ต่อเนื่องจาก Blog ที่แล้ว
"Step ต่อไปของกระปะทะกันของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=24-11-2010&group=3&gblog=156จากกรณีการดวลปืนใหญ่กันของทั้งสองเกาหลีในนี้
วันนี้มีรัฐมนตรีท่านหนึ่งต้องหยุดอนาคตทางการเมืองไว้ชั่วคราว (หรือถาวร) นั่นก็คือท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเกาหลีใต้ นายคิม เท ยัง
ซึ่งประกาศลาออกในวันนี้จากแรงกดดันของทั้งส.ส.ในฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านถึงการตอบโต้การโจมตีของเกาหลีเหนือที่เป็นการตอบโต้ในเชขิงรับมากเกินไป (Too passive) นั่นก็คือเขายิงปืนใหญ่มา เกาหลีใต้ก็ยิงปืนใหญ่ตอบ ไม่มากไปกว่านั้น จึงไม่ถูกใจหลาย ๆ คน
เนื่องจากกฏการปะทะ (Rule of Engagement) ของเกาหลีใต้อนุญาตให้ทำการตอบสนองต่อภัยคุกคามได้ตามความเหมาะสม และในวันนี้
เกาหลีเหนือก็ออกมาขู่อีกว่าอาจจะทำการโจมตีอีกถ้าเกาหลีใต้และสหรัฐไม่หยุดการคุกคามทางทหารอย่างที่เรียนให้ทุกท่านทราบไปใน Blog ที่แล้วครับว่า ครั้งนี้รัฐบาลของประธานาธิปดีลี ยอง บักค่อนข้างถูกกดดันมากทีเดียวว่าจะมีการตัดสินใจดำเนินการอย่างไร
เพื่อตอบโต้การโจมตีที่รุนแรงที่สุดของเกาหลีเหนือนับจากสงครามเกาหลีหยุดลงชั่วคราวในปี 1953 และเคยเรียนให้ทราบไปว่า
การตัดสินใจดำเนินการใด ๆ จะส่งผลกระทบต่ออนาคตทางการเมืองของประธานาธิปดีลี ยอง บัก เนื่องจากหลายฝ่ายเคยไม่พอใจการตอบโต้ต่อกรณีคล้ายกันนี้ว่าอ่อนเกินไป
แต่คราวนี้กลายเป็นรัฐมนตรีกลาโหมที่รับหน้าและรับแรงกระแทกจนลาออกแทนไปใน Blog ที่แล้วนั้นผมคาดการณ์ความเป็นไปได้ 5 ทางที่เกาหลีใต้น่าจะเลือกทำ มาจนถึงวันนี้ดูเหมือนว่าสิ่งที่เกาหลีใต้เลือกทำก็คือ
ข้อ 2 (ตอบโต้ทางการฑูต การค้า และตัดความช่วยเหลือ) และ
ครึ่งหนึ่งของข้อ 4 (การโจมตีตอบโต้ด้วยกำลังทางทหาร) ครับการตัดความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้นถูกดำเนินการในทันทีทันใด แต่สำหรับคำกล่าวของผมที่ว่าครึ่งหนึ่งของข้อ 4 นั้น
มาจากการดำเนินการในการซ้อมรบร่วมกับสหรัฐใกล้น่านน้ำที่เป็นปัญหา โดยเรือบรรทุกเครื่องบิน USS George Washington ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวที่ประจำการถาวรในส่วนหน้า (Permanet Forward-Deployment Carrier
) หรือก็คือเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐซึ่งประจำการถาวรในต่างประเทศ (ในที่นี้คือประเทศญี่ปุ่นที่ฐานทัพเรือโยโกสุกะ) โดย
ขึ้นตรงการบังคับบัญชากับกองทัพเรือที่ 7 ของกองบัญชาการภาคพื้นแปซิฟิก (United States Pacific Command: USPACCOM) ซึ่งดูแลภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตกที่รวมถึง สิงคโปร์ ไทย จีน และเกาหลีใต้ (เรือลำนี้เพิ่งมาแวะพักที่เมืองพัทยาเมื่อสองเดือนก่อนนี้เอง)
และจะต้องเป็นหน่วยแรกที่ทำการตอบโต้ถ้าเกิดภัยคุกคามขึ้นในคาบสมุทรเกาหลีอีกการดำเนินการหนึ่งก็คือการปรับเปลี่ยนกฏการปะทะของเกาหลีใต้ในการตอบโต้กับสถานการณ์ครับกฏการปะทะ หรือ Rule of Engagement คือกฏที่จะบอกหน่วยใช้กำลังของกองทัพว่า
ในสถานการณ์ใดจะต้องทำการตอบโต้แบบใด เช่น
ผมไม่สามารถยิงคนอื่นก่อนได้ถ้าไม่ถูกยิงก่อน เป็นต้น
กฏการปะทะถูกออกแบบมาเพื่อทำให้สถานการณ์ในการรบนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมและการคาดการณ์ของฝ่ายเราในระดับหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีกฏการปะทะแตกต่างกันออกไป
ในการเปลี่ยนกฏการปะทะในครั้งนี้ ตามข่าวระบุว่าเนื้อหาหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปก็คือการตอบโต้การโจมตีจะแปรผันไปตามปัจจัยที่ว่า
