต่อที่อู่มหิดลนั้นจะหน้าตาดูดีสู้กับเรือของพม่าได้หรือไม่ ต้องรอติดตามครับ
Thank CARAMBOL at militaryphotos.net