การโจมตีของข้าศึกนั้นเป็นการโจมตีต่อเป้าหมายทางทหารหรือเป้าหมายพลเรือน และการตอบโต้การโจมตีนั้น
จะใช้อำนาจการยิงให้สูงกว่าฝ่ายข้าศึก 2 - 3 เท่าผมวิเคราะห์ว่านี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งหนึ่ง ไม่ใช่แต่เฉพาะในสถานกาณ์เฉพาะหน้านี้ แต่อาจะเป็นความมั่นคงโดยรวมในคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดในอนาคตอย่างที่เคยเรียนให้ทุกท่านทราบไปว่า
ถ้าเกาหลีใต้เลือกข้อ 4 เกาหลีใต้จำเป็นที่จะต้องมองหาความชอบธรรมในการทำการโจมตีตอบโต้ และการเปลี่ยนกฏการปะทะในครั้งนี้
ก็ได้สร้างความชอบธรรมให้กับเกาหลีใต้ในการดำเนินการใด ๆ ในอนาคตแล้ว นั่นคือถ้าจำเป็น
เกาหลีใต้มีเครื่องมือทุกอย่างที่พร้อมสำหรับการทำสิ่งที่อีกครึ่งหนึ่งของข้อ 4 นั่นคือการโจมตีตอบโต้ด้วยกำลังทหาร
ในภาพระยะสั้นนั้น
ผมคาดว่าจะไม่มีการโจมตีหรือการปะทะใด ๆ ที่เป็นการตอบโต้ต่อฝ่ายเกาหลีเหนือจากกรณีการยิงปืนใหญ่ตอบโต้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการประเมินก้าวต่อไปของกันและกัน
แต่ในภาพระยะกลางหรือระยะยาว ถ้าเกิดมีการโจมตีจากเกาหลีเหนืออีกครั้ง ผมคาดว่าจะเกิดเหตุการณ์สองสิ่งนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งคือ1. จะมีการตอบโต้ที่รุนแรงขึ้นจากเกาหลีใต้ และจะมีการปะทะกันที่รุนแรงกว่าในครั้งนี้ การปะทะจะจบลงภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่หลังจากนั้นถ้าผู้นำทางการเมืองไม่สามารถหาข้อตกลงที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้
การปะทะครั้งต่อ ๆ ไปจะรุนแรงยิ่งขึ้นจนอาจทำให้เกิดสงครามเต็มรูปแบบได้ 2. จะมีการตอบโต้ที่รุนแรงขึ้นจากเกาหลีใต้ และจะมีการปะทะกันที่รุนแรงกว่าในครั้งนี้ การปะทะจะจบลงภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่หลังจากนั้นถ้าเกาหลีเหนือประสบกับความสูญเสียที่รุนแรง
อาจทำให้เกาหลีเหนือพิจารณาแล้วว่าศักยภาพของตนไม่สามารถต่อสู้กับเกาหลีใต้และพันธมิตรได้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงกดดันที่ทำให้เกาหลีเหนือยอมกลับสู่โต๊ะเจรจาหกฝ่าย (ซึ่งมีเกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, สหรัฐ, รัสเซีย, จีน, และญี่ปุ่น) เ
พื่อหาทางออกและอาจนำไปสู่การสร้างสันติภาพที่ถาวรบนคาบสมุทรเกาหลีจะสังเกตุว่าไม่ว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปในทางใด ผมคาดว่าน่าจะมีเหตุการณ์ปะทะกันที่รุนแรงกว่านี้ในอนาคตมากขึ้นอย่างแน่นอน แต่จะทำให้เกิดสงครามหรือสันติภาพ
ต้องรอดูสถานการณ์ในตอนนั้นต่อไปตัวแปรอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คืออาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ อาวุธนิวเคลียร์มีสถานะพิเศษ
นั่นคือเป็นอาวุธในเชิงยุทธศาสตร์ซึ่งทำหน้าที่ทั้งในด้านการทหาร และทำหน้าที่เป็นฑูตไปด้วยในตัว ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเกาหลีเหนือจะใช้นิวเคลียร์หรือไม่ อย่างไร เมื่อไหร่
แต่ถ้าการใช้นิวเคลียร์เกิดขึ้นจริง ผลลัพธ์ของมันจะกลายเป็นอีกจุดเปลี่ยนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของโลกคาบสมุทรเกาหลีคือพื้นที่สุดท้ายที่ยังมีบรรยากาศของสงครามเย็นอยู่หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ทำให้การดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่บริเวณนี้อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียได้เสมอครับ
ต้องติดตามดูกันต่อไป และภาวนาว่าอย่าให้มีสงครามเกิดขึ้นเลยอ้างอิง
"South Korean defence minister resigns over deadly clash"
//www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-11838